PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าคุณจะไปยกของหนักๆ มา หรือว่านั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์กว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ก็เป็นสาเหตุให้เกิดปุ่มปมที่น่ารำคาญที่หลังขึ้นมาได้ โดยปุ่มนี้จะเรียกว่า จุดกดเจ็บ จะเกิดเมื่อเส้นใยกล้ามเนื้อบริเวณนั้นเกร็งตัวแล้วไม่คลายกลับไปเหมือนเดิม มักพบที่กล้ามเนื้อบ่า ที่ชื่อว่า Trapezius ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่วางตัวอยู่ตั้งแต่ฐานกะโหลกยาวลงมาถึงหลังและแผ่ไปถึงบ่า [1] [2] โดยคุณสามารถลองทำวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้ด้วยตนเอง หรือไปพบผู้เชี่ยวชาญโดยตรงเพื่อช่วยแก้อาการดังกล่าวได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

นวดคลายจุดปวดเมื่อย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. จุดหรือก้อนดังกล่าวมักอยู่บริเวณหลังส่วนบนและบ่า [3] โดยเมื่อจับไปจะรู้สึกตึงและแน่นกว่าบริเวณข้างๆ ให้ความรู้สึกเหมือนมีปมเชือกฝังอยู่ [4] แม้บริเวณนั้นนั้นจะตึงและแน่น แต่ส่วนมากจุดที่เจ็บที่สุด มักกดไปแล้วไม่ได้รู้สึกตึงหรือแน่นเลย เพราะฉะนั้นให้เน้นกดไปที่จุดที่เจ็บ มากกว่าบริเวณที่กล้ามเนื้อตึง
    • เมื่อกดลงไปบนจุดที่เจ็บนั้น แล้วทำให้รู้สึกเจ็บบริเวณรอบๆ ด้วย จุดนั้นเรียกว่า จุดกดเจ็บที่ร้าวไปบริเวณอื่นได้ จะต่างจากจุดที่กดเจ็บเพียงอย่างเดียว ไม่ทำให้ปวดร้าวไปบริเวณอื่นๆ [5]
  2. ใช้ปลายนิ้วกดเบาๆวนเป็นวงกลม ไม่ต้องให้ถึงกับเจ็บ จะช่วยคลายความตึงของกล้ามเนื้อได้ [6]
    • หรืออาจจะใช้วิธีการกดเบาๆ ค้างไว้ ประมาณ 1 นาที ก็ช่วยลดอาการปวดได้ [7]
    • ถ้าทำเองไม่สะดวก อาจให้เพื่อนช่วยกดให้แทนก็ได้
  3. โดยวางลูกเทนนิสไว้กับผนังหรือนอนทับ โดยให้ลูกเทนนิสอยู่ระหว่างตัวเรากับพื้นผิวแข็งๆ โดยวางให้ตรงกับจุดที่ปวด แรกๆ อาจจะรู้สึกไม่สบาย แต่เมื่อวางไปสักพักจะรู้สึกสบายขึ้น [8]
    • ทำไปจนกระทั่งอาการปวดลดลงแล้วพัก ในช่วงแรกอาจรู้สึกทับค้างไว้ได้ไม่กี่วินาที แต่เมื่อทำไปเรื่อยๆ จะรู้สึกสบายและทำได้นานขึ้น
    • อาจจะเลือกใช้ลูกบอลชนิดอื่นแทนได้ แต่ถ้าใช้เป็นลูกแร็กเก็ตอาจจะค่อนข้างแข็งเกินไป แรงกดมากเกินไปถ้าใช้ในช่วงแรกๆ
  4. โฟมนี้จะใช้หลักการเดียวกันกับลูกเทนนิส แต่จะได้เปรียบในเรื่องลดปวดตึงได้พื้นที่กว้างกว่า โดยจะให้ผลในเรื่องลดความตึงและช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ส่วนมากจะนำมาใช้จะยาวประมาณ 60 เซนติเมตร หน้าตาคล้ายแท่งโฟมยาวๆ ที่ใช้ออกกำลังกายในน้ำ [9]
    • กลิ้งไปบนโฟมช้าๆ. อย่ากดย้ำบริเวณที่ปวดนานเกินไป เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บ โดยเฉพาะในคนที่ไม่เคยใช้หรือไม่คุ้นเคยกับอุปกรณ์นี้ ให้เน้นบริเวณที่เป็นก้อนและปวดแค่ 15-30 วินาที แล้วเลื่อนไปบริเวณอื่น [10]
    • วางโฟมเป็นแนวนอนบนพื้น. นอนทับให้โฟมอยู่ในแนวขวางกับบริเวณที่ปวดแล้วเคลื่อนส่วนนั้นไปกลับบนโฟมช้าๆ และต้องไม่ใช้นานเกิน 3 นาทีต่อครั้ง [11]
    • ไม่ใช้โฟมในการลดปวดบริเวณหลังส่วนล่าง เพราะอาจทำให้เส้นประสาทบาดเจ็บได้ [12]
    • อย่างไรก็ตาม อย่านอนหงายทับโฟม เพราะจะทำให้หลังส่วนล่างแอ่นกว่าปกติ และปวดบริเวณข้อต่อหลังได้
  5. ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายอย่างร่ม ที่ออกแบบมาได้เหมาะสมกับการใช้เพื่อกดคลายกล้ามเนื้อในบริเวณที่เอื้อมมือไปไม่ถึง
    • ถ้ามีจุดปวดอยู่ที่บ่า อาจใช้ลูกเทนนิสกดค้างไว้สักพัก จนปวดลดลง
    • หรือถ้าไม่อยากออกแรงให้ปวดแขน อาจจะใช้เป็นเครื่องนวดแทนก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ยืดเหยียดคลายความปวดและตึง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การยืดกล้ามเนื้อไม่ได้ช่วยให้ปุ่มปวดนั้นๆ หายไป แต่ช่วยลดอาการปวด โดยไม่ให้อาการปวดกำเริบขึ้นมา [13] ท่าเหล่านี้สามารถช่วยอาการดังกล่าวได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  2. หรือเรียกว่าท่ายักไหล่ จะช่วยลดความตึงตัวของคอและบ่า ซึ่งเป็นบริเวณที่มักมีจุดปวดแทรกอยู่ โดยมีวิธีการดังนี้ [14]
    • นั่งเก้าอี้ หลังตรง อาจจะนั่งบนพื้นหรือยืนก็ได้ แต่ต้องมั่นใจว่าอยู่ในท่าที่ถูกต้อง
    • ยักไหล่ขึ้นหาหูทั้งสองข้าง หมุนไหล่ทั้งสองข้างไปด้านหน้า แล้วหมุนลง ในทิศตามเข็มนาฬิกา
    • ทำแบบเดิมแต่ในทิศตรงกันข้าม คือ ยักขึ้น และหมุนลงไปด้านหลัง ในทิศทวนเข็มนาฬิกา
    • ทำซ้ำ 2-4 เซต โดยทำได้เรื่อยๆ ในหนึ่งวัน
  3. การยืดวิธีนี้จะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณรอบสะบัก ซึ่งเป็นบริเวณที่มักพบก้อนกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บอยู่มาก [15]
    • วางมือซ้ายบนบ่าซ้าย มือขวาบนบ่าขวา
    • หนีบศอกสองข้างเข้าหากันจนรู้สึกบ่าและหลังยืดออก
    • ค้างไว้ 3-5 วินาที แล้วหายใจเข้าลึกๆ ตามด้วยผ่อนลมหายใจออก ทำซ้ำได้เรื่อยๆ ในหนึ่งวัน
  4. จะช่วยให้กล้ามเนื้อหลังส่วนบนและบ่าผ่อนคลายขึ้น [16]
    • นั่งหรือยืน แขนแนบลำตัว หนีบสะบักสองข้างเข้าหากัน ค้างไว้สักครู่แล้วกลับสู่ท่าปกติ ทำได้เรื่อยๆ ในหนึ่งวัน
    • ขณะทำให้จินตนาการว่ามีอะไรดึงไหล่ไปด้านหลังและดึงลงล่าง แต่ไม่ใช่การแอ่นอกหรือแอ่นตัว
  5. ท่านี้จะช่วยยืดและคลายกล้ามเนื้อบริเวณบ่า [17]
  6. จะช่วยยืดหลังส่วนล่าง แต่อาจจะเป็นท่าที่ไม่ได้ช่วยยืดหลังส่วนบนและหัวไหล่เท่าไรนัก
    • นั่งบนพื้น งอเข่าสองข้างชิดอก
    • ใช้มือเกี่ยวขาไว้ แล้วกลิ้งไปกลับหน้าหลัง เพื่อยืดหลังส่วนล่าง
  7. ช่วยลดอาการตึงของหลังส่วนล่าง แต่ต้องระวัง ถ้าท่านี้ทำให้ปวดหลังเพิ่มมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยง [19]
    • นอนหงายบนพื้น หรือใช้เสื่อโยคะ
    • งอเข่าสองข้าง เท้าทั้งสองข้างยันพื้นไว้
    • ใช้มือสองข้างเกี่ยวขาข้างหนึ่งขึ้นมาชิดอก โดยหลังส่วนล่างยังแนบติดพื้น ยืดค้างไว้ 15-30 วินาที แล้วพัก ปล่อยขาลง
    • ทำซ้ำเช่นเดียวกันกับอีกข้าง ทำซ้ำ 2-4 ครั้ง ในขาแต่ละข้าง
  8. พิลาทีสจะช่วยยืดกล้ามเนื้อที่เป็นปุ่มปมบริเวณหลัง อย่างเช่นท่านมัสการไปจนถึงท่าแมวและท่าอูฐ เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ดี [20]
    • ท่านมัสการ เริ่มจากจัดท่าให้อยู่ในท่าตั้งคลาน หายใจเข้า และหายใจออกพร้อมกับก้มตัวลงให้ก้นแนบไปกับส้นเท้า เหยียดแขนออกไปด้านหน้า ศีรษะแนบพื้น ถ้าทำถูกจะรู้สึกว่าหลังส่วนล่างถูกยืด
    • ท่าแมว คือท่าย้อนกลับจากท่านมัสการ โดยการหายใจเข้าแล้วโก่งหลังขึ้น พร้อมกับเก็บคอเก็บท้อง ถ้าทำถูกจะรู้สึกว่าหลังถูกยืดเช่นกัน
    • ท่าอูฐ โดยการแอ่นหลัง แอ่นสะโพก แหงนหน้าขึ้นเพดาน ถ้าทำถูกจะรู้สึกว่าหลังส่วนบนถูกยืด
    • วนกลับไปท่านมัสการ และทำซ้ำตามขั้นตอนต่างๆ จนครบ 5 รอบ
  9. ศอกเหยียดตรง หลังตรง หันฝ่ามือออกด้านนอก ค้างไว้ 20-30 วินาที แล้วสลับกับพลิกกับเข้ามา ทำเช่นเดียวกัน
  10. เอียงศีรษะให้หูเข้าหาไหล่ฝั่งตรงข้าม ใช้มือข้างที่เอียงศีรษะไปเหนี่ยวศีรษะให้เอียงลงจนรู้สึกตึงเล็กน้อย แต่ไม่เจ็บ ค้างไว้ 30 วินาทีแล้วผ่อนคลาย ทำซ้ำเช่นเดียวกันในอีกข้าง
    • ต้องไม่ลืมเก็บคางให้ชิดเข้าหาอก ขณะทำ ตลอดการค้างไว้ 20-30 วินาที
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

สร้างสุขนิสัยที่ดี

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากจุดนั้นเพิ่งเกิดจากการบาดเจ็บ ควรใช้การประคบเย็นก่อน โดยห่อแผ่นเย็นด้วยผ้าขนหนูหรือเสื้อ แล้ววางบนจุดที่มีอาการ 15-20 นาที อย่างน้อย 3ครั้ง/วัน ประคบในวันแรกหรือไปจนถึง 3 วันหลังจากได้รับบาดเจ็บ [21]
    • หากต้องการทำประคบเย็นขึ้นมาเองสามารถทำได้โดยใช้ น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง ผสมกับ แอลกอฮอล์ล้างแผล 1 ถ้วยตวง เทใส่ถุงที่เปิดปิดได้หรือมีซิปล็อก ไล่อากาศออกให้หมดแล้วนำไปแช่แข็ง
    • หรืออาจจะใช้เป็นถุงเก็บความเย็นที่ใช้บรรจุอาหารก็ได้ แต่เมื่อนำมาใช้แล้ว ไม่ควรนำไปใส่อาหารซ้ำ เพราะอาจจะเป็นอันตรายได้
  2. ใช้สำหรับอาการปวดที่มักมีอาการบ่อยๆ หรือปวดเรื้อรัง ความร้อนจะได้ผลมากกว่าความเย็น โดยอาจใช้เป็นแผ่นประคบร้อน แช่ในอ่างน้ำอุ่น หรืออาบน้ำอุ่นก็ได้
    • การใช้ความร้อนไม่ควรใช้เกิน 15-20นาที ติดต่อกัน สามารถทำได้มากถึง 3 ครั้ง/วัน
    • หากต้องการได้รับความรู้สึกแบบร้อนชื้น สามารถนำผ้าชุบน้ำหมาดๆ เข้าไปอุ่นในไมโครเวฟประมาณ 30 วินาที ระวังอย่าให้ร้อนเกิน เพราะจะทำให้น้ำร้อนลวกและผิวหนังไหม้ได้
  3. การทรงท่าที่ไม่ดีมักตามมาจากการนั่งเป็นเวลานาน นำไปสู่อาการปวดหลังและมีปุ่มปวดเกิดขึ้นบริเวณกล้ามเนื้อ [22] เพราะฉะนั้นต้องมีสติ ไม่นั่งตัวงอห่อไหล่ เพราะท่านี้เป็นท่าที่ทำให้กล้ามเนื้อถูกดึงค้างให้อยู่ในท่าที่ผิดอยู่ตลอดเวลา
    • หากคุณต้องนั่งโต๊ะทำงาน ให้หาเวลาลุกจากโต๊ะ เดิน และยืดเหยียดร่างกายให้ได้ ทุกๆ 1 ชั่วโมง
    • ปรับท่าทางของศีรษะ ไม่ให้คางยื่นไปข้างหน้า เก็บคางชิดอก ให้ศีรษะอยู่ในแนวตรงตั้งฉากลำตัวทั้งขณะยืนและนั่ง เพราะท่าทางดังกล่าว จะทำให้เกิดแรงดึงที่ผิดปกติต่อกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและหลัง นำไปสู่การเกิดปุ่มปวดในบริเวณนั้นได้ [23]
    • หากคุณเล่นเวท หรือออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก ควรระวังโดยไม่ปล่อยน้ำหนักลงเร็วๆ ในช่วงก่อนเริ่มยกใหม่ เพราะการปล่อยลงเร็ว จะทำให้กล้ามเนื้อที่ควรทำงานแบบช้าๆ โดนบังคับให้ทำแบบเร็ว จึงเกิดการกระชากและบาดเจ็บได้
  4. เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลัง และช่วยลดอาการปวดหลังรวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย โดยมีท่าคร่าวๆ ดังนี้ [24]
    • ท่าสะพานโค้ง จะช่วยยืดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ซึ่งใช้มากในการยกของ โดยเริ่มจากท่าตั้งคลาน เหยียดเข่าทั้งสองข้างให้ตรง งอตัวและเหยียดแขนไปด้านหน้าต่อหัวไหล่แตะลงบนพื้น ขณะหายใจออกเหยียดเข่าขึ้นตรงโดยไม่ล็อกเข่าและส้นเท้าเหยียบชิดพื้น [25]
    • ท่าเด็ก จะช่วยยืดกล้ามเนื้อหลัง เริ่มจากตั้งเข่าและแขนสองข้างตั้งฉากกับพื้น แล้วนั่งลงบนส้นเท้า แล้วยืดแขนทั้งสองข้างไปด้านหน้า ก้มตัวลงราบกับพื้น [26]
    • ท่านกพิราบ จะช่วยยืดกล้ามเนื้อหมุนข้อสะโพกและงอข้อสะโพก เนื่องจากเรามักลืมว่าร่างกายเราเชื่อมต่อกันทุกส่วน การมีข้อสะโพกที่อยู่ในแนวผิดปกติจะส่งผลต่อหลัง เริ่มจากนอนหงาย งอเข่า ขัดขาซ้ายทับต้นขาขวา ประสานมือกอดต้นขาขวาแล้วดึงเข่าขวาเข้าหาอก ไม่ต้องเกร็งบ่าและไหล่ ค้างไว้สักพักแล้วสลับทำอีกข้าง [27]
    • ท่าสามเหลี่ยม จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลังและขา รวมถึงช่วยยืดด้านข้างลำตัวและสะโพก โดยเริ่มจากยืนบนเสื่อ กางขาประมาณ 120 เซนติเมตร หมุนปลายเท้าขวาออกด้านนอก ให้เป็นแนวเส้นตรง กางแขนทั้งสองข้างออกให้เป็นรูปตัว T โดยเอียงไปทางขวา ให้แขนขวาเหยียดตรงลงไปที่เท้าขวา ค้างไว้เท่าที่ทำได้ แล้วทำซ้ำอีกข้างหนึ่ง [28]
  5. คือการออกกำลังโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในระดับความหนักปานกลางที่ยังหายใจได้ไม่ลำบาก จะช่วยให้ไม่ปวดตามร่างกาย เช่น ว่ายน้ำ, เครื่องเดินวงรี (Eliptical), หรือกระโดดตบ ซึ่งการออกกำลังกายเหล่านี้จะช่วยทั้งแขนและขา [29]
    • ทำต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาที/วัน
  6. โดยเริ่มจากยาพาราเซตามอล ซึ่งเป็นยาบรรเทาปวดที่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายน้อยที่สุด แต่หากไม่ได้ผล อาจเปลี่ยนมาใช้ NSAID จำพวก Ibuprofen, Naproxen, หรือ Aspirin เป็นต้น [30]
    • ไม่ควรรับประทานเกินปริมาณที่แนะนำต่อวันในฉลากยา เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายต่อร่างกาย
    • หากอาการปวดยังคงค้างนานกว่า 1 สัปดาห์หลังรับประทานยาบรรเทาปวด ควรไปพบแพทย์ เพราะการใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อร่างกาย แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยาที่มีฤทธิ์แรงขึ้น แต่ได้ผลในเวลาสั้นๆ แทน
  7. หากปวดหลังนานกว่า 2-3 สัปดาห์ โดยอาการปวดนั้นเป็นต่อเนื่องทุกวัน ควรอธิบายให้แพทย์ฟัง เพื่อทำการรักษาต่อที่ซับซ้อนขึ้น หรือ ปรับตัวยาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    • กายภาพบำบัด มักเป็นวิธีการรักษาอันดับแรก เพราะนักกายภาพบำบัดจะแนะนำการออกกำลังกาย และใช้เทคนิคทางกายภาพบำบัด ที่ช่วยลดอาการปวด รวมถึงวิธีการดูแลหลังให้สุขภาพดีไม่ให้มีอาการปวด หรืออาจมีบางเทคนิคเพิ่มเติม เช่นการฝังเข็ม เพื่อลดอาการปวดหลัง จากการกระตุ้นจุดเฉพาะของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดอาการปวด [31] [32]
    • แพทย์อาจสั่งจ่ายยาคลายกล้ามเนื้อ ในกรณีที่อาการปวดหลังไม่ดีขึ้น แต่ยานี้อาจทำให้เกิดอาการเสพติด ควรอยู่ภายใต้การวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น [33]
    • ฉีดยา มักเป็นวิธีสุดท้ายที่ใช้ โดยจะใช้เมื่ออาการปวดลุกลามไปบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย โดยแพทย์มักจะฉีดสเตียรอยด์เข้าไปที่เยื่อหุ้มไขสันหลังชั้นนอก แต่ผลของการลดปวดจะคงอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือน
    • หากอาการปวดหลัง ไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อ แต่เกิดจากภาวะโรคที่รุนแรง แพทย์อาจวินิจฉัยให้เข้ารับการผ่าตัด
  8. บางครั้งอาการปวดหลังที่เป็นอยู่ รุนแรงกว่าที่คิด ควรหาข้อมูล และโทร 911 เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้: [34]
    • ปวดหลัง ร่วมกับอาการแน่นหน้าอก หายใจสั้นถี่ หรือ เหงื่อออก ซึ่งอการเหล่านี้เป็นอาการของโรคหัวใจกำเริบ [35]
    • ปวดหลัง หลังจากได้รับอุบัติเหตุ เช่น รถชน ตกจากที่สูง หรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
    • ปวดหลัง ร่วมกับการควบคุมการปัสสาวะ และอุจจาระที่ผิดปกติ
    • ปวดหลังร่วมกับอาการไข้ หรือเหงื่อออกผิดปกติตอนกลางคืน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ยืดกล้ามเนื้อและนวดบริเวณที่เป็น 3-5ครั้ง/วัน จะช่วยให้อาการดีขึ้น!
โฆษณา

คำเตือน

  • ระวังอย่าเคลื่อนไหวในทิศทางที่ทำให้เกิดอาการเจ็บ การยืดกล้ามเนื้อเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่างไรก็ตามห้ามยืดจนรู้สึกเจ็บล่ะ
  • ระวังอย่ากดหรือนวดลงบนกระดูกสันหลังโดยตรง
โฆษณา
  1. http://michaelgleibermd.com/news/dos-donts-foam-rolling-back-pain/
  2. http://newsinfo.iu.edu/tips/page/normal/17854.html
  3. http://michaelgleibermd.com/news/dos-donts-foam-rolling-back-pain/
  4. https://myhealth.alberta.ca/health/pages/conditions.aspx?hwid=tr5948&#tr5949
  5. http://www.healthcenter.vt.edu/assets/docs/MCOrthoRehab-UpperBack.pdf
  6. http://www.healthcenter.vt.edu/assets/docs/MCOrthoRehab-UpperBack.pdf
  7. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/multimedia/back-pain/sls-20076265?s=8
  8. http://www.mayoclinic.org/shoulder-stretches/img-20008003
  9. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/fitness/multimedia/stretching/sls-20076840?s=8
  10. https://myhealth.alberta.ca/health/pages/conditions.aspx?hwid=tr5948&#tr5949
  11. http://uhs.princeton.edu/sites/uhs/files/documents/Pilates-Flex-Stretch.pdf
  12. http://www.healthline.com/health/chronic-pain/treating-pain-with-heat-and-cold#Heatvs.Cold1
  13. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/back-pain/basics/prevention/con-20020797
  14. http://nof.org/articles/549
  15. http://www.everydayhealth.com/back-pain-pictures/best-yoga-poses-to-soothe-back-pain.aspx#/slide-5
  16. http://www.yogajournal.com/pose/downward-facing-dog/
  17. http://www.yogajournal.com/pose/child-s-pose/
  18. http://www.yogajournal.com/article/beginners/pigeon-pose/
  19. http://www.yogajournal.com/article/beginners/triangle-pose/
  20. http://health.clevelandclinic.org/2014/05/knot-in-your-neck-4-ways-to-relieve-trigger-point-pain/
  21. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/007486.htm
  22. http://my.clevelandclinic.org/health/diseases_conditions/hic_your_back_and_neck/hic_What_Can_Physical_Therapy_Do_For_Your_Back_and_Neck_Pain
  23. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2246010/
  24. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/007486.htm
  25. http://www.mayoclinic.org/symptoms/back-pain/basics/when-to-see-doctor/sym-20050878
  26. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HeartAttack/WarningSignsofaHeartAttack/Warning-Signs-of-a-Heart-Attack_UCM_002039_Article.jsp

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,408 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา