PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

การย้อมผ้าด้วยชาสามารถช่วยเปลี่ยนเฉดสีของผ้าเช็ดจาน เสื้อยืด หรือสิ่งของที่ทำจากผ้าอื่นๆ ได้อย่างประหยัดและง่ายดาย แม้ว่าน้ำชาอาจไม่สามารถให้สีที่เข้มมากนัก แต่การย้อมผ้าด้วยชาก็สามารถช่วยอำพรางคราบเปื้อนจางๆ และทำให้ผ้าของคุณมีลุคที่ดูวินเทจมากยิ่งขึ้น และอีกหนึ่งข้อดีคือเพียงคุณเตรียมน้ำร้อนให้พร้อมเท่านั้นก็สามารถเริ่มต้นย้อมผ้าด้วยชาได้เลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ชงชา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ย้อมผ้าด้วยชา
    สำหรับขั้นตอนการเตรียมน้ำชา เริ่มจากหยิบถุงชาออกจากกล่องและใช้กรรไกรตัดเชือกทิ้งไปให้เรียบร้อย [1]
    • เนื่องจากชาดำมีสีที่เข้มมากที่สุด จึงมีประสิทธิภาพในการย้อมสีผ้าที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับชาประเภทอื่นๆ ที่มีสีอ่อนอย่างชาขาวหรือชาเขียว
    • คุณสามารถเลือกใช้ใบชาในการย้อมสีผ้าได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามการใช้ชาแบบซองจะช่วยให้ขั้นตอนการย้อมผ้าของคุณสะดวกมากยิ่งขึ้น
    • จำนวนถุงชาที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของผ้าที่ต้องการย้อมและระดับความเข้มของสีที่คุณต้องการ และเนื่องจากปริมาณน้ำที่ใช้จะต้องมากพอจนท่วมผ้า ดังนั้นหากคุณใช้น้ำในปริมาณมาก จำนวนถุงชาที่ควรใช้ก็ควรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
    • โดยทั่วไปแล้วการย้อมผ้าด้วยชาจะใช้ถุงชา 1 ถุงต่อน้ำ 250 มล. แต่หากต้องการให้สีที่ย้อมมีความเข้มมากขึ้น คุณสามารถเพิ่มจำนวนถุงชาที่ใช้อีกเล็กน้อย [2]
  2. Watermark wikiHow to ย้อมผ้าด้วยชา
    เติมน้ำลงไปในหม้อใบใหญ่ให้มากพอท่วมผ้าที่ต้องการย้อมและสามารถกวนผ้าไปมาได้และเติมเกลือแกงลงไปในน้ำเล็กน้อย จากนั้นนำหม้อขึ้นตั้งเตาก่อนเปิดไฟแรงสุดและรอจนน้ำเดือดเต็มที่
    • โดยทั่วไปแล้วการย้อมผ้าด้วยชาจะใช้น้ำ 1 ลิตรต่อผ้าประมาณ 1 หลาหรือ 1 เมตร [3]
    • การเติมเกลือลงไปในน้ำจะช่วยให้สีติดบนผ้าได้ดียิ่งขึ้นและไม่หลุดลอกออกมาง่ายๆ เมื่อนำผ้าไปซัก
    • เติมเกลือลงไป 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ลิตร
  3. เมื่อน้ำเดือดได้ที่แล้ว ให้คุณยกหม้อออกจากเตาและใส่ถุงชาลงไปในน้ำ จากนั้นแช่ทิ้งไว้สักพักจนกระทั่งสีของใบชาออกมา ซึ่งโดยปกติแล้วคุณจะต้องแช่ถุงชาทิ้งไว้นานอย่างน้อย 15 นาที [4]
    • จำไว้ว่ายิ่งคุณแช่ชาทิ้งไว้นานเท่าไหร่ สีจากใบชาก็จะออกมามากขึ้นและทำให้ผ้าที่ย้อมเสร็จแล้วมีสีที่เข้มยิ่งขึ้น ดังนั้นคอยตรวจเช็คอยู่เรื่อยๆ ว่าน้ำชามีสีที่เข้มพอดีตามที่คุณต้องการหรือไม่ก่อนเริ่มต้นนำผ้าลงแช่ในน้ำชา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

แช่ผ้าในน้ำชา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ย้อมผ้าด้วยชา
    ก่อนเริ่มต้นย้อมผ้า อย่าลืมทำให้ผ้าที่ต้องการย้อมพอเปียกหมาดๆ เสียก่อน ดังนั้นหากคุณต้องการย้อมผ้าที่ผ่านการใช้งานแล้ว ให้คุณนำผ้าไปซักให้สะอาดเพื่อขจัดคราบเปื้อนหรือสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ หรือสำหรับผ้าใหม่ เพียงคุณนำไปจุ่มน้ำให้เปียกก็เพียงพอ ที่สำคัญคือคุณควรบิดผ้าให้เรียบร้อยก่อนนำไปย้อมเพื่อไม่ให้ผ้าเปียกชุ่มจนเกินไป [5]
    • การย้อมผ้าด้วยชาสามารถใช้ได้ผลเฉพาะกับผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าลินิน และผ้าขนสัตว์ เท่านั้น และไม่สามารถย้อมผ้าที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ต่างๆ อย่างโพลีเอสเตอร์ได้
    • ก่อนนำผ้าไปย้อม ให้คุณบิดผ้าพอให้ผ้ายังคงเปียกหมาดๆ โดยไม่จำเป็นต้องให้แห้งสนิท
  2. Watermark wikiHow to ย้อมผ้าด้วยชา
    เมื่อน้ำชามีระดับสีที่เข้มตามที่คุณต้องการแล้ว ให้คุณค่อยๆ ยกถุงชาออกมาจากน้ำก่อนนำผ้าที่เปียกน้ำลงไปแช่ในน้ำชาโดยเช็คให้แน่ใจว่าผ้าจมอยู่ใต้น้ำทั่วทั้งผืน [6]
    • คุณอาจใช้ช้อนไม้หรืออุปกรณ์อื่นๆ กวนผ้าไปมาเพื่อให้ช่วยให้ผ้าจมอยู่ก้นหม้อและแช่อยู่ใต้น้ำทั่วทุกส่วน
    • หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งของผ้าโผล่ขึ้นมาเหนือผิวน้ำ ให้คุณใช้ช้อนหรืออุปกรณ์อื่นๆ กดผ้าเอาไว้ให้จมอยู่ใต้น้ำดังเดิม
  3. หลังจากที่ทุกส่วนของผ้าจมอยู่ใต้น้ำชาเรียบร้อยแล้ว ให้คุณแช่ทิ้งไว้นานอย่างน้อย 60 นาที จำไว้ว่ายิ่งคุณแช่ผ้าทิ้งไว้ในน้ำชานานเท่าไหร่ สีที่ย้อมออกมาก็จะยิ่งมีความเข้มมากขึ้น [7]
    • หากต้องการให้สีที่ย้อมออกมามีความเด่นชัดมากขึ้น คุณอาจจำเป็นต้องแช่ผ้าทิ้งไว้ในน้ำชาข้ามคืน
    • หมั่นกวนหรือขยำผ้าเป็นครั้งคราวในระหว่างที่แช่ผ้าไว้ในน้ำชาเพื่อให้ได้สีที่เสมอกันทั่วทั้งผืน
    • คุณสามารถยกผ้าขึ้นจากน้ำชาเป็นระยะๆ เพื่อดูว่าสีที่ย้อมออกมามีความเข้มมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ผ้าแห้งดีแล้ว สีที่ย้อมออกมาจะดูจางลงกว่าเดิมเมื่อเทียบกับตอนที่ผ้ายังคงเปียกอยู่ ดังนั้นคุณจึงอาจต้องแช่ผ้าทิ้งไว้ให้นานกว่าที่ตั้งใจไว้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ซักผ้าให้สะอาดและตากให้แห้ง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ย้อมผ้าด้วยชา
    เมื่อคุณพอใจกับสีที่ย้อมออกมาแล้ว ให้คุณยกผ้าขึ้นจากน้ำชาก่อนนำไปล้างอย่างรวดเร็วด้วยน้ำเย็น จากนั้นจึงแช่ทิ้งผ้าไว้ในน้ำเย็นนานประมาณ 10 นาทีโดยเติมน้ำส้มสายชูลงไปในน้ำเล็กน้อยเพื่อช่วยให้สีติดบนผ้าได้ดียิ่งขึ้น [8]
    • หากรู้สึกหงุดหงิดกับกลิ่นชาที่ติดอยู่บนผ้า คุณสามารถขจัดกลิ่นออกได้ด้วยการซักมือโดยใช้น้ำยาซักผ้าสูตรถนอมใยผ้าเป็นพิเศษ
  2. Watermark wikiHow to ย้อมผ้าด้วยชา
    หลังจากที่แช่ผ้าไว้ในน้ำเย็นผสมน้ำส้มสายชูจนครบเวลาที่กำหนดแล้ว ให้คุณหยิบผ้าขึ้นมาจากกะละมังและบิดเพื่อเอาน้ำส่วนเกินออก จากนั้นจึงนำผ้าไปวางแผ่ไว้ตรงบริเวณที่มีอากาศอุ่นและมีแสงแดดส่องถึงจนแห้งสนิท [9]
    • สำหรับผ้าบางประเภทอาจจำเป็นต้องใช้วิธีนำไปอบให้แห้งในเครื่องอบผ้าแทนการผึ่งลมให้แห้ง
  3. Watermark wikiHow to ย้อมผ้าด้วยชา
    ผ้าอาจเกิดรอยยับได้ง่ายในระหว่างที่แช่ทิ้งไว้ในน้ำชาเพื่อย้อมสี และเนื่องจากคุณนำผ้าไปวางแผ่ไว้จนแห้งสนิท รอยยับที่เกิดขึ้นจึงยังไม่หายไปในระหว่างขั้นตอนการตากผ้า ดังนั้นจึงแนะนำให้คุณใช้เตารีด รีดผ้า ให้เรียบเพื่อให้ผ้าดูน่าใช้มากยิ่งขึ้น [10]
    • อย่าลืมคำนึงถึงประเภทของผ้าก่อนเริ่มต้นรีด เพราะแม้ว่าผ้าที่มีความทนทานอย่างผ้าฝ้ายหรือผ้าลินินจะสามารถทนความร้อนได้ดี แต่ผ้าที่มีความบอบบางอย่างผ้าไหมอาจต้องการการทะนุถนอมมากกว่า ส่วนผ้าขนสัตว์เนื้อหนาจำเป็นต้องรีดโดยตั้งค่าเป็นระบบไอน้ำ ด้วยเหตุนี้คุณจึงควรดูคำแนะนำวิธีการใช้ของเตารีดของคุณเพื่อให้คุณสามารถปรับตั้งค่าการรีดที่เหมาะกับผ้ามากที่สุด
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หลังจากที่คุณแช่ผ้าทิ้งไว้ในน้ำชาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงแล้ว อย่าเพิ่งเทน้ำชาทิ้งโดยทันที เนื่องจากคุณอาจต้องนำผ้าลงแช่อีกครั้งหากคุณยังคงไม่พอใจกับสีที่ย้อมออกมา
  • หากต้องการย้อมผ้าให้มีลวดลายมัดย้อม ให้คุณใช้เชือกมัดไว้เป็นเปลาะๆ ก่อนนำไปแช่ในน้ำชาและแกะเชือกออกเมื่อผ้าแห้งสนิทดีแล้ว
  • คุณสามารถย้อมผ้าให้มีลวดลายจุดได้ด้วยการโรยดอกเกลือลงไปบนผ้าให้ทั่วในระหว่างที่วางแผ่ไว้เพื่อตากให้แห้ง เนื่องจากเกลือสามารถช่วยดูดซับสีบางส่วนจนเกิดเป็นจุดเล็กๆ ขึ้นมาได้
  • โดยทั่วไปแล้วน้ำชาสามารถย้อมติดผ้าฝ้ายได้ดีที่สุด
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • หม้อขนาดใหญ่
  • น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง (1 ลิตร) ต่อผ้า 1 หลาหรือ 1 เมตร
  • ถุงชา
  • กรรไกร
  • เกลือ
  • ผ้าสีขาว
  • ช้อนไม้
  • น้ำเย็น
  • น้ำส้มสายชู

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,988 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา