PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

การทะเลาะเบาะแว้งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในชีวิตคู่ ความโกรธเคืองและการทุ่มเถียงกันอย่างรุนแรงไม่ได้หมายความว่าความสัมพันธ์ระหว่างกันกำลังจะจบลง คู่สามีภรรยาหลายคู่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าการช่วยกันฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรคมาได้สำเร็จจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันแน่นแฟ้นขึ้น ไม่ว่าคนเราจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกันแบบไหน ก็ต้องอาศัยความรัก ความเข้าใจ ความอดทนเพื่อจะได้สามารถรักษาความสัมพันธ์ให้ยืนยาว และยิ่งต้องอาศัยสามสิ่งเหล่านี้มากยิ่งขึ้น เมื่อต้องพยายามสานความสัมพันธ์ที่แตกร้าวให้กลับมาดีดังเดิม

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

หาสาเหตุและแก้ไขปัญหาร่วมกัน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดูสิว่าอีกฝ่าย “ต้องการ” แก้ไขปัญหาไปด้วยกันไหม. ไม่มีประโยชน์ที่จะพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกัน ถ้าเราเป็นฝ่ายเดียวที่อยากแก้ไข ถ้าคู่ชีวิตของเราไม่เสียใจกับสิ่งที่ทำผิดพลาดไป ไม่อยากพูดคุยกับเรา หรือเอาแต่ทำพฤติกรรมที่สร้างความทุกข์ใจให้ ก็อาจถึงเวลาที่ต้องยุติความสัมพันธ์ [1]
    • ทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมมือกันสานสัมพันธ์ที่แตกร้าว ถ้าเราเป็นฝ่ายเดียวที่ต้องการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันเอาไว้ เราก็จะไม่มีทางทำได้สำเร็จ
  2. ความสัมพันธ์ทุกรูปแบบต่างต้องพบปัญหาและอุปสรรคในช่วงต่างๆ ขณะที่ช่วงข้าวใหม่ปลามันสองสามเดือนแรกกำลังหมดลง ปัญหาและความเครียดก็เริ่มเพิ่มมากขึ้น และอะไรที่เราเคยคิดว่าดีกลับเริ่มทำให้เรารำคาญเหลือทน ถึงแม้เป็นธรรมดาที่มักจะเกิดปัญหาเล็กๆ น้อยๆ อยู่เสมอ แต่บางปัญหาก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ ถ้าปล่อยไว้นานจนเกินไป
    • เราไม่เคยคิดว่าความเห็นของตนเองนั้นสำคัญ
    • เรารู้สึกว่าคู่ชีวิตไม่สนว่าเราต้องการอะไร
    • เรารู้สึกว่าคู่ชีวิตไม่สนใจช่วยเหลืองานบ้าน ค่าใช้จ่ายต่างๆ ดูแลลูก หรือเรื่องอื่นๆ
    • เราสื่อสารไม่ดีและชอบเถียงบ่อยๆ [2]
  3. พูดคุยกับคู่ชีวิตถึงเรื่องที่กำลังทำให้เราวิตกกังวลอยู่. มีอยู่หลายครั้งที่ความสัมพันธ์ต้องจบลงหรือมีปัญหาเพราะทั้งคู่ต่างไม่พูดคุยกันมากพอ เมื่อพบปัญหาและความยากลำบาก เราจะต้องบอกอีกฝ่ายด้วยเพื่อจะได้ช่วยกันหาทางออก
    [3]
    • พูดความจริงกับคู่ชีวิต เปิดเผยปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ทุกอย่าง ไม่อย่างนั้นเราจะไม่มีทางแก้ไขได้สำเร็จ
    • อาจเขียนปัญหาต่างๆ ของตนลงกระดาษ หรือพูดคุยกับเพื่อนสนิทก่อนก็ได้ เราจะได้สบายใจมากพอที่จะเล่าปัญหาของตนเองให้คู่ชีวิตฟังภายหลัง
  4. แทนที่จะคิดว่าตนเองต้องพูดอะไรต่อไป ให้ฟังและพยายามเข้าใจสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังจะบอกเรา การตั้งใจฟังจะแสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าเราเคารพความเห็นของเขาและช่วยให้เราทั้งคู่รู้ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับความสัมพันธ์ของเรา
  5. บ่อยครั้งเหลือเกินที่คู่รักสนใจแต่อารมณ์ความรู้สึกของตนเองและไม่สนใจที่จะหาสาเหตุว่าเพราะอะไรอีกฝ่ายถึงโกรธเคือง ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปก็จะทะเลาะกันง่ายและโกรธกันนาน แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ง่าย ลองหยุดคิดสักครู่ว่าทำไมอีกฝ่ายถึงโกรธเคือง เราได้ทำอะไรผิดพลาดลงไปจนทำให้เขาต้องทุกข์ใจ [4]
  6. แค่พูดคุยกันอย่างเดียวไม่เพียงพอ เราต้องลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อแก้ไขปัญหาด้วย พอเรารู้ว่าปัญหาคืออะไร ก็ให้แต่ละคนคิดวิธีแก้ปัญหามาคนละอย่างน้อย 2 วิธี บอกวิธีแก้ปัญหาของเราให้อีกฝ่ายรับรู้และขอให้เขาช่วยติดตามและตรวจสอบเราด้วย วิธีเดียวที่จะสานสัมพันธ์ที่แตกร้าวคือพยายามทำให้ความสัมพันธ์กลับมาดีดังเดิม
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าอีกฝ่ายรู้สึกว่าตนทำงานบ้านทั้งหมดอยู่คนเดียว ให้เราเขียนรายการงานบ้านสัก 4-5 อย่างที่เราจะทำทุกวัน
    • ถ้าอีกฝ่ายเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างกันไม่หวานชื่นเหมือนเดิม แต่ละสัปดาห์ให้หาวันสักวันและออกไปทำกิจกรรมสร้างความโรแมนติกด้วยกัน
    • ถ้าอีกฝ่ายรู้สึกว่าเราไม่เห็นความสำคัญหรือไม่รักเขา ให้เราแก้ไขด้วยการรับฟังเขาให้มากขึ้นในช่วงเวลากินข้าวด้วยกันหรือก่อนเข้านอน
  7. นี้อาจเป็นส่วนที่ยากที่สุดของการสานความสัมพันธ์ แต่ก็เป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุดด้วย การให้อภัยจะช่วยคลายความโกรธ ความเจ็บปวด และอารมณ์ความรู้สึกที่เก็บเอาไว้ลง ความรู้สึกที่ไม่ดีเหล่านั้นจะไม่กลับมาหาเราอีกในภายหลัง และทำลายสิ่งดีๆ ที่เราได้ทำเอาไว้ จงจำไว้ว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ และถ้าคนเราไม่มีการให้อภัยซึ่งกันและกัน เราก็ไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์อันดีกับใครได้เลย [5]
    • การให้อภัยต้องใช้เวลา ฉะนั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่เราอาจยังคงโกรธอีกฝ่ายอยู่ 1-2 วัน หลังจากโต้เถียงกัน พยายามให้อภัยอีกฝ่ายและเราจะตกใจเมื่อเห็นว่าความรู้สึกที่ไม่ดีต่างๆ นั้นอันตรธารหายไปอย่างรวดเร็ว
    • พูดคุยกับอีกฝ่ายและมองในมุมของเขาด้วย เราจะได้เข้าใจปัญหาและให้อภัยเขาได้ง่ายขึ้น
  8. เว้นระยะห่างและให้เวลาจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น. การอยู่ด้วยกัน ไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นได้ เวลาเราต้องการสานความสัมพันธ์ที่แตกร้าว เราอาจคิดว่าต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลา ความสัมพันธ์ถึงจะกลับมาดีดังเดิม แต่การทำแบบนั้นทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่ได้ถอยกลับมามองภาพรวมหรือความสัมพันธ์ระหว่างกัน วิธีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย การอยู่ด้วยกันตลอดเวลาบ่อยครั้งนำมาสู่การทะเลาะเบาะแว้งหรือทำให้รู้สึกเหมือนถูกกักขัง
    • จงระลึกไว้ว่า “ถ้าเรารักอะไรสักอย่าง ก็ปล่อยสิ่งนั้นไป” การทำให้คนอื่นรู้สึกอึดอัดหรือเอาแต่ตามไปควบคุมคนอื่นจะทำให้ไม่มีใครอยากมาใกล้ชิดเรา จงเชื่อมั่นในตนเองและเชื่อใจคู่ชีวิต ปล่อยให้ต่างฝ่ายต่างได้มีเวลาอยู่คนเดียวบ้าง ทั้งเราและเขาจะได้กลับมาอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขมากขึ้นละมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเหมือนเดิม
  9. หลังจากอยู่ด้วยกันมานาน เราอาจเผลอปล่อยให้ปัญหาต่างๆ ในชีวิต เช่น การเงิน ลูก หรือความเครียดเข้ามาบดบังความทรงจำดีๆ ที่เรามี ลองออกจากการดำเนินชีวิตประจำวันสักครู่และคิดถึงช่วงเวลาดีๆ ที่เคยมีกับคู่ชีวิตของเรา นึกถึงเหตุการณ์อันเป็นเหตุผลที่ทำให้เราอยู่ด้วยกันอย่างราบรื่น การนึกถึงเรื่องดีๆ จะช่วยลดความคิดในแง่ลบที่อาจเข้ามาในจิตใจช่วงนี้และนึกออกว่าทำไมเราถึงได้รักกัน [6]
    • ลองกลับไปดูอัลบั้มรูปเก่าๆ และบอกเล่าเรื่องราวช่วงที่เพิ่งคบกันให้กันและกันฟัง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

สานความสัมพันธ์หลังการนอกใจ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยอมรับว่าอาจต้องใช้เวลานานกว่าจะทำให้อีกฝ่ายกลับมาเชื่อใจอีกครั้งได้. เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูญเสียความเชื่อมั่นในตัวอีกฝ่ายไป อาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะกลับมาเชื่อใจกันอีกครั้ง การนอกใจคู่สมรส ออกจากบ้าน แอบมาพบเพื่อนร่วมงานต่างเพศ หรือส่งข้อความหาใครอีกคน ย่อมทำให้อีกฝ่ายรู้สึกหึงหวงและไม่เชื่อใจ ฉะนั้นจงเตรียมตัวที่จะแก้ไขปัญหาอันใหญ่หลวงนี้และสร้างความเชื่อใจให้กลับมาอีกครั้งถึงจะต้องใช้เวลาหลายเดือนก็ตาม
    • พยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะยากลำบากแค่ไหนในแต่ละวัน จนกว่าเราจะสามารถทำให้อีกฝ่ายกลับมาเชื่อใจเราอีกครั้งในสักวันหนึ่ง
  2. อย่าแก้ตัว โทษคู่ชีวิต หรือถือว่าเรื่องที่เกิดขึ้น “เป็นเรื่องเล็กน้อย” เราจะต้องยอมรับว่าตนเองไม่ซื่อสัตย์เพื่อจะได้ขอให้อีกฝ่ายยกโทษและเริ่มเดินหน้าความสัมพันธ์ต่อไป ลองพิจารณาตนเองให้ละเอียดถี่ถ้วนดู แล้วจะรู้ว่าอะไรทำให้เรานอกใจอีกฝ่ายและหาทางป้องกันไม่ให้ตนเองนอกใจคนรักอีก [7]
  3. นี้อาจเป็นการกระทำที่ยากที่สุดหลังจากเกิดเรื่อง ไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม แต่การขอให้อีกฝ่ายยกโทษให้เป็นทางเดียวที่จะเริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่ได้ เราจะไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ถ้าคู่ชีวิตของเรายังคงเอาแต่รู้สึกคับแค้นใจ ถึงแม้จะไม่ได้รับการให้อภัยโดยทันที แต่ก็ต้องยอมและขอให้อีกฝ่ายยกโทษให้อยู่ดี
    • ถึงเราต้องขอให้อีกฝ่ายยกโทษให้หลายครั้ง เราก็ต้องทำ เราต้องขอโทษอีกฝ่ายจากใจจริงที่เราทำผิดต่อเขา
  4. ถ้าเรานอกใจอีกฝ่าย วิธีที่จะทำให้เขากลับมาเชื่อใจเราได้เร็วที่สุดคืออย่าปิดบังอะไร ยอมและอำนวยความสะดวกให้คู่ชีวิตสามารถติดตามดูพฤติกรรมของเราได้ง่าย อย่าปิดบังอะไรไว้ แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่อย่างนั้นอาจทำให้อีกฝ่ายไม่ไว้ใจเรา
  5. เราต้องแสดงให้เห็นว่าตนเองนั้นเป็นคนที่เชื่อถือได้ ถ้าสัญญาว่าจะโทรหา ก็ต้องโทรหา มาตรงตามเวลานัด และช่วยทำธุระ หรืองานต่างๆ ภายในบ้านตามที่สัญญาทุกครั้ง [8]
    • อย่าสัญญา ถ้าทำตามสัญญานั้นไม่ได้
    • ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนแผน ให้เปลี่ยนล่วงหน้าหลายวัน และให้เวลาอีกฝ่ายมากพอที่จะปรับตารางกำหนดการของตนด้วย
  6. รับฟังว่าอีกฝ่ายต้องการอะไรเพื่อจะได้รู้ว่าควรทำอย่างไรถึงจะสานสัมพันธ์ให้กลับมาดีดังเดิมได้ อีกฝ่ายอาจต้องการให้มีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้นหรือต้องการอยู่ห่างเราไปสักพัก เขาอาจอยากให้เรากลับบ้านเร็วขึ้นหรือเลิกดื่มเหล้า ไม่ว่าอีกฝ่ายต้องการให้เราทำอะไร ให้ถามเขาว่า “จะให้ฉันทำอะไรบ้างเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้” ฟังคำตอบของอีกฝ่ายโดยไม่ตัดสิน
    • อย่าไรก็ตามอย่าให้เกิดการทำร้ายร่างกายกัน ต้องมีความจริงใจ ความเมตตา และหวังดีต่อกัน และอย่าให้คู่ชีวิตทำร้ายร่างกายเราเพื่อ จะได้เกิด “ความยุติธรรม” หรือเพราะต้องการแก้แค้น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ป้องกันไม่ให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันมีปัญหา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราต้องหาเวลาอยู่ด้วยกันเพื่อรักษาความรักของกันและกันให้คงอยู่ หากิจกรรมที่เราสนุกเมื่อได้ทำด้วยกันและหาเวลาทำกิจกรรมนั้นด้วยกัน ตั้งแต่ช่วยกันทำอาหารเย็นไปจนถึงการไปปีนเขาในวันหยุดด้วยกัน เราต้องใช้การกระทำรักษาความสัมพันธ์ให้ราบรื่น อย่าเพิกเฉยคู่ชีวิตและคิดว่าเขาจะยังคงรักเราเหมือนเดิม
    • ถ้าไม่สามารถหาเวลาพบปะ พูดคุย หรือทำกิจกกรมด้วยกันได้ ให้เขียนจดหมายถึงกันหรือหาเวลาพูดคุยกันทางโทรศัพท์หรือทางสื่อสังคม
  2. การพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาจะช่วยป้องกันปัญหาไม่ให้ลุกลามบานปลายจนเป็นเรื่องใหญ่ เมื่อมีอะไรมาทำให้เราไม่สบายใจ ให้พูดคุยกันดีกว่าเก็บเอาไว้ในใจ ถ้าเก็บความโกรธไว้ในใจหรือปล่อยให้ความโกรธนั้นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ทั้งสองฝ่ายกลับมาคืนดีกันได้ยาก
    • ความหึงหวง ความเข้าใจผิด และการเอาตนเองเป็นใหญ่อาจทำให้ความรักล้มเหลว ฉะนั้นบอกเรื่องที่กังวลอยู่ออกไปตรงๆ ดีกว่าเก็บไว้ในใจ
  3. อีกฝ่ายเป็นอีกครึ่งหนึ่งของเรา เราต้องนึกถึงเรื่องนี้ไว้ เวลาพบอุปสรรคและความยากลำบาก ข้อดีที่สุดข้อหนึ่งของการมีคนรักคือการได้รู้ว่าเราไม่ได้เผชิญอุปสรรคและความยากลำบากเพียงลำพัง เรามีคู่ชีวิตและเพื่อนคอยช่วยเหลือเราให้สามารถผ่านสถานการณ์และความรู้สึกอันเลวร้ายไปได้
    • ช่วยกันแก้ไขปัญหา
    • มีการพูดคุยถึงปัญหาที่ทำงานหรือปัญหาภายในบ้านและระดมสมองคิดหาทางแก้ปัญหาไปด้วยกัน
    • โทรหาอีกฝ่าย เมื่อต้องการพูดคุยกับใครสักคน อีกฝ่ายยินดีรับฟังเสมอ ถ้าเราต้องการเขา
  4. ตื่นแต่เช้า กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ออกกกำลังกาย และดูแลตนเอง การพัฒนาตนเองไม่เพียงทำให้เรามีความสุขเท่านั้น แต่ทำให้เราหันมารักและเอาใจใส่คู่ชีวิตมากขึ้น เราต้องมีร่างกายที่แข็งแรงและพื้นที่ว่างในจิตใจเพื่อจะได้รักคู่ชีวิตและรักตนเอง
  5. ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ และเรามักจะตัดสินคนที่เรารักรุนแรงมากกว่าคนอื่น คู่ชีวิตของเราอาจทำสิ่งที่ผิดพลาดลงไปหรือทำร้ายความรู้สึกเรา การให้อภัยโดยทันทีอาจยากลำบาก แต่ทางเดียวที่จะรักษาความรักเอาไว้ได้คือรู้และยอมรับว่าอีกฝ่ายนั้นไม่สมบูรณ์แบบ และให้อภัยเมื่อเขาทำผิด ยอมรับและหาข้อดีของพฤติกรรมอันแปลกประหลาดของเขาแทนที่จะพยายามเปลี่ยนแปลงเขา
    • เราต้องให้อภัยอีกฝ่าย เพราะเมื่อเราเกิดทำอะไรผิดพลาดลงไป เขาจะได้ให้อภัยเราบ้าง อย่าลืมว่าเราเองก็ไม่สมบูรณ์แบบเหมือนกัน
  6. หนีจากความเครียดในชีวิตประจำวันไปสักหนึ่งสัปดาห์หรือแค่สองวันเสาร์-อาทิตย์ก็ได้ พยายามเชื่อมสายสัมพันธ์อีกครั้ง การออกไปเปลี่ยนบรรยากาศเป็นวิธีปรับเปลี่ยนอารมณ์ที่ดียิ่งวิธีหนึ่ง พอเราได้ออกจากปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เราก็จะสามารถเอาใจใส่สิ่งที่สำคัญที่สุดได้นั้นคือกันและกัน
    • ถ้าไม่สามารถออกไปพักร้อนข้างนอกได้ ลองหาวิธีพักร้อนที่บ้านก็ได้ ออกไปกินอาหารเย็นด้วยกัน แล้วจึงไปดูหนัง จากนั้นเข้าพักในโรงแรม หรือใช้เวลาช่วงวันอาทิตย์ที่มีฝนตกพูดคุยกันก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ยุติความสัมพันธ์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยุติความสัมพันธ์ ถ้าเห็นว่านำมาซึ่งความทุกข์หรือความเจ็บช้ำใจเสมอ. ถึงแม้จะมีช่วงเวลาที่ดีต่อกันมากมายหลายครั้ง ตอนที่สิ่งต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่นดี แต่ถ้าอีกฝ่ายมักจะทำให้เจ็บช้ำน้ำใจด้วยการด่าว่า นอกใจ หรือหายตัวไปเสมอโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ถ้าเราทะเลาะกันหรือเป็นฝ่ายเจ็บช้ำใจอยู่เรื่อย แสดงว่าเรากำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่ดี เราต้องออกจากความสัมพันธ์แบบนี้ [9]
    • อย่าให้ช่วงเวลาแห่งความสุขมาทำให้เราลังเลใจ คู่ชีวิตเราไม่ควรทำร้ายจิตใจเราหรือทำให้เราช้ำใจ ไม่ว่าเขาจะดีมากแค่ไหนก็ตาม
  2. รู้ว่าปัญหาความสัมพันธ์ไม่ใช่ความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง. ความสัมพันธ์ระหว่างกันเกิดจากคนสองคน ฉะนั้นอย่าให้คู่ชีวิตโทษว่าทุกอย่างเป็นความผิดของเราอยู่ฝ่ายเดียว คนที่ไม่ยอมรับความผิดในส่วนของตนเองจะอยู่เคียงข้างเราลำบากหรือไม่มีทางอยู่เคียงข้างเราเลย อย่าให้ใครมาบังคับเราให้เป็นฝ่ายเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาความสัมพันธ์ เพราะนี้เป็นสัญญาณของความสัมพันธ์แบบเผด็จการที่ไม่ดี
    • เราควรจะรู้สึกมีอิสระเสมอเมื่ออยู่กับคู่ชีวิต [10]
  3. สังเกตว่าเวลาทะเลาะกันนั้นมีการช่วยกันแก้ไขปัญหาด้วยดีหรือยืดเยื้อนานเป็นสัปดาห์. ความสัมพันธ์ที่ดีจะมีการโต้เถียงกันด้วยเหตุผล และจบลงด้วยการช่วยกันแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วโดยไม่ใช้ความรุนแรงหรือการด่าว่า ถ้าทะเลาะกันนานหลายวันหรือหลายสัปดาห์ หรือเอาแต่ทะเลาะกันเรื่องเดิมๆ หลายครั้ง อาจได้เวลายุติความสัมพันธ์แล้ว [11]
    • วิธีนี้ใช้กับกรณีที่เราทะเลาะกันเรื่องต่างๆ ทุกวัน ถ้าเห็นว่ามักทะเลาะกันทุกเรื่อง ให้ถอยกลับมาและถามตนเองว่าทำไม
  4. รู้ตัวว่าแผนในชีวิตของเราและอีกฝ่ายไม่ตรงกันเลย. คู่รักที่ครั้งหนึ่งเข้ากันได้ดีก็อาจเริ่มมีปัญหาเมื่อเป้าหมายและแผนการชีวิตขัดแย้งกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าคนหนึ่งต้องการกลับไปเรียนต่อ แต่อีกคนต้องการเที่ยวรอบโลก อีกฝ่ายอาจรู้สึกน้อยใจหรือถูกหลอกไม่ว่าเราจะเลือกความฝันของเราหรือของเขา ถ้าเราทะเลาะกับอีกฝ่ายเป็นประจำหรือห่างกันเพราะมีความฝันที่แตกต่างกัน อาจได้เวลาไล่ตามเป้าหมายของตนเองแล้ว [12]
    • พูดคุยเรื่องแต่งงานหรือการมีลูก ถ้าเราและคู่ชีวิตมีทัศนคติไม่ตรงกัน นี้เป็นสัญญาณเตือนว่าความสัมพันธ์ระยะยาวอาจมีปัญหา
  5. ยุติความสัมพันธ์ ถ้าอยู่ด้วยกันแล้วทุกข์มากกว่าสุข. เมื่ออยู่ด้วยกันควรจะรู้สึกสนุก รู้สึกมั่นคงและมีความสุขที่ได้ใช้ชีวิตร่วมกัน แต่ถ้าเห็นว่าตนเองเสียดายเวลาที่อยู่ด้วยกัน ตื่นขึ้นมาก็ไม่มีความสุข หรือทุกข์ที่มีคู่ชีวิต ถึงเวลายุติความสัมพันธ์แล้ว [13]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • รีบสานสัมพันธ์ที่แตกร้าวทันที อย่ารีรอ เพราะยิ่งรีรอ ก็อาจยิ่งแก้ปัญหาได้ยากขึ้น
โฆษณา

คำเตือน

  • อีกฝ่ายอาจไม่ต้องการสานสัมพันธ์ ถ้าเกิดกรณีแบบนี้ขึ้น อย่าไปพบหรือรบกวนเขาอีก ยุติความสัมพันธ์เถอะ
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,898 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา