PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ตุ่มเลือด (blood blister) เกิดจากอาการบาดเจ็บที่ผิวหนัง เช่น รองเท้ากัด หรือผิวหนังถูกเสียดสีรุนแรง จนเกิดตุ่มแดง มีของเหลวข้างใน เผลอโดนเข้าทีไรก็เจ็บน่าดู ปกติตุ่มเลือดไม่อันตรายอะไร ปล่อยไว้เดี๋ยวก็หายเอง แต่ถ้ารู้วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นตุ่มเลือด ก็จะเจ็บน้อยลงและไม่ต้องกลัวติดเชื้อ บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำขั้นตอนต่างๆ ในการดูแลตุ่มเลือดด้วยตัวเองจนหายสนิทดี

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

รักษาทันทีหลังบาดเจ็บ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มจากถอดถุงเท้า รองเท้า เสื้อผ้า หรืออะไรก็ตามที่กดทับออกไป ให้ตุ่มเลือดได้โดนอากาศ อย่าให้มีอะไรมาเสียดสีหรือกดทับ ถ้าตุ่มเลือดโดนอากาศจะหายเร็วขึ้น และถ้าไม่มีแรงกดทับ ตุ่มเลือดก็จะไม่แตก ลดโอกาสติดเชื้อ [1]
  2. ประคบเย็นถ้าหลังเกิดตุ่มเลือดแล้วเจ็บทันที. ประคบเย็นด้วยผ้าห่อน้ำแข็งหรือเจลแพ็คบริเวณที่เป็น ครั้งละ 10 - 30 นาที [2] จะช่วยลดอาการเจ็บปวดและเย็นสบายขึ้นได้ถ้าตรงตุ่มเลือดรู้สึกร้อนหรือเต้นตุบๆ คุณประคบเย็นได้เรื่อยๆ ไม่จำกัดว่าเฉพาะหลังบาดเจ็บ
    • ห้ามเอาน้ำแข็งไปแนบผิวโดยตรง เพราะความเย็นจะกัดผิวจนไหม้ ต้องมีผ้าคั่นระหว่างน้ำแข็งกับผิวที่บาดเจ็บ [3]
    • ค่อยๆ ทาเจลว่านหางจระเข้ที่ตุ่มเลือด ก็ช่วยบรรเทาอาการปวดบวมได้ [4]
  3. แน่นอนว่ายั่วมือยั่วใจแน่นอน แต่ถ้าตุ่มเลือดแตกอาจติดเชื้อได้ เท่ากับไปขัดขวางกระบวนการรักษาตัวตามธรรมชาติของร่างกาย ถ้าตุ่มเลือดอยู่ในจุดที่ต้องเจอแรงกดทับตลอด ให้พยายามลดแรงกดทับให้ได้มากที่สุด
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

รอจนหายเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติตุ่มเลือดจะหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป แต่ถ้ารักษาความสะอาดและตุ่มเลือดแห้งอยู่เสมอ ก็จะยิ่งหายเร็ว [5] ถ้าตุ่มเลือดโดนอากาศอยู่เสมอ จะทำให้หายเร็วขึ้น และไม่เสี่ยงติดเชื้อ
  2. ถ้าตุ่มเลือดอยู่ในบริเวณที่ผิวหนังถูกถูไถอยู่ตลอด เช่น ส้นเท้าหรือนิ้วเท้า ก็ต้องพยายามลดการเสียดสีให้มากที่สุด อย่าพยายามไปโดนตุ่มเลือด เพราะถ้าตุ่มเลือดถูกเสียดสีบ่อยเข้า เช่น ส้นเท้าเสียดสีกับรองเท้า ก็จะแตกออกมาได้ ให้ใช้แผ่นแปะเท้าแบบมีรูตรงกลางหรือแผ่นสักหลาด จะช่วยป้องกันการเสียดสีได้ง่ายที่สุด [6]
    • แผ่นแปะเท้าพองแบบมีรูตรงกลางหรือ donut-shaped moleskin ก็คือพลาสเตอร์สักหลาดหนาๆ ใช้แปะลดการเสียดสี แต่เว้นช่องให้ตุ่มเลือดโผล่มาหายใจได้ จะได้หายเร็ว [7] เวลาแปะ ตุ่มเลือดต้องอยู่กลางรูพอดี เพื่อลดแรงกดทับกับแรงเสียดสี [8]
  3. ถ้าตุ่มเลือดถูไถกับอะไรบ่อยๆ โดยเฉพาะตุ่มที่เท้าหรือนิ้วมือ ให้ป้องกันโดยใช้ผ้าพันแผลพันหลวมๆ ก็จะช่วยป้องกันเพิ่มเติมได้ [9] ผ้าพันแผลช่วยลดแรงกดทับและการเสียดสีที่ตุ่มเลือด ซึ่งเป็น 2 ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ตุ่มเลือดหายเร็ว และลดโอกาสติดเชื้อ ต้องใช้ผ้าพันแผลที่ฆ่าเชื้อเรียบร้อย และหมั่นเปลี่ยนผ้าใหม่บ่อยๆ [10]
    • ก่อนพันแผลให้ทำความสะอาดตุ่มเลือดและบริเวณโดยรอบก่อน
  4. ถ้าตุ่มเลือดใหญ่จนน่ากลัว ให้รีบหาหมอด่วน เพราะบางเคสก็จำเป็นต้องเจาะน้ำหรือเลือดข้างในออก ซึ่งเป็นอะไรที่ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะติดเชื้อง่ายมาก
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ต้องเจาะตุ่มเลือดเมื่อไหร่ยังไง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงปกติตุ่มเลือดจะหายได้เอง ซึ่งก็ควรทำแบบนั้น แต่ก็มีบางเคสที่รักษาด้วยการเจาะจะดีที่สุด เช่น ถ้าเลือดคั่งเยอะเกินไปจนปวด หรือตุ่มเลือดใหญ่ขึ้นจนจะแตก [11] พิจารณาว่าจำเป็นไหมที่ต้องเจาะระบายเลือดออก โดยคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย
    • อย่าลืมว่านี่คือตุ่มเลือด ที่ต้องดูแลรักษาอย่างระมัดระวังกว่าตุ่มพองธรรมดาเยอะเลย
    • ถ้าตกลงเลือกเจาะออก ก็ต้องระวังให้มาก ศึกษาขั้นตอนวิธีการให้ดี จะได้ไม่เสี่ยงติดเชื้อ
    • อย่างที่บอกว่ากรณีนี้ติดเชื้อง่ายมาก ถ้าอาการไม่หนักจริงๆ เช่น มีเชื้อ HIV, เป็นเบาหวาน, โรคหัวใจ หรือมะเร็ง ก็ปล่อยให้ตุ่มยุบเองดีกว่า
  2. ถ้าตกลงเลือดเจาะระบายเลือด ก็ต้องคิดถึงเรื่องป้องกันการติดเชื้อเป็นอันดับแรก โดยล้างมือให้สะอาด แล้วทำความสะอาดบริเวณตุ่มเลือดให้ทั่วด้วยน้ำสบู่ ต่อมาให้ฆ่าเชื้อเข็มฉีดยาด้วยแอลกอฮอล์ล้างแผล สำคัญมากเพราะต้องใช้เจาะตุ่มเลือด (ห้ามใช้เข็มหมุดเด็ดขาด เพราะคมน้อยกว่าเยอะ แถมปลายไม่ค่อยเรียบด้วย) [12]
  3. ค่อยๆ ใช้เข็มเจาะที่ขอบตุ่มเลือด เลือดและของเหลวต่างๆ ที่คั่งอยู่ข้างในจะไหลออกมาจากรูที่เพิ่งเจาะ จะบีบช่วยนิดๆ ก็ได้ (แต่ต้องเบามือมากๆ) จะได้ระบายเลือดที่คั่งอยู่ออกมาจนหมด [13]
  4. ต่อมาให้ทายาฆ่าเชื้อ (ปกติคนจะไม่แพ้กัน แต่จะเช็คก่อนก็ได้) เช่น เบตาดีน ที่แผล แล้วทำความสะอาดรอบๆ แผลด้วย จากนั้นพันแผลด้วยผ้าที่ฆ่าเชื้อแล้ว เสร็จแล้วก็ยังต้องระวังอย่าให้แผลโดนกดทับหรือเสียดสีอยู่ดี ที่สำคัญคือต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อให้ดี และเปลี่ยนผ้าพันแผลบ่อยๆ [14]
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ดูแลตุ่มเลือดที่แตก

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าตุ่มเลือดฉีกหรือแตกออกมาเพราะแรงกดทับหรือการเสียดสี ก็ต้องรีบทำความสะอาดทันที จะได้ไม่ติดเชื้อ เริ่มจากค่อยๆ ระบายเลือดและของเหลวอื่นๆ จากตุ่มที่แตกออกมา [15]
  2. ล้างทั้งแผลและบริเวณโดยรอบ ตามด้วยทายาฆ่าเชื้อ (ถ้าไม่แพ้) เหมือนกับขั้นตอนที่เจาะแล้วระบายตุ่มเลือดด้วยตัวเอง [16] อย่าใช้แอลกอฮอล์หรือทิงเจอร์ราดแผลโดยตรง เพราะจะทำให้แผลหายช้ากว่าเดิม
  3. หลังจากระบายเลือดจนหมดแล้ว อย่าตัดเนื้อที่เกินมาออก ให้ค่อยๆ ลูบให้เรียบไปกับแผลสด จะได้เป็นชั้นป้องกัน ทำให้แผลหายเร็วขึ้น อย่าตัดหรือเผลอไปแกะเกาผิวรอบขอบแผลเด็ดขาด [17]
  4. ต้องใช้ผ้าพันแผลปกปิดแผลหรือตุ่มเลือดที่ระบายแล้วไว้ จะได้ไม่ติดเชื้อ ผ้าพันแผลจะช่วยป้องกันแรงกดทับ เส้นเลือดจะได้ไม่ฉีกขาด แต่ก็อย่าพันแน่นไปจนเลือดไม่ไหลมาเลี้ยงบริเวณนั้นล่ะ ต่อไปหลังล้างแผลประจำวันต้องเปลี่ยนผ้าพันแผลด้วย ปกติประมาณ 1 อาทิตย์แผลก็หายแล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

เฝ้าระวังอาการติดเชื้อ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดูแลตุ่มเลือดแล้วต้องเฝ้าระวังอาการติดเชื้อด้วย. ถ้าติดเชื้อขึ้นมา คุณหมอจะจ่ายยาปฏิชีวนะมาให้กินฆ่าเชื้อ แต่ก็ต้องล้างและทำแผลดีๆ ด้วย จะได้ป้องกันการติดเชื้ออีกทาง
    • ถ้าเริ่มรู้สึกไม่ดี มีไข้สูง แปลว่าคุณน่าจะติดเชื้อ [18]
  2. ทั้งอาการปวดบวมแดง หรือเป็นตุ่มเลือดแล้วปวดต่อมาอีกนาน ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่บอกว่าคุณติดเชื้อ เพราะงั้นต้องหมั่นดูแลให้เหมาะสม และเฝ้าระวังอาการของตุ่มเลือด [19]
  3. ถ้ามีเส้นสีแดงยาวต่อมาจากตุ่มเลือด ถือเป็นสัญญาณอันตรายว่าคุณติดเชื้อรุนแรง และลามไปถึงระบบน้ำเหลืองแล้ว Lymphangitis หรือการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองมักเกิดเมื่อแผลติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย แล้วเชื้อลามเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง [20]
    • อาการอื่นๆ ของ lymphangitis ก็คือต่อมน้ำเหลืองบวม, เป็นไข้, หนาวสั่น, ไม่อยากอาหาร และรู้สึกไม่สบายตัวหรืออ่อนแรง [21]
    • ถ้ามีอาการอย่างที่ว่า ให้รีบหาหมอทันที
  4. หนองก็เป็นสัญญาณที่ชัดมาก ว่าตุ่มเลือดนั้นน่าจะติดเชื้อเข้าแล้ว หนองมักเป็นสีเหลืองหรือเขียว หรือมีหนองขาวขุ่นคั่งอยู่ในตุ่มเลือดหรือไหลออกมา ต้องคอยจับตาดูและประเมินอาการของตัวเองให้ดี ที่สำคัญคือต้องรักษาความสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อแต่แรก [22]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 27,178 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา