ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การมีเด็กป่วยเป็นประสบการณ์ที่เครียดและยุ่งยากใจ ลูกของคุณอาจจะกำลังรู้สึกไม่สบายใจและกำลังรับมือกับความเจ็บปวดอยู่ในขณะที่คุณอาจจะสงสัยว่าถึงเวลาที่จะโทรหาแพทย์หรือยัง ถ้าคุณมีเด็กป่วยที่บ้านแล้วล่ะก็มีหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อให้แน่ใจว่าลูกของคุณสบายใจและกำลังจะฟื้นตัว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

การทำให้เด็กที่กำลังป่วยสบายใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การป่วยนั้นอึดอัดและลูกของคุณอาจจะกังวลหรืออารมณ์เสียเพราะวิธีที่เขาหรือเธอรู้สึก การให้ความสนใจและการดูแลเป็นพิเศษกับลูกของคุณอาจจะช่วยได้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถ:
    • นั่งกับลูกของคุณ
    • อ่านหนังสือให้ลูกของคุณฟัง
    • ร้องเพลงให้ลูกของคุณ
    • จับมือลูกของคุณไว้
    • อุ้มลูกเล็กของคุณไว้ในอ้อมแขน
  2. อาการไออาจจะแย่ลงถ้าลูกของคุณนอนหงายราบ [1] เพื่อให้หัวลูกของคุณสูงขึ้น ให้ลองวางหนังสือหรือผ้าขนหนูใต้ฟูกในเปลทารกหรือใต้ขาเปลหรือเตียงทางหัวนอน
    • คุณยังสามารถเสริมหมอนให้ลูกของคุณหรือใช้หมอนรูปลิ่มเพื่อช่วยให้ตัวลูกตั้งขึ้น
  3. อากาศแห้งสามารถทำให้อาการไอหรือเจ็บคอแย่ลงได้ ลองใช้เครื่องทำความชื้นหรือเครื่องทำไอระเหยแบบไอเย็นเพื่อรักษาให้อากาศในห้องลูกของคุณชื้น ซึ่งนี่สามารถช่วยลดอาการไอ การคั่ง และไม่สบายตัวได้
    • ให้แน่ใจว่าเปลี่ยนน้ำในเครื่องทำความชื้นบ่อยๆ
    • ทำความสะอาดเครื่องทำความชื้นตามคำแนะนำของผู้ผลิตเพื่อป้องกันไม่ให้ราขึ้นข้างใน [2]
  4. รักษาบ้านของคุณให้เงียบและสงบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้ลูกของคุณพักผ่อนได้ง่ายขึ้น สิ่งรบกวนจากโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์จะขัดขวางการนอนหลับและลูกของคุณต้องการพักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ดังนั้นคุณจึงอาจจะลองนำอุปกรณ์ต่างๆ ออกไปจากห้องนอนของลูกหรืออย่างน้อยจำกัดการใช้อุปกรณ์ของลูก [3]
  5. ลูกของคุณอาจจะรู้สึกร้อนหรือหนาวขึ้นอยู่กับอาการป่วย ดังนั้นการปรับอุณหภูมิในบ้านอาจจะช่วยให้ลูกรู้สึกสบายขึ้น การรักษาให้บ้านของคุณมีอุณหภูมิอยู่ที่ระหว่าง 18-21 องศาเซลเซียสนั้นอาจจะเป็นประโยชน์ แต่คุณยังสามารถปรับอุณหภูมินี้ได้อีกถ้าลูกของคุณรู้สึกร้อนเกินไปหรือหนาวเกินไป
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกของคุณบ่นว่าเขาหรือเธอหนาวเกินไป ก็ให้เพิ่มความร้อนขึ้นเล็กน้อย ถ้าลูกของคุณบ่นว่าเขาหรือเธอร้อน ก็ให้เปิดเครื่องปรับอากาศหรือพัดลม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

การป้อนอาการเด็กที่ป่วย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การขาดน้ำสามารถทำให้อาการแย่ลงได้เมื่อลูกของคุณป่วย ป้องกันไม่ให้ลูกของคุณขาดน้ำโดยให้แน่ใจว่าลูกของคุณดื่มของเหลวบ่อยๆ [4] ให้ลูกของคุณกิน:
    • น้ำ
    • ไอศกรีมแท่ง
    • น้ำขิง
    • น้ำผลไม้เจือจาง
    • เครื่องดื่มเพิ่มอิเล็กโทรไลต์
  2. ให้ลูกของคุณกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่จะไม่ทำให้พวกเขาปวดท้อง ตัวเลือกของอาหารอาจจะขึ้นอยู่กับอาการของลูก ตัวเลือกที่ดี ได้แก่:
  3. แม้ว่ามันจะไม่ได้รักษาลูกของคุณให้หาย แต่ซุปไก่ร้อนๆ จะช่วยบรรเทาอาการหวัดและไข้หวัดใหญ่โดยจะทำให้เมือกเบาบางลงและทำหน้าที่เป็นสารต้านการอักเสบด้วย [7] มีสูตรสำหรับทำซุปไก่เองอยู่มากมาย แม้ว่าจะมีซุปไก่ที่โฆษณาทางโทรทัศน์หรือวิทยุอีกหลากหลายยี่ห้อที่ได้ผลดีเช่นกัน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

การรักษาเด็กป่วยที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ส่งเสริมลูกของคุณให้นอนหลับบ่อยเท่าที่เขาหรือเธอต้องการ อ่านนิทานให้ลูกฟังหรือให้ลูกฟังหนังสือเสียงเพื่อให้นอนหลับง่ายขึ้น [8] ลูกของคุณต้องการพักผ่อนมากที่สุดเท่าที่พวกเขาจะทำได้
  2. ใช้ยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปด้วยความระมัดระวัง. ถ้าคุณตัดสินใจที่จะให้ยา พยายามยึดติดอยู่กับผลิตภัณฑ์เดียว เช่น อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) หรือ ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) มากกว่าการสลับยาหรือให้ยารวมกัน สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรว่ายาไหนที่อาจจะเหมาะสมสำหรับลูกของคุณ [9]
    • อย่าให้ไอบูโพรเฟนกับเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน [10]
    • อย่าให้ยาแก้ไอและยาแก้หวัดกับเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี และจนกว่าจะอายุอย่างน้อย 8 ปีถ้าเป็นไปได้ ยาเหล่านี้มีศักยภาพที่จะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและยังไม่ได้รับการพิสูจน์ให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพมากเช่นกัน [11]
    • อย่าให้อะซิทิลซาลิไซลิก แอซิด (แอสไพริน) กับทารก เด็ก หรือวัยรุ่น เพราะอาจจะก่อให้เกิดโรคที่หายากแต่ร้ายแรงที่เรียกว่า โรคเรย์ซินโดรม (Reye's syndrome)
  3. ส่งเสริมให้ลูกของคุณกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ . เติมเกลือบริโภคธรรมดา ¼ ช้อนชาลงในน้ำอุ่น 250 มิลลิลิตร ให้ลูกของคุณกลั้วคอและบ้วนน้ำเกลือออกเมื่อเสร็จ การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ [12]
    • สำหรับเด็กเล็กหรือสำหรับอาการคัดจมูก คุณอาจจะใช้น้ำเกลือ ยาหยอดจมูก หรือยาพ่นจมูกได้ด้วย คุณสามารถทำน้ำเกลือพ่นจมูกเอง หรือซื้อได้ที่ร้านขายยา สำหรับเด็กทารกนั้นคุณสามารถใช้กระบอกฉีดยา เพื่อดูดจมูกหลังใช้ยาหยอดจมูกได้
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่รอบๆ ลูกของคุณและหลีกเลี่ยงการใส่น้ำหอมแรงๆ เลื่อนกิจกรรมอย่างเช่นการทาสีหรือการทำความสะอาดออกไปก่อน ไอระเหยสามารถทำให้คอและปอดของลูกระคายเคืองและทำให้อาการป่วยของพวกเขาแย่ลงได้ [13]
  5. เปิดหน้าต่างในห้องของลูกเป็นระยะๆ เพื่อให้อากาศสดชื่น ทำเช่นนี้ตอนลูกอยู่ในห้องน้ำเพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่หนาว [14] ให้ผ้าห่มลูกเพิ่มตามความจำเป็น
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

การไปพบแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใส่ใจอาการของการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นอาการป่วยที่อาจจะอันตรายซึ่งมักจะเกิดขึ้นทันที ติดต่อแพทย์ของลูกของคุณถ้าคุณคิดว่าลูกอาจจะเป็นไข้หวัดใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าลูกของคุณอายุน้อยกว่า 2 ขวบ หรือมีปัญหาทางการแพทย์ เช่น โรคหอบหืด อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่:
    • ไข้สูงและ/หรือตัวเย็น
    • ไอ
    • เจ็บคอ
    • น้ำมูกไหล
    • ความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือตามตัว
    • อาการปวดหัว
    • ความเหน็ดเหนื่อยและ/ หรือความอ่อนแอ
    • อาการท้องเสียและ/ หรืออาการอาเจียน [15]
  2. ตรวจสอบดูว่าลูกของคุณมีอาการหนาวสั่น ผิวหนังแดงก่ำ เหงื่อออก หรือตัวร้อนหรือไม่ ถ้าคุณไม่มีเครื่องวัดอุณหภูมิ [16]
  3. ถามลูกของคุณว่าเขาหรือเธอเจ็บปวดตรงไหนหรือเปล่า. ถามลูกว่าเขาหรือเธอเจ็บปวดมากแค่ไหนและปวดที่ไหน คุณยังอาจจะต้องการกดเบาๆ ยังจุดที่ลูกของคุณบ่นถึงเพื่อที่จะได้รู้ว่ารุนแรงแค่ไหน
  4. ใส่ใจกับอาการที่บ่งชี้ว่าลูกของคุณต้องให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ตรวจทันที อาการเหล่านี้ได้แก่:
    • ไข้ในเด็กอายุต่ำกว่าสามเดือน
    • อาการปวดหัวอย่างรุนแรงหรือคอแข็ง
    • การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการหายใจ โดยเฉพาะปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการหายใจ
    • การเปลี่ยนแปลงของสีผิว เช่น ดูซีด แดง หรือม่วงคล้ำมาก
    • เด็กปฏิเสธไม่ยอมดื่มของเหลวหรือหยุดปัสสาวะ
    • ไม่มีน้ำตาตอนร้องไห้
    • อาการอาเจียนอย่างรุนแรงหรือบ่อยๆ
    • เด็กตื่นยากหรือไม่ตอบสนอง
    • เด็กเงียบและเฉื่อยชาอย่างผิดปกติ
    • อาการฉุนเฉียวหรือเจ็บปวดอย่างมาก
    • ความเจ็บปวดหรือความดันในหน้าอกหรือท้อง
    • อาการเวียนหัวอย่างฉับพลันหรือเป็นเวลานาน
    • ความสับสน
    • อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ดีขึ้น แต่แล้วก็แย่ลง [17]
  5. คุยกับเภสัชกรในท้องถิ่นถ้าคุณไม่แน่ใจว่าลูกของคุณต้องให้แพทย์ตรวจหรือไม่ เขาหรือเธอสามารถช่วยระบุว่าอาการลูกของคุณต้องการการรักษาทางการแพทย์หรือไม่และสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับยาถ้าจำเป็น
    • คุณยังอาจจะโทรหาคลินิกได้อีกด้วย เนื่องจากจะมีคนพร้อมที่จะช่วยคุณตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรและจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลที่บ้านอยู่เกือบตลอดเวลา
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,171 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา