PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ในการที่จะทำให้ตัวเองเลิกรู้สึกว่าเป็นคนไร้ประโยชน์ได้สักทีนั้น สิ่งแรกคือคุณต้องหาให้ได้ก่อนว่าความรู้สึกนี้มาจากไหน หลังจากนั้นคุณถึงจะรู้ว่าต้องทำอย่างไรชีวิตของคุณถึงจะดีขึ้น ไม่ว่าความรู้สึกไร้ประโยชน์จะมาจากความสัมพันธ์หรือสถานการณ์ตึงเครียดที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ว่ามันจะมาจากไหนก็ตาม ขั้นตอนดังต่อไปนี้น่าจะช่วยให้คุณจัดการกับปัญหาได้อย่างตรงจุด

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รู้สึกมีประโยชน์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีความสัมพันธ์ไหนที่ทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไร้ประโยชน์หรือเปล่า หรือมีสถานการณ์ไหนที่คุณควบคุมไม่ได้แล้วรู้สึกว่าตัวเองไร้ประโยชน์ใช่ไหม คุณรู้สึกไร้ประโยชน์เพราะว่าคุณคิดว่าตัวเองไม่ได้ทำประโยชน์เพื่อสังคมได้เท่าที่ควรหรือเปล่า การหาที่มาของความรู้สึกคือขั้นแรกของการเปลี่ยนแปลงชีวิต
    • การเขียนบันทึกเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณได้สำรวจความรู้สึกของตัวเอง ทบทวนคำถามเหล่านี้ขณะที่คุณเขียนและพยายามค้นหาให้ได้ว่าอะไรที่กวนใจคุณ
    • หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือลองเล่าปัญหาให้เพื่อนที่ไว้ใจฟัง บางครั้งการพูดความรู้สึกออกมาอาจช่วยให้คุณรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
  2. ค้นหาว่าตัวเองถนัดอะไรด้วยการลองทำงานอดิเรกต่างๆ และอ่านหนังสือ ค้นหาว่าอะไรที่ทำให้คุณมีความสุข และคุณสามารถนำทักษะเหล่านั้นไปทำประโยชน์อะไรให้แก่โลกใบนี้ได้บ้าง [1]
    • การลงเรียนคลาสต่างๆ กับมหาวิทยาลัยใกล้บ้านก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณได้สำรวจว่าตัวเองสนใจอะไร คลาสที่เปิดสอนมักมีค่าใช้จ่ายไม่สูง คุณจึงมีเวลาตัดสินใจได้ทั้งเทอมว่าคุณหลงใหลสิ่งนั้นจริงๆ หรือเปล่า ถ้าคุณทำงานเต็มเวลา หลายมหาวิทยาลัยก็เปิดสอนภาคค่ำและในวันหยุดสุดสัปดาห์
    • อีกวิธีหนึ่งก็คือลงเรียนคลาสที่สตูดิโอใกล้บ้านหรือทางออนไลน์หากคุณสนใจศิลปะหรือประวัติศาสตร์
    • การเลือกหนังสือจากห้องสมุดชุมชนก็เป็นวิธีสำรวจความสนใจได้ด้วยเช่นกัน เพราะไม่มีค่าใช้จ่าย แถมคุณยังมีเวลาค่อยๆ เรียนรู้สิ่งที่คุณสนใจอีกด้วย
    • ถ้าคุณอยากพบปะผู้คนที่สนใจเรื่องเดียวกัน ลองเข้าไปที่เว็บไซต์โซเชียลมีเดีย เช่น Meetup และ Facebook เพื่อหาคนในละแวกบ้านที่มีความสนใจเหมือนกัน
  3. ซื้อกาแฟไปฝากใครสักคน หยิบรองเท้าสลิปเปอร์มาให้คนรักโดยไม่รอให้เธอวาน ให้ที่จอดรถกับคนที่กำลังเครียดกับการขับรถวนไปมา สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณทำเพื่อช่วยเหลือคนอื่นในทุกๆ วันจะช่วยให้คุณรู้สึกว่าตัวเองเป็นที่ต้องการ [2]
  4. งานอาสาสมัครนอกจากจะทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์ได้แน่ๆ แล้ว คุณยังได้ช่วยเหลือคนอื่นไปพร้อมกันด้วย เลือกทำงานอาสาสมัครตามความชอบ ถ้าคุณชอบอ่านหนังสือ ให้ไปเป็นอาสาสมัครที่ห้องสมุด ถ้าคุณชอบเด็ก คุณก็อาจจะไปอ่านหนังสือให้เด็กๆ ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฟังหลังเลิกเรียนก็ได้ [3]
  5. ให้ความสำคัญกับเรื่องดีๆ ในชีวิต การมองหาเรื่องดีๆ ในชีวิตอาจช่วยให้คุณเอาชนะความรู้ไร้ประโยชน์หรือไร้ค่าได้ เพราะมันจะทำให้คุณเห็นด้านดีๆ ของสิ่งต่างๆ คุณจะได้มีมุมมองต่อชีวิตที่มีความสุขมากขึ้น [4]
    • วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณได้หันมาสนใจสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตก็คือการเขียนบันทึกขอบคุณ แต่ละวันให้เขียนสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณในชีวิตมา 5 อย่าง บางคนก็ใช้โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook แทนการเขียนบันทึกโดยการโพสต์ 5 สิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณทุกวันในสเตตัส นอกจากนี้การใช้โซเชียลมีเดียยังช่วยกระตุ้นให้คุณอยากทำสิ่งนี้ต่อ เพราะคุณจะได้ฟีดแบ็กที่ดีจากเพื่อนๆ
  6. บางครั้งความรู้สึกไร้ประโยชน์ก็เกิดจากความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำ คุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีประโยชน์กับโลกใบนี้เลย แต่พยายามหาเวลาในแต่ละวันบอกตัวเองว่าสิ่งดีๆ ที่คุณทำมีอะไรบ้าง คุณสร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตคนอื่นอย่างแน่นอน และคุณก็ควรมองหาสิ่งนั้นในตัวเองทุกวันด้วย [5]
    • หนึ่งในวิธีการย้ำเตือนสิ่งนี้กับตัวเองก็คือการใช้กระจกให้เป็นประโยชน์ ทุกเช้าให้มองเข้าไปในดวงตาของตัวเอง และพูดถึงสิ่งดีๆ เกี่ยวกับออกมาดังๆ
    • แปะคำพูดยืนยันตัวเองบนตู้เย็น คุณจะได้เห็นทุกวัน คำพูดเช่น “ฉันเป็นคนดีและมีคุณค่า” หรือคำพูดอื่นๆ เพื่อเพิ่มความภาคภูมิใจในตัวเอง
  7. นอกจากการพูดสิ่งดีๆ กับตัวเองแล้ว คุณต้องยอมรับคำพูดดีๆ จากคนอื่นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามันเกี่ยวกับสิ่งที่คุณทำหรือสิ่งที่คุณเป็น คุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองไม่สมควรได้รับคำชม แต่โดยทั่วไปคนเราหากสละเวลาชมใครสักคน นั่นแปลว่าเขาชมจากใจจริง คิดถึงการกระทำของคุณที่ทำให้คนอื่นถึงกับเอ่ยปากชม
  8. ถ้าคุณสนใจเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างแรงกล้า ให้หาทางทำอะไรสักอย่าง จัดการประท้วง เขียนจดหมาย พูดคุยกับคนอื่น การต่อสู้เพื่อสิ่งที่คุณเชื่ออาจช่วยให้คุณรู้สึกไร้ประโยชน์น้อยลงเพราะคุณได้ช่วยเหลือเพื่อนๆ และประเทศชาติ
  9. อยู่ให้ห่างจากสิ่งที่ทำให้วอกแวก เช่น คอมพิวเตอร์ ทีวี โทรศัพท์ แมว หรือตู้เย็น ถ้าคุณผัดวันประกันพรุ่ง คุณจะทำอะไรไม่เสร็จสักอย่าง แต่หากคุณทำงานเสร็จ คุณจะรู้สึกมีประโยชน์ขึ้นอย่างแน่นอน เริ่มจากการทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น ทำมื้อเย็นให้สามี/ภรรยา แล้วค่อยๆ เขยิบไปงานใหญ่ๆ เช่น ทำความสะอาดโรงรถ
  10. เพิ่มความมั่นใจในตัวเองและให้คุณค่ากับเวลาและทักษะของตัวเองให้มากกว่าเดิม คุณจะรู้สึกล่องลอยไร้จุดหมายหากคุณดูแลตัวเองได้ไม่ดีพอ อย่าประเมินค่าตัวเองต่ำไป หาเวลาพักผ่อนและผ่อนคลายเมื่อถึงเวลา
    • วิธีให้คุณค่าตัวเองมากขึ้นก็คือการ "ปฏิเสธ" คำขอร้องที่คุณไม่มีเวลาหรือพลังงานที่จะทำให้ ถ้าคุณแบ่งเวลาตัวเองเพื่อทำสิ่งต่างๆ มากเกินไป คุณจะไม่สามารถทำงานแต่ละชิ้นได้อย่างเต็มที่
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

มีส่วนร่วมในความสัมพันธ์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตั้งใจฟังให้มากขึ้นโดยการสนใจสิ่งที่อีกฝ่ายพูดมากกว่าการเตรียมตัวว่าจะพูดอะไรต่อในหัว สนใจสิ่งที่คนอื่นพูดและตอบกลับในแบบที่ทำให้อีกฝ่ายรู้ว่าคุณตั้งใจฟัง [6]
  2. ขอบคุณสิ่งต่างๆ ที่คนรอบข้างทำให้คุณ การขอบคุณจะทำให้พวกเขารู้ว่า คุณรับรู้สิ่งที่เขาทำ และคุณก็ซาบซึ้งในความเสียสละของพวกเขา
  3. การมีคุณอยู่เคียงข้างคือของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับคนที่คุณรัก เพราะมันทำให้พวกเขารู้ว่าคุณห่วงใยเขา [7]
  4. ชื่นชมคุณสมบัติพิเศษของคนรอบข้างแทนที่จะทำให้เขาอับอาย. แทนที่จะหัวเราะที่แฟนหนุ่มร้องไห้ บอกให้เขารู้ว่าคุณซาบซึ้งมากที่เขาแสดงอารมณ์ออกมาตรงๆ แทนที่จะขำเวลาเพื่อนเต้นเงอะๆ งะๆ ในครัว ให้ออกไปสนุกกับเพื่อนด้วย [8]
  5. บางความสัมพันธ์ก็ไม่มีวันราบรื่นไม่ว่าคุณจะพยายามสักแค่ไหน ถ้าอีกฝ่ายชอบทำร้ายความรู้สึกหรือไม่พยายามแบ่งเวลาให้คุณเลย ก็อาจถึงเวลาที่คุณต้องค่อยๆ ถอยห่างจากคนๆ นั้นแล้ว คุณอาจจะรู้สึกไร้ประโยชน์ในสถานการณ์แบบนี้เพราะคุณรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว แต่จริงๆ แล้วมันอาจจะเป็นเพราะว่าคุณไม่เหมาะกับคนๆ นี้ก็ได้ ไม่ใช่เพราะว่าคุณไม่มีส่วนร่วมในความสัมพันธ์ อีกฝ่ายอาจจะมีปัญหาอะไรที่เขาหรือเธอต้องจัดการก่อนเริ่มต้นความสัมพันธ์ใดๆ ก็ตาม เพราะฉะนั้นคุณไม่ควรโทษตัวเอง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รับมือกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะคลี่คลายสถานการณ์ไม่ได้ ยังไงแม่ของคุณก็ยังป่วยไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม แต่คุณคอยอยู่เคียงข้างท่านได้ คุณสามารถไปหาท่านเมื่อท่านต้องการคุณได้ คุณคอยช่วยเหลือและให้กำลังใจได้ มันอาจจะไม่ได้เป็นการรับมือกับปัญหาในแบบที่คุณอยากให้เป็น แต่คุณก็ยังได้ทำอะไรบางอย่างที่ช่วยบรรเทาความรู้สึกไร้ประโยชน์ลงได้
  2. คุณอาจจะสวดมนต์ นั่งสมาธิ หรือแค่สูดลมหายใจสัก 2-3 ครั้ง แต่ไม่ว่าคุณจะทำอะไร หาเวลาสงบจิตใจสักครู่ แล้วยอมรับว่าคุณไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
  3. สนใจสิ่งที่ไปได้สวยและให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของคุณ. แม่ของคุณอาจจะป่วย แต่ระหว่างที่คุณใช้เวลากับแม่ คุณก็สามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับแม่ให้ดีกว่าในอดีตได้ [9]
  4. เล่าให้คนอื่นที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกันฟังว่าคุณรู้สึกอย่างไร. แม้ว่ามันจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร แต่วิธีนี้จะทำให้คนอื่นรู้ว่าพวกเขาไม่ได้เผชิญกับความรู้สึกนี้อยู่คนเดียว ซึ่งเป็นวิธีที่คุณจะได้ช่วยเหลือเขา นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดประเด็นให้คนอื่นมีโอกาสได้พูดความรู้สึกของตัวเองออกมาด้วยเหมือนกัน [10]
  5. สถานการณ์ที่ตึงเครียดยาวนานอาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้า และความรู้สึกไร้ประโยชน์ก็อาจเป็นอาการของโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย
    • อาการของโรคซึมเศร้าได้แก่ ไม่มีสมาธิ มองโลกในแง่ร้าย ไม่สนใจในสิ่งที่ตามปกติแล้วเคยชอบ รู้สึกผิด เหนื่อยล้า เศร้าตลอดเวลา หรือแม้แต่มีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น ปวดหัวหรือปวดท้อง [11]
    • การรู้สึกเศร้าในบางครั้งไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าคือภาวะสิ้นยินดีและรู้สึกเศร้ามาเป็นระยะเวลานาน หากอาการต่างๆ เริ่มมีผลต่อชีวิตของคุณ คุณก็อาจกำลังเป็นโรคซึมเศร้า
  6. ไปพบแพทย์หากคุณสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า. ถ้าคุณเป็นโรคซึมเศร้า คุณอาจจะต้องกินยาหรือเข้ารับการปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจช่วยบรรเทาความรู้สึกไร้ประโยชน์ลงได้ จำไว้ว่าการเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้เป็นสัญญาณของความอ่อนแอ โรคนี้อาจเกิดจากเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิตหรือสารเคมีในสมองไม่สมดุลและต้องแก้ไข นอกจากนี้ยาบางตัว ยีนส์ และปัญหาอื่นๆ เช่น ความเจ็บป่วยก็อาจเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน [12]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การช่วยเหลือผู้อื่นจะทำให้คุณได้เติมเต็มจุดมุ่งหมายในชีวิต
  • รับรู้ถึงสิ่งที่คุณทำให้ผู้อื่น
  • เราต่างรู้สึกไร้ประโยชน์ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านหรือเมื่อเจอสถานการณ์ที่ยากลำบาก แยกแยะให้ได้ว่าอะไรที่คุณควบคุมได้และไม่ได้
โฆษณา

คำเตือน

  • ปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องเสมอหากคุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพจิต เพราะมันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,211 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา