PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

การมีสามีหรือภรรยาที่คอยควบคุมชีวิตของเราเป็นเรื่องที่น่าเหนื่อยหน่ายอย่างยิ่ง สามี/ภรรยาที่ชอบควบคุมมักจะจู้จี้จุกจิก ชอบวิพากษ์วิจารณ์ และตีกรอบอีกฝ่ายว่าทำอะไรได้หรือไม่ได้ คุณอาจจะร่วมมือกับสามี/ภรรยาในการทำให้ชีวิตแต่งงานดีขึ้น หรือคุณอาจจะขอความช่วยเหลือจากนักบำบัดก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าพฤติกรรมที่คอยควบคุมของเขารุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน ถ้าพฤติกรรมของเขารุนแรงมากหรือไปหานักบำบัดแล้วแต่ก็ยังไม่ดีขึ้น คุณอาจจะต้องคิดเรื่องการยุติความสัมพันธ์กับคนรักที่ชอบควบคุมเพื่อให้ได้อิสรภาพกลับคืนมาอีกครั้ง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รับมือกับพฤติกรรมควบคุมเล็กๆ น้อยๆ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลายคนโต้กลับพฤติกรรมควบคุมของสามี/ภรรยาด้วยการเถียงกลับโดยอัตโนมัติ แต่โชคร้ายที่คนที่ชอบควบคุมนั้นเขามักจะไม่ยอมแพ้แล้วปล่อยให้คุณเถียงชนะได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นวิธีนี้จึงมีแต่จะทำให้สถานการณ์ยิ่งบานปลายไปกันใหญ่ แทนที่จะเถียงกลับ ให้ใจเย็นๆ และนิ่งให้ได้มากที่สุด เพราะคุณสามารถแสดงความไม่เห็นด้วยกับสามี/ภรรยาได้โดยไม่ต้องตะคอกหรือแสดงความไม่ให้เกียรติกัน [1]
    • ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณต้องแสดงความไม่เห็นด้วยกับสามี/ภรรยา คุณก็อาจจะพูดประมาณว่า "ผมเข้าใจมุมมองของคุณนะ แต่คุณลองคิดถึงมุมนี้แล้วหรือยัง" แทนที่จะบอกว่า "นั่นไม่ใช่ล่ะ ความคิดของผมดีกว่า!"
    • ในบางกรณีคุณอาจจะคิดว่าการเห็นด้วยกับคนรักคือทางออกที่ดีที่สุด แต่คุณก็สามารถทำเช่นนี้ได้โดยไม่ต้องยอมอ่อนข้อให้กับพฤติกรรมควบคุม เช่น คุณอาจจะริเริ่มตัดสินใจด้วยตัวเอง แต่ก็ยังคงพิจารณาความเห็นของสามี/ภรรยาด้วย
  2. ในบางกรณีคุณอาจจะใช้นิสัยชอบควบคุมของสามี/ภรรยาในการแก้ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ในความสัมพันธ์ อธิบายปัญหาให้สามี/ภรรยาฟัง และตอบสนองความต้องการที่จะควบคุมของเขาด้วยการขอให้เขาวางแผนแก้ไขปัญหา
    • เวลาอธิบายปัญหาให้สามี/ภรรยาฟัง พยายามเจาะจงให้ได้มากที่สุด เช่น แทนที่จะพูดว่า "คุณควบคุมฉันมากเกินไป" ก็อาจจะเปลี่ยนไปพูดทำนองว่า "ฉันรู้สึกว่าคุณจู้จี้จุกจิกกับเรื่องของฉันมากเกินไป และไม่ค่อยเชื่อใจให้ฉันทำอะไรด้วยตัวเองเลย"
    • ถ้าสามี/ภรรยาของคุณไม่ยอมรับว่ามีปัญหาเกิดขึ้น วิธีนี้ก็อาจจะไม่ได้ผล
  3. เวลาที่สามี/ภรรยาของคุณออกคำสั่งหรือพยายามควบคุมคุณ การพยายามมองสิ่งต่างๆ จากมุมมองของเขาหรือเธอก็อาจจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ ค่อยๆ พิจารณาว่าทำไมสามี/ภรรยาของคุณถึงได้ทำแบบนี้ และพยายามทำความเข้าใจเขาให้มากๆ วิธีนี้อาจจะช่วยให้คุณไม่โกรธเขาเวลาที่เขาแสดงพฤติกรรมควบคุมออกมา [2]
    • วิธีนี้น่าจะช่วยให้คุณเข้าใจพฤติกรรมของสามี/ภรรยาและอาจจะมองข้ามเหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ ไปได้ แต่คุณไม่ควรใช้เทคนิคนี้แก้ต่างให้กับพฤติกรรมที่ไม่ให้เกียรติกัน
  4. ถ้าสามี/ภรรยาของคุณเริ่มจะวิจารณ์หรือซักไซ้ไล่เรียงคุณ คุณสามารถเบี่ยงประเด็นได้ทันทีด้วยการถามคำถามที่เหมาะสมกลับไป ถามคำถามที่แสดงให้สามี/ภรรยาที่ชอบควบคุมเห็นว่า ความคาดหวังของเขามันไม่สมเหตุสมผลหรือคุณรับพฤติกรรมของเขาไม่ได้ เช่น คุณอาจจะถามว่า "คุณได้อธิบายให้ฉันฟังแบบเป๊ะๆ หรือเปล่าว่าคุณอยากให้ฉันทำอะไร" หรือ "ถ้าคุณไม่เริ่มปฏิบัติกับฉันอย่างให้เกียรติแล้วล่ะก็ ฉันจะลุกออกไป คุณอยากได้แบบนี้ใช่ไหม" [3]
    • อย่าแสดงการปกป้องตัวเอง เพราะมีแต่จะยิ่งส่งเสริมพฤติกรรมควบคุม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

แก้ไขรูปแบบพฤติกรรมควบคุมที่เกิดขึ้นซ้ำๆ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฝ่ายควบคุมมักจะไม่รู้ว่าตัวเองกำลังควบคุมคนอื่นอยู่ จริงๆ แล้วฝ่ายควบคุมหลายคนรู้สึกเหมือนว่าตัวเองกำลังถูกควบคุม ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่อธิบายได้ว่าทำไมพวกเขาถึงรู้สึกว่าตัวเองต้องไปมีส่วนร่วมด้วยตลอด ถ้าคุณต้องรับมือกับสามี/ภรรยาที่ควบคุมคุณมากเกินไปเป็นประจำ คุณก็น่าจะต้องทำให้เขาเชื่อให้ได้ว่าเขาเป็นคนชอบควบคุมคนอื่น ซึ่งก็อาจจะต้องใช้เวลาสักระยะ [4]
    • เวลาที่คุยกันเรื่องนี้ พยายามให้เกียรติเขาให้มากที่สุด ถ้าคุณอยากจะรักษาชีวิตคู่ไว้ คุณก็ไม่ควรไปโจมตีนิสัยของสามี/ภรรยา แต่เน้นไปที่การกระทำหรือสถานการณ์ที่ทำให้คุณไม่พอใจแทน
    • พยายามยกตัวอย่างให้ได้มากที่สุดเวลาที่คุณอธิบายว่าอะไรที่เรียกว่าเป็น "การควบคุม"
  2. พอคุณคุยกับสามี/ภรรยาเรื่องพฤติกรรมควบคุมของเขาแล้ว คุณต้องพูดให้ชัดเจนว่าคุณยอมที่จะอดทนเรื่องอะไรบ้าง อธิบายสามี/ภรรยาให้ละเอียดที่สุดว่า พฤติกรรมแบบไหนที่ต้องปรับปรุง [5]
    • คุณอาจจะเขียนรายการปัญหาที่ใหญ่ที่สุดออกมา และช่วยกันคิดกับสามี/ภรรยาว่า คุณสามารถทำอะไรได้บ้างที่จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นในอนาคต
    • จำไว้ว่าสามี/ภรรยาเองก็อาจจะคิดว่าคุณชอบควบคุมเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเปิดใจรับฟังขอบเขตที่เขาอาจจะกำหนดขึ้นมาด้วย
  3. คุณอาจจะต้องเตือนสามี/ภรรยาเรื่องขอบเขตของคุณบ่อยๆ เพราะฉะนั้นคุณก็ควรตัดสินใจว่า พฤติกรรมแบบไหนที่จะนำมาซึ่งผลที่ตามมาและผลที่ตามมาเหล่านั้นคืออะไร แต่ก็ควรใช้กับความผิดเรื่องใหญ่ๆ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่น [6]
    • ถ้าเป็นความผิดเล็กๆ น้อยๆ แค่เตือนเขาเรื่องขอบเขตของคุณก็น่าจะพอแล้ว
    • อย่าใช้วิธีให้ผลที่ตามมามากเกินไป เพราะการยกเลิกสิทธิพิเศษหรือการแสดงความรักทั้งที่เขาทำผิดเรื่องเล็กน้อยมากๆ เป็นพฤติกรรมของคนที่ชอบควบคุมคนอื่น!
    • ผลที่ตามมาต้องเป็นเรื่องที่ค่อนข้างรุนแรง เช่น คุณอาจจะตัดสินใจว่าคุณจะย้ายออกจากบ้านถ้าสามี/ภรรยาของคุณไม่พยายามที่จะปฏิบัติกับคุณอย่างให้เกียรติตลอดช่วงเดือนถัดไป
  4. ถ้าสามี/ภรรยาของคุณไม่ยอมรับว่าเขามีพฤติกรรมชอบควบคุม หรือถ้าคุณสองคนไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง ให้ลองหานักบำบัดที่เชี่ยวชาญ สามี/ภรรยาของคุณอาจจะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า พฤติกรรมชอบควบคุมคืออะไรและจะเลิกพฤติกรรมนี้ได้อย่างไร [7]
    • คุณอาจจะเข้ารับการบำบัดคู่สมรส เพราะมันจะเปิดโอกาสให้คุณได้พูดคุยเรื่องปัญหาด้วยกันตามแนวทางของนักบำบัดคู่สมรสมืออาชีพ
    • นอกจากนี้สามี/ภรรยาของคุณก็อาจจะได้ประโยชน์จากการบำบัดแบบเดี่ยวที่อาจจะช่วยให้รู้สาเหตุที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมควบคุม เช่น ความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำหรือบาดแผลในวัยเด็ก
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

กลับมาควบคุมชีวิตตัวเองอีกครั้ง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. สามี/ภรรยาที่ชอบควบคุมหลายคนทำให้คนรักโดดเดี่ยวด้วยการเอาเวลาของเขาไปหมดหรือห้ามไม่ให้ไปไหนกับเพื่อนๆ ถ้ากรณีของคุณเป็นแบบนี้ คุณต้องยืนหยัดเพื่อตัวเองและบอกให้สามี/ภรรยารู้ว่า คุณไม่ต้องการให้ความสัมพันธ์อื่นๆ พัง [8]
    • คุณมีสิทธิ์ที่จะอยู่คนเดียวเช่นกัน เพราะฉะนั้นบอกให้สามี/ภรรยารู้หากคุณต้องการเวลาเพื่อทำงานอดิเรกของตัวเองหรือจะแค่อยู่ตามลำพังก็ได้ การส่งเสริมให้สามี/ภรรยาเริ่มทำงานอดิเรกก็อาจจะทำให้วิธีนี้ง่ายขึ้น
    • ถ้าคุณกำลังพยายามทำให้ชีวิตคู่ของคุณดีขึ้น คุณก็ควรจะใช้เวลาร่วมกับสามี/ภรรยาบ้าง ทำให้ช่วงเวลานี้มีความหมายด้วยการทำกิจกรรมสนุกๆ ด้วยกัน
  2. ถ้าสามี/ภรรยาที่ชอบควบคุมคอยปรามาสคุณอยู่เสมอ คุณก็อาจจะเริ่มรู้สึกว่าคุณเองก็สมควรได้รับคำพากษ์วิจารณ์แบบนั้น เพราะฉะนั้นคุณต้องเตือนตัวเองว่าคุณสมควรได้รับสิ่งที่ดีที่สุด และพยายามอย่าไปเก็บคำวิพากษ์วิจารณ์มาใส่ใจ [9]
    • การแบกรับคำวิพากษ์วิจารณ์ไว้อาจทำให้คุณสงสัยในความสามารถของตัวเอง ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้กับคุณ ให้เตือนตัวเองถึงเป้าหมายที่ครั้งหนึ่งคุณเคยอยากจะพิชิตให้ได้และไล่ความคิดเชิงลบเกี่ยวกับความสามารถของคุณที่สามี/ภรรยาฟังหัวคุณไว้ออกไป การค่อยๆ เริ่มทำตามเป้าหมายเหล่านี้ไปทีละก้าวเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการปลดปล่อยตัวเองออกจากสามี/ภรรยาที่ชอบควบคุม
  3. สามี/ภรรยาที่ชอบควบคุมหลายคนใช้ความรู้สึกผิดในการควบคุมคนรัก ถ้าคนรักของคุณทำแบบนี้ ให้รู้ว่ามันเป็นแค่กลยุทธ์หนึ่งที่เขาใช้ในการควบคุมคุณ และอย่าปล่อยให้มันมามีผลต่อการตัดสินใจ [10]
    • สามี/ภรรยาที่ชอบควบคุมบางคนอาจจะทำให้คนรักรู้สึกผิดด้วยการคร่ำครวญว่าเขาไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถ้าคนรักจากไป หรือแม้แต่ขู่ว่าจะทำร้ายตัวเอง
    • สามี/ภรรยาที่ชอบควบคุมบางคนก็อาจจะทำให้คนรักรู้สึกผิดด้วยการทำให้เขารู้สึกเหมือนว่า เขาติดหนี้บุญคุณในเรื่องต่างๆ เช่น ให้ที่อยู่อาศัยหรือให้ความรัก
  4. สามี/ภรรยาที่ชอบควบคุมหลายคนครอบงำคนรักด้วยการบอกว่าเขาต้องคิดอะไรหรือต้องมีค่านิยมอะไร ถ้าคุณมีความคิดเห็นหรือความเชื่อที่ต่างไปจากของสามี/ภรรยาของคุณ คุณต้องยืนหยัดในสิทธิ์ที่จะมีความคิดเห็นและความเชื่อเป็นของตัวเอง [11]
    • ถ้าคุณกับสามี/ภรรยานับถือคนละศาสนา รักษาอิสรภาพของตัวเองไว้ด้วยการไปปฏิบัติศาสนกิจคนเดียวหรือไปกับครอบครัว
    • ถ้าคุณมีความเชื่อทางการเมืองต่างจากสามี/ภรรยา ก็ให้ลงคะแนนตามความศรัทธาของคุณ
  5. ในบางกรณีพฤติกรรมควบคุมก็อาจได้รับการแก้ไขและถูกแทนที่ด้วยการให้เกียรติซึ่งกันและกัน แต่คุณก็ต้องรู้ด้วยว่ามันอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป บ่อยครั้งที่คนที่ชอบควบคุมคนอื่นก็ไม่สามารถเปลี่ยนตัวเองได้ เพราะฉะนั้นคุณจึงต้องยินดีที่จะยุติความสัมพันธ์หากมันทำร้ายคุณ [12]
    • พฤติกรรมบางอย่างเป็นสิ่งที่ไม่ควรอดทนด้วยเด็ดขาด ถ้าสามี/ภรรยาของคุณทำร้ายคุณทางร่างกาย ด้วยวาจา ทางอารมณ์ หรือทางเพศ การยุติความสัมพันธ์เป็นทางออกที่ดีที่สุด ถ้าคุณต้องการความช่วยเหลือ ให้โทรไปที่สายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,650 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา