PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

โรคถุงน้ำลูกอัณฑะคือภาวะที่มีการสะสมของน้ำภายในถุงอัณฑะของผู้ชาย โดยพื้นฐานก็คือการที่น้ำไหลท่วมอยู่รอบๆ อัณฑะข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง [1] โรคนี้เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย กล่าวคือมีเด็กชายชาวอเมริกันประมาณ 1-2% ที่เกิดมาพร้อมกับโรคนี้ [2] ในกรณีส่วนใหญ่โรคถุงน้ำลูกอัณฑะนั้นไม่ได้เป็นอันตรายและมักจะหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่อาการบวมที่ถุงอัณฑะก็ควรได้รับการประเมินจากบุคลากรทางการแพทย์เสมอเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้มีสาเหตุมาจากปัญหาอื่นๆ การรักษาโรคถุงน้ำลูกอัณฑะที่ไม่หายไปเองมักจะต้องอาศัยการผ่าตัด แม้ว่าจะมีวิธีการรักษาด้วยตนเองที่ช่วยได้บ้างเหมือนกัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เข้าใจและรับมือกับโรคถุงน้ำลูกอัณฑะ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. สัญญาณแรกของโรคถุงน้ำลูกอัณฑะก็คือ ถุงอัณฑะบวมหรือใหญ่ขึ้นแต่ไม่เจ็บ ซึ่งเกิดจากการสะสมของน้ำรอบอัณฑะข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง [3] เด็กทารกมักจะไม่ค่อยมีอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคถุงน้ำลูกอัณฑะ และส่วนใหญ่ก็หายได้เองโดยไม่ต้องรักษาก่อนที่เด็กจะอายุ 1 ขวบด้วยซ้ำ ในทางตรงกันข้ามผู้ชายที่เป็นโรคถุงน้ำลูกอัณฑะสุดท้ายแล้วอาจจะรู้สึกไม่สบายตัวเนื่องจากถุงอัณฑะบวมและหนัก ซึ่งในบางรายที่มีอาการรุนแรงก็อาจจะทำให้นั่งหรือเดิน/วิ่งลำบากด้วย
    • อาการปวดหรือไม่สบายตัวจากโรคถุงน้ำลูกอัณฑะมักจะสัมพันธ์กับขนาด ยิ่งใหญ่มากเท่าไหร่คุณก็จะยิ่งรู้สึกได้มากขึ้นเท่านั้น
    • โรคถุงน้ำลูกอัณฑะมักจะมีขนาดเล็กในตอนเช้า (ตอนตื่นนอน) และจะยิ่งบวมขึ้นระหว่างวัน [4] การบีบรัดอาจทำให้ถุงน้ำลูกอัณฑะมีขนาดใหญ่ขึ้น
    • เด็กที่คลอดก่อนกำหนดจะยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคถุงน้ำลูกอัณฑะ [5]
  2. ในกรณีส่วนใหญ่ของเด็กทารก วัยรุ่น และผู้ชายในวัยผู้ใหญ่ โรคถุงน้ำลูกอัณฑะสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา [6] การอุดตันหรือการคั่งบริเวณใกล้ๆ กับลูกอัณฑะนั้นจะหายไปเอง และถุงน้ำลูกอัณฑะก็จะระบายออกมาแล้วซึมเข้าสู่ร่างกาย เพราะฉะนั้นถ้าคุณสังเกตว่าถุงอัณฑะใหญ่ขึ้นและมันไม่เจ็บหรือไม่ได้มีปัญหาเวลาปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ ก็ให้รอมันหายเอง
    • สำหรับเด็กทารก โรคถุงน้ำลูกอัณฑะมักจะหายไปเองภายใน 1 ปีหลังจากที่เขาเกิด
    • สำหรับผู้ชาย โรคถุงน้ำลูกอัณฑะมักจะค่อยๆ หายไปเองภายใน 6 เดือนแล้วแต่สาเหตุ ถ้ายิ่งใหญ่ก็อาจจะยิ่งใช้เวลานานหน่อย แต่ไม่ควรเกิน 1 ปีโดยที่ไม่ต้องเข้ารับการรักษา
    • อย่างไรก็ตามโรคถุงน้ำลูกอัณฑะในเด็กและวัยรุ่นนั้นอาจจะเกิดจากการติดเชื้อ อาการบาดเจ็บ ภาวะอัณฑะบิดขั้ว หรือเนื้องอก เพราะฉะนั้นคุณต้องให้แพทย์เป็นคนตรวจเพื่อยืนยันว่าไม่ได้มีปัญหาเหล่านี้
    • โรคถุงน้ำลูกอัณฑะก็เหมือนกับปมประสาทที่เต็มไปด้วยน้ำที่ขึ้นอยู่ในปลอกหุ้มเอ็นใกล้ๆ ข้อต่อ และจากนั้นก็จะค่อยๆ หายไปเอง
  3. ถ้าคุณสังเกตว่าลูกอัณฑะ/ถุงอัณฑะของคุณบวมโดยที่ ไม่เจ็บ ให้แช่น้ำอุ่นที่ผสมดีเกลือฝรั่งอย่างน้อย 2-3 ถ้วย [7] นอนแช่อ่างอาบน้ำ 15-20 นาทีโดยอ้าขาเล็กน้อยเพื่อให้น้ำไหลคลุมถุงอัณฑะ ความอุ่นของน้ำจะไปกระตุ้นการเคลื่อนไหวของของเหลวในร่างกาย (ซึ่งอาจจะช่วยลดการอุดตัน) และเกลือก็ช่วยดูดซับของเหลวผ่านทางผิวหนังและลดอาการบวม นอกจากนี้ดีเกลือฝรั่งยังอุดมไปด้วยแมกนีเซียมที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นผ่อนคลาย อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการกดเจ็บได้อีกด้วย
    • ถ้าอาการปวดของคุณเกี่ยวข้องกับโรคถุงน้ำลูกอัณฑะ การให้ถุงอัณฑะสัมผัสกับน้ำอุ่น (หรือความร้อนจากแหล่งอื่น) ก็อาจจะทำให้ยิ่งอักเสบและทำให้อาการแย่ลงได้
    • อย่าให้น้ำในอ่างร้อนเกินไป (เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำร้อนลวก) และอย่านั่งแช่ในอ่างนานเกินไป (เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ)
  4. หลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บที่อัณฑะและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. สาเหตุของโรคถุงน้ำลูกอัณฑะในเด็กทารกนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีการสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการสะสมของน้ำที่เกิดจากการไหลเวียนที่ไม่ดีเนื่องจากท่าของเด็กทารกตอนที่ยังอยู่ในมดลูก อย่างไรก็ตามในเด็กผู้ชายและผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่นั้น สาเหตุมักจะเกี่ยวข้องกับอาการบาดเจ็บที่ถุงอัณฑะหรือการติดเชื้อ [8] ซึ่งอาการบาดเจ็บที่ว่านี้อาจจะเกิดจากการเล่นมวยปล้ำ ศิลปะการต่อสู้ ปั่นจักรยาน และกิจกรรมทางเพศต่างๆ ส่วนการติดเชื้อในอัณฑะ/ถุงอัณฑะนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ [9] เพราะฉะนั้นให้ป้องกันถุงอัณฑะไม่ให้บาดเจ็บและมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
    • ถ้าคุณเล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะ ให้ใส่กางเกงในไส้เลื่อนที่มีถ้วยพลาสติกคอยป้องกันไม่ให้ถุงอัณฑะบาดเจ็บเสมอ
    • ใช้ถุงยางอนามัยอันใหม่ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ได้ลามไปถึงลูกอัณฑะเสมอไปก็จริง แต่ก็พบได้บ่อยเช่นเดียวกัน
  5. คุณควรพาทารกน้อยไปพบแพทย์ถ้าถุงอัณฑะยังไม่หายบวมหลังจากผ่านไป 1 ปีหรือถ้ามันยังใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ [10] ผู้ชายควรไปพบแพทย์หากโรคถุงน้ำลูกอัณฑะยังคงอยู่หลังจากผ่านไปแล้ว 6 เดือน หรือมันใหญ่จนกระทั่งทำให้เกิดอาการปวด/ไม่สบายตัวหรือผิดรูป
    • การติดเชื้อที่ลูกอัณฑะไม่เหมือนกับโรคถุงน้ำลูกอัณฑะ แต่มันอาจเป็นสาเหตุของโรคถุงน้ำลูกอัณฑะได้ การติดเชื้อที่ลูกอัณฑะทำให้เกิดอาการปวดรุนแรงและควรได้รับการรักษาเพราะว่ามันเพิ่มความเสี่ยงที่คุณจะเป็นหมัน คุณควรเข้ารับการรักษาทางการแพทย์เมื่อถุงอัณฑะบวมและมีไข้
    • ถ้าโรคถุงน้ำลูกอัณฑะมีผลต่อการวิ่ง เดิน หรือนั่ง ก็ได้เวลาไปพบแพทย์แล้ว
    • โรคถุงน้ำลูกอัณฑะไม่มีผลต่อความสามารถในการมีบุตร
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เข้ารับการรักษาทางการแพทย์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าโรคถุงน้ำลูกอัณฑะคงอยู่นานกว่าปกติหรือทำให้เกิดอาการปวดหรืออาการอื่นๆ คุณก็ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ แม้ว่าโรคถุงน้ำลูกอัณฑะจะไม่ใช่โรคร้ายแรงก็จริง แต่แพทย์ก็ต้องตรวจเพื่อให้แน่ใจว่ามันไม่ใช่ปัญหาร้ายแรงอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายกัน เช่น ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ ภาวะหลอดเลือดดำอัณฑะขอด การติดเชื้อ เนื้องอกที่ไม่เป็นอันตราย หรือมะเร็งที่ลูกอัณฑะ [11] เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคถุงน้ำลูกอัณฑะ คุณก็มีทางเลือกเดียวคือต้องผ่าตัด เพราะการรักษาด้วยยานั้นไม่ได้ผล
    • แพทย์อาจจะใช้การอัลตราซาวด์เพื่อการวินิจฉัย เอ็มอาร์ไอ หรือซีทีสแกนเพื่อให้เห็นชัดว่ามีอะไรอยู่ในถุงอัณฑะ
    • การส่องไฟสว่างๆ เข้าไปที่ถุงอัณฑะก็สามารถบอกได้แล้วว่าของเหลวข้างในใส (ซึ่งก็คือเป็นโรคถุงน้ำลูกอัณฑะ) หรือขุ่น ซึ่งอาจจะเป็นเลือดและ/หรือน้ำหนอง
    • การตรวจเลือดและปัสสาวะก็ช่วยยืนยันได้ว่าคุณไม่ได้ติดเชื้อ เช่น เอพิดิไดมิสอักเสบ โรคคางทูม หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
  2. เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคถุงน้ำลูกอัณฑะ วิธีการที่เจ็บตัวน้อยที่สุดก็คือการระบายของเหลวออกจากถุงอัณฑะโดยการใช้เข็ม ซึ่งเรียกว่าการเจาะแล้วดูดออกด้วยเข็ม [12] หลังจากฉีดยาชาเฉพาะที่แล้ว แพทย์ก็จะใช้เข็มสอดเข้าไปในถุงอัณฑะเพื่อเจาะถุงน้ำออก จากนั้นของเหลวใสๆ ก็จะไหลออกมา ถ้าของเหลวไหลออกมาเป็นเลือดและ/หรือเต็มไปด้วยน้ำหนอง ก็แสดงว่าเป็นอาการบาดเจ็บ การติดเชื้อ หรืออาจจะเป็นมะเร็ง ขั้นตอนนี้ใช้เวลาครู่เดียวและไม่ต้องใช้เวลาพักฟื้นนาน แค่ประมาณ 1 วันเท่านั้น
    • การเจาะแล้วดูดออกด้วยเข็มเพื่อรักษาโรคถุงน้ำลูกอัณฑะนั้นไม่ได้ทำกันบ่อยนัก เพราะว่าของเหลวมันมักจะกลับไปสะสมอีกครั้ง ทำให้ต้องรักษากันอีกรอบ [13]
    • บางครั้งแพทย์อาจจะต้องสอดเข็มเข้าไปตรงบริเวณขาหนีบ (ไข่ดัน) ถ้าถุงน้ำขึ้นอยู่เหนือถุงอัณฑะหรือมีบางส่วนอยู่นอกถุงอัณฑะ
  3. วิธีจัดการกับโรคถุงน้ำลูกอัณฑะที่กลับมาเป็นบ่อยๆ และ/หรือแสดงอาการที่แพร่หลายมากที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือ การผ่าตัดเอาถุงน้ำอัณฑะออกไปพร้อมกับของเหลว เรียกว่าการผ่าตัดถุงน้ำลูกอัณฑะ [14] วิธีนี้จะทำให้มีโอกาสกลับไปเป็นอีกแค่ 1% เท่านั้น [15] ซึ่งการผ่าตัดอาจจะใช้มีดผ่าตัดหรือผ่านกล้อง ซึ่งจะมีกล้องเล็กจิ๋วติดอยู่กับอุปกรณ์สำหรับผ่าตัดขนาดยาว การผ่าตัดถุงน้ำลูกอัณฑะนั้นมักจะทำที่คลินิกผู้ป่วยนอกโดยการให้ยาสลบทั่วไป การพักฟื้นมักจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าต้องผ่าเข้าไปในผนังท้องหรือไม่
    • ถ้าเป็นเด็กทารก ศัลยแพทย์มักจะผ่าเข้าไปในขาหนีบ (บริเวณไข่ดัน) เพื่อระบายน้ำออกแล้วเอาถุงน้ำออกมา จากนั้นก็จะเย็บเพื่อให้ผนังกล้ามเนื้อแข็งแรง ซึ่งโดยพื้นฐานก็เหมือนกับการผ่าตัดไส้เลื่อนนั่นเอง
    • ในผู้ใหญ่ ศัลยแพทย์มักจะผ่าเข้าไปในถุงอัณฑะเพื่อระบายน้ำออก แล้วเอาถุงน้ำลูกอัณฑะออกมา [16]
    • หลังจากผ่าตัดถุงน้ำลูกอัณฑะแล้ว คุณอาจจะยังต้องมีท่อสอดอยู่ในถุงอัณฑะเพื่อระบายน้ำส่วนเกินต่ออีก 2-3 วัน
    • คุณควรอาจจะต้องผ่าตัดซ่อมแซมเพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นไส้เลื่อนตรงบริเวณที่ถูกตัดออกจากเส้นเลือด แล้วแต่ประเภทของถุงน้ำลูกอัณฑะ
  4. การพักฟื้นหลังการผ่าตัดถุงน้ำลูกอัณฑะนั้นส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่นานนัก โดยปกติแล้วผู้ชายที่สุขภาพดีจะสามารถกลับบ้านได้หลังจากผ่าตัดไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง น้อยมากที่จะต้องนอนที่โรงพยาบาล [17] เด็กๆ ควรจำกัดกิจกรรม (ไม่ทำอะไรหนักๆ) และนอนพักบนเตียงหรือโซฟาประมาณ 48 ชั่วโมงหลังจากการผ่าตัด ผู้ชายวัยผู้ใหญ่ก็ควรปฏิบัติตามคำแนะนำนี้เช่นเดียวกัน และชะลอกิจกรรมทางเพศไปสัก 1 สัปดาห์เพื่อความปลอดภัย
    • หลังการผ่าตัดถุงน้ำลูกอัณฑะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้อีกครั้งหลังจากผ่านไปแล้ว 4-7 วัน [18]
    • อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดที่ต้องระมัดระวังได้แก่ อาการแพ้ยาสลบ (หายใจลำบาก) เลือดออกในหรือนอกถุงอัณฑะไม่หยุด และการติดเชื้อ
    • สัญญาณของการติดเชื้อแบคทีเรียได้แก่ การปวดบริเวณขาหนีบ การอักเสบ รอยแดง กลิ่นเหม็น และอาจจะมีไข้อ่อนๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าอายที่จะตรวจถุงอัณฑะด้วยตัวเองเป็นครั้งคราว เพราะมันเป็นวิธีการที่ดีในการตรวจสอบปัญหา (เช่น โรคถุงน้ำลูกอัณฑะ) ก่อนจะกลายไปเป็นอาการอื่นๆ ที่ร้ายแรงกว่านี้
  • แม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อย แต่โรคถุงน้ำลูกอัณฑะอาจเกิดจากการติดเชื้อพยาธิตัวกลมในกลุ่มฟิลาเรีย (ปรสิต) ที่อัณฑะ ซึ่งทำให้เกิดอาการบวมอย่างรุนแรงและโรคเท้าช้าง
  • ในการคลายความไม่สบายตัวหลังการผ่าตัดถุงน้ำลูกอัณฑะ ให้ใช้อุปกรณ์พยุงถุงอัณฑะและน้ำแข็งป่น (ห่อในผ้าบางๆ) เพื่อลดอาการบวม
  • โรคถุงน้ำลูกอัณฑะบางครั้งก็เกิดขึ้นพร้อมกับไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ แต่ว่าตามปกติแล้วการผ่าตัดเพียงครั้งเดียวก็สามารถรักษาทั้งสองโรคได้พร้อมกัน
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณรู้สึกปวดและถุงอัณฑะบวมขึ้นอย่างรวดเร็ว ให้ไปพบแพทย์ทันที
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 18,496 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา