PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเราอยากประสบความสำเร็จในการเรียนหรือมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน การจดบันทึกอย่างมีประสิทธิภาพเป็นทักษะที่สำคัญ เพราะการจดบันทึกทำให้เราสามารถเก็บ จดจำ อ่าน และนึกข้อมูลสำคัญออก ถ้าเราทำตามขั้นตอนและกลวิธีง่ายๆ ของบทความนี้ ไม่เพียงเราจะได้เรียนรู้วิธีจดบันทึกข้อมูลเท่านั้น แต่ยังสามารถจดบันทึกข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตลอดจนสามารถนำความรู้และเนื้อหาที่จดบันทึกไว้มาใช้งานได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมตัวจดบันทึก

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขั้นตอนนี้อาจเห็นว่าทำได้ง่ายก็จริง แต่ก็เป็นขั้นตอนสำคัญ เราต้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับจดบันทึกให้พร้อม ก่อนเริ่มเรียน ประชุม หรือฟังบรรยาย วางอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเพื่อจะได้หยิบใช้งานง่าย
    • ถ้าเราจะใช้ปากกาและกระดาษในการจดบันทึก เราก็ต้องเตรียมสมุดขนาด A4 ซึ่งมีหน้าว่างเยอะๆ และปากกาสีสองด้าม ถ้าเราใช้แล็ปท็อปในการจดบันทึก ก็ควรชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มหรือนั่งใกล้เต้ารับ
    • ถ้าเรามีปัญหาด้านสายตาและต้องใส่แว่นตา ก็อย่าลืมพกแว่นตามาด้วย หากอาจารย์หรือผู้บรรยายเขียนเนื้อหาสำคัญลงกระดาษดำหรือไวท์บอร์ด จะได้มองเห็นชัดเจน เมื่อต้องพกแว่นตา ก็อย่าลืมพกผ้าไมโครไฟเบอร์เพื่อใช้ทำความสะอาดเลนส์แว่นตามาด้วย และอย่าลืมนั่งในบริเวณที่สามารถเห็นหรือได้ยินผู้พูดชัดเจน
  2. ก่อนที่จะเข้าเรียน ฟังบรรยาย หรือเข้าประชุม เราต้องทบทวนเนื้อหาที่จดไว้คราวก่อนด้วย การทบทวนเนื้อหาที่เคยจดไว้จะทำให้รู้ว่าเราจดถึงไหนแล้วและจะเริ่มการจดได้เร็วขึ้น
    • ถ้าอาจารย์แนะนำให้เราไปอ่านเนื้อหาบางอย่างมาล่วงหน้าเพื่อให้พร้อมสำหรับชั่วโมงเรียนครั้งถัดไป เราก็ต้องทำตามที่อาจารย์แนะนำ การอ่านเนื้อหามาล่วงหน้าจะทำให้เราเข้าใจสาระสำคัญ แนวคิด หรือความคิดที่อาจารย์หรือผู้บรรยายสอนหรือนำเสนอในชั้นเรียน เราอาจเขียนสรุปเนื้อหาของตอนนั้น บทความ หรือทั้งบทมาก่อนล่วงหน้าก็ได้ เขียนสรุปไว้ที่ด้านหนึ่งของกระดาษ เราจะได้เขียนข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้จากการเรียนในห้องไว้อีกด้านหนึ่งของหน้ากระดาษเดียวกันนั้น [1]
    • พึงระลึกถึงภาษิตที่ว่า "การไม่ยอมเตรียมพร้อมคือการพร้อมรับความล้มเหลว"
  3. เมื่อจดเนื้อหา คนจำนวนมากมักจะทำผิดพลาดด้วยการจดคำพูดทุกคำ โดยไม่ทำความเข้าใจเนื้อหาที่ได้ยินเลย
    • การไม่พยายามทำความเข้าใจเนื้อหาในชั่วโมงเรียนเป็นการทำผิดพลาด ถ้าเราไม่พยายามทำความเข้าใจเนื้อหาในชั่วโมงเรียน เราจะเสียโอกาสที่จะได้เข้าใจบทเรียนนั้นไป
    • ฉะนั้นควรพยายามซึมซับข้อมูลที่เราได้ฟังครั้งแรกก่อน เราจะได้ไม่ต้องมาลำบากเสียเวลาทำความเข้าใจมากหรือสับสนในตอนที่นั่งทบทวน
  4. ถึงแม้การพิมพ์ข้อมูลลงในแล็ปท็อปจะสะดวกกว่า แต่ผลการศึกษาซึ่งดำเนินการที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันได้แสดงให้เห็นว่าการจดข้อมูลด้วยลายมือตนเองจะทำให้ผู้บันทึกจดจำข้อมูลได้ดีกว่า
    • ที่ผลการศึกษาเป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้ใช้แล็ปท็อปบันทึกข้อมูลมักจะถอดความเนื้อหาที่ได้ยินเป็นคำต่อคำ โดยไม่ได้กลั่นกรองเนื้อหาที่ได้ยินเลย
    • ในทางกลับกันผู้ที่จดบันทึกด้วยลายมือตนเองไม่สามารถเขียนได้เร็วพอที่จะจดได้หมดทุกคำ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องตั้งใจฟังมากขึ้นเพื่อที่ได้จะเลือกจดเฉพาะข้อมูลที่สำคัญที่สุดหรือเกี่ยวข้องแทน [2]
    • ฉะนั้นเราจึงควรพยายามจดเนื้อหาด้วยลายมือตนเองจะดีกว่า
  5. เมื่อเกิดข้อสงสัยและมีเนื้อหาที่เราไม่เข้าใจ อย่าเอาแต่จดและบอกตนเองว่าจะกลับมาตรวจดูภายหลัง ให้ถามอาจารย์หรือผู้บรรยายเพื่อจะได้เข้าใจอย่างกระจ่างในทันที
    • ลองคิดซะว่าถ้าเราพบอะไรที่ไม่เข้าใจในตอนนี้ ถามให้เข้าใจไปเลยดีกว่ากลับมาทบทวนอีกรอบแล้วสับสนหนักเป็นสองเท่า
    • อย่ากลัวที่จะขอให้อาจารย์หรือผู้บรรยายทวนซ้ำอีกรอบ โดยเฉพาะถ้าเรารู้สึกว่าเนื้อหาส่วนนั้นสำคัญ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ตั้งใจจดบันทึกให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราจะจดได้ ดีขึ้น ถ้าเราเน้นจดแต่คำสำคัญและแนวคิด
    • รู้ว่าข้อมูลไหนเกี่ยวข้องกับหัวข้อมากที่สุด จดบันทึกคำหรือวลีสำคัญ ลงไป ถ้าเห็นว่าคำและวลีเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อมากที่สุด ตัวอย่างข้อมูลสำคัญ เช่น วันเดือนปี ชื่อ ทฤษฎี คำนิยามต่างๆ เป็นต้น ควรจดบันทึกข้อมูลที่สำคัญที่สุดเท่านั้น อย่าใช้คำฟุ่มเฟือยและจดบันทึกรายละเอียดที่ไม่สำคัญเท่าไรนัก ถ้าเราอยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม อ่านจากตำราเรียนได้
    • ลองคิดซิว่าเรา ต้องการ ได้ข้อมูลอะไรบ้าง ทำไมถึงเรียนวิชานี้ ทำไมถึงเข้าฟังสัมมนานี้ ทำไมนายจ้างถึงให้มาเข้าฟังการประชุมครั้งนี้ ถึงแม้สัญชาตญาณแรกของเราคือการพยายามจดบันทึกสิ่งที่ได้ยินหรือเห็นทุกถ้อยคำ แต่เราต้องพึงระลึกไว้ว่าเรากำลังจดบันทึกเพื่อเรียนรู้อะไรบางอย่างจากการฟังด้วย เราไม่ได้กำลังเขียนนวนิยายขนาดสั้นอยู่
    • ให้ความสำคัญกับข้อมูล "ใหม่" อย่าเสียเวลาจดบันทึกข้อมูลที่เรารู้อยู่แล้ว เพราะไม่มีประโยชน์และจะทำให้เราเสียเวลา เน้นจดบันทึกข้อมูลใหม่ที่เรายังไม่เคยรู้มาก่อน การทำแบบนี้จะทำให้การจดบันทึกของเราคุ้มค่ามากกว่า
  2. วิธีนี้เป็นวิธีจดบันทึกที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง เพราะจะทำให้เราต้องพยายามเชื่อมโยงเนื้อหาขณะที่จดบันทึกและอธิบายหัวข้อนั้นด้วยภาษาของตนเอง เทคนิคการย่อความนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยนักเรียนนักศึกษาให้เข้าใจเนื้อหาและจดจำข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น [3]
    • แทนที่จะจดบันทึกข้อมูลลงไปทีละบรรทัด ให้ตั้งใจฟังดีๆ ว่าผู้พูดกล่าวว่าอะไรบ้างและพยายามทำความเข้าใจเรื่องที่เขาพูดนั้น พอตั้งใจฟังและทำความเข้าใจเนื้อหาแล้ว ให้นำเรื่องที่ฟังนั้นมาเขียนเป็นคำถามและเขียนคำตอบให้กับคำถามเหล่านั้น
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าคำถามคือ "แก่นเรื่อง โรเมโอและจูเลียต ของวิลเลียม เชกสเปียร์คือเรื่องอะไร" คำตอบก็อาจเป็น "เรื่องราวความรักที่กลายเป็นโศกนาฏกรรม" " โรเมโอและจูเลียต เป็นเรื่องราวที่สอนให้เห็นถึงผลของความเคียดแค้นชิงชัง"
    • เมื่อตอบคำถามแล้ว เราสามารถให้เหตุผลสำหรับข้อสรุปของเราด้วยการแสดงตัวอย่างจากเนื้อหาที่ฟัง เราจะพยายามจดบันทึกข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องให้กระชับและอ่านง่าย
  3. นักเรียนนักศึกษาโดยเฉลี่ยเขียนได้ 1/3 คำต่อวินาที ขณะที่ผู้พูดจะพูดโดยเฉลี่ย 2/3 ต่อวินาที ฉะนั้นพยายามคิดระบบการย่อคำในแบบของตนเองขึ้นมา จะสามารถช่วยให้เราจดบันทึกอย่างมีประสิทธิภาพและเร็วขึ้นได้
    • พยายามจดเป็นคำย่อแทนคำเต็ม เช่น "กทม." ย่อมาจาก "กรุงเทพมหานคร" "ค.ร.น." ย่อมาจาก "คูณร่วมน้อย" "จยย." ย่อมาจาก "จักรยานยนต์" พยายามย่อคำยาวๆ ที่ได้ยินหลายครั้งในชั้นเรียนหรือการบรรยายให้สั้นลง ตัวอย่างเช่น ถ้าได้ยินคำว่า "อำนาจอธิปไตยของปวงชน" ถึง 25 ครั้งในชั่วโมงเรียนประวัติศาสตร์ เราอาจเขียนอย่างย่อๆ ว่า"อำนาจอธิป"
    • เราต้องสามารถถอดคำย่อออกเป็นคำเต็มได้ด้วย ถ้าเห็นว่าจะถอดคำย่อออกมาเป็นคำเต็มได้อย่างลำบาก เพราะเกรงว่าตนเองจะจำไม่ได้ทั้งหมด ก็พยายามเขียนคำเต็มกำกับไว้กับคำย่อนั้นไว้ที่หลังกระดาษหน้าปกของสมุดจดด้วย เราจะได้สามารถนำคำย่อเหล่านั้นมาเขียนเป็นคำเต็มหลังเลิกเรียน
    • ถ้าผู้พูดยังคงพูดเร็วเกินไปจนถึงแม้เราจะพยายามเขียนเป็นอักษรย่อแล้ว ก็ยังจดไม่ทัน ให้นำเครื่องบันทึกเสียงมาใช้ในชั่วโมงเรียนคราวหน้า เพราะเราจะได้ฟังเนื้อหาอีกครั้งและเติมเต็มเนื้อหาส่วนที่หายไป
  4. เราคงไม่อยากกลับไปอ่านเนื้อหาที่จดไว้ ถ้าสิ่งที่เราจดไว้นั้นยุ่งเหยิง ไม่เป็นระเบียบ และอ่านยาก ฉะนั้นการจดบันทึกให้น่าอ่านจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก! ขอแนะนำเคล็ดลับในการจดบนทึกให้ออกมาน่าอ่านมากขึ้น เคล็ดลับมีดังนี้
    • เริ่มหน้าใหม่เสมอ เนื้อหาที่เราจดไว้จะอ่านง่ายขึ้น ถ้าเราเริ่มจดหน้าใหม่ทุกครั้งที่เราเปลี่ยนวิชาหรือเรียนเรื่องใหม่ ใส่วันที่ไว้ที่มุมขวาบน ถ้าปากกาของเรามีหมึกที่เข้มมาก ให้จดบันทึกเนื้อหาใส่กระดาษแค่แผ่นละหน้า
    • พยายามเขียนด้วยลายมือที่อ่านง่าย การจดบันทึกจะกลายเป็นเรื่องเสียเวลาไปเลย ถ้าเราไม่สามารถอ่านเนื้อหาออกหลังจากนั้น! ไม่ว่าเราจะเขียนเร็วแค่ไหน เราควรพยายามจดบันทึกด้วยลายมือที่เรียบร้อย อ่านง่าย และชัดเจน ถ้าทำได้ อย่าเขียนเรียงติดกันเป็นพืด
    • มีขอบกระดาษที่กว้าง ใช้ดินสอและไม้บรรทัดตีเส้นขอบกระดาษแต่ละหน้า เว้นที่และตีเส้นขอบกระดาษด้านซ้ายมือให้กว้างๆ การมีขอบกระดาษที่กว้างจะช่วยป้องกันไม่ให้จดบันทึกจนตัวอักษรแน่นเกินไปและมีเนื้อที่เหลือพอที่จะเขียนข้อมูลเพิ่มเติม เมื่อกลับมาอ่านเนื้อหาที่จดบันทึกไว้อีกครั้ง
    • ใช้สัญลักษณ์และแผนภาพ สัญลักษณ์อย่างเช่น ลูกศร จุด กล่องข้อความ แผนภาพ แผนภูมิ และภาพอื่นๆ จะช่วยทำให้เราสามารถเชื่อมโยงและจดจำแนวคิดสำคัญได้ดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราเป็นคนที่เรียนรู้ได้ดีจากมองเห็น
  5. ผู้คนจำนวนมากเห็นว่าการเพิ่มสีสันให้กับข้อความจะช่วยทำให้เราอ่านและจดจำข้อมูลได้ง่ายขึ้น
    • เนื่องจากสีจะช่วยกระตุ้นสมองด้านความคิดสร้างสรรค์ จึงช่วยทำให้เนื้อหาที่เราจดบันทึกไว้น่าสนใจ ฉะนั้นเราจึงจดจำข้อมูลได้ง่ายขึ้น การเพิ่มสีสันให้กับความข้อความต่างๆ จะช่วยเรานำสีมาเชื่อมโยงกับความทรงจำ ทำให้เราจดจำเนื้อหาที่จดไว้ได้โดยไม่ลำบากมากนัก [4]
    • พยายามจดบันทึกเนื้อหาส่วนต่างๆ โดยใช้ปากกาสีที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เราจดบันทึกคำถามด้วยปากกาสีแดง จดบันทึกคำนิยามด้วยปากกาสีดำ และจดบันทึกข้อสรุปด้วยปากกาสีเขียว
    • เราควรใช้ปากกาเน้นข้อความมาเน้นคำสำคัญ วันเดือนปี และนิยาม แต่อย่าใช้ปากกาเน้นข้อความเยอะเกินไป เพราะผิดวัตถุประสงค์การของเน้นข้อความ
  6. หลังจากโรงเรียนเลิกหรือจบการบรรยาย เราอาจต้องการจดบันทึกข้อมูลจากหนังสือเพิ่มเติม การจดบันทึกเนื้อหาจากหนังสือก็เป็นอีกทักษะหนึ่งที่เป็นประโยชน์และควรฝึกให้เชี่ยวชาญ
    • ดูเนื้อหาอย่างคร่าวๆ: ก่อนที่จะเริ่มอ่านเนื้อหาอย่างจริงจัง ดูเนื้อหาอย่างคร่าวๆ เพื่อจะได้รู้ว่าเนื้อหาที่จะอ่านนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อ่านบทนำและบทสรุป หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย บรรทัดแรกและบรรทัดสุดท้ายของทุกย่อหน้า อย่าลืมดูแผนภูมิ ภาพประกอบ หรือแผนภาพด้วย
    • ตั้งใจอ่านเนื้อหา: คราวนี้กลับไปอ่านเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ พออ่านจบไปหนึ่งย่อหน้า กลับไปใช้ปากกาเน้นขอความขีดคำสำคัญ ข้อเท็จจริง แนวคิด หรือคำกล่าวอ้าง มองหาเนื้อหาที่มีลักษณะสะดุดตาอย่างเช่น ทำเป็นตัวหนาหรือตัวเอน ใช้สีหรือมีสัญลักษณ์นำหัวข้อเพื่อเน้นให้เห็นประเด็นสำคัญ
    • จดบันทึกเนื้อหา: พออ่านเนื้อหาจบแล้ว ให้กลับไปจดบันทึกข้อมูลที่เราใช้ปากกาเน้นข้อความไว้ พยายามอย่าคัดลอกเนื้อหามาทั้งประโยค เพราะเสียเวลา พยายามถอดความเป็นคำพูดของเราเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ [5]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทบทวนเนื้อหาที่จดบันทึกไว้

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การทบทวนเนื้อหาที่เราจดบันทึกไว้หลังเลิกเรียนหรือภายหลังในแต่ละวันจะช่วยให้เราจดจำข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราไม่จำเป็นต้องทบทวนอย่างคร่ำเคร่ง แค่ใช้เวลา 15 ถึง 20 นาทีทบทวนเนื้อหาที่จดบันทึกไว้ในแต่ละคืนก็พอ
    • จดบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม ระหว่างที่อ่านเนื้อหาถ้าเกิดนึกขึ้นมาได้ว่ามีข้อมูลที่ได้จากการเรียนในชั้นหรือการบรรยายเพิ่มเติม ให้จดบันทึกข้อมูลนั้นลงไป
    • เขียนบทสรุป วิธีการที่จะทำให้เราจำเนื้อที่อยู่ในสมุดจดบันทึกได้ดีคือสรุปข้อมูลที่ได้จากการอ่านเนื้อหานั้นไว้ที่ท้ายหน้ากระดาษ
  2. ทดสอบตนเองว่าเข้าใจเนื้อหาไหมด้วยการปิดเนื้อหาที่จดบันทึกนั้นไว้และพยายามอธิบายเนื้อหาให้ตนเองฟัง จะอธิบายเสียงดังหรืออธิบายในใจก็ได้
    • ทดสอบสิว่าเราสามารถจดจำรายละเอียดของเนื้อหาได้มากแค่ไหน อ่านเนื้อหาที่จดบันทึกไว้อีกครั้งเพื่อจะได้นำข้อมูลที่เราขาดไปมาปะติดปะต่อเข้ากับข้อมูลอื่นๆ อีกครั้ง
    • อธิบายเนื้อหาให้เพื่อนฟัง การสอนหรืออธิบายให้เพื่อนฟังเป็นการทดสอบตนเองว่าเราเข้าใจเนื้อที่จดบันทึกไว้อย่างถ่องแท้หรือไม่และเนื้อหาที่เราจดไว้นั้นครอบคลุมหัวข้อนั้นไหม
  3. เราจะเห็นประโยชน์ของการจดบนทึกอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ ก็ต่อเมื่อการสอบมาถึงและต้องพยายามจดจำเนื้อหาทั้งหมด ถ้าเราทบทวนเนื้อหาที่จดไว้อย่างสม่ำเสมอวันละ 20 ถึง 30 นาที เราก็จะจดจำเนื้อหาได้ง่ายมากขึ้น นี้เป็นเทคนิคการจำที่ขอแนะนำให้ลองทำดู
    • จดจำเนื้อหาทีละบรรทัด: ถ้าเราต้องจดจำข้อความเป็นย่อหน้า มีเทคนิคคือให้อ่านบรรทัดแรกสองครั้ง จากนั้นพยายามพูดย้ำเนื้อหาบรรทัดแรกออกมาดังๆ โดยไม่มองเนื้อหา อ่านบรรทัดที่สองสองครั้ง จากนั้นพูดย้ำเนื้อหาบรรทัดแรกและบรรทัดที่สองออกมาดังๆ โดยไม่มองเนื้อหานั้น ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพูดย้ำเนื้อหาได้ครบทุกบรรทัดโดยไม่ต้องมองเนื้อหา
    • จดจำเนื้อหาด้วยการนำมาแต่งเรื่อง: ถ้าเลือกใช้วิธีนี้ ให้นำข้อมูลที่เราต้องจดจำมาแต่งเป็นเรื่องราวที่ทำให้สามารถจดจำเนื้อหานั้นได้ง่าย ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการจดจำธาตุสามตัวแรกกลุ่มที่หนึ่งของตารางธาตุ (ไฮโดรเจน ฮีเลียม และลิเธียม) เราอาจแต่งเป็นประโยคภาษาอังกฤษว่า "(H)arriet and (He)nry went to the (Li)brary" เรื่องที่แต่งขึ้นไม่จำเป็นต้องสร้างจากข้อเท็จจริงก็ได้ ยิ่งดูไร้สาระ ยิ่งดี
    • ใช้เทคนิคช่วยจำ: การใช้เทคนิคช่วยจำจะช่วยในการจดจำรายชื่อคำที่ต้องจดจำไปตามลำดับ เมื่อเลือกใช้เทคนิคช่วยจำ ให้นำอักษรตัวแรกของแต่ละคำที่เราต้องจำมาแต่งเป็นประโยคที่ตัวอักษรแรกของแต่ละคำในประโยคเป็นตัวอักษรเดียวกับอักษรตัวแรกของคำที่เราต้องจำนั้น ตัวอย่างเช่น เราต้องการจำโน้ตดนตรีของบรรทัดกุญแจซอล EGBDF เราสามารถใช้ประโยคภาษาอังกฤษ "Every Good Boy Does Fine" มาเป็นหลักในการจำได้ [6]
    • ถ้าอยากรู้รายละเอียดเทคนิคการจำเพิ่มเติมว่าวิธีไหนบ้างที่ได้รับความนิยมและได้ผล ลองอ่าน บทความนี้ ดู
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เมื่อจดบันทึกเนื้อหา อย่าลืมขีดเส้นใต้คำสำคัญที่คิดว่าอาจจะออกข้อสอบด้วย
  • ถ้าผู้พูดย้ำเนื้อหาบางอย่างเกินสองครั้ง แสดงว่าข้อมูลนั้นน่าจะมีความสำคัญและควรตั้งใจฟังให้ดี
  • เราต้องมีสมุดจดหรือกระดาษจดสำหรับแต่ละวิชา อย่านำสมุดหรือกระดาษของแต่ละวิชามาใช้จดบันทึกปะปนกัน
  • ถ้าโรงเรียนอนุญาต ให้นำปากกาเน้นข้อความสีต่างๆ มาด้วย การเน้นข้อความด้วยปากกาสีต่างๆ จะทำให้ตำราเรียนของเราน่าอ่านขึ้น อย่างไรก็ตามอย่าใช้ปากกาเน้นข้อความทุกข้อความ!
  • ถ้าอาจารย์หรือผู้บรรยายอนุญาตให้บันทึกเสียงได้ เราสามารถใช้แอปต่างๆ มาบันทึกเสียงบรรยายในชั่วโมงเรียนได้
  • ถึงแม้การใช้คอมพิวเตอร์บันทึกเนื้อหาจะสะดวกและง่ายกว่าการจดด้วยลายมือตนเอง แต่ก็ขอแนะนำให้จดบันทึกเนื้อหาด้วยลายมือตนเองดีกว่า เพราะผลการศึกษาได้พิสูจน์แล้วว่าการจดบันทึกด้วยลายมือตนเองจะช่วยให้เราจดจำข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น (เพิ่มความเร็วในการเขียนด้วย)
  • อย่าลืมใส่ชื่อหัวข้อและใส่หมายเลขหน้าของเนื้อหาที่จดบันทึกไว้ด้วย การใส่หัวข้อจะทำให้เรารู้ว่าเนื้อหาที่จดบันทึกไว้นั้นเป็นเรื่องอะไรและสามารถนำกลับมาทบทวนได้ง่ายเมื่อการสอบกำลังจะมาถึง
  • ต้องพกดินสอหรือปากกาไว้หลายแท่ง ถ้าหากดินสอหักหรือสั้นกุดเกินไป หมึกของปากกาอุดตันหรือหมด จะได้เปลี่ยนไปใช้ดินสอหรือปากกาแท่งอื่น
  • จะบันทึกเนื้อหาในชั่วโมงเรียนด้วยการพิมพ์ใส่คอมพิวเตอร์ไว้ก็ได้ แต่เมื่อถึงบ้านแล้ว ให้นำเนื้อหาที่พิมพ์ไว้มาเขียนใส่กระดาษ
  • ตั้งใจเรียนและใช้ปากกาเน้นข้อความที่คิดว่าสำคัญไว้
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าคุยกับเพื่อนในชั่วโมงเรียน
  • เตรียมกระดาษไว้อีกแผ่นหรือใช้กระดาษโน้ตกาวก็ได้ ใส่ตัวเลขหน้าข้อมูลที่จดบันทึกไว้และนำข้อมูลเหล่านั้นมาเชื่อมโยงกัน (ทำหรือไม่ทำก็ได้)
  • ขออนุญาตอาจารย์หรือผู้บรรยายก่อนอัดเสียง
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ปากกาหรือดินสออย่างน้อยสองแท่ง
  • ยางลบดินสอ ถ้าดินสอแท่งนั้นไม่มียางลบติดมาด้วย
  • แว่นตาหรืออุปกรณ์ช่วยในการจดบันทึกอื่นๆ
  • กระดาษหลายแผ่น
  • ปากกาเน้นข้อความ หรือปากกาสี (อย่างน้องสองสี)
  • กระดาษโน้ตกาวสีต่างๆ อย่างน้อยหนึ่งแพ็ค
  • แฟ้มสำหรับจัดเก็บเอกสาร (เพื่อความเป็นระเบียบ)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 56,230 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา