ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การสูบน้ำมันรถจากตัวถังโดยใช้วิธีการลักน้ำอาจทำให้เผลอกลืนน้ำมันรถได้ การดื่มน้ำมันรถนั้นอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายและคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นหรอก หากเราได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็ไม่ต้องหามส่งโรงพยาบาล แต่หากได้รับน้ำมันรถเข้าไปในจำนวนมาก จะเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก น้ำมันรถเพียงแค่ 1ออนซ์ (ประมาณ 28 มิลลิลิตร) หากผู้ใหญ่ดื่มเข้าไปอาจทำให้มึนหรือหมดสติ ส่วนเด็กดื่มเพียงแค่ครึ่งออนซ์อาจถึงตายได้ ดังนั้นเราต้องดูแลผู้ป่วยที่ดื่มน้ำมันรถอย่างใกล้ชิด และ“ห้าม”ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาอย่างเด็ดขาด หากมีข้อสงสัยให้รีบพบแพทย์ทันที

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ช่วยคนที่ดื่มน้ำมันรถเข้าไปในปริมาณเล็กน้อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ย้ำกับผู้ป่วยบ่อยๆ ว่าเขาดื่มน้ำมันรถไปในปริมาณเพียงเล็กน้อยและทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดี พยายามให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ ผ่อนคลาย [1]
  2. ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน. น้ำมันรถปริมาณเพียงเล็กน้อยเป็นไม่เป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหารมากเท่าไหร่นัก แต่หากน้ำมันรถเพียงไม่กี่หยดเข้าสู่ปอด จะเป็นอันตรายมากต่อระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากการอาเจียนจะเพิ่มความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะสำลักน้ำมันรถเข้าสู่ปอด เราจึงไม่ควรทำให้ผู้ป่วยอาเจียน [2]
    • หากผู้ป่วยจำเป็นต้องอาเจียนจริงๆ ให้ผู้ป่วยเอนตัวโค้งไปด้านหน้าเพื่อป้องกันการสำลัก และบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าหลังอาเจียนเสร็จ จากนั้นให้ติดต่อศูนย์พิษทันที [3]
  3. ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำหวานหลังจากบ้วนปากแล้ว. ให้ผู้ป่วยดื่มช้าๆ เพื่อป้องกันการสำลักหรือไอ หากผู้ป่วยหมดสติหรือไม่สามารถดื่มได้ด้วยตนเอง “ห้าม” พยายามนำน้ำเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย ให้ติดต่อศูนย์พิษทันที
    • ห้ามให้ผู้ป่วยดื่มนม ยกเว้นว่านั่นเป็นคำสั่งของผู้เชี่ยวชาญด้านสารพิษหรือแพทย์ เพราะนมจะทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำมันรถได้เร็วขึ้น [4]
    • ห้ามให้ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มอัดลม เพราะจะทำให้เรอ
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  4. ติดต่อศูนย์พิษใกล้บ้านและอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น. ในประเทศไทย ติดต่อศูนย์พิษ โรงพยาบาลรามาธิบดี มีสายให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เบอร์ 1367 หากผู้ป่วยมีอาการทรุดลง เช่น อาการไอ หายใจติดขัด อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียนหรืออาการที่หนักกว่านี้ ให้ติดต่อศูนย์พิษโดยด่วนที่สุด [5]
  5. ผู้ป่วยต้องถอดเสื้อผ้าที่โดนน้ำมันรถออก ล้างผิวที่โดนน้ำมันรถด้วยน้ำเปล่านาน 2-3 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสบู่อ่อน ล้างด้วยน้ำเปล่าอีกครั้งและเช็ดให้แห้ง
  6. ห้ามให้ผู้ป่วยสูบบุหรี่ภายในเวลา 72 ชั่วโมงและห้ามสูบบุหรี่ใกล้ผู้ป่วย. น้ำมันรถและไอระเหยของน้ำมันนั้นติดไฟง่ายมาก การสูบบุหรี่อาจทำให้น้ำมันติดไฟได้ ควันบุหรี่จะส่งผลร้ายต่ออวัยวะภายในและปอดของผู้ป่วยมากกว่าเดิม
  7. ย้ำกับผู้ป่วยว่าการเรอออกมาเป็นกลิ่นน้ำมันนั้นเป็นเรื่องปกติ. อาการนี้จะเกิดต่อเนื่องประมาณ 24 ชั่วโมงไปจนถึงหลายวัน การดื่มน้ำเยอะๆ อาจลดอาการเรอได้และช่วยขับน้ำมันรถออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น
    • หากผู้ป่วยอาการทรุดลง ให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจอาการอย่างละเอียด
  8. เสื้อผ้าที่เปื้อนน้ำมันอาจติดไฟได้ จึงควรทิ้งไว้นอกบ้านให้แห้งอย่างต่ำ 24 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำมันระเหยเป็นไอก่อนนำไปซัก ซักเสื้อผ้าที่เปื้อนน้ำมันรถโดยใช้น้ำร้อนและซักแยกจากเสื้อผ้าปกติ ใส่แอมโมเนียหรือผงฟูลงไปจะทำให้ซักคราบน้ำมันออกได้ง่ายขึ้น ตากให้แห้งเพื่อให้กลิ่นน้ำมันหมดไป ถ้ายังมีกลิ่นน้ำมันให้ซักอีกรอบ [6]
    • อย่าใส่เสื้อผ้าที่ยังมีกลิ่นน้ำมันเข้าในเครื่องอบผ้าแห้ง เพราะเสื้อผ้าอาจจะไหม้ได้!
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ช่วยคนที่ดื่มน้ำมันรถเข้าไปในปริมาณมาก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้ดื่มน้ำมันรถเข้าไปมากกว่านี้แล้ว ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ให้ทำตามขั้นตอนที่ 3 ทันที
  2. ในกรณีที่ผู้ประสบเหตุเป็นเด็ก ไม่ว่าจะดื่มน้ำมันรถเข้าไปมากแค่ไหนก็นับว่าเป็นอันตรายมาก. ถ้าไม่รู้ว่าเด็กดื่มเข้าไปมากแค่ไหน ถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉินทันทีและรีบติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
  3. อธิบายเหตุการณ์โดยละเอียด หากผู้ประสบเหตุเป็นเด็ก ต้องระบุให้ชัดเจนเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือทันที
  4. หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัว ให้ย้ำกับเขาว่าหน่วยแพทย์ฉุกเฉินกำลังมา และอย่าพยายามทำให้ผู้ป่วยอาเจียน ถ้าผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำได้ ให้เขาดื่มน้ำเปล่า ช่วยผู้ป่วยถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนน้ำมันรถและล้างน้ำมันที่เปื้อนตามตัว
  5. ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ หยุดไอหรือหมดสติ ไม่ตอบสนองเมื่อเรียก ให้ทำ CPR ทันที. จับผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นราบและเริ่มกดหน้าอก การกดหน้าอกแต่ละครั้ง ให้กดลงตรงกลางของหน้าอก กดลงไปลึกประมาณ 2 นิ้ว หรือประมาณ 1 ใน 3 หรือประมาณ ครึ่งหนึ่งของความลึกของหน้าอก กดหน้าอก 30 ครั้งด้วยความเร็วประมาณ 100 ครั้งต่อนาที หลังจากนั้นจัดหัวผู้ป่วยให้ตรง เชิดคางผู้ป่วยขึ้น บีบจมูกแล้วเป่าลมเข้าช่องปากจนให้หน้าอกพองขึ้น การเป่าลมหายใจเข้าปากผู้ป่วยให้เป่า 2 ครั้ง แต่ละครั้งนานประมาณ 1 วิ และสลับกับการกดหน้าอกอีกหนึ่งชุด [8]
    • กดหน้าอก 30 ครั้งและเป่าลม 2 ครั้งอย่างนี้วนไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้ป่วยจะฟื้นหรือความช่วยเหลือจะมาถึง
    • หากหน่วยแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในสายโทรศัพท์ พนักงานรับโทรศัพท์จะคอยแจ้งวิธีการทำ CPR ที่ถูกต้องให้กับคุณ
    • สภากาชาดแนะนำให้ การทำ CPR สามารถทำให้แก่เด็กได้เหมือนกับผู้ใหญ่ เพียงแต่ว่าในเด็กทารกหรือเด็กเล็ก การกดหน้าอกให้กดลงไปเพียง 1.5 นิ้วเท่านั้น [9]
    โฆษณา

คำเตือน

  • ห้าม ทำให้ผู้ที่ดื่มน้ำมันรถอาเจียนเด็ดขาด การอาเจียนจะทำให้ร่างกายได้รับอันตรายมากกว่าเดิม
  • เก็บให้ดี เก็บน้ำมันรถในภาชนะที่มิดชิด พร้อมเขียนบอกให้ชัดเจนและเก็บให้พ้นมือเด็ก
  • อย่า บรรจุน้ำมันรถในขวดน้ำดื่ม เช่น ขวดน้ำเปล่า
  • ห้าม ดื่มน้ำมันรถเด็ดขาด
  • ห้าม ใช้สูบน้ำมันรถขึ้นมาด้วยปาก ให้ใช้เครื่องสูบหรือใช้ความดันอากาศเพื่อสูบน้ำมันขึ้นมา [10]
โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ขั้นตอนทั้งหมดด้านบนสามารถใช้ได้กับน้ำมันดีเซล น้ำมันดิบ และน้ำมันเบนซิน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 67,582 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา