ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ค่าใช้จ่ายการผลิต (overhead) หรือที่บางแห่งเรียกว่าค่าใช้จ่ายโรงงานหรือโสหุ้ยการผลิต เป็นเงินที่เราต้องจ่ายเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าจะมีคำสั่งซื้อจำนวนมหาศาลหรือแทบไม่ได้ผลิตเลยก็ตาม การมีบันทึกค่าใช้จ่ายการผลิตที่ชัดเจนจะช่วยให้กำหนดราคาผลิตภัณฑ์หรือบริการได้ดีกว่า ช่วยชี้ให้เห็นว่าคุณสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายตรงจุดใดได้บ้าง อีกทั้งยังเป็นไฟส่องทางให้เห็นว่าคุณสามารถปรับปรุงรูปแบบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร แต่ประโยชน์เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ทำบัญชีมีความละเอียดถี่ถ้วนเท่านั้น ไม่รอช้า เราไปอ่านบทความเพื่อค้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิตในธุรกิจของคุณกันเลยดีกว่า
ขั้นตอน
-
ทำความเข้าใจก่อนว่า ค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์โดยตรง. หรือที่เรียกอีกอย่างว่าต้นทุนทางอ้อมนั่นเอง ต้นทุนทางอ้อมก็คือค่าใช้จ่ายจำพวกค่าเช่า พนักงานดำเนินการ ค่าซ่อมแซม เครื่องจักรกล รวมถึงต้นทุนด้านการตลาดที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและต้องใช้จ่ายเป็นประจำ
- ตัวอย่างของค่าใช้จ่ายทางอ้อม ก็ได้แก่ ค่าไปรษณีย์และค่าประกัน ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินธุรกิจ แต่ไม่ใช้สำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์
-
รู้ว่าต้นทุนทางตรง คือ ต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการ. ต้นทุนส่วนนี้จะมีความไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความต้องการผลิตภัณฑ์และราคาวัสดุในตลาด เช่น ถ้าคุณกำลังจะเริ่มทำธุรกิจเบเกอรี่ ค่าใช้จ่ายทางตรงก็คือค่าจ้างพนักงานและค่าส่วนผสม หรือถ้าคุณกำลังทำธุรกิจคลินิกเพื่อสุขภาพ ค่าใช้จ่ายทางตรงจะหมายถึงเงินเดือนแพทย์ ค่าหูฟังแพทย์ ฯลฯ
- ค่าใช้จ่ายทางตรงที่พบได้บ่อยที่สุด คือ เงินเดือนและค่าวัสดุอย่างที่เห็นได้จากก่อนหน้านี้
- พูดง่ายๆ ก็คือ ต้นทุนทางตรง คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับสิ่งที่อยู่ ใน สายการประกอบชิ้นส่วน ในขณะที่ต้นทุนทางอ้อม คือ สิ่งที่จ่ายให้กับสายการประกอบชิ้นส่วน จริงๆ
-
ทำรายการค่าใช้จ่ายทั้งหมดในรอบ 1 เดือน/ไตรมาส/ปี. แม้ว่าคุณจะสามารถเลือกกรอบเวลาได้ตามสะดวก แต่ธุรกิจส่วนใหญ่มักจะแบ่งรายงานค่าใช้จ่ายออกเป็นรายเดือน
- ใช้กรอบเวลาเดิมอย่างสม่ำเสมอ เช่น ถ้าคำนวณต้นทุนทางอ้อมเป็นรายเดือน ก็ต้องคำนวณต้นทุนทางตรงเป็นรายเดือนด้วยเช่นกัน
- การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น QuickBooks, Excel หรือ Freshbook จะช่วยให้รายการของคุณเป็นระเบียบและสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
- อย่าเพิ่งไปกังวลว่าค่าใช้จ่ายของคุณไปอยู่ส่วนใดบ้าง เราต้องมองเห็นภาพรวมของค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้ได้ก่อนที่จะเริ่มคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิต
-
ทำรายการบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิต (ต้นทุนทางอ้อม) ทั่วไป. ทุกบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษี ค่าเช่า ค่าประกัน ค่าสัมปทาน สิ่งอำนวยความสะดวก ทีมนักบัญชีและกฎหมาย พนักงานดำเนินการ ค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ ต้องตรวจสอบให้ครบทุกซอกทุกมุม!
- ตรวจดูรายงานค่าใช้จ่ายและใบเสร็จในอดีตเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรตกหล่น
- อย่าลืมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นซ้ำๆ อย่างเช่น ค่าต่อสัมปทานหรือค่าจัดส่งเอกสารใบอนุญาตต่างๆ ที่แม้จะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่ก็ยังถือเป็นค่าใช้จ่ายการผลิต
-
ใช้ตัวเลขต้นทุนเดิมหรือใช้การประมาณการหากยังไม่ทราบค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน. หากคุณเป็นนักธุรกิจหน้าใหม่หรือเป็นผู้มีความทะเยอทะยาน ต้องไม่ลืมสืบค้นข้อมูลต้นทุนทางวัสดุ แรงงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายการผลิตอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นให้ละเอียดรอบคอบ
- ถ้ามีสมุดบัญชีเก่าอยู่แล้ว ก็สามารถนำมาใช้วางแผนต้นทุนในปีถัดไปได้ เพราะตัวเลขมักจะคล้ายๆ กัน ยกเว้นในกรณีที่คุณกำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแผนการธุรกิจของตัวเอง
- หาค่าเฉลี่ยจากต้นทุนเก่าช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา เพื่อนำมาปรับแต่งโดยอาศัยสถิติในการตรวจหาความผิดปกติ
-
แบ่งรายการออกเป็นต้นทุนทางตรงและทางอ้อมตามรูปแบบธุรกิจ. เพราะทุกธุรกิจล้วนแตกต่างกันไป คุณจึงอาจต้องตัดสินใจเรื่องค่าใช้จ่ายบางอย่างตามความคิดเห็นส่วนตัว ตัวอย่างเช่น แม้ว่าโดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายด้านกฎหมายจะถือเป็นค่าใช้จ่ายการผลิต แต่ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะถือว่ามีส่วนในการผลิตโดยตรงทันทีในกรณีที่คุณเปิดธุรกิจบริษัทกฎหมาย
- ถ้ายังรู้สึกสับสน ให้ลองมองว่าค่าใช้จ่ายการผลิต คือ สิ่งที่คุณยังต้องจ่ายแม้จะหยุดการผลิตทั้งหมดแล้วก็ตาม
- อัพเดทรายการทุกครั้งที่มีค่าใช้จ่ายใหม่
-
รวมตัวเลขต้นทุนทางอ้อมทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อหาผลรวมค่าใช้จ่ายการผลิต. ค่าที่ได้คือจำนวนเงินที่คุณต้องใช้เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น ในตัวอย่างของเรานั้นต้นทุนทางอ้อมตลอดปีเท่ากับ 588,000 บาท การรู้ตัวเลขนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อคุณต้องสร้างแผนการธุรกิจโฆษณา
-
คำนวณหาเปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายการผลิต. เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายการผลิตจะบอกได้ว่าธุรกิจของคุณใช้เงินไปกับค่าใช้จ่ายการผลิตมากแค่ไหน และใช้ไปกับการสร้างผลิตภัณฑ์มากแค่ไหน โดยวิธีการหาเปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายการผลิตมีดังนี้
- นำค่าใช้จ่ายทางอ้อมมาหารด้วยค่าใช้จ่ายตรง เช่น ถ้าเรามีค่าใช้จ่ายทางอ้อม 588,000 บาท และค่าใช้จ่ายทางตรงเท่ากับ 1,680,000 บาท อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตของเราจะเท่ากับ .35 (588,000 / 1,680,000 = .35)
- นำตัวเลขที่ได้มาคูณ 100 เพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งในที่นี้จะเท่ากับ 35%
- นั่นหมายความว่า ธุรกิจของคุณใช้เงิน 35% ไปกับค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย พนักงานดำเนินการ ค่าเช่า ฯลฯ ในผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นที่ผลิตขึ้น
- ยิ่งอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตต่ำเท่าไร กำไรก็ยิ่งมากเท่านั้น นั่นแสดงว่าการมีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่ำนับเป็นเรื่องดี!
-
ใช้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตในการเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ที่คล้ายกัน. สมมุติว่าธุรกิจที่คล้ายกันทั้งหมดมีต้นทุนทางตรงโดยคร่าวๆ เท่ากัน นั่นหมายความว่า บริษัทที่มีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตต่ำกว่าจะทำเงินได้มากกว่าเมื่อขายสินค้าได้ ในขณะที่การลดอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตจะทำให้คุณสามารถขายสินค้าในราคาที่แข่งขันได้มากขึ้นและ/หรือได้กำไรมากขึ้นนั่นเอง [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
-
นำค่าใช้จ่ายการผลิตมาหารด้วยต้นทุนแรงงาน เพื่อดูว่าคุณสามารถใช้ทรัพยากรได้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด. จากนั้นนำค่าที่ได้มาคูณด้วย 100 เพื่อหาเปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายการผลิตที่พนักงานแต่ละรายต้องใช้
- เมื่อไรก็ตามที่ตัวเลขอยู่ในระดับต่ำ แสดงว่าธุรกิจของคุณใช้ค่าใช้จ่ายการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- หากตัวเลขสูงเกินไป แสดงว่าคุณอาจจ้างพนักงานมากเกินไป
-
คำนวณหาเปอร์เซ็นต์ของรายได้ที่ต้องจ่ายให้กับค่าใช้จ่ายการผลิต. โดยหารค่าใช้จ่ายการผลิตด้วยตัวเลขที่ได้จากยอดขาย แล้วคูณด้วย 100 เพื่อหาค่าเปอร์เซ็นต์ ถือเป็นวิธีการง่ายๆ ในการดูว่าคุณขายสินค้า/บริการได้มากพอให้ธุรกิจอยู่รอดหรือไม่
- เช่น ถ้าธุรกิจของผู้เขียนขายสบู่ได้ 3,500,000 บาทต่อเดือน และผู้เขียนต้องใช้เงิน 350,000 บาทเพื่อให้ยังเปิดออฟฟิศต่อไปได้ แสดงว่าผู้เขียนใช้เงิน 10% จากรายได้ไปกับค่าใช้จ่ายการผลิต
- ยิ่งเปอร์เซ็นต์มีค่าสูง กำไรขั้นต้นก็ยิ่งน้อย
-
ลองปรับลดหรือบริหารค่าใช้จ่ายการผลิตหากตัวเลขเหล่านี้สูงเกินไป. กำลังสงสัยอยู่ใช่ไหมว่า ทำไมฉันถึงทำกำไรมากๆ ไม่ได้สักที สาเหตุอาจมาจากการที่คุณจ่ายค่าเช่าสูงเกินไป หรืออาจต้องขายสินค้าให้ได้มากขึ้นเพื่อชดเชยกับค่าใช้จ่ายการผลิตที่เสียไป หรือคุณอาจจะมีพนักงานมากเกินไปและไม่ได้วางแผนการใช้เงินอย่างชาญฉลาดเพื่อให้สามารถจ้างงานทุกคนต่อได้ ลองใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ที่เราพูดไปก่อนหน้านี้เพื่อให้คุณมองเห็นรูปแบบธุรกิจของตัวเองชัดขึ้น จากนั้นจึงลงมือปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม
- ธุรกิจทุกรูปแบบล้วนมีค่าใช้จ่ายการผลิต แต่ผู้ที่บริหารจัดการค่าใช้จ่ายการผลิตได้อย่างชาญฉลาดเท่านั้นจึงจะทำกำไรได้สูงกว่า
- มีคำกล่าวที่ว่า การมีค่าใช้จ่ายการผลิตต่ำไม่ใช่ทุกสิ่งเสมอไป เช่น ถ้าคุณใช้เงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ดีๆ หรือเพื่อยกระดับความพึงพอใจของพนักงาน สิ่งนี้อาจจะทำให้คุณได้กำลังการผลิตและกำไรที่สูงขึ้น
โฆษณา
เคล็ดลับ
- หากคุณกำลังคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิตในอดีต สามารถนำข้อเท็จจริงและตัวเลขจริงๆ ของบริษัทมาใช้คำนวณได้เลย แต่ในกรณีที่กำลังประมาณการค่าใช้จ่ายการผลิตในอนาคต จะต้องนำตัวเลขโดยเฉลี่ยมาใช้ในการประมาณการต้นทุน เช่น ถ้าต้องการคำนวณต้นทุนทางอ้อมในอนาคต อาจจะเลือกประเมินจากช่วงเวลาในอดีตหลายๆ ช่วง เพื่อคำนวณหาต้นทุนเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายทางอ้อมที่จะเกิดกับธุรกิจในอนาคตในช่วงเวลาที่ต้องการประมาณการ ในเชิงเดียวกัน หากต้องการประมาณการค่าใช้จ่ายทางตรงในอนาคต ก็สามารถประมาณการต้นทุนเฉลี่ยโดยอ้างอิงจากบันทึกในอดีตและตัวเลขในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น แรงงานทางตรงสามารถคำนวณได้โดยนำค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยที่จ่ายให้กับพนักงานในบริษัทที่ให้แรงงานทางตรง มาคูณด้วยชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ยของแรงงานทางตรงในช่วงเวลานั้นๆ ตัวเลขที่ได้อาจไม่ตรงกับตัวเลขที่จ่ายจริงในช่วงเวลาที่กำหนด แต่ก็ถือเป็นการประมาณการที่ใกล้เคียงพอสมควร
- การตรวจสอบอัตราส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตในช่วงเวลาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรายเดือน รายไตรมาส และรายปี สามารถลดความผันผวนที่เกิดจากการตัดสินใจในแต่ละฤดูกาล รูปแบบการซื้อของผู้บริโภค รวมถึงความพร้อม/ต้นทุนของวัตถุดิบได้
โฆษณา
คำเตือน
- ขั้นตอนต่างๆ ที่อธิบายไว้ในบทความนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้คุณเข้าใจถึงวิธีการตรวจสอบข้อมูลทางธุรกิจที่สามารถแปลงเป็นตัวเลขได้ อย่างไรก็ตาม ทุกบริษัทล้วนแต่มีความต่าง วิธีการเพิ่มค่าใช้จ่ายการผลิตจึงไม่ใช้หลักการตายตัวทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 29,205 ครั้ง
โฆษณา