PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าอยากคำนวณหาว่าปีไหนเป็นปีอธิกสุรทิน (leap year) หรือปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ก็ทำได้ง่ายนิดเดียว แค่หารเลขเป็นก็รู้เรื่องแล้ว

  1. ใช้ปีที่จะคำนวณเป็นตัวตั้ง (วิธีนี้ต้องใช้ปีค.ศ. ) .
  2. ดูว่าหารด้วย 4 แล้ว ลงตัว ไหม (เป็นจำนวนเต็ม ไม่มีเศษ). ถ้าหารแล้วเหลือเศษ เช่น ค.ศ. 1997 แสดงว่าไม่ใช่ปีอธิกสุรทิน แต่ถ้าหารแล้วลงตัวพอดี เช่น ค.ศ. 2012 ให้อ่านต่อไป
  3. ถ้าปีนั้นหารด้วย 4 ได้ แต่หารด้วย 100 ไม่ได้ เช่น 2012 ก็แสดงว่าเป็นปีอธิกสุรทิน แต่ถ้าปีนั้นหารด้วย 4 และ 100 ได้ เช่น ค.ศ. 2000 ให้อ่านต่อไป
  4. ถ้าปีนั้นหารด้วย 100 ได้ แต่หารด้วย 400 ไม่ได้ เช่น 1900 แสดงว่า ไม่ใช่ ปีอธิกสุรทิน แต่ถ้าหารได้ทั้งคู่ แสดงว่าเป็นปีอธิกสุรทิน เพราะงั้นค.ศ. 2000 ก็เป็นปีอธิกสุรทินแน่นอน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ปีที่เป็นปีอธิกสุรทินก็เช่น ค.ศ. 1600, 1604, 1608, 1612, 1616...1684, 1688, 1692, 1696, 1704 (จะเห็นว่าไม่มีค.ศ. 1700), 1708, 1712...1792, 1796, 1804 (ไม่มีค.ศ. 1800), 1808, 1812...1892, 1896, 1904 (ไม่มีค.ศ. 1900), 1908, 1912...1992, 1996, 2000 (แน่นอนว่ามี 2000 อย่างที่เราคำนวณกัน), 2004, 2008, 2012...2092, 2096, 2104 (ไม่มีค.ศ. 2100)...2196, 2204...2296, 2304...2396, 2400 (เริ่มจับทางได้แล้วใช่ไหม?), 2404...แบบนี้ไปเรื่อยๆ
  • ถ้าปีไหนหารด้วย "4" ได้ลงตัว แสดงว่าเป็นปีอธิกสุรทิน ใน 1 ปี จะมี ‘365 วัน + 6 ชั่วโมง' หรือก็คือ 365 กับอีก 1/4 วัน เพราะงั้นทุก 4 ปี 6 ชั่วโมงที่ว่าจะรวมกันกลายเป็น 1 วัน (6 X 4 = 24 ชั่วโมง) นี่คือสาเหตุว่าทำไมเราถึงได้วันเพิ่มมา 1 วันในเดือนกุมภาพันธ์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 43,464 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา