PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

คุณต้องดูแลรูหูที่เพิ่งเจาะมาใหม่ให้สะอาดเพื่อให้แผลหายสนิท ระหว่างที่แผลรูหูกำลังจะหาย ให้คุณทำความสะอาดวันละ 2 ครั้งและอย่าเอามือไปจับรูหูโดยไม่จำเป็น ทำความสะอาดรูหูที่เจาะมาอย่างเบามือเพื่อป้องกันการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อ จากนั้นคุณก็พร้อมอวดต่างหูที่บอกถึงสไตล์แฟชั่นใหม่ของตัวเองแล้ว!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ทำความสะอาดรูหูที่เจาะ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าลืมล้างมือให้สะอาดก่อนจับหู เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียที่นิ้วแพร่ไปที่หู ล้างมือด้วยสบู่ต้านแบคทีเรียเพื่อให้แน่ใจว่ามือของคุณสะอาดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ [1]
    • ถูสบู่ให้เป็นฟองแล้วล้างมือ 10-15 วินาทีเพื่อฆ่าเชื้อโรค
  2. ถูสบู่อ่อนๆ ระหว่างนิ้วมือจนเกิดฟอง ค่อยๆ ถูสบู่ตรงบริเวณด้านหน้าและด้านหลังของรูหู แล้วใช้ผ้าเปียกที่สะอาดค่อยๆ เช็ดสบู่ออกจากหู [2]
  3. ขอให้ร้านเจาะหูแนะนำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสูตรเกลือทะเลสำหรับดูแลรักษารูหูที่เพิ่งเจาะใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยทำความสะอาดรูหูโดยไม่ทำให้ผิวแห้งเกินไป ใช้ก้อนสำลีหรือสำลีพันก้านจุ่มลงในน้ำเกลือแล้วเช็ดลงตรงด้านหน้าและด้านหลังของรูหู [3]
    • หลังจากเช็ดด้วยน้ำเกลือแล้วไม่จำเป็นต้องล้างด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง
  4. ทารับบิ้งแอลกอฮอล์หรือขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 2-3 วัน. การฆ่าเชื้อรูหูช่วยลดโอกาสที่จะติดเชื้อและทำให้แผลหายเร็วขึ้น ใช้สำลีก้อนหรือสำลีพันก้านจุ่มรับบิ้งแอลกอฮอล์หรือขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะแล้วแตะลงบนหู [4] และหลังจากนั้น 2-3 วันก็เลิกทำ เพราะการดูแลรักษาด้วยวิธีนี้นานๆ จะทำให้บริเวณที่เจาะหูแห้งและทำให้แผลหายยาก [5]
  5. หลังจากทำความสะอาดให้จับด้านหลังของต่างหูแล้วค่อยๆ หมุนไปมาทันที วิธีนี้จะทำให้บริเวณผิวหนังที่อยู่รอบต่างหูไม่ตึงจนเกินไปขณะที่แผลกำลังหาย และควรทำขั้นตอนนี้ตอนที่หูยังเปียกอยู่เท่านั้น [6]
    • การหมุนต่างหูที่เพิ่งเจาะมาใหม่ตอนที่ผิวแห้งอาจทำให้ผิวหนังฉีกและเลือดออกได้ ซึ่งจะทำให้แผลยิ่งหายช้า
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ป้องกันการบาดเจ็บและการติดเชื้อ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาที่คุณเจาะรูหูครั้งแรก ช่างเจาะหูจะใส่ต่างหูคู่แรกไว้ ซึ่งต่างหูประเภทนี้จะทำจากวัสดุที่ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ที่สามารถใส่ค้างไว้ในรูหูได้อย่างปลอดภัย ใส่ต่างหูคู่นี้ทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ไม่อย่างนั้นรูหูที่เจาะมามันอาจจะตันหรือหายไม่สนิทได้
    • ต่างหูที่ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ควรทำจากเหล็กกล้าไร้สนิมที่ใช้กับร่างกายมนุษย์ได้ ไทเทเนียม นิโอเบียม หรือทอง 14 หรือ 18 กะรัต [7]
    • ถ้าคุณเจาะหูตรงบริเวณที่เป็นกระดูกอ่อน คุณจะต้องใส่ต่างหูคู่แรกไว้ 3-5 เดือนระหว่างที่แผลกำลังหาย [8]
  2. การเอามือจับรูหูโดยไม่จำเป็นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ เพราะฉะนั้นอย่าจับรูหูยกเว้นตอนทำความสะอาดหรือตรวจดูรูหู ถ้าจำเป็นต้องจับหูจริงๆ ต้องล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาดก่อน [9]
  3. การว่ายน้ำอาจแพร่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่รูหูที่เพิ่งเจาะมาใหม่และทำให้ติดเชื้อได้ งดลงสระน้ำ แม่น้ำ ทะเลสาบ และสถานที่ที่เป็นน้ำอื่นๆ ระหว่างที่แผลรูหูกำลังหาย ถ้าคุณแช่อ่างน้ำร้อน ก็อย่าลดตัวลงไปในน้ำจนหูเปียก [10]
  4. ระวังอย่าให้เสื้อผ้ามาเกี่ยวต่างหูขณะที่แผลกำลังหาย เพราะการดึงหรือการเสียดสีอาจทำให้เกิดการระคายเคืองและทำให้แผลหายช้าลง งดใส่หมวกที่คลุมมาถึงหูและระมัดระวังเวลาใส่และถอดเสื้อผ้าเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ [11]
    • ถ้าคุณสวมผ้าโพกผม ให้เลือกผ้าที่เกี่ยวกับต่างหูยากหน่อย พยายามโพกผ้าหลวมๆ และอย่าใช้ผ้าผืนเดิมซ้ำหลายครั้งโดยไม่ซัก
  5. ไปพบแพทย์หากคุณสังเกตเห็นสัญญาณการติดเชื้อที่คงอยู่หลายวัน. ถ้าคุณเจ็บหูและหูบวมเป็นเวลาตั้งแต่ 1 สัปดาห์ขึ้นไปหลังจากเจาะหู ก็เป็นไปได้ว่าหูอาจติดเชื้อ หากคุณสังเกตว่ามีหนองหรือของเหลวข้นสีเข้มไหลออกจากรูหู ให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจ นอกจากนี้ผิวหนังรอบๆ รูหูที่ติดเชื้อยังมักจะเป็นสีแดงหรือชมพูเข้มอีกด้วย [12]
    • หากติดเชื้อที่รูหูอย่างรุนแรง อาจต้องมีการเจาะเพื่อระบายของเหลวหรือรับประทานยาปฏิชีวนะ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • แปรงและหวีผมอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกี่ยวโดนรูหู
  • มัดผมขึ้นไปข้างบนเพื่อไม่ให้โดนรูหู
  • ถ้าคุณรู้สึกเจ็บบริเวณรูที่เจาะตรงกระดูกอ่อน พยายามนอนตะแคงไปอีกข้างเพื่อไม่ให้ทับหู
  • ถ้าติ่งหูฉีกขาดให้ไปพบแพทย์ทันที
  • ซักปลอกหมอนทุก 2-3 วันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ก่อนเจาะส่วนใดๆ ของร่างกายก็ตาม ดูให้ดีว่าร้านเจาะนั้นสะอาด ถูกสุขลักษณะ และมีความเชี่ยวชาญ
  • ถ้าคุณไว้ผมยาว ให้มัดผมขึ้นไปสูงๆ เพื่อไม่ให้ผมโดนรูหู
  • แม้ว่าต่างหูที่คุณซื้อมาจะไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน แต่คุณก็ต้องทำความสะอาดก่อนใส่เข้าไปในรูหู
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 146,765 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา