PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการค้นหาเว็บไซต์ผ่าน Google ที่เป็น search engine ใหญ่สุดของโลก พอรู้วิธีค้นหาเบื้องต้นแล้ว ก็ไปเรียนรู้วิธีการค้นหาขั้นสูงแบบใช้พารามิเตอร์เฉพาะเจาะจง รวมถึง tools และฟิลเตอร์ต่างๆ ให้ผลการค้นหาออกมาตรงตามความต้องการที่สุด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ค้นหาเว็บทั่วไป

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณใช้งาน Google ได้จากเบราว์เซอร์ไหนก็ได้ เช่น Safari, Microsoft Edge, Google Chrome และ Mozilla Firefox
    • Android: ถ้าใช้มือถือหรือแท็บเล็ต Samsung ให้แตะไอคอน Internet หรือ Samsung Internet ถ้าเป็นยี่ห้ออื่น ให้แตะ Chrome , Browser , Web หรืออื่นๆ ที่ใกล้เคียง
    • iPhone and iPad: แตะไอคอน Safari ที่เป็นรูปเข็มทิศ ทางด้านล่างของหน้า home เพื่อเปิดเบราว์เซอร์
    • Mac: ปกติเครื่อง Mac จะมาพร้อมเบราว์เซอร์ Safari ก็เปิดได้โดยคลิกไอคอนเข็มทิศ ที่ Dock ปกติจะอยู่ด้านล่างของหน้าจอ
    • Windows 10: ปกติ PC จะมาพร้อมเบราว์เซอร์ Microsoft's Edge ให้เปิดโดยคลิกโลโก้ Windows ที่มุมซ้ายล่างของหน้าจอ แล้วคลิกช่อง Microsoft Edge ในเมนู
    • Windows 8 and earlier: ให้ใช้เบราว์เซอร์ Internet Explorer ที่ไอคอนเป็นตัว "e" สีฟ้า ในเมนู Start
  2. แถบ address ก็คือช่องยาวๆ ด้านบนของเบราว์เซอร์ ถ้าใช้มือถือหรือแท็บเล็ต ให้แตะแถบ address แล้วคีย์บอร์ดจะโผล่มา ก็เริ่มพิมพ์ได้เลย ถ้าใช้คอม ให้คลิกแถบ address แล้วเริ่มพิมพ์ได้เลย
    • หากคุณใช้แอป Google ในโทรศัพท์หรือแท็บเล็ต ให้ข้ามไปขั้นตอนที่ 4
    • เบราเซอร์บางตัว เช่น Chrome, Safari, และ KaiOS ยอมให้คุณพิมพ์คำที่ค้นหาลงไปในแถบ address ได้โดยตรงแทนที่จะต้องไปเข้าเว็บของ Google ก่อน แต่เบราเซอร์อื่นอาจตั้งค่าดั้งเดิมไว้ที่เสิร์จเอนจินตัวอื่น เช่น Microsoft Edge กับ Bing
  3. ถ้าใช้มือถือหรือแท็บเล็ต ให้แตะปุ่ม Search หรือ Enter ที่คีย์บอร์ดแทน เบราว์เซอร์จะโหลด homepage ของ Google ขึ้นมา
  4. เช่น ถ้าอยากหาร้านชานมไข่มุกแถวสีลม ก็แค่พิมพ์ "ชานมไข่มุก สีลม"
    • จะพิมพ์เป็นคำเดี่ยวๆ ("หมูกระทะ", "ฟิตเนส") วลี ("บริษัทเงินเดือนดี", "ชานมไข่จากมุกไต้หวัน") คำถาม ("กรุงเทพมหานครมีประชากรทั้งหมดกี่คน?", "ในหนึ่งวันควรดื่มน้ำกี่แก้ว?") หรืออื่นๆ ก็ได้
    • ถ้าอยากพูดมากกว่าพิมพ์ ก็แค่คลิกหรือแตะไอคอนไมโครโฟน เพื่อเปิด Search by Voice (ค้นด้วยเสียง) ทำตามขั้นตอนที่ปรากฏในหน้าจอ อนุญาตให้ Google ใช้งานไมโครโฟนได้ แล้วพูดคำที่ต้องการค้นหาได้เลย
  5. เพื่อค้นหาข้อความที่พิมพ์ไป แล้วจะมีผลการค้นหาโผล่ขึ้นมาเป็นรายการ
  6. ถ้าเจอเว็บไซต์ รูป คลิก หรือข้อมูลอื่นๆ ที่ต้องการ ก็ให้คลิกหรือแตะเพื่อเปิดขึ้นมาในเบราว์เซอร์ได้เลย ถ้าจะกลับไปที่รายการผลการค้นหา ก็แค่คลิกหรือแตะปุ่ม back ของเบราว์เซอร์ (ปกติจะเป็นลูกศรชี้ซ้าย ตรงมุมซ้ายบนของหน้าต่าง)
    • ผลการค้นหาจะโผล่มาแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าค้นหาอะไร เช่น ถ้าค้นหาคำที่อยู่ในพจนานุกรม ก็จะเป็นความหมายและแนะนำการใช้งานคำนั้นขึ้นมา ที่ด้านบนของผลการค้นหาทั้งหมด แต่ถ้าค้นหาสถานที่ ก็จะมีแผนที่โผล่มาแทน
    • ถ้าเลื่อนไปจนสุดหน้าแรกแล้ว ยังไม่เจออะไรที่ค้นหา ให้คลิกหรือแตะ Next ทางด้านล่าง เพื่อไปยังผลการค้นหาหน้าถัดไป แต่ผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องมากที่สุด มักจะอยู่ในไม่เกิน 2 - 3 หน้าแรกเท่านั้น
  7. ลองปรับคำค้นหาใหม่ น่าจะช่วยให้ค้นหาง่ายขึ้น. ถ้าไม่เจอข้อมูลประเภทที่ต้องการ ลองปรับเปลี่ยนคำที่ใช้ค้นหาดู โดยพิมพ์คำหรือวลีใหม่ในช่องว่างด้านบนของหน้าจอ แล้วค้นหาดูอีกรอบ อาจจะเจาะจง ตีวงแคบขึ้น หรือค้นหาให้กว้างขึ้นก็ได้ ถ้าผลการค้นหาออกมาเจาะจงไป
    • เช่น แทนที่จะค้นหาว่า "ร้านอาหารดังเมืองนนท์" ลองพิมพ์ว่า "ก๋วยเตี๋ยวเรือ ร้านดัง นนทบุรี 2563" แทน
    • ถ้าอยากรู้วิธีค้นหาให้ได้ผลลัพธ์ตรงใจยิ่งขึ้น ให้เลื่อนลงไปอ่านวิธีการ ปรับแต่งผลการค้นหาให้ละเอียดยิ่งขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับแต่งผลการค้นหาให้ละเอียดยิ่งขึ้น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. search engine operators เป็นอักขระพิเศษที่ใช้แล้ว search engine เข้าใจ ช่วยให้ค้นหาได้แบบเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น ตัวอย่างการค้นหาด้วย search engine operators ก็เช่น [1]
    • ถ้าใช้หลายๆ คำรวมกันเป็นวลีเดียว เช่น อ้างถึงคำพูดของใคร หรือวัตถุบางประเภท ให้ใส่เครื่องหมายคำพูด (") ครอบไว้ Google จะได้รู้ว่าให้ค้นหาเฉพาะวลีที่ตรงตามนั้นเป๊ะๆ เหมาะสำหรับคนที่จำได้แค่บางท่อน แต่อยากค้นหาเนื้อของทั้งเพลง หรือชื่อเพลง
    • พิมพ์เครื่องหมายลบ (-) หน้าคำที่อยากละไว้ในผลการค้นหา เช่น ถ้าจะค้นหาคำว่า "nano" แต่ไม่อยากได้ผลลัพธ์เกี่ยวกับ iPod Nano ก็ให้พิมพ์ว่า nano -iPod
    • ปกติเวลาค้นหา Google ไม่ค่อยนับรวมคำสามัญ อย่าง "how" และ "the" แต่ถ้าอยากให้นับรวมไปด้วย ก็ต้องใส่เครื่องหมายบวก (+) ไว้ข้างหน้า
    • ถ้าจะค้นหาในโซเชียลมีเดียต่างๆ อย่าง Twitter และ Facebook ให้พิมพ์ @ นำหน้าคำค้นหา เช่น @wikihow
    • ถ้าอยากได้ผลลัพธ์แบบเจาะจงเว็บ ให้ใส่ site: หน้าคำค้นหา เช่น อยากค้นหา "iOS 13" ใน wikiHow ให้พิมพ์ site:wikiHow.com "iOS 13"
    • ถ้าจะค้นหาสินค้าแบบระบุช่วงราคา ให้ใช้ syntax: synthesizer $300..$700 ตามตัวอย่างนี้เป็นการค้นหาเครื่อง synthesizer ที่อยู่ในช่วงราคา $300 ถึง $700 (1,000 - 2,000 บาท)
  2. อันนี้แล้วแต่ว่าคุณค้นหาอะไร คุณเลือกที่ด้านบนของหน้าผลการค้นหาได้ ว่าจะดูเฉพาะผลการค้นหาบางประเภท เช่น แสดงเฉพาะรูป คลิป หรือข่าว ขั้นตอนก็คือ
    • คลิกหรือแตะ Images ทางด้านบนของหน้าผลการค้นหา แล้วจะเห็นแค่รูปที่ตรงกับคำค้นหาที่กรอกไป
    • คลิกหรือแตะ Videos แล้วจะเห็นรายชื่อวิดีโอที่ตรงกับคำค้นหา จากในเว็บต่างๆ เช่น YouTube
    • คลิกหรือแตะ News และจะเห็นข่าวที่มีเนื้อหาตามต้องการ จากเว็บข่าวดัง
    • คลิกหรือแตะ Books แล้วจะเห็นรายชื่อหนังสือ ตามหัวข้อที่ต้องการ
      • ถ้าอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องฟีเจอร์ค้นหาหนังสือของ Google ลองหาอ่านเพิ่มเติมในเน็ตดู
    • คุณใช้ตัวเลือกอื่นๆ เช่น Maps , Flights และ Finance กับบางข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ด้วย เช่น ถ้าพิมพ์ address ไป แล้วคลิก Maps' ก็ดูแผนที่ได้เลย หรือคลิก Flights ก็จะเห็นเที่ยวบินไปยังสถานที่นั้น
  3. ถ้าอยากดูเฉพาะผลการค้นหาจาก 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา หรือปีที่แล้ว หรือช่วงเวลาอื่นๆ ก็กำหนดได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
    • เลือก Tools หรือ Search Tools ถ้าใช้คอม จะเห็นลิงค์ Tools ทางด้านบนของหน้า เหนือผลการค้นหา ถ้าใช้มือถือหรือแท็บเล็ต ปกติให้ปัดแถบลิงค์เหนือผลการค้นหา (แถบที่เขียนว่า ALL, NEWS, VIDEOS และ IMAGES) ไปทางซ้าย แล้วแตะ SEARCH TOOLS ตอนสุดท้าย
    • คลิกหรือแตะเมนู Any Time
    • เลือกช่วงเวลาที่ต้องการ เพื่อรีเฟรชหน้า ให้เห็นแต่ผลการค้นหาของช่วงเวลานั้น
    • คลิกหรือแตะ Clear ทางด้านบน เพื่อล้างฟิลเตอร์ช่วงเวลา
  4. ถ้าจะค้นหารูปหรือคลิป ก็มีวิธีใช้ฟิลเตอร์กำหนดเงื่อนไขต่างๆ เช่น คุณภาพ ขนาด ระยะเวลา และอื่นๆ
    • เลือก Tools หรือ Search Tools ทางด้านบนของผลการค้นหา Image (รูป) หรือ Video (คลิป) แล้วจะเห็นหลายเมนูโผล่มา
    • ถ้าจะค้นหาคลิป ให้ใช้เมนูที่ขยายลงมาทางด้านบน เพื่อระบุช่วงเวลา (นานแค่ไหน) แหล่งที่มา (เช่น YouTube, Facebook) และว่าอยากดูเฉพาะคลิปที่มีคำบรรยายหรือเปล่า
    • ถ้าจะค้นหารูป ให้ขยายเมนูด้านบนลงมา แล้วระบุขนาดรูป ประเภท สี และสิทธิ์ในการใช้งาน
    • ถ้าอยากกำหนดให้ละเอียดกว่านี้ ว่าค้นแล้วจะเจอรูปแบบไหนบ้าง ให้ลองใช้ Google's Advanced Image Search
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ค้นหาขั้นสูง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ค้นหาใน https://www.google.com/advanced_search เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด. เว็บ Google's Advanced Search ให้คุณเจาะจงค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ค้นหาในแต่ละครั้งได้ละเอียดมาก จะเข้าเว็บนี้จากเบราว์เซอร์ไหนก็ได้ในคอม มือถือ และแท็บเล็ต
  2. จะอยู่ที่ด้านบนของแบบฟอร์ม [2] ไม่ต้องกรอกทุกช่องก็ได้ แค่เลือกอันที่จำเป็นต่อการค้นหาของคุณ
    • ตรง "all these words" ให้พิมพ์คำสำคัญที่จะค้นหา จะได้เฉพาะผลการค้นหาที่มีทุกคำที่ระบุในช่องนี้เท่านั้น
    • ตรง "this exact word or phrase" ให้พิมพ์วลีหรือประโยคที่ต้องการค้นหาตามนั้นเป๊ะๆ เพื่อให้แสดงผลการค้นหาเฉพาะเว็บที่มีวลีหรือประโยคตรงตามที่พิมพ์เท่านั้น
    • ให้เลือก "any of these words" ถ้าอยากให้แสดงผลลัพธ์ที่มีคำไหนก็ได้ที่ระบุไป
    • ตรง "none of these words" ให้พิมพ์คำไหนก็ได้ที่ไม่อยากให้โผล่มาในผลการค้นหา
    • ตรง "numbers ranging from" ให้พิมพ์ช่วงจำนวนที่อยากให้แสดง เหมาะสำหรับเวลาค้นหาช่วงราคาหรือขนาดที่ต้องการ
  3. คุณกำหนดตัวเลือกฟิลเตอร์ของผลการค้นหาที่แสดงได้ ไม่จำเป็นต้องเลือกทุกตัวเลือกที่มี แค่ตัวเลือกที่จะใช้ค้นหาให้ผลลัพธ์แคบขึ้นเท่านั้น
    • ให้ใช้เมนู "Language" กำหนดภาษาที่อยากให้แสดงในผลการค้นหา
    • ให้ใช้เมนู "Region" ถ้าอยากดูเฉพาะเว็บที่เผยแพร่ในประเทศหรือพื้นที่ที่ต้องการ
    • เมนู "Last Update" ใช้กำหนดความเก่าใหม่ของเว็บที่โผล่มาในผลการค้นหา
    • พิมพ์ address ของเว็บในช่อง "Site or domain" ถ้าอยากได้ผลการค้นหาเฉพาะจากเว็บนั้น
    • ในช่อง "Terms appearing" ให้เลือกว่าจะค้นหาคำนั้นตรงไหนในเว็บ เช่น ชื่อเว็บ หรือในเนื้อหาของบทความ
    • ให้ใช้เมนู "SafeSearch" เลือกว่าจะแสดงผลการค้นหาที่มีเนื้อหาผู้ใหญ่ด้วยหรือเปล่า
    • เมนู "File Type" ใช้กำหนดฟอร์แมตของไฟล์ที่ต้องการค้นหา เช่น ไฟล์ PDF หรือไฟล์ DOC ของ Word
    • "Usage rights" เอาไว้เลือกว่าจะดูเฉพาะผลการค้นหาที่ไม่ติดลิขสิทธิ์หรือกลับกัน
  4. ทางด้านล่างของแบบฟอร์ม เท่านี้ผลการค้นหาก็จะโผล่มา โดยใช้ฟิลเตอร์ตามที่กำหนดไว้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หลังผ่านไปหลายๆ วัน ถ้าค้นหาแบบเดียวกัน ก็อาจจะได้ผลลัพธ์ออกมาต่างกัน (ใกล้เคียง)
  • หลายเบราว์เซอร์จะมีช่องค้นหาติดอยู่ด้วย เอาไว้ค้นหาใน Google และ search engine อื่นๆ แบบนั้นก็แค่พิมพ์คำค้นหาลงไปในช่อง ไม่ได้โหลดหน้าเว็บขึ้นมา
  • คุณตั้งค่า preferences สำหรับผลการค้นหาใน Google ได้ โดยใช้ลิงค์ Preferences ข้างช่องค้นหาของ Google
  • ถ้าใช้บัญชี Google ก็จะใช้เครื่องมือในการค้นหา และ internet tools ของ Google ได้เต็มรูปแบบ
  • เลือกคีย์เวิร์ดที่จะใช้ อาจจะเป็นคำเดียวหรือหลายคำ ที่เจาะจงหัวข้อที่ต้องการค้นหา เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาเฉพาะในหัวข้อนั้นโดยเฉพาะ
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดวิดีโอจากทุกเว็บไซต์ได้แบบฟรีๆ
หาวันที่เผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์
หาละติจูดกับลองจิจูดใน Google Maps
เว้นวรรคห่างๆ ใน HTML
อิโมจิซ่อนความสยิวที่คนใช้แชตกันมากที่สุด
แก้ปัญหาเข้าบางเว็บไม่ได้
รู้ความหมายของอีโมจิรูปหัวใจสีดำ
เข้าสู่ระบบ Telegram บนแอนดรอยด์
เขียนเว็บเพจง่ายๆ ด้วย HTML
ดูว่าใครแชร์โพสต์ของคุณบนเฟซบุ๊ก
เช็คตำแหน่งปัจจุบันใน Google Maps
แก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์ DNS ไม่ตอบสนอง
รู้ความหมายของอีโมจิหน้ากลับหัว
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ Windows
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 20,241 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา