PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ถ้ารู้สึกว่าชีวิตตนเองยังมีอะไรบ้างอย่างขาดหายไปหรือไม่มีความสุขกับชีวิตที่เป็นอยู่ตอนนี้ แสดงว่าอาจถึงเวลาหาจุดมุ่งหมายของชีวิตเสียที การค้นหาตัวเองนั้นเป็นอะไรที่ท้าทายและชีวิตที่ขาดความสุขอาจทำให้เราคิดว่าตนเองเลือกเส้นทางชีวิต “ผิด” จงอย่าหวาดหวั่น ไม่สายเกินไปที่จะมีชีวิตในแบบที่เราต้องการ ชีวิตที่มีความหมายและความสุข หาจุดมุ่งหมายของชีวิตให้พบแล้วเดินตามเส้นทางเพื่อไปสู่ชีวิตในแบบที่เราต้องการอย่างแท้จริง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ค้นหาตนเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การบันทึกเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงชีวิตหรือมุมมองของตน การบันทึกจะทำให้เรามีโอกาสเขียนและสำรวจความคิดเรื่องจุดมุ่งหมายของชีวิต ความใฝ่ฝัน และความสุขของตนเอง [1]
    • ไม่ต้องกังวลถึงน้ำเสียงที่ใช้ในการเขียน บันทึกนี้มีแค่เราอ่านเท่านั้น จะไม่มีใครอื่นมาอ่านอีก ฉะนั้นให้เขียนทุกอย่างออกมาจากใจ ไม่จำเป็นต้องเขียนออกมาดีเลิศมากก็ได้
  2. เมื่อเริ่มหาจุดมุ่งหมายของตนเอง เราต้องรู้ว่าตนเองชอบอะไร ปัจจุบันทำอะไรอยู่ และต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเพื่อให้ดำเนินชีวิตอย่างมีจุดหมายมากขึ้น นี้คือตัวอย่างคำถาม [2] [3]
    • เรามีความสุขในชีวิตมากที่สุดตอนไหน
    • อะไรที่ทำให้เราภาคภูมิใจในตนเองมากที่สุด
    • คุณสมบัติในตัวของผู้อื่นที่เรานับถือมากที่สุดคืออะไร
    • อะไรที่ทำให้เรารู้สึกมีชีวิตชีวาและกระปรี้กระเปร่า
    • ทุกวันนี้ในแต่ละวันเรารู้สึกอย่างไรบ้าง
    • ถ้าเรามีชีวิตอยู่ได้แค่หนึ่งสัปดาห์ เราจะใช้ช่วงเวลานั้นทำอะไรบ้าง
    • อะไรที่เราเห็นว่า “ควรทำ” มากกว่า “อยากทำ”
    • ถ้าเราสามารถเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้แค่หนึ่งอย่าง เราจะเปลี่ยนแปลงอะไร
    • เราจะเปลี่ยนแปลงอะไรเพื่อทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น
  3. เขียนว่าเรามีความสนใจและมีความใฝ่ฝันอะไรบ้าง. เขียนลงไปว่าเราชอบใช้เวลาทำกิจกรรมอะไรบ้าง กิจกรรมนั้นอาจเกี่ยวข้องกับการทำงาน ชีวิตส่วนตัว หรือชีวิตครอบครัว กิจกรรมเหล่านั้นควรเป็นกิจกรรมที่ทำให้เรามีความสุขและสนุกจริงๆ เป็นความสนุกที่เราไม่ต้องได้เงินตอบแทนก็ได้ [4] และทำให้เราเพลิดเพลินจนลืมเวลา
  4. สิ่งต่างๆ และผู้คนที่เรารักนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพของชีวิตและการใช้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ ของเรา [5] การรู้ว่าเราชอบอะไรและรักใครสามารถช่วยให้เรามีความมุ่งมั่นที่จะทำตามความใฝ่ฝันและทำตามจุดมุ่งหมายของชีวิตได้ การพยายามหาสิ่งที่เราชอบจากใจจริงมากกว่าสิ่งที่มีค่าเพราะเหตุผลบางอย่างจะทำให้เราเข้าใกล้ความใฝ่ฝันที่แท้จริงมากขึ้นไปอีก [6]
    • ถ้าเราเป็นคนรักครอบครัว เราอาจรู้สึกไม่พอใจที่ชีวิตของเรามีแต่เรื่องงานจนเป็นเหตุให้แทบจะไม่ค่อยใช้เวลาอยู่กับครอบครัวเท่าไร
  5. การค้นหาความสุขคล้ายกับการค้นหาสิ่งที่ตนสนใจและความใฝ่ฝันของตนเอง แต่เราต้องเอาใจใส่กับการค้นหาความสุขมากกว่าหน่อย [7] เมื่อต้องการค้นหาความสุขของตนเอง ลองคิดสิว่าอะไรทำให้เรามีความสุขอย่างยิ่ง นึกถึงคราวล่าสุดที่เราหัวเราะงอหายหรือยิ้มจนแก้มปริดูสิ
    • ลองนึกถึงการละเล่นสมัยเด็กที่เราชื่นชอบมากที่สุด [8] การเล่นแบบเดียวกันนี้ (การทำงานที่มีลักษณะคล้ายกับการเล่นแบบนี้) ทำให้เรารู้สึกสนุกนานเหมือนสมัยเด็กหรือเปล่า
  6. จินตนาการว่าตนเองอายุ 90 ปี นึกภาพเราในวัยชรากำลังมองย้อนชีวิตกลับมาและรู้สึกพอใจแล้วที่ตนเองมีชีวิตอยู่อย่างมีความหมายและสมปรารถนา [9] นึกภาพสิว่าชีวิตแบบนั้นเป็นอย่างไร จากนั้นย้อนกลับมาถึงช่วงเวลาปัจจุบัน เราต้องตัดสินใจทำอะไรบ้างในทุกช่วงสิบปีตั้งแต่ตอนนี้จนถึงอายุ 90 ปีเพื่อให้ชีวิตเป็นแบบที่หวังไว้
    • ตัวอย่างเช่น นึกภาพเราตอนอายุ 90 ปี อยู่ท่ามกลางเหลน เกษียณอายุจากการทำงานช่วยเหลือชุนชนและมีความสุขกับชีวิตปั้นปลาย อาศัยอยู่ในบ้านของตนเองพร้อมกับมีที่ดินพื้นใหญ่
    • ถ้าเรานึกภาพนี้ แสดงว่าเราต้องการมีครอบครัว อยากทำงานที่ได้ช่วยเหลือผู้คน และอยากใช้ชีวิตในชนบทแบบไม่ต้องพึ่งพาใคร
    • คราวนี้เราต้องกลับมาวางแผนเพื่อให้ชีวิตดำเนินไปตามจุดมุ่งหมายนั้น เราควรเริ่มมีลูกเมื่ออายุ 28 ปี ทำงานเป็นนักสังคมสงเคราะห์ตอนอายุ 25 ปี และควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อจะได้ใช้ชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งพาใครในยามชรา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ตัดสินใจว่าจุดมุ่งหมายของชีวิตคืออะไร

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. นี้เป็นคำถามที่สำคัญมาก จึงอาจต้องใช้เวลาคิดใคร่ครวญเพื่อตัดสินใจ แต่ถ้ารู้จุดมุ่งหมายของการเป็นมนุษย์ว่าคืออะไรแล้ว เราสามารถนำความคิดนั้นมาปรับใช้เป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตได้ [10]
    • ตัวอย่างเช่น เราอาจตัดสินใจแล้วว่าจุดมุ่งหมายของการเป็นมนุษย์คือการช่วยเหลือกันและกันให้เจริญก้าวหน้า จุดมุ่งหมายส่วนตัวของเราก็อาจเป็นการช่วยเหลือผู้คนในชุมชนให้มีชีวิตที่ดีขึ้นและเราจะได้นำจุดมุ่งหมายนี้มาเป็นแนวทางกำหนดขั้นตอนต่างๆ ที่จำเป็นต่อการก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายนั้น
  2. คิดสิว่าบุคคลใดสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เราได้ บุคคลนั้นอาจเป็นผู้นำระดับโลก บุคคลผู้มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ หรือบุคคลที่อยู่รอบตัวเราก็ได้ คิดสิว่าทำไมบุคคลเหล่านี้ถึงสร้างแรงบันดาลใจให้กับเราได้ มีการกระทำหรือนิสัยอะไรของบุคคลเหล่านี้ที่เราอยากเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
    • เราอาจเขียนรายชื่อบุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจลงในบันทึกหาจุดมุ่งหมายของชีวิตก็ได้ พึงระลึกไว้ว่าเราไม่จำเป็นต้องนับถือหรือเลียนแบบบุคคลนั้นทุกอย่าง ให้คัดเลือกเฉพาะลักษณะนิสัยบางอย่างที่เราเห็นว่าสมควรที่ตนเองต้องมี
  3. การออกจากโลกของตนเองหรือความเคยชินของตนเองจะทำให้เรามองโลกได้กว้างขึ้นและเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น [11] เรามักจะเอาตนเองเป็นศูนย์กลางในการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่การออกจากโลกของตนเองจะทำให้เรามีโอกาสมองโลกได้กว้างขึ้น เมื่อเราได้มุมมองใหม่ เราก็จะเห็นบทบาทของตนเองในโลกนี้ได้อย่างชัดเจน สามารถค้นพบความใฝ่ฝันและจุดมุ่งหมายของชีวิตได้ในที่สุด
    • เมื่อเราตระหนักถึงผู้คนรอบตัวแล้ว คิดสิว่าเราจะปฏิสัมพันธ์ต่อผู้คนเหล่านี้อย่างไร อยากให้ผู้อื่นมองเราอย่างไร และพยายามเป็นบุคคลแบบนั้นให้ได้
  4. ถ้าเราไม่ค่อยรู้ว่าตนเองมีข้อดีอะไรบ้างหรืออยากได้ความเห็นจากบุคคลอื่น ให้ถามเพื่อนสนิทว่าเรามีข้อดีอะไรบ้าง [12] เพื่อนอาจรู้ข้อดีของเราที่แม้แต่ตัวเรายังไม่รู้ก็ได้
    • ตัวอย่างเช่น เราอาจไม่รู้ตัวเลยว่าการกระทำของเราสร้างแรงบันดาลใจให้เพื่อนอยากเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เพื่อนอาจบอกว่า “ข้อดีของนายคือเมื่อนายได้คิดวางแผนอะไรก็ตาม นายจะลงมือทำตามแผนนั้นมากกว่ารอให้คนอื่นเป็นฝ่ายลงมือทำก่อน” เราจะนำข้อดีนี้มาเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตก็ได้
  5. อย่าคิดว่าตนเองมีเพียงจุดมุ่งหมายเดียวในชีวิต. ผู้คนมากมายคิดว่าจุดมุ่งหมายของตน (ไม่ว่าอาชีพการงาน หรือความสนใจ) มีเพียงแค่จุดมุ่งหมายเดียวเท่านั้น [13] แต่บางครั้งความใฝ่ฝันของเราก็คือการทำให้จุดมุ่งหมายหลายอย่างที่สามารถเติมเต็มความต้องการและความอยากต่างๆ เป็นจริง จุดมุ่งหมายเพียงหนึ่งเดียวของเรา (ถ้าเลือกที่จะจำกัดให้เหลือแค่หนึ่ง) สามารถแบ่งเป็นจุดมุ่งหมายย่อยๆ และจุดมุ่งหมายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถนำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตที่เอื้อให้ไปถึงจุดมุ่งหมายใหญ่นั้นได้ด้วย
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าจุดมุ่งหมายของเราคือ “การทำให้ตนเองและผู้อื่นมีความสุข” เราอาจมีจุดมุ่งหมายย่อยคือ “บรรลุเป้าหมายในการทำงาน อดทนทำเพื่อครอบครัว ทำให้ลูกๆ หัวเราะ และรับฟังเพื่อนๆ” จะเห็นว่าจุดมุ่งหมายย่อยเหล่านี้ทำให้จุดมุ่งหมายสำคัญของเราเป็นจริงได้
    • ข้อดีของการมีจุดมุ่งหมายย่อยคือถ้าจุดมุ่งหมายย่อยอันใดอันหนึ่งติดขัดหรือไม่เป็นไปอย่างราบรื่น เราจะได้ไม่รู้สึกว่าตนเองนั้นไม่บรรลุจุดมุ่งหมายของชีวิต ตัวอย่างเช่น ถ้าชีวิตการทำงานไม่เป็นไปตามที่หวังแต่ชีวิตครอบครัวและชีวิตสังคมเต็มไปด้วยความสุขและราบรื่น เราก็ยังรู้สึกว่าได้ว่าชีวิตของตนเองนั้นเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการมีความสุขอยู่
  6. หลังจากประเมินตนเองและได้มุมมองใหม่นอกเหนือจากของตนเอง ก็ถึงเวลาตัดสินใจแล้วว่าจุดมุ่งหมายของชีวิตเราคืออะไร พึงระลึกไว้ว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมายของชีวิตในภายหลังได้ แต่ตอนนี้เราต้องมีเป้าหมายและทิศทาง ถึงแม้เราจะต้องปรับเปลี่ยนในภายหลังเพราะชีวิตเราเปลี่ยนแปลงและเราเองก็เติบโตขึ้นก็ตาม
    • พอรู้ว่าจุดมุ่งหมายของชีวิตของตนคืออะไรแล้ว เขียนลงไป นำไปติดในที่ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและสามารถอ่านได้ทุกวัน จะได้เป็นการย้ำเตือนว่าเราต้องการอะไรในชีวิต เราจะสามารถถามตนเองในแต่ละวันได้ว่าเราได้ทำอะไรที่ทำให้ชีวิตของตนมุ่งสู่จุดมุ่งหมายนั้นแล้วหรือยัง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ไปให้ถึงจุดมุ่งหมายของชีวิต

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เรานึกจุดมุ่งหมายของชีวิตตนเองออกคือเขียนปฏิญาส่วนตัวออกมา เราอาจต้องเปลี่ยนจุดมุ่งหมายในชีวิตเป็นปฏิญญาส่วนตัว จะได้นำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
  2. การทำสมาธิหรือการเล่นโยคะเพื่อเจริญสติจะทำให้เรายังมีพลังใจพอที่จะรักษาความมุ่งมั่นในการทำภารกิจต่างๆ ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ และในชีวิตประจำวันของตนเองได้ การทำจิตใจให้ผ่องใสและนึกภาพชีวิตตนเองในแบบที่เราอยากให้เป็นจะสามารถช่วยให้เราก้าวไปสู่ชีวิตในแบบที่ฝันไว้ได้ [14]
  3. ถึงแม้จุดมุ่งหมายของเราจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมด้วยก็ตาม แต่การพยายามทำให้ทุกคนรอบตัวเราพอใจในแต่ละวันอาจขัดขวางและไม่ช่วยให้เราดำเนินชีวิตไปตามจุดมุ่งหมายเลยก็ได้ ฉะนั้นไม่ว่าจะทำอะไร ให้เราเป็นคนที่เลือกและตัดสินใจเอง ไม่ใช่ให้ผู้คนรอบข้างเป็นคนเลือกและตัดสินใจแทนเรา
    • เราไม่รู้หรอกว่าอะไรจะทำให้ผู้อื่นมีความสุขอย่างแท้จริง ฉะนั้นถึงแม้เป้าหมายของเราคือการทำให้ตนเองและผู้อื่นมีความสุข แต่การทำตามความต้องการแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยของคนอื่นไม่ช่วยให้เรามีความสุขได้
  4. เขียนว่าตนเองจะทำอะไรบ้างเพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายของชีวิต. ในการบันทึกหาจุดมุ่งหมายของชีวิต เขียนว่าตนเองจะทำอะไรบ้างเพื่อเป็นการพาตนเองไปสู่จุดมุ่งหมายของชีวิต เราอาจไม่สามารถทำตามสิ่งที่ตนเองเขียนโดยทันทีได้ แต่การรู้ว่าตนเองต้องทำอะไรบ้างเพื่อไปให้ถึงจุดมุ่งหมายของชีวิตนั้นสามารถช่วยให้เรานำชีวิตไปสู่ทิศทางที่ต้องการได้
    • ตัวอย่างเช่น ถ้างานที่ทำอยู่ในปัจจุบันไม่เป็นไปตามที่หวังและไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของชีวิต เราอาจเขียนว่า “หางานใหม่” ลงในรายการสิ่งที่เราจะทำ อย่างไรก็ตามอย่าเพิ่งออกจากงานปัจจุบันจนกว่าจะหางานใหม่ได้ อย่าลืมว่าถึงได้หรือไม่ได้งานใหม่ เราก็ยังมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ฉะนั้นจึงต้องมีรายได้เพื่อใช้จ่ายภายในบ้านและเลี้ยงปากท้องคนในครอบครัวอยู่ดี
    • แบ่งรายการที่ต้องทำเป็นการเปลี่ยนแปลงระยะสั้น การเปลี่ยนแปลงระยะปานกลาง และการเปลี่ยนแปลงระยะยาว
  5. กระทำตามสิ่งที่เขียนเพื่อไปให้ถึงจุดมุ่งหมายของชีวิต. พอรู้ว่าต้องทำอะไรบ้างถึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายของชีวิต ก็ลงมือทำเสีย เริ่มด้วยการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นและทำไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงระยะยาว บางครั้งการลงมือทำแทนการเอาแต่นั่งคิดมากจะทำให้เรามองเห็นอะไรได้ชัดเจนและมีความสุขมากกว่า [15] .
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Adrian Klaphaak, CPCC

    โค้ชอาชีพ
    เอเดรียน คลาฟากเป็นโค้ชอาชีพและผ฿้ก่อตั้ง A Path That Fits บริษัทโค้ชอาชีพและชีวิตในเบย์แอเรียซานฟรานซิสโก เขาได้ทำงานร่วมกับผู้คนมากมายที่มุ่งหวังจะสร้างสิ่งดีๆ บนโลกนี้ และยังช่วยคนเกิน 1000 คนสร้างเส้นทางอาชีพที่สำเร็จและมีจุดมุ่งหมายที่ชัดขึ้น
    Adrian Klaphaak, CPCC
    โค้ชอาชีพ

    เริ่มต้นด้วยก้าวเล็กๆ ถ้ามันต้องเป็นเช่นนั้น ในการจะได้รับประสบการณ์ทำในสิ่งที่ตนรัก ลองเสนอตัวทำงานเพื่อครอบครัวและผองเพื่อน นั่นจะทำให้คุณมีโอกาสได้ฝึกทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยเครียด คุณยังสามารถลองเป็นจิตอาสาหรือเป็นฟรีแลนซ์เพื่อให้ได้ประสบการณ์นี้

  6. เราต้องกลับมาอ่านบันทึกจุดมุ่งหมายของเราเป็นบางครั้งบางคราวเพื่อจะได้ปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม หรือเตือนให้นึกถึงจุดมุ่งหมายของตนเอง หลังจากเวลาผ่านไป เราอาจพบว่าตนเองกลับมาใช้ชีวิตแบบเดิม ถึงการเป็นแบบนี้จะไม่มีอะไรผิด แต่เราจะรู้สึกrพอใจมากกว่าถ้ากำลังเดินไปสู่จุดหมายของชีวิตที่ตนเองได้ตั้งไว้ในตอนนี้
  7. พยายามอย่าทำอะไรที่ตรงข้ามหรือออกนอกจุดมุ่งหมาย. การป้องกันตนเองไม่ให้ทำอะไรที่เป็นการออกนอกจุดมุ่งหมายของชีวิตนั้นยาก ถ้าเราอยากทำให้ตนเองและผู้อื่นมีความสุข แต่วันหนึ่งเราต้องทำอะไรที่ตนเองไม่ชอบอย่างเช่น การซักผ้า เราก็ยังต้องทำอะไรที่ไม่ชอบบางเป็นบางครั้ง อย่างไรก็ตามพยายามอย่าทำอะไรที่เป็นการออกนอกจุดมุ่งหมาย
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าจุดมุ่งหมายของเราคือการทำให้ตนเองและผู้อื่นมีความสุข เราก็ไม่ควรพูดจาทำร้ายจิตใจผู้อื่นและเราก็ควรหลีกเลี่ยงอะไรที่ทำให้เราทุกข์ใจด้วยเช่น การอยู่กับคนที่มักจะพูดจาทิ่มแทงให้เรารู้สึกแย่ตลอดเวลา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • บางครั้งเราจะพบจุดมุ่งหมายของชีวิตได้เอง เมื่อได้ใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ เราจะพบจุดมุ่งหมายในชีวิต เมื่อพบเหตุการณ์ต่างๆ และต้องตัดสินใจเลือกทำอะไรบางอย่าง
  • ขณะที่เรากำลังพยายามเดินตามจุดมุ่งหมายของชีวิต เราจะเห็นว่าตนเองนั้นสามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในชีวิตได้ง่ายขึ้นเพราะเราถามตนเองว่า “โอกาสนี้ตรงกับความใฝ่ผัน เป็นการทำตามจุดมุ่งหมายของชีวิต และเหมาะสมกับความสามารถของเราไหม” เราจะค่อยๆ ดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้มากขึ้น เราจะรู้สึกมีความสุขมากขึ้นและพอใจตนเองมากกว่าแต่ก่อน
  • โดยปกติเราจะให้จุดมุ่งหมายของชีวิตเป็นคำตอบของทุกอย่างในตอนนี้หรือเป็นอะไรที่สามารถเป็นจริงได้ในอนาคต แต่ถ้าจุดมุ่งหมายในชีวิตของเราเป็นอะไรที่สามารถเป็นจริงในอนาคต เราก็ต้องเริ่มหาจุดมุ่งหมายของเราตั้งแต่ตอนนี้
  • บางครั้งการรู้ว่าตนเองไม่อยากได้อะไรอาจดีกว่า (และง่ายกว่า) รู้ว่าตนเองต้องการอะไร ถ้าเราจำเป็นต้องหาจุดมุ่งหมายในชีวิต เริ่มเขียนสิ่งที่เราไม่อยากทำ (หรือเป็น) จากนั้นค่อยเขียนอะไรที่เราอยากทำ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 19,052 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา