PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

คุณเป็นคนขี้อายที่หวังไว้ลึกๆ ว่าตัวเองจะเป็นคนที่ กล้าพูดได้มากขึ้น หรือเปล่า? คุณมักรู้สึกว่าตัวเองถูกคนในกลุ่มมองข้ามและต้องการให้คนอื่นหันมาฟังสิ่งที่ตัวเองพูดบ้างหรือไม่? คุณได้คะแนนการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนแย่เพราะว่าความขี้อายของตัวเองหรือเปล่า? แน่นอนนี่ไม่ใช่ความผิดของคุณที่คุณเกิดมาเป็นคนขี้อายมากกว่าคนทั่วไป และความขี้อายก็เป็นบางสิ่งบางอย่างที่คุณสามารถเอาชนะได้ด้วยความพยายามของตัวคุณเอง หากคุณรู้จักที่จะปรับและรับทัศนคติใหม่ๆ เข้ามาสักนิดและปรับการปฏิบัติตัวของตัวเองสักหน่อย คุณก็จะสามารถ เป็นคนที่มีความมั่นใจ และ กล้าแสดงจุดยืน ของตัวเองได้ เมื่อใดก็ตามที่คุณต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ปรับเปลี่ยนทัศนคติของตัวเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางทีคุณอาจจะรู้สึกอายอยู่ตลอดเวลา หรือคุณอาจจะรู้สึกประหม่าและไม่กล้าพูดเวลาที่อยู่ในสถานการณ์ทางสังคมที่มีคนเยอะๆ ดังนั้น ให้คุณเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์หาถึงสิ่งที่มักจะทำให้คุณกังวลใจหรือสิ่งที่ทำให้คุณหวาดกลัว และถ้าหากคุณรู้แล้วว่าอะไรคือต้นเหตุที่ทำให้คุณเป็นคนขี้อาย คุณก็จะสามารถเอาชนะมันได้เร็วขึ้น จำไว้เสมอว่า ความขี้อายนั้นไม่ใช่ลักษณะนิสัย แต่มันเป็นเพียงสิ่งกีดขวางที่ตั้งอยู่บนเส้นทางของคุณก็แค่นั้นเอง [1]
    • อย่าโฟกัสอยู่กับสิ่งที่คุณต้องการจะปรับปรุงแค่เพียงอย่างเดียว แต่ให้คุณนึกถึงจุดแข็งของตัวเองด้วย คุณอาจจะเป็นคนที่ไม่ชอบพูดเยอะก็จริง แต่ว่าบางทีคุณก็อาจจะเก่งในเรื่องการสังเกตคนและทำความเข้าใจในตัวพวกเขาก็ได้
  2. เมื่อคุณรู้แล้วว่าตัวเองเก่งในเรื่องอะไร ให้คุณเดินหน้าพัฒนาทักษะนั้นให้ดีขึ้นไปอีก เพราะมันจะช่วยเสริมความภูมิใจในตัวคุณเอง และทำให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้นด้วย [2]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณรู้ว่าตัวเองเก่งในเรื่องการสังเกตและทำความเข้าใจคน ให้คุณใส่ใจและฝึกฝนทักษะนี้ให้ดียิ่งขึ้น และเริ่มต้นที่จะพยายามเห็นอกเห็นใจผู้อื่นจากใจจริง วิธีนี้อาจจะช่วยทำให้การเริ่มต้นพูดคุยกับคนใหม่ๆ เป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับคุณมากขึ้นก็ได้
  3. จำไว้ว่าไม่มีใครบนโลกนี้ที่สมบูรณ์แบบหรอก ฉะนั้น อย่าปล่อยให้ความรู้สึกผิดหวังมามีผลกระทบกับความภูมิใจในตัวคุณเอง เพราะความรู้สึกขุ่นมัวนี้อาจจะสร้างความไม่มั่นคงและความเศร้าโศกขึ้นภายในใจคุณได้ ดังนั้น แทนที่คุณจะมัวแต่โฟกัสอยู่แค่จุดที่ตัวเองต้องปรับปรุง ให้คุณรับรู้และยอมรับในสิ่งที่ตัวเองทำได้ดีจะดีกว่า [3]
  4. มันเป็นเรื่องง่ายที่เราจะติดป้ายให้ตัวเองว่าเป็นคนขี้อาย และหนีออกห่างจากการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคมเสียเฉยๆ แต่จำไว้ว่าอย่าเอาการที่ตัวเองเป็นคนขี้อายไปเชื่อมโยงกับการเป็นคนที่ไม่มีใครสนใจ การเป็นคนแปลก หรือการเป็นคนไม่ปกติ และให้คุณยอมรับในความไม่เหมือนใครของตัวเอง จำไว้เสมอว่าคุณไม่จำเป็นต้องเข้ากับคนอื่นให้ได้ทุกคน หรือเป็นตามแบบที่ทุกคนเป็น แต่ให้คุณเรียนรู้ที่จะมั่นใจในสิ่งที่มีอยู่ในตัวเองให้ได้ [4]
  5. หากคุณเป็นคนขี้อายโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ให้คุณปรับปรุงวิถีการมีอยู่บนโลกออนไลน์ของตัวเองให้ดีขึ้น โดยให้ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อทำความรู้จักกับใครสักคนให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่มาทดแทนการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมใดๆ ทั้งสิ้น เพราะโซเชียลมีเดียนี่แหละ ที่จะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คุณรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเวลาที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่คุณสนใจอยากจะทำความรู้จักให้ดียิ่งขึ้น [5]
    • พยายามหาความสนใจที่คล้ายๆ กันด้วยการแชร์ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวคุณเองลงไป เพราะไม่แน่คุณอาจจะประหลาดใจก็ได้ ที่พบว่ามีคนที่มีความสนใจหรือสิ่งที่ไม่ชอบคล้ายๆ กันกับคุณด้วย
  6. ทำสิ่งที่ตัวเองชอบก่อนที่จะไปมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม. หากคุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการไปงานปาร์ตี้หรืองานพบปะสังสรรค์ ให้คุณทำอะไรก็ได้ที่คุณชอบจริงๆ ก่อนที่จะต้องไปงานสังคมนั้นๆ เช่น คุณอาจจะอ่านหนังสือดีๆ สักเล่ม ฟังเพลง ดื่มกาแฟ หรือทำอะไรก็ได้ที่ตัวเองชอบทำ วิธีนี้จะช่วยทำให้คุณเกิดความอยากรู้อยากเห็นและอยากออกไปเจอสังคมมากขึ้น [6]
  7. หากคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังใส่ใจกับสิ่งที่เป็นด้านลบอยู่ ให้คุณเริ่มเปลี่ยนไปมองอะไรที่เป็นด้านบวกแทน วิธีนี้จะช่วยทำให้คุณติเตียนตัวเองได้น้อยลง และยอมรับคนอื่นได้มากขึ้น
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณเริ่มรู้สึกอายหรือประหม่าเวลาที่เจอคนใหม่ๆ ให้คุณมองว่าซะว่านี่คือสัญญาณดีๆ ที่บ่งบอกว่าคุณควรจะพบเจอกับคนใหม่ๆ ได้แล้ว [7]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ทำตัวให้มีความมั่นใจมากขึ้น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้คุณเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ก่อน โดยคุณอาจจะลองพยายามสบตาเวลาที่พูดคุยกับใครบางคน หรือทำอะไรก็ได้ที่คุณไม่เคยทำมาก่อน (เช่น เปลี่ยนทรงผม) วิธีนี้จะทำให้คุณรู้สึกกล้าและกลายเป็นคนที่ชัดเจนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แม้ว่าในช่วงแรกๆ อาจจะดูแปลกหรือน่าตกใจไปหน่อยก็ตาม [8]
    • หากคุณมีปัญหาในการเริ่มต้นบทสนทนากับใครสักคน ให้คุณลองนึกถึงคำชมต่างๆ ที่คุณอาจจะให้กับอีกฝ่าย หรือคำถามต่างๆ ที่คุณน่าจะเอาไปถาม เพราะนี่จะช่วยทำให้อีกฝ่ายเริ่มพูดคุยกับคุณได้เร็วขึ้น
  2. ให้คุณลองลงเรียนในคลาสเรียนบางคลาสเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือไม่ก็เข้าร่วมกลุ่มที่มีความสนใจคล้ายๆ กัน เพราะนี่คือโอกาสที่ดี ที่จะทำให้คุณได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าที่น่าจะกลายเป็นเพื่อนกันได้ [9]
    • ให้คิดเอาไว้เลยว่าในช่วงแรกๆ อาจจะดูเคอะเขินอยู่บ้าง แต่ให้คุณทำต่อไปเรื่อยๆ โดยให้ฝึกพูดคุยกับคนในกลุ่มให้ได้ทุกอาทิตย์ และคุณจะรู้สึกเองว่ามันง่ายขึ้นเรื่อยๆ
  3. หากคุณรู้สึกว่าตัวเองไม่รู้ว่าจะต้องพูดเรื่องอะไรดี ให้คุณแชร์สิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตคุณให้คนอื่นได้รับรู้ซะเลย ทำตัวเองให้เป็นคนที่น่าสนใจในแบบของตัวเองเข้าไว้ และไม่ต้องกลัวที่จะบอกให้คนอื่นได้รับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตคุณ [10]
    • นอกจากนี้ การแสดงออกถึงความสนใจที่มีร่วมกันกับคนอื่นยังจะช่วยกระตุ้นให้บทสนทนาไปต่อได้อย่างลื่นไหลอีกด้วย และยิ่งฝึกฝนมากเท่าไร การพัฒนาให้บทสนทนามีความเป็นธรรมชาติก็จะทำได้ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก
    • การปล่อยตัวให้ไหลลื่นไปกับการสนทนาอาจจะดูยากในตอนต้น แต่มันจะช่วยคุณสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นและเป็นการสนทนาที่เป็นธรรมชาติ [11]
  4. ให้คุณเรียนรู้เทคนิคและการบริหารการหายใจเพื่อผ่อนคลายความกังวล โดยให้หลับตาแล้วหายใจเข้าลึกๆ เพื่อทำจิตใจให้ว่าง และพยายามเรียนรู้เคล็ดลับต่างๆ ที่จะช่วยคุณในการเข้าสังคมเอาไว้ด้วย [12]
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะฝึกเทคนิคการนึกภาพ โดยให้หลับตาและจินตนาการถึงภาพที่ตัวเองมีความสุขและมีความมั่นใจในภาพจำลองนั้น วิธีนี้จะยิ่งทำให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้น หรืออย่างน้อยก็ช่วยบรรเทาความกลัวให้น้อยลงได้บ้าง
  5. อย่ารอให้สถานการณ์ที่สมบูรณ์แบบมันเกิดขึ้นเอง หากคุณอยากจะเปลี่ยนจากคนขี้อายให้กลายเป็นคนที่มีความมั่นใจ คุณก็ต้องพาตัวเองออกไปเจอผู้คนให้ได้ก่อน ฉะนั้น พาตัวเองออกไปเจอกับสังคม และฝึกทักษะการพูดของตัวเองซะ [13]
    • ยอมรับความรู้สึกเคอะเขินของตัวเองให้ได้ จำไว้ว่าการจะกลายเป็นคนที่มีความมั่นใจนั้นต้องอาศัยการฝึกฝน ฉะนั้น อย่าเพิ่งยอมแพ้หลังจากที่พยายามทำตัวเองให้มีความกล้าไปแล้วครั้งหนึ่ง และถ้าเกิดฝึกซ้ำๆ แบบนี้ไปเรื่อยๆ การตอบโต้ระหว่างคุณกับอีกฝ่ายก็จะกลายเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายขึ้นไปเอง [14]
  6. แทนที่คุณจะมัวแต่โฟกัสอยู่แต่กับความขี้อายและความขี้กังวลของตัวเอง ให้คุณดึงตัวเองออกมาจากความคิดเหล่านั้นด้วยการนึกถึงคนอื่นๆ ดู [15] ฉะนั้น ให้คุณลองใช้เวลาบางส่วนเพื่อช่วยเหลือใครสักคนที่คุณรู้ว่าเขาต้องการความช่วยเหลือนั้น และจำไว้ด้วยว่า คุณไม่จำเป็นต้องทำอะไรที่ดูยิ่งใหญ่เกินไป
    • แค่การใช้เวลาอยู่กับญาติพี่น้องที่อยู่แบบเหงาๆ หรือแบ่งปันอาหารเย็นกับเพื่อนบางคนที่ต้องการความช่วยเหลือนั้นก็สามารถที่จะสร้างพลังให้กับตัวคุณและทำให้คนอื่นรู้สึกดีขึ้นได้แล้วล่ะ
  7. ให้คุณฝึกสบตา เชิดหน้า และดึงไหล่ไปด้านหลังดู เพราะการยืนหรือนั่งในท่าที่แสดงถึงพลังอำนาจในตัวเองแค่ 2 นาทีก็สามารถช่วยลดความวิตกกังวลออกไปได้ 25% แล้ว [16]
    • ตัวอย่างเช่น ให้คุณนั่งบนเก้าอี้และวางมือทั้งสองข้างไว้ที่ด้านหลังของศีรษะแล้วประสานนิ้วมือเข้าด้วยกัน หรือไม่ก็ยืนให้ขาอยู่ห่างออกจากกันเล็กน้อยแล้วทำท่าเท้าสะเอว ซึ่งนี่คือตัวอย่างสองแบบของการโพสท่าที่แสดงถึงพลังของตัวเอง [17]
  8. 8
    ฝึกพูดช้าๆ. การพูดช้าๆ ช่วยสงบสติอารมณ์เวลาเป็นกังวล ฝึกโดยการพูดออะไรออกมาดังๆ ช้าๆ แล้วค่อยนำไปประยุกต์ใช้กับการสนทนากับผู้อื่นและการพูดในที่สาธารณะถ้ามีโอกาส ถ้าคุณพบว่าตนเองกำลังพูดเร็วระรัว ให้หยุดแล้วสูดหายใจเข้าช้าๆ ก่อนกล่าวต่อไป
  9. เป็นตัวของตัวเอง . เป็นในสิ่งตัวเองเป็นจริงๆ และแสดงความเป็นตัวเองออกมา และอย่าไปรู้สึกว่าจะต้องทำให้ตัวเองเป็นคนชอบออกสังคมที่ดูคล่องแคล่วที่สุดในบรรดาผู้คนรอบๆ จำไว้ว่า คุณสามารถแสดงความเป็นตัวเองออกมาได้ แม้ว่าจะเป็นในแบบที่เงียบและสงบเสงี่ยมก็ตามที ฉะนั้น ให้หยุดกังวลว่าคนอื่นจะคิดอะไร เพราะความภูมิใจในตัวเองคือสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับตัวคุณ
    • อย่าบังคับหรือกดดันให้ตัวเองไม่รู้สึกอึดอัดและมีความมั่นใจได้ในทุกสถานการณ์ที่เจอ เพราะบางครั้งคุณอาจจะรู้สึกว่ากับบางสถานการณ์ทางสังคมนั้นคุณสามารถเอาชนะความวิตกกังวลได้ แต่กับบางสถานการณ์คุณไม่สามารถเอาชนะมันได้เลย อย่างเช่น คุณอาจจะชื่นชอบการมีปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่มเล็กๆ แต่คุณเกลียดการที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กันในคนกลุ่มใหญ่ๆ มาก [18]
  10. 10
    มองหาความช่วยเหลือจากนักบำบัดถ้ามันมากระทบกับชีวิต. ความขี้อายเป็นปัญหาพบได้ทั่วไปในหลายๆ คน แต่ในบางกรณีถ้ามันเกิดส่งผลกระทบกับชีวิต ก็จำต้องพึ่งพานักบำบัด
    • เช่น ถ้าคุณเลี่ยงการเข้าสังคมเพราะขี้อาย จนไม่สามารถดำเนินชีวิตในโรงเรียนหรือที่ทำงานได้ หรือรู้สึกเหนื่อยล้าอันเป็นผลจากความอาย ก็ควรให้นักบำบัดช่วย
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,217 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา