PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

คุณมีมดอยู่ที่บ้าน แต่ไม่มีเงินซื้อสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงที่ฆ่ามันได้หรือไม่? โชคดีนะที่คุณยังสามารถฆ่ามดด้วยสารบอแรกซ์และน้ำตาลได้อยู่ อ่านบทความนี้เพื่อรู้วิธีฆ่ามดที่โตเต็มวัยได้เลย แต่ไม่ใช่แค่นั้น เพราะวิธีนี้ยังฆ่ามดในรังที่เหลือได้อีกด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ฆ่ามดด้วยสารบอแรกซ์และน้ำผสมน้ำตาล

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณจะทำสารละลายขึ้นมาด้วยการผสมบอแรกซ์ น้ำตาล และน้ำเปล่าเข้าด้วยกัน จากนั้นก็จุ่มก้อนสำลีลงไปในสารละลายนั้น และนี่คือสิ่งที่คุณต้องใช้
    • น้ำตาล ½ ถ้วย (100 กรัม)
    • สารบอแรกซ์ 1 ½ ช้อนโต๊ะ
    • น้ำอุ่น 1 ½ ถ้วย (350 มิลลิลิตร)
    • โหล
    • ก้อนสำลี
    • จานก้นตื้น ภาชนะขนาดเล็ก หรือฝา (ไม่จำเป็น)
  2. สารบอแรกซ์คือสารที่จะใช้ฆ่ามด และน้ำตาลคือสิ่งที่ดึงดูดมันให้เข้ามาหาบอแรกซ์นั่นเอง มดจะไม่เห็นว่าสารบอแรกซ์เป็นอาหาร ฉะนั้นมันจึงจะไม่เข้าใกล้ แต่น้ำตาลนี่ถือเป็นเหยื่อชั้นดีเลยล่ะ
  3. เพื่อที่จะผสมให้น้ำตาลกับสารบอแรกซ์เข้ากัน
  4. คุณสามารถใช้น้ำในอุณหภูมิใดก็ได้ แต่น้ำอุ่นจะช่วยให้น้ำตาลกับสารบอแรกซ์ละลายเข้ากันได้ดีกว่า น้ำเปล่าจะทำให้สารบอแรกซ์กับน้ำตาลกลายเป็นสารละลายที่เป็นของเหลว ซึ่งจะช่วยให้คุณใช้ก้อนสำลีจุ่มมันได้ง่ายขึ้น
  5. คนเรื่อยๆ จนกว่าน้ำตาลกับบอแรกซ์จะละลาย หรืออย่างน้อยก็เกือบทั้งหมด
  6. จะใช้สำลีจำนวนเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับว่ามีมดบุกรุกอยู่ขึ้นแค่ไหน ถ้าคุณยังมีสารละลายเหลืออยู่ ก็สามารถเก็บไว้โดยเพียงแค่ปิดฝาแล้วเก็บในที่แห้งและเย็น
  7. ดูทางที่มดเดิน แล้ววางก้อนสำลีเอาไว้บนทางเดินของมดเลย ถ้าคุณหาได้ว่ามดมาจากไหน ก็วางก้อนสำลีเอาไว้ใกล้ๆ ตรงนั้นได้เลย มันจะช่วยให้มดหายาพิษนี่ได้ไวขึ้น
    • ถ้าคุณไม่อยากให้พื้นหรือขอบหน้าต่างสกปรกหรือเหนียวเหนอะ ก็สามารถวางก้อนสำลีจุ่มสารละลายไว้บนาภชนะเล็กๆ ก่อน แล้วค่อยวางภาชนะนั้นเอาไว้ก็ได้ โดยจะใช้เป็นจานก้นตื้นหรือฝาเหยือกก็ได้นะ จำไว้ว่าไม่ว่าจะใช้ภาชนะใด ก็อย่าใช้ภาชนะนั้นใส่อาหารอีกเด็ดขาด เพราะสารบอแรกซ์เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์อย่างมาก
  8. ถ้าคุณเจอรูที่มดเดินออกมา ก็สามารถอุดไว้ด้วยกาวอีพอกซี่หรือวัสดุอุดได้ มันจะช่วยไม่ให้มดกลับมาอีกได้นั่นเอง โดยให้ทำแบบนี้หลังจากที่ฆ่ามดหมดแล้ว และอย่าทำก่อนล่ะ [1]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ฆ่ามดทั้งรังที่เหลือ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณต้องใช้ส่วนผสมง่ายๆ สองอย่าง ซึ่งก็คือบอแรกซ์กับน้ำตาลนั่นเอง มดที่โตเต็มวัยจะไม่กินของที่เป็นของแข็ง แต่มันจะเอากลับไปให้ตัวอ่อนที่รังกินแทน [2]
  2. เทบอแรกซ์และน้ำตาลลงในภาชนะ แล้วคนด้วยช้อนหรือส้อมจนกว่าทุกอย่างจะเข้ากัน ซึ่งจะใช้บอแรกซ์และน้ำตาลปริมาณเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับว่ามีมดบุกมากแค่ไหนนั่นเอง แต่เพียงให้แน่ใจว่าได้ใช้บอแรกซ์หนึ่งส่วนต่อน้ำตาลสามส่วนก็พอ
    • ห้ามใช้ภาชนะหรืออุปกรณ์ใดๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำอาหารหรือใช้ในการรับประทานอีกเด็ดขาด
  3. ถ้ามดเข้าบ้านคุณมาผ่านทางหน้าต่างและประตู ก็ให้โรยผงนั้นผ่านตรงทางเข้าประตูและขอบหน้าต่าง มดจะเก็บผงเหล่านั้นกลับไปที่รังเพื่อให้ตัวอ่อนกิน แล้วสารบอแรกซ์ก็จะฆ่าตัวอ่อนนั่นเอง
  4. ขณะที่คุณพยายามจัดการปัญหาเกี่ยวกับมดที่เกิดขึ้น การปิดกั้นทางเข้าอื่นที่อาจเป็นไปได้อย่างประตูและหน้าต่างก็ถือเป็นไอเดียที่ดีเลยนะ มันจะช่วยป้องกันไม่ให้มดหาทางอื่นเข้ามาในบ้านได้ ขณะที่ได้พยายามฆ่ามันไปด้วย
  5. ถ้าคุณเจอที่ที่มดเดินออกมา ก็สามารถอุดไว้ด้วยกาวอีพอกซี่หรือวัสดุอุดอื่นๆ ได้ มันจะช่วยไม่ให้มดกลับมาอีกได้นั่นเอง โดยให้ทำแบบนี้หลังจากที่ฆ่ามดหมดแล้ว และอย่าทำก่อนล่ะ
  6. เก็บสารฆ่ามดที่ยังไม่ได้ใช้เอาไว้ให้เหมาะสม. ถ้ายังเหลือสารฆ่ามดอยู่ ก็ให้เก็บในภาชนะที่ปิดฝาแน่นและเขียนป้ายแปะเอาไว้ด้วย โดยเก็บไว้ที่ที่เด็กและสัตว์เข้าไม่ถึง เพราะสารบอแรกซ์นั้นเป็นพิษที่รุนแรงต่อมนุษย์และสัตว์นั่นเอง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • วางยาพิษไว้ใกล้รังมดให้มากที่สุด
  • พิจารณาถึงการโรยดินเบาที่ใช้ในอาหารได้ใกล้ๆ บริเวณประตูและหน้าต่าง ซึ่งดินเบามีฤทธิ์ฆ่ามดที่พยายามจะเข้ามาในบ้านได้นั่นเอง [3] และดินเบายังใช้กำจัดแมลงหวี่และแมลงอื่นๆ ได้อีกด้วย แต่ต้องเอาเป็นแบบที่ใช้ในอาหารได้มานะ ไม่ใช่ที่ใช้กับสระว่ายน้ำ
โฆษณา

คำเตือน

  • สารบอแรกซ์นั้นเป็นสารพิษต่อมนุษย์และสัตว์ ฉะนั้นให้เก็บไว้ให้ห่างจากมือเด็ก สัตว์ และอาหาร
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

ของที่ต้องใช้เพื่อฆ่ามดแบบธรรมดา

  • บอแรกซ์หนึ่งส่วน
  • น้ำตาลสามส่วน

ของที่ต้องใช้เพื่อฆ่ามดทั้งรัง [4]

  • น้ำตาล ½ ถ้วย (100 กรัม)
  • สารบอแรกซ์ 1 ½ ช้อนโต๊ะ
  • น้ำอุ่น 1 ½ ถ้วย (350 มิลลิลิตร)
  • โหล
  • ก้อนสำลี
  • จานก้นตื้น ภาชนะขนาดเล็ก หรือฝา (ไม่จำเป็น)

ข้อมูลอ้างอิง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,948 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา