PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เคยโดนทักว่าเป็นหมอตอนมีใครเห็นลายมือคุณหรือเปล่า? คุณว่าเด็กประถมเขียนหนังสือได้สวยกว่าคุณไหม? การมีลายมือแย่ๆ นอกจากจะส่งผลต่อการเรียนรู้แล้วยังมีผลกระทบกับชีวิตส่วนตัวอีกด้วย รู้แบบนี้แล้ว อย่าปล่อยให้ลายมือของคุณแย่ลงอีกเลย มาเปลี่ยนแปลงเพื่อลายมือที่สวยกว่ากันเถอะ!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

วิเคราะห์ลายมือ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to พัฒนาลายมือ
    เลือกหัวข้ออะไรก็ได้มา 1 หัวข้อ แล้วลงมือเขียนเกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ ให้ได้อย่างน้อย 5 ประโยค หรือถ้าคุณไม่นึกอยากใช้ความคิดสร้างสรรค์เท่าไหร่ ให้ลอกบทความจากหนังสือหรือว่าหนังสือพิมพ์มาก็ได้ ที่ทำแบบนี้ก็เพื่อจะนำมาวิเคราะห์ลายมือมาตรฐานของคุณ ยิ่งเขียนมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยให้การวิเคราะห์ออกมาได้ดีขึ้นเท่านั้น!
  2. Watermark wikiHow to พัฒนาลายมือ
    ลองสำรวจดูว่าลายมือของคุณเต็มไปด้วยเส้นโค้งมน หรือเป็นเส้นขีดทื่อๆ? คุณเขียนตัวหนังสือเป็นตัวเหลี่ยมๆ หรือว่าเขียนติดกันไปเลยไม่มีการเว้นช่องไฟหรือเปล่า?
  3. Watermark wikiHow to พัฒนาลายมือ
    การที่คุณเขียนตัวหนังสือเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษส่งผลกระทบต่อลายมือของคุณเป็นอย่างมากเลยล่ะ ให้ลองสังเกตดูว่าตัวอักษรแต่ละตัวของคุณตั้งฉากไปกับเส้นกำกับบนกระดาษหรือไม่ ลองดูว่าตัวหนังสือเอียงซ้ายหรือขวาเป็นพิเศษหรือเปล่า? จริงๆ แล้วการเอียงนิดๆ หน่อยๆ นั้นไม่เป็นปัญหา แต่ถ้ามากเข้าก็จะทำให้ตัวหนังสืออ่านยากขึ้น
  4. Watermark wikiHow to พัฒนาลายมือ
    ลองสังเกตดูว่าเวลาคุณเขียนหนังสือ แต่ละคำที่คุณเขียนนั้นลอยไปลอยมา สูงๆ ต่ำๆ หรือไม่? แล้วคุณอิงเส้นกำกับบนหน้ากระดาษหรือเปล่า หรือว่าตัวหนังสือนั้นทับอยู่บนเส้น? ต้องสังเกตดูว่าแต่ละคำ แต่ละประโยคที่เขียนเอียงไปในทางเดียวกันไหม?
  5. Watermark wikiHow to พัฒนาลายมือ
    การเว้นระยะระหว่างตัวอักษรแต่ละตัว และคำแต่ละคำเป็นพื้นฐานของลายมือที่ดี ในการเว้นระยะแต่ละครั้งควรมีที่ห่างกันมากพอที่จะใส่ตัว “O” เข้าไปได้ 1 ตัว หากคุณเว้นที่น้อยกว่านี้ นั่นเป็นสัญญาณของลายมือที่ไม่สวยงาม และหากคุณเว้นที่ระหว่างตัวอักษรมากหรือน้อยเกินไป ก็จะทำให้ลายมือของคุณอ่านยากเช่นกัน
  6. ใครว่าขนาดไม่สำคัญ! ถ้าเป็นเรื่องลายมือล่ะก็ มันสำคัญมากทีเดียวล่ะ ให้ลองสังเกตดูว่าตัวหนังสือของคุณนั้นใหญ่คับเต็มพื้นที่ระหว่างเส้นกำกับบนกระดาษ 2 เส้นเลยไหม? หรือว่าคุณเขียนหนังสือตัวเล็กๆ เบียดลงไปได้ในพื้นที่น้อยกว่าครึ่งได้สบายๆ ? คุณควรกะขนาดตัวหนังสือให้มีความพอดี ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป
  7. Watermark wikiHow to พัฒนาลายมือ
    ลองสังเกตว่าความสม่ำเสมอของการลงน้ำหนักมือดู คุณกดน้ำหนักลงไปมากๆ หรือว่าคุณเขียนตัวอักษรบางๆ กันนะ? อย่าลืมดูด้วยว่าลายเส้นของแต่ละตัวอักษรมีลักษณะตั้งตรงหรือว่าเป็นตัวยึกๆ ยือๆ ไม่เป็นระเบียบสักเท่าไหร่?
  8. ลองสังเกตลายมือของตนเองตามหัวข้อต่างๆ ด้านบนเพื่อดูว่าคุณต้องปรับอะไรบ้าง? บางทีการปรับรูปร่าง การเว้นช่องไฟ แก้ขนาดตัวหนังสือ แก้ความเอียงของตัวหนังสือโดยรวม หรือเปลี่ยนน้ำหนักมือเพียงเล็กน้อยก็สามารถแก้ไขลายมือของคุณให้สวยและอ่านง่ายขึ้นได้แล้ว [1]
  9. Watermark wikiHow to พัฒนาลายมือ
    เมื่อรู้แล้วว่าคุณควรแก้ไขลายมือจากจุดไหน แล้วยังไงต่อล่ะ? ลองเข้าเว็บไซต์ที่มีฟอนต์ (font) ประเภทต่างๆ ดูซิ คุณอาจเลือกแบบที่คุณชอบและสามารถเขียนตามได้ง่ายๆ มาทดลองฝึกเขียนตามดู หรืออาจเลือกฟอนต์แบบที่ฉีกแนวไปเลยหลายๆ แบบ แล้วนำองค์ประกอบแต่ละแบบ มาใช้เป็นแนวทางในการเขียนตัวอักษรของคุณ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การเปลี่ยนลายมือ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to พัฒนาลายมือ
    หลายๆ ครั้งต้นเหตุของลายมือที่แย่มาจากการเรียนรู้และฝึกฝนการใช้กล้ามเนื้อมือ แขน และไหล่ที่ไม่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงการเขียนหนังสือโดยใช้มืออย่างเดียว คุณควรจะขยับทั้งแขนและไหล่ประกอบกันไป คุณสามารถฝึกโดยใช้นิ้วร่างตัวอักษรในอากาศ การทำแบบนี้คุณจะได้ขยับทั้งแขนและไหล่ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะสามารถช่วยให้ลายมือของคุณดีขึ้น ไม่เบียดกันจนเละเทะและอ่านไม่ออกอย่างที่ผ่านมา!
  2. การจับดินสอหรือปากกาที่ดีควรจะจับไว้ระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ (บางคนอาจใช้นิ้วกลางด้วย) ส่วนปลายของด้ามควรจะถูกพักไว้ที่ง่ามของมือหรือข้อนิ้วชี้ การจับแน่นหรือเบาเกินไปไม่ว่าจะจับด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม จะทำให้ลายมือออกมาแย่ ให้จับที่ปลายของดินสอหรือปากกาค่อนไปทาง 1/3 ของปลายด้าม เพื่อให้ได้ลายมือที่สวยงาม [2]
  3. Watermark wikiHow to พัฒนาลายมือ
    การที่ลายมือแย่นั้น มาจากความไม่เป็นระบบและความไม่มีระเบียบระหว่างตัวอักษรและรูปร่าง ตัวอักษรล้วนประกอบด้วยเส้นตรง ทรงกลม หรือรูปครึ่งวงกลมทั้งนั้น คุณสามารถพัฒนาทักษะโดยวาดเส้นตรงที่ขนานกันบนกระดาษ และฝึกวาดวงกลมมากๆ ร่วมด้วยก็ได้ เมื่อคุณชำนาญแล้วก็ลองฝึกเขียนตัวอักษรได้เลย! [3]
  4. ถึงแม้ว่าแต่ละคนจะมีวิธีการเขียนตัวอักษรแต่ละตัวที่แตกต่างกันออกไป แต่ในปัจจุบันคุณสามารถหาแม่แบบการเขียนพยัญชนะที่ถูกต้องได้ไม่ยาก การยึดเอาแม่แบบนี้เป็นตัวอย่างสามารถช่วยพัฒนาลายมือของคุณได้ เช่นคุณอาจเริ่มเขียนตัว “a” จากหางก่อนมาตลอด ให้ลองเปลี่ยนไปเริ่มที่ด้านบนของตัวอักษรแทน ค่อยๆ ฝึกการเขียนที่ถูกต้อง เหมือนอย่างที่คุณครูเคยสอนตอนอนุบาลไงล่ะ!
  5. อาจจะฟังดูเว่อร์ไปสักหน่อย แต่จริงๆ แล้ว อุปกรณ์การเขียนแต่ละชนิด ไม่ได้เหมาะกับทุกคน บางครั้งลายมือจะสวยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์เหล่านี้เลยล่ะ ให้ลองใช้ปากกาลูกลื่น หมึกซึม หรืออื่นๆ โดยอาจทดลองดินสอแบบต่างๆ ด้วยก็ได้ ลองหาไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะเจอด้ามที่ใช่และเหมาะกับคุณ!
  6. ใช่แล้ว! คุณควรจะฝึกคัดพยัญชนะทีละตัวเหมือนสมัยเด็กๆ และถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็ให้ฝึกทั้งตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่เลย ให้อิงจากรูปแบบพยัญชนะที่คุณชื่นชอบเป็นพิเศษ และนำมาดัดแปลงให้เข้ากับตัวคุณ หากคุณมีปัญหาเรื่องตัวหนังสือเอียง ก็ลองหาจุดโฟกัสดูเพื่อปรับปรุงส่วนนี้ หากคุณมีปัญหาเรื่องรูปร่างตัวอักษรให้ใช้จินตนาการร่วมกับการเขียนด้วย
  7. เมื่อคุณแน่ใจว่าได้ฝึกการเขียนพยัญชนะแต่ละตัวมามากพอแล้ว ให้ลองหาประโยคหรือบทความที่มีตัวอักษรครบทุกตัวมาเขียนซ้ำๆ การฝึกเขียนตัวหนังสือภาษาอังกฤษคุณอาจใช้ “the quick brown fox jumps over the lazy dog” ในการฝึก ส่วนภาษาไทยคงจะหายากสักหน่อย ลองเลือกบทความที่มีความหลากหลายของพยัญชนะมาก็ได้ แน่นอนว่าการเขียนประโยคเดิมๆ วนไปมานั้นน่าเบื่อ แต่การฝึกบ่อยๆ จะทำให้คุณได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจทีเดียว
  8. ไม่ว่าจะเป็นการร่างบทความ หรือเขียนถึงเพื่อน ให้ลองหลีกเลี่ยงการพิมพ์ในคอมพิวเตอร์ แล้วหันมาเขียนด้วยลายมือแทน ให้หาโอกาสเขียนหนังสืออยู่เรื่อยๆ เพราะการได้ฝึกฝนบ่อยๆ เป็นการพัฒนาทักษะที่ดีที่สุด มันอาจจะกินเวลาไปบ้าง แต่นั่นหมายถึงว่าคุณได้พัฒนากล้ามเนื้อที่จำเป็นไปพร้อมกันด้วย [4]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เริ่มต้นช้าๆ ให้คุณพุ่งเป้าไปกับคุณภาพของลายมือ เมื่อเขียนได้สวยเป็นที่น่าพอใจแล้ว ค่อยเริ่มเขียนเร็วขึ้นอีกหน่อยก็ได้
  • เขียนให้ตรงอย่าล้ำหรือคร่อมเส้นกำกับ
  • เลือกใช้ทั้งอุปกรณ์การเขียนและกระดาษที่มีคุณภาพ เพราะมันส่งผลกับลายมือมากเลยล่ะ
  • ควรฝึกทักษะด้วยการเขียนให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 บทความ
  • ในการพัฒนาการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษ อาจท้าทายความสามารถตัวเองเพิ่มโดยการสลับตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ในการเขียนประโยค “The quick brown fox jumps over the lazy dog.”
  • เวลาเขียนหนังสือควรพักแขนไว้บนโต๊ะ การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณควบคุมทิศทางได้ดีขึ้น และต้องแน่ใจว่าโต๊ะนั้นนิ่งสนิท ไม่สั่นหรือขยับด้วยนะ!
  • ไม่ต้องรีบ! เขียนช้าๆ และใส่ใจในการเขียนจะช่วยให้ลายมือดีขึ้น
  • พยายามเขียนให้ตัวอักษรมีขนาดเท่าๆ กัน เพื่อความเป็นระเบียบและสวยงาม
  • นำบทความที่คุณเขียนด้วยลายมือสวยๆ วางไว้ใกล้ๆ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ
  • ใช้กระดาษเส้นเพื่อช่วยให้เขียนเป็นระเบียบยิ่งขึ้น
  • เลือกใช้ดินสอแบบที่ชอบ
  • ลองหาบทความหรือประโยคอื่นๆ ที่มือพยัญชนะครบทุกตัวมาฝึกเขียน
  • ค่อยๆ ฝึกไปทีละตัวอักษร อย่ารีบร้อนไปนะ เมื่อเก็บรายละเอียดจนคิดว่าเขียนได้ดีแล้ว คุณค่อยเริ่มฝึกตัวอักษรอื่นๆ ต่อไป
  • ให้ใช้ดินสอหรือปากกาที่มีคุณภาพ เชื่อหรือไม่ว่ามันสามารถช่วยให้คุณเขียนได้ดีขึ้น
  • อาจลองใช้ปลอกหุ้มดินสอเพื่อให้จับด้ามดินสอได้กระชับมือยิ่งขึ้น
  • หากคุณเป็นนักเรียนและต้องจดเลคเชอร์แบบรีบๆ อยู่บ่อยๆ เมื่อมีเวลาว่างให้นำโน้ตเหล่านั้นมาเขียนเสียใหม่แล้วค่อยนำไปส่ง นอกจากการทำแบบนี้จะสร้างความประทับใจให้กับผู้อ่านแล้ว ยังช่วยทบทวนบทเรียนได้ดีเยี่ยมอีกด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • ไม่จำเป็นต้องกดปากกาหรือดินสอหนักๆ การทำแบบนี้จะทำให้คุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคดิสโทเนีย (หรือที่รู้จักกันว่า writer’s cramp)
  • อย่าไปทิ้งกระดาษที่คุณใช้ฝึกเขียน เวลาต้องการกลับมาดูรูปร่างของตัวอักษรแต่ละตัว หรือใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ มันมีประโยชน์มากเลยล่ะ!
  • ควรใช้กระดาษอย่างรู้คุณค่า โดยใช้ให้เต็มพื้นที่และใช้ทั้ง 2 หน้า


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 108,995 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา