PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ปลามักจะเก็บรักษาได้ดีทั้งในช่องฟรีซและช่องแช่เย็นธรรมดา และสามารถเก็บไว้ได้ทั้งก่อนนำไปทำอาหารและหลังจากที่รับประทานไปแล้วบางส่วน แต่ไม่ว่าอย่างไรสุดท้ายแล้วปลาก็จะต้องเสียในที่สุด ซึ่งก็คือจุดที่ไม่สามารถนำไปปรุงอาหารได้อย่างปลอดภัยหรือดีต่อสุขภาพอีกต่อไปแล้ว ในการที่จะบอกว่าปลาใกล้เน่าแล้วหรือยังนั้น คุณต้องคำนึงถึงวันที่ขายที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์ ที่ที่เอาปลาไปเก็บไว้ และเนื้อสัมผัสกับกลิ่นของปลา ในการป้องกันไม่ให้อาหารเป็นพิษนั้น คุณควรทิ้งปลาทันทีที่มีสัญญาณของการเน่าเสีย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ดูวันที่ขาย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทิ้งปลาดิบที่อยู่ในช่องแช่เย็นธรรมดามาแล้ว 2 วันหลังจากวันที่ขาย. ปลาดิบจะอยู่ได้ไม่นานในช่องแช่เย็นธรรมดาและจะเสียเร็วมากหลังจากวันที่ขาย มองหาวันที่ขายบนบรรจุภัณฑ์ ถ้าผ่านไปแล้ว 1 หรือ 2 วันหลังจากวันที่ขาย ก็ให้ทิ้งไปเลย [1]
    • ถ้าคุณอยากยืดอายุปลาในตู้เย็นให้นานขึ้น ให้เปลี่ยนไปใส่ไว้ในช่องแช่แข็ง
    • ถ้าบรรจุภัณฑ์ไม่ได้บอกวันที่ขายแต่บอกว่าควรบริโภคภายในวันที่เท่าไหร่ อย่าเก็บปลาไว้นานเกินวันนั้น “วันที่ควรบริโภคก่อน” เป็นวันที่บ่งบอกว่าปลาจะเริ่มเน่าถ้าไม่รับประทานภายในวันที่บอกไว้
  2. เก็บปลาที่ปรุงสุกแล้วไว้ในตู้เย็น 5 หรือ 6 วันหลังจากวันที่ขาย. ถ้าคุณซื้อปลาที่ปรุงสุกแล้วหรือนำปลาไปทำอาหารเอง ให้ใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดแน่นแล้วเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา มันจะเก็บได้นานกว่าปลาดิบ แต่ถ้าคุณไม่รับประทานหลังจากผ่านวันที่ขายไปแล้ว 5 หรือ 6 วัน ก็ต้องทิ้งไป [2]
    • ถ้าคุณรู้ล่วงหน้าว่าจะไม่รับประทานปลาที่ปรุงสุกก่อนวันหมดอายุ ให้แช่ช่องฟรีซไว้เพื่อยืดอายุ
    • ถ้าคุณกะว่าจะทิ้งบรรจุภัณฑ์เดิมของปลาทันทีที่คุณนำไปปรุงอาหารแล้วนำไปแช่ตู้เย็น ให้เขียนวันที่ขายลงไปเพื่อที่คุณจะได้ไม่ลืมหลังจากที่ทิ้งบรรจุภัณฑ์ของมันไปแล้ว
    • คุณอาจจะเขียนวันที่ขายไว้บนกระดาษโพสต์อิตแล้วติดลงบนทัปเปอร์แวร์ที่คุณเอาปลาใส่ไว้ก็ได้ หรือจะเขียนวันที่ลงบนแผ่นกระดาษที่ติดอยู่ตรงประตูตู้เย็นก็ได้
  3. เก็บปลาแช่แข็งหลังจากวันที่ขายไว้ได้นาน 6 - 9 เดือน. ไม่ว่าจะเป็นปลาดิบหรือปลาสุก ปลาแช่แข็งจะอยู่ได้นานกว่าปลาที่แช่ตู้เย็นช่องธรรมดา ยกเว้นปลาแซลมอนรมควันอย่างเดียวที่แม้แต่ในช่องฟรีซก็ยังอยู่ได้แค่ 3 - 6 เดือน [3]
    • คุณสามารถแช่แข็งปลาแซลมอนเองได้ไม่ว่าคุณจะซื้อแบบดิบหรือแบบสุกมาก็ตาม ในการแช่แข็งปลาแซลมอนนั้น ให้คุณใช้แร็ปพลาสติกพันรอบชิ้นปลาไว้ 1 ชั้น หรือจะเอาไปใส่ในถุงพลาสติกที่ปิดสนิทก็ได้ [4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สังเกตปลา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อผ่านไปสักระยะและปลาเริ่มจะเน่าแล้ว พื้นผิวด้านนอกจะเริ่มชื้นขึ้นและในที่สุดก็จะกลายเป็นชั้นเมือกลื่นๆ บางๆ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าปลาเริ่มจะเน่าแล้ว เมื่อปลาเน่าเต็มที่ส่วนที่เป็นเมือกลื่นๆ บนตัวปลาก็จะหนาขึ้นและจับแล้วลื่น [5]
    • ทิ้งปลาดิบทันทีที่คุณสังเกตว่าพื้นผิวเริ่มเป็นเมือกลื่นๆ แบบนี้แล้ว
    • ปลาสุกจะไม่มีเมือกลื่นๆ แบบนี้แม้ว่ามันจะเริ่มเสียแล้วก็ตาม
  2. ปลาทุกตัวไม่ว่าจะแบบดิบหรือแบบสุกก็จะมีกลิ่นคาวเหมือนกันหมด แต่ปลาที่แช่ตู้เย็นไว้ถ้าเริ่มไม่ดีแล้วกลิ่นคาวจะแรงขึ้น ถ้าปล่อยไว้สักพักกลิ่นคาวแรงนี้จะเพิ่มระดับเป็นกลิ่นบูดเหมือนกลิ่นเนื้อเน่า [6]
    • ขณะที่ปลากำลังเน่า กลิ่นคาวแรงก็จะยิ่งแรงขึ้นๆ เพราะฉะนั้นคุณควรทิ้งปลาไปทันทีที่มันเริ่มมีกลิ่น “แปลกๆ”
  3. โดยทั่วไปแล้วเนื้อปลาจะเป็นสีชมพูอ่อนๆ หรือสีขาว และมีของเหลวแผ่นใสบางๆ อยู่ เมื่อทิ้งปลาดิบหรือปลาที่แช่ตู้เย็นไว้สักพักจนมันเริ่มไม่ดีแล้ว เนื้อปลาจะเริ่มเป็นสีขาวข้นวาว นอกจากนี้ส่วนที่เป็นสีขาวข้นก็อาจจะมีสีออกฟ้าๆ หรือเทาๆ ปนอยู่ด้วย [7]
    • ถ้าคุณทำปลาสุกแล้ว มันจะไม่กลายเป็นสีขาวข้น สัญญาณของการหมดอายุที่ว่านี้ใช้ได้กับปลาดิบเท่านั้น
  4. เช็กสัญญาณของการสูญเสียความชื้นระหว่างการแช่แข็ง. ถ้าคุณเก็บปลาไว้ในช่องฟรีเกิน 9 เดือน มันก็อาจจะเริ่มมีสัญญาณของการสูญเสียความชื้นระหว่างการแช่แข็ง ลองสังเกตน้ำแข็งแหลมๆ ที่ตกผลึกอยู่บนพื้นผิวของปลา และสังเกตส่วนที่สีเปลี่ยนไปด้วย [8] ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วก็ให้ทิ้งไป
    • อาหารที่สูญเสียความชื้นระหว่างการแช่แข็งในทางเทคนิคแล้วยังรับประทานได้และไม่ทำให้คุณป่วยด้วย แต่ขณะที่สูญเสียความชื้นปลาจะสูญเสียรสชาติและเนื้อสัมผัสก็จะเริ่มหยาบ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รู้ว่าแซลมอนหมดอายุหรือยัง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตว่าเส้นขาวๆ บนเนื้อปลาหายไปแล้วหรือยัง. แซลมอนต่างจากปลาส่วนใหญ่ตรงที่มันจะมีเส้นขาวๆ ที่แยกชั้นหรือชิ้นของเนื้อ ซึ่งเส้นพวกนี้คือสิ่งที่บอกว่าปลายังสดและรับประทานได้อยู่หรือเปล่า ถ้าคุณสังเกตว่าเส้นขาวๆ มันหายไปแล้วหรือออกเป็นสีเทาๆ ก็แสดงว่าปลาแซลมอนเริ่มจะไม่ค่อยดีแล้ว [9]
  2. กดลงบนปลาแซลมอนเพื่อดูว่าเนื้อยังแน่นอยู่ไหม. ปลาแซลมอนที่ยังสดและรับประทานได้อยู่เมื่อจับแล้วเนื้อจะต้องแน่น ถ้าเนื้อสัมผัสของปลาแซลมอนในตู้เย็นของคุณเริ่มจะแฉะ เละ หรือนิ่มเกินไป ก็แสดงว่ามันเสียแล้ว [10]
    • เส้นสีขาวระหว่างชิ้นที่อยู่บนเนื้อปลาแซลมอนนอกจากจะบอกความสดได้แล้วยังบอกความแน่นได้ด้วย ถ้าเส้นเริ่มหายไปแล้ว รับรองว่าเนื้อจะต้องเละแน่นอน
  3. สังเกตเนื้อปลาแซลมอนเพื่อดูว่ามีจุดที่สีเปลี่ยนไปหรือเปล่า. ปลาแซลมอนไม่เหมือนปลาชนิดอื่นตรงที่ พอผ่านไปสักระยะและมันเริ่มไม่ดีแล้ว สีของมันจะเปลี่ยน เพราะฉะนั้นให้ลองดูที่ผิวของเนื้อปลาแซลมอน ถ้าคุณเห็นจุดที่ไม่ใช่สีชมพูสุขภาพดีแบบแซลมอนส่วนใหญ่ ก็แสดงว่าปลาเสียแล้ว [11]
    • ส่วนใหญ่แล้วสีที่เปลี่ยนไปบนเนื้อปลาแซลมอนจะเป็นสีเข้ม แต่ปลาแซลมอนที่เสียแล้วก็อาจจะเป็นจ้ำสีออกขาวๆ ก็ได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ปลากระป๋องอยู่ได้นานหลายปี ปลาทูน่า ปลากะตัก หรือปลาซาร์ดีนสามารถอยู่ได้นาน 2 - 5 ปีหลังจากวันที่ขายบนกระป๋อง แต่ถ้าคุณมีปลากระป๋องที่อายุนานกว่า 5 ปีแล้ว ก็ทิ้งไปจะดีกว่า [12]
  • ถ้าบนกระป๋องเขียนวันที่ควรบริโภคก่อนแต่ไม่ได้บอกวันที่ขาย ก็ควรจะรับประทานปลาแซลมอนก่อนวันหมดอายุ
  • เนื่องจากปลาแซลมอนเสียเร็วกกว่าปลากระป๋องอื่นๆ มาก ปลาแซลมอนกระป๋องจึงอยู่ในตู้กับข้าวได้แค่ 6 - 9 เดือน [13]
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าไม่มั่นใจ ให้ทิ้งปลาที่คุณคิดว่ามันเริ่มไม่ดีแล้วไป เพราะมันไม่คุ้มกับความเสี่ยงที่จะอาหารเป็นพิษ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,696 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา