PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เวลาคุยกับคนอื่น เขาก็มักจะถามเราว่า “สบายดีไหม” เพื่อเป็นการทักทายและชวนเราคุย การตอบคำถามเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคุณก็อาจจะไม่แน่ใจว่าควรจะตอบกลับไปอย่างไรจึงจะดีที่สุด ในสถานการณ์ที่เป็นทางการในที่ทำงานหรือกับคนรู้จัก คุณก็อาจจะตอบกลับไปสั้นๆ แบบสุภาพ แต่ถ้าเป็นในกรณีอื่นๆ ที่คุณคุยอยู่กับเพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัว คำตอบของคุณก็อาจจะยาวและชวนเขาคุยต่อ แค่คิดทบทวนสักหน่อย คุณก็จะสามารถตอบคำถามทั่วไปนี้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ตรงหน้ามากขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ตอบตามมาตรฐานสั้นๆ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณสามารถตอบแบบนี้ได้ถ้าคุณกำลังคุยกับใครในสถานการณ์ทางสังคมที่คุณไม่คุ้นเคย เช่น คุยกับคนรู้จักที่งานปาร์ตี้หรือคนที่คุณพบปะระหว่างท่องเที่ยว [1]
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถตอบแบบนี้ได้ถ้าคุณคุยอยู่กับอีกฝ่ายในที่ทำงาน เช่น เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หรือหัวหน้า
  2. ตอบว่า “ก็ดีครับ/ค่ะ” หรือ “ก็เรื่อยๆ ครับ/ค่ะ” ถ้าคุณอยากดูเป็นคนมองโลกในแง่ดีและอัธยาศัยดี. หรือคุณจะตอบว่า “โอเคอยู่ครับ/ค่ะ” หรือ “ได้อยู่ครับ/ค่ะ” การตอบแบบนี้เป็นการแสดงท่าทีที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หัวหน้า หรือคนรู้จัก
  3. พูดว่า “ก็พอได้อยู่ครับ/ค่ะ” ถ้าคุณรู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไหร่แต่อยากให้ฟังดูสุภาพ. ถ้าคุณรู้สึกไม่ค่อยสบายหรือป่วยนิดหน่อย คุณสามารถตอบแบบนี้เพื่อให้อีกฝ่ายรู้ได้เองแบบสุภาพ อีกฝ่ายก็อาจจะคุยต่อหรือไม่ก็ถามคำถามที่เจาะจงไปเลย [2]
    • คำตอบนี้เหมาะกับเวลาที่คุณไม่อยากโกหกเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะตอบตรงๆ หรือตอบแบบกันเองมากเกินไปนัก
  4. ให้ความสนใจแก่เขาด้วยการสบตาเขาเวลาที่คุณตอบคำถาม แม้ว่าคุณจะพยายามตอบแบบสุภาพหรือตอบสั้นๆ ก็ตาม ปล่อยแขนตามสบายข้างๆ ลำตัวและโน้มตัวไปหาอีกฝ่ายเพื่อแสดงถึงภาษาท่าทางเชิงบวก วิธีนี้จะทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจที่จะคุยกับคุณมากขึ้น [3]
    • นอกจากนี้ถ้าคุณอยากดูเป็นคนอัธยาศัยดี ก็ให้ยิ้มหรือพยักหน้าไปด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ตอบคำถามที่ทำให้สามารถคุยต่อได้

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตอบคำถามอย่างละเอียดเมื่ออีกฝ่ายเป็นเพื่อนสนิท คนในครอบครัว หรือคนรัก. เป็นไปได้ว่าบุคคลเหล่านี้จะเป็นคนที่สนิทกับคุณและคุณไว้ใจเขาเป็นการส่วนตัว บอกเล่าความรู้สึกที่สำคัญอย่างละเอียดให้เขาฟัง
    • นอกจากนี้คุณก็อาจจะตอบเพื่อนร่วมงานหรือคนรอบข้างที่คุณสนิทด้วยออกไปตรงๆ ว่าจริงๆ แล้วคุณรู้สึกอย่างไร
  2. ตอบกลับไปว่า “จริงๆ แล้วฉันรู้สึกว่า…” หรือ “ก็ ฉันรู้สึกเหมือนว่า…” ถ้าคุณกำลังหดหู่หรือเผชิญหน้ากับ ช่วงเวลาที่ยากลำบาก คุณอาจจะพูดถึงปัญหาด้วยเพื่อให้คนที่คุณรักช่วยคุณได้ [4]
    • เช่น คุณอาจจะตอบไปว่า “จริงๆ แล้วช่วงที่ผ่านมาก็รู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ฉันว่าฉันเครียดแล้วก็วิตกกังวล” ถ้าคุณรู้สึกไม่ค่อยดีหรือไม่เป็นตัวของตัวเองเท่าไหร่
    • คุณอาจจะตอบไปว่า “ฉันรู้สึกดีมากเลย สุดท้ายฉันก็ได้งานที่ฉันชอบและช่วงนี้ฉันก็รู้สึกมั่นใจมากขึ้น” ถ้าคุณรู้สึกดีและมีความสุข
  3. ตอบคำถามอย่างละเอียดเวลาที่หมอถามว่า “เป็นยังไงบ้างครับ/ค่ะ”. บอกให้หมอรู้หากคุณรู้สึกไม่ค่อยสบายหรือมีปัญหาสุขภาพที่กวนใจคุณ เพราะมันจะช่วยให้หมอรักษาคุณได้อย่างตรงจุด [5]
    • นอกจากนี้คุณก็ควรตอบคำถามบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ เช่น พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อย่างตรงไปตรงมาด้วย เพราะถ้าคุณรู้สึกไม่ค่อยดี พวกเขาก็จะต้องรู้เพราะว่าเขาจะได้ช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น
  4. พูดว่า “ไม่ค่อยดีเท่าไหร่” หรือ “ฉันว่าฉันไม่ค่อยสบายน่ะ” ถ้าคุณรู้สึกไม่สบาย. การตอบแบบนี้จะทำให้คุณได้ตอบตามความจริงและทำให้อีกฝ่ายรู้ว่าคุณรู้สึกไม่ค่อยดี จากนั้นเขาก็อาจจะถามคำถามคุณมากขึ้นและแสดงความเห็นอกเห็นใจที่คุณรู้สึกแบบนั้น [6]
    • ตอบแบบนี้ก็ต่อเมื่อคุณอยากจะพูดถึงอาการเจ็บไข้ได้ป่วยของตัวเองเท่านั้น เพราะมันมักจะเป็นคำตอบที่ทำให้อีกฝ่ายต้องถามคำถามมากขึ้นและพยายามทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น
  5. ปิดท้ายคำตอบด้วยการพูดว่า “ขอบคุณนะที่ถามไถ่”. ทำให้อีกฝ่ายรู้ว่าคุณซาบซึ้งที่เขาถามและเต็มใจที่จะฟังคุณตอบคำถามยาวๆ การพูดแบบนี้จะเป็นการปิดท้ายคำตอบในเชิงบวก แม้ว่าคำตอบของคุณจะเป็นเรื่องที่คุณรู้สึกไม่ดีหรือไม่ค่อยสบายก็ตาม
    • นอกจากนี้คุณก็อาจจะพูดว่า “ขอบคุณมากนะที่ถามไถ่ว่าฉันเป็นยังไงบ้าง” หรือ “ขอบคุณที่รับฟังนะ”
  6. แสดงให้อีกฝ่ายรู้ว่าคุณอยากจะชวนคุยมากขึ้นด้วยการถามกลับไปว่า “คุณสบายดีไหม” หลังจากที่คุณตอบคำถามเขาไปแล้ว [7]
    • เช่น คุณอาจจะพูดว่า “ฉันสบายดี ขอบคุณนะที่ถามไถ่ คุณสบายดีไหม” หรือ “ก็พอได้อยู่ค่ะ ขอบคุณมากนะคะ แล้วคุณล่ะ”
    • สำหรับบางคน ถ้าคุณถามคำถามเดียวกันกลับไป เขาก็อาจจะพยักหน้าแล้วพูดว่า "ก็ดีค่ะ" หรือ "สบายดีค่ะ" แล้วก็จากไป ซึ่งก็ไม่ต้องเก็บมาคิดมาก เพราะบางครั้งการถามอีกฝ่ายว่าคุณเป็นอย่างไรบ้างก็อาจจะไม่ได้เป็นการชวนคุยต่อจริงๆ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

อ่านสถานการณ์ให้ดี

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณสนิทกับคนๆ นี้และเคยพูดคุยเรื่องประสบการณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวกับเขามากแล้ว คุณก็สามารถตอบคำถามเขากลับไปแบบละเอียดได้ แต่ถ้าคุณไม่ได้รู้จักเขาดี เช่น เป็นคนที่คุณทำงานด้วยหรือรู้จักผ่านเพื่อนหรือคนในครอบครัวอีกที คุณก็อาจจะตอบแค่สั้นๆ อย่างสุภาพ [8]
    • คุณอาจจะตอบคำถามแบบละเอียดได้ถ้าคุณอยากจะพัฒนาความสัมพันธ์กับคนๆ นั้นในระดับที่ลึกซึ้งและอยากจะสนิทกับเขามากขึ้น
    • ระวังระมัดการตอบแบบหมดเปลือกแค่เพราะว่าคุณรู้สึกกระอักกระอ่วนและไม่ได้อยากจะสนิทกับเขามากขึ้นจริงๆ
  2. สังเกตว่าเขาถามว่า “คุณสบายดีไหม” ที่ไหนและเมื่อไหร่. ถ้าคนที่ถามคุณเขายืนอยู่ตรงเครื่องชงกาแฟในที่ทำงาน เขาก็อาจจะคาดหวังคำตอบสั้นๆ ที่สุภาพและเหมาะกับสภาพแวดล้อมในออฟฟิศ แต่ถ้าเขาถามคุณตอนไปดื่มหรือตอนกินมื้อเย็นหลังเลิกงานหรือเลิกเรียน คุณก็อาจจะตอบคำตอบอย่างละเอียดและเป็นส่วนตัวมากขึ้น
    • ถ้าคุณอยู่กับคนอื่นๆ เป็นกลุ่ม คุณก็อาจจะเลือกตอบคำถามแบบสั้นๆ และสุภาพ เพราะการตอบคำถามยืดยาวหรือเป็นส่วนตัวต่อหน้าคนอื่นๆ อาจจะไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไหร่
    • ในกรณีส่วนใหญ่ ถ้าคุณอยู่กับกลุ่มเพื่อนหรือคนในครอบครัว การตอบคำถามแบบละเอียดก็เป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ถ้าคุณอยู่กับกลุ่มเพื่อนร่วมงาน คนรู้จัก หรือผู้ที่มีอำนาจ คำตอบสุภาพสั้นๆ ก็อาจจะเหมาะสมกว่า
  3. สังเกตว่าอีกฝ่ายสบตากับคุณและยืนนิ่งๆ หันมาหาคุณหรือเปล่า เพราะมันมักเป็นสัญญาณที่บอกว่า อีกฝ่ายอยากจะสานสัมพันธ์กับคุณในระดับที่ลึกซึ้งขึ้นและอยากจะคุยกับคุณ [9]
    • ถ้าอีกฝ่ายไม่สบตาหรือสบตาแค่ครู่เดียวและกำลังจะเดินผ่านคุณไป เขาก็อาจจะไม่ได้อยากจะคุยกับคุณนาน ในกรณีแบบนี้ คุณก็อาจจะตอบกลับไปแค่สั้นๆ กระชับๆ เพื่อไม่ให้สถานการณ์กระอักกระอ่วน
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 26,575 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา