PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนมีหลายรูปแบบ คุณอาจจะได้เพิ่มเงินเดือนหรือได้เลื่อนตำแหน่ง หรือคุณอาจจะได้งานใหม่ที่เงินเดือนมากกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือนแบบไหน คุณก็อาจจะอยากคำนวณเงินที่เพิ่มขึ้นจากอัตราเงินเดือนเก่าออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ และเนื่องจากว่าอัตราเงินเฟ้อและสถิติค่าครองชีพก็คำนวณออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์เหมือนกัน ดังนั้นการคำนวณเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์จึงช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบจำนวนเงินที่เพิ่มมากับปัจจัยอื่นๆ เช่น เงินเฟ้อ ได้ นอกจากนี้การเรียนรู้วิธีการคำนวณเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ยังช่วยให้คุณสามารถเปรียบเทียบเงินเดือนตัวเองกับคนอื่นๆ ในสาขาเดียวกันได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

คำนวณเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. สมมุติว่ารายได้จากงานเก่าของคุณอยู่ที่ 1,350,000 บาทต่อปี และรายได้ของงานใหม่อยู่ที่ 1,500,000 ต่อปี คุณก็ต้องเอา 1,500,000 ลบด้วย 1,350,000 ก็จะเท่ากับ 150,000 บาท
    • ถ้าคุณได้รับค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงและไม่รู้ว่ารายได้สุทธิต่อปีคือเท่าไหร่ ก็แค่เอาอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงเดิมมาลบด้วยอัตราใหม่ เช่น ถ้าคุณได้ค่าจ้างเพิ่มจากชั่วโมงละ 420 เป็น 480 บาท คุณก็ต้องเอา 150 - 120 = 60 บาท
  2. ในการคำนวณเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์นั้น คุณต้องคำนวณออกมาเป็นเลขทศนิยมก่อน และการจะได้เลขทศนิยมคือคุณต้องเอาตัวเลขที่ได้จากคำนวณในขั้นตอน 1 มาหารด้วยเงินเดือนเก่า
    • จากตัวอย่างในขั้นตอน 1 คุณจะต้องเอา 1,500,000 หารด้วย 1,350,000 ก็จะได้เท่ากับ 0.111
    • ถ้าคุณคำนวณรายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นรายชั่วโมง ก็ใช้หลักการเดียวกันคือ จากตัวอย่างข้างต้น ให้เอา 60 หาร 420 = 0.143
  3. การเปลี่ยนจากตัวเลขทศนิยมเป็นเปอร์เซ็นต์นั้น ก็แค่เอาเลขทศนิยมคูณ 100 จากตัวอย่างก่อนหน้า คุณก็จะต้องเอา 0.111 คูณ 100 ก็คือ 0.111 x 100 = 11.1% หมายความว่ารายได้ต่อปีที่ 1,500,000 มีค่าประมาณ 111.1% ของรายได้ 1,350,000 ที่เป็นรายได้เดิม หรือว่าคุณมีรายได้เพิ่มขึ้น 11% นั่นเอง
    • สำหรับตัวอย่างที่เป็นค่าจ้างรายชั่วโมง คุณก็ยังคงใช้หลักการเดียวกันคือเอาเลขทศนิยมคูณ 100 ซึ่งจากตัวอย่างข้างต้นก็จะได้ 0.143 x 100 = 14.3%
    • ในการตรวจสอบว่าถูกต้องหรือไม่ ให้เอาเงินเดือนเก่าหรือค่าจ้างรายชั่วโมงคูณด้วยเปอร์เซ็นต์ของเงินที่เพิ่ม เช่น ถ้าคุณเอา 1,350,000 x 1.111 คำตอบก็คือ 1,4999,850 ซึ่งตีเป็นตัวเลขกลมๆ ก็คือ 1,500,000 เช่นเดียวกับ 420 x 1.143 = 480.06
  4. ถ้าคุณกำลังเปรียบเทียบสวัสดิการของงานที่บริษัทใหม่หรือการเลื่อนตำแหน่งในบริษัทเดิมที่นอกเหนือไปจากเรื่องเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น เงินเดือนก็จะเป็นแค่ส่วนหนึ่งของสวัสดิการทั้งหมดที่คุณจะต้องพิจารณา คุณจะต้องนำสวัสดิการด้านอื่นๆ มาพิจารณานอกเหนือจากฐานเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นด้วย สวัสดิการด้านอื่นๆ ก็เช่น
    • ประกันสุขภาพ/เบี้ยประกัน ถ้าทั้งสองงานให้ความคุ้มครองด้านการประกันสุขภาพจากการจ้างงานทั้งคู่ คุณก็จะต้องเปรียบเทียบความคุ้มครองของแผนประกัน และต้องนำเบี้ยประกันที่ต้องหักออกจากเงินเดือน (ถ้ามี) มาประกอบการตัดสินใจด้วย เช่น การจ่ายเบี้ยประกันจากเดือนละ 3,000 บาทเป็น 6,000 บาทที่ความคุ้มครองเท่ากันก็จะไปหักลบกับจำนวนเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นมา นอกจากนี้ให้พิจารณาความครอบคลุมของประกัน (ครอบคลุมการหาทันตแพทย์และจักษุแพทย์ไหม) และค่าเสียหายส่วนแรกรายปีโดยรวมที่คุณอาจจะต้องจ่าย เป็นต้น
    • โบนัสหรือค่าคอมมิชชัน แม้ว่าจะไม่ได้รวมอยู่ในฐานเงินเดือน แต่ก็อย่าลืมใส่โบนัสและ/หรือค่าคอมมิชชันเข้าไปในการคำนวณด้วย เงินเดือนใหม่อาจจะจ่ายต่อเดือนมากกว่า แต่ถ้างานปัจจุบันมีโอกาสที่จะได้โบนัสรายไตรมาส รายได้ต่อเดือนที่เพิ่มขึ้นยังจะมากกว่าอยู่หรือเปล่า เป็นต้น แต่ก็ต้องนึกไว้ด้วยว่าจำนวนเงินที่ว่านี้ก็อาจจะไม่แน่นอนเพราะว่ามันขึ้นอยู่กับผลงานของคุณและ/หรือผลงานของบริษัท
    • แผนการเกษียณ บริษัทบางที่จะมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ให้คุณนำรายได้ก่อนหักภาษีไปไว้ในแผนการเกษียณ เรียกว่า “เงินสะสม” ซึ่งกฎหมายกำหนดให้สะสมได้ 2-15% ของเงินเดือน และเงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนให้อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ” ซึ่งกฎหมายกำหนดให้สมทบในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง เพราะฉะนั้นถ้าบริษัทปัจจุบันให้เก็บเงินสะสมที่ 5% แต่บริษัทใหม่เก็บที่ 15% คุณก็ต้องพิจารณาจำนวนเงินสมทบที่จะได้มาฟรีๆ ในแผนการเกษียณของคุณด้วย
    • เงินบำนาญ งานที่มีเงินบำนาญให้หลังจากการทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาตามที่ระบุไว้ก็ต้องนำมาพิจารณาเหมือนกัน ถ้างานของคุณมีเงินบำนาญก้อนโตที่จะให้หลังจากทำงานครบ 25 ปี แต่งานใหม่ไม่มีเงินบำนาญให้เลย คุณก็ต้องนำข้อนี้ไปพิจารณาเหมือนกัน รายได้ต่อปีที่สูงขึ้นอาจจะหมายถึงเงินที่เพิ่มขึ้นในทันที แต่คุณก็ควรพิจารณาโอกาสทางการเงินที่คุณจะได้ตลอดทั้งชีวิตของแต่ละงานด้วย ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าบริษัทที่มีบำนาญให้ด้วยนั้นหาไม่ได้ง่ายๆ แล้วในปัจจุบัน หรือถึงบางบริษัทจะยังมีอยู่แต่ก็ไม่ได้จ่ายก้อนโตอย่างที่หวัง เพราะบางครั้งก็เกิดการบริหารเงินทุนผิดพลาดและแทบไม่มีหรือไม่มีเงินให้พนักงานไว้ใช้ตอนเกษียณเลย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เปรียบเทียบเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นกับอัตราเงินเฟ้อ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เงินเฟ้อคือการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการ เพราะฉะนั้นมันจึงมีผลต่อค่าครองชีพ เช่น เงินเฟ้อสูงก็คือการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร สาธารณูปโภค และน้ำมัน คนมักจะจับจ่ายน้อยลงในช่วงเงินเฟ้อสูงเพราะช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ของราคาแพงขึ้น
  2. เงินเฟ้อของสกุลเงินเกิดจากปัจจัยต่างๆ มากมาย ธนาคารแห่งประเทศจะมีรายงานนโยบายการเงิน โดยคุณสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย [1] เพื่อดูข้อมูลสรุปประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในประเทศไทยได้
  3. ลบอัตราเงินเฟ้อออกจากเปอร์เซ็นต์เงินเดือนที่เพิ่มขึ้น. ในการหาว่าอัตราเงินเฟ้อมีผลกระทบต่อเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นของคุณแค่ไหน ก็แค่เอาอัตราเงินเฟ้อไปลบจากเปอร์เซ็นต์เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นที่คุณคำนวณไว้ในขั้นตอน 1 เช่นค่าเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2561 อยู่ที่ 1.1% [2] จากตัวเลข 11.1% ที่เราคำนวณได้ในขั้นตอน 1 คุณจะสามารถคำนวณผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่มีต่อเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นโดยนำ 11.1% - 1.1% = 10% หมายความว่าพอคุณนำปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อของราคาสินค้าและบริการไปคำนวณด้วยแล้ว เงินเดือนของคุณถือว่าเพิ่มมาแค่ 10% เท่านั้น เพราะเงินมีค่าน้อยลงจากปีที่แล้ว 1.1%
    • พูดอีกอย่างก็คือ ในปี 2561 คุณจะต้องใช้เงินมากขึ้นโดยเฉลี่ย 1.1% ในการซื้อของแบบเดียวกันกับที่ซื้อในปี 2560
  4. เชื่อมโยงผลกระทบของเงินเฟ้อกับอำนาจการซื้อ. อำนาจการซื้อหมายถึงต้นทุนการผลิตเชิงเปรียบเทียบของสินค้าและบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น สมมุติว่าคุณมีรายได้ 1,500,000 บาทในขั้นตอน 1 ตอนนี้สมมุติว่าเงินเฟ้อคงที่ที่ 0% ในปีที่คุณได้เงินเดือนเพิ่ม แต่ไปเพิ่มขึ้น 1.1% ในปีถัดมาที่คุณไม่ได้เงินเดือนเพิ่มเลย หมายความว่าคุณต้องใช้เงินเพิ่ม 1.1% ในการซื้อสินค้าและบริการพื้นฐานแบบเดียวกัน 1.1% ของเงิน 1,500,000 ก็คือ 0.011 x 1,500,000 = 16,500 บาท เท่ากับว่าอำนาจการซื้อโดยรวมที่แท้จริงของคุณจากพื้นฐานของอัตราเงินเฟ้อจะน้อยลงกว่าเมื่อปีที่แล้วอยู่ 16,500 บาท
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มีเครื่องคำนวณออนไลน์มากมายที่ช่วยคำนวณอัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นเป็นเปอร์เซ็นต์ได้อย่างรวดเร็ว
  • ตัวอย่างการคำนวณในข้างต้นสามารถใช้กับสกุลเงินอื่นๆ ได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • เครื่องคิดเลข

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 76,326 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา