PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

น้ำส้มสายชูแบบขวดมีขายทั่วไปตามซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านของชำต่างๆ แต่บอกเลยว่าจะสะอาด ปลอดภัย รสชาติถูกใจกว่า แถมสนุกด้วย ถ้าลองทำน้ำส้มสายชูใช้เอง! ที่ต้องใช้ก็มีขวดโหลเปล่าสะอาดๆ แอลกอฮอล์นิดหน่อย “mother” (หัวเชื้อหมักน้ำส้มสายชู) และมีเวลาอย่างน้อย 2 เดือนสำหรับรอให้ “mother” หรือหัวเชื้อได้ออกฤทธิ์ พอคุณทำน้ำส้มสายชูสูตรธรรมดา แบบใช้กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วๆ ไปเป็นแล้ว จะลองทำน้ำส้มสายชูสูตรหมักจากไวน์ น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล น้ำส้มสายชูหมักจากข้าว หรือน้ำส้มสายชูบัลซามิกก็ได้ แต่อย่างหลังนี่ต้องอดใจรออย่างน้อย 12 ปีเลย

ส่วนประกอบ

  • หัวเชื้อสำหรับหมักน้ำส้มสายชู (“mother”) จะซื้อมาหรือทำเองก็ได้
  • ไวน์ 12 ออนซ์ (350 มล.) กับน้ำกลั่น 12 ออนซ์ (350 มล.)

หรือ

  • เบียร์ 24 ออนซ์ (700 มล.) หรือ hard cider (ABV อย่างน้อย 5%) คือไซเดอร์ที่หมักแรงเป็นแอลกอฮอล์
ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ใส่แอลกอฮอล์ในขวดโหลที่เตรียมไว้

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ล้างขวดโหลแก้วปากกว้างขนาด 64 ออนซ์ (2 ลิตร) ด้วยน้ำยาล้างจานให้สะอาด. จะใช้โถเซรามิก กระทั่งขวดไวน์เก่ามาบรรจุน้ำส้มสายชูก็ได้ แต่ถ้าเป็นขวดโหลแก้วปากกว้าง จะหาง่ายและใช้สะดวก ให้เปิดฝาและถอดขอบยางหรือขอบโลหะรองฝาออก (ไม่ต้องใช้) แล้วล้างขวดโหลให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างจานกับน้ำสะอาดอุ่นๆ [1]

    ถ้าจะทำน้ำส้มสายชู แค่ทีละน้อย ให้ใช้ขวดโหลขนาด 32 ออนซ์ (ประมาณ 1,000 มล.) แทน แล้วลดปริมาณแอลกอฮอล์ (และน้ำ) ที่เติมเข้าไป ให้เหลือครึ่งเดียว

  2. Watermark wikiHow to ทำน้ำส้มสายชูใช้เอง
    ต้มน้ำในหม้อ วางขวดโหลในอ่างล้างจาน แล้วค่อยๆ กรอกน้ำเดือดลงไปในขวด พอหายร้อนพอจับได้ ค่อยเทน้ำออกจากขวด ปกติขวดจะเย็นพอจับได้ใน 5 นาที [2]
    • อย่าให้ขวดเย็นจัดตอนเทน้ำเดือดลงไป เพราะอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงกะทันหันจนทำให้ขวดแตกได้ ให้ล้างขวดด้วยน้ำก๊อกก่อน ขวดจะได้อุ่นขึ้น ถ้าตอนแรกขวดเย็นเกินไป
    • วิธีนี้ใช้ฆ่าเชื้อขวดได้ แต่ไม่ถึงขั้นบรรจุอาหารหรือถนอมอาหารได้แบบปลอดเชื้อ แค่พอจะใช้ทำน้ำส้มสายชูเท่านั้น
  3. Watermark wikiHow to ทำน้ำส้มสายชูใช้เอง
    เทไวน์และน้ำสำหรับทำน้ำส้มสายชูหมักจากไวน์ ลงไปปริมาณ 12 ออนซ์ (350 มิลลิลิตร). พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือน้ำส้มสายชูเกิดจากการที่แบคทีเรียเปลี่ยนแอลกอฮอล์ (เอทานอล (ethanol)) เป็นกรดอะซิติก/แอซีติก (acetic acid) หรือกรดน้ำส้มนั่นเอง ขั้นตอนนี้จะเห็นผลที่สุด ถ้าของเหลวมีแอลกอฮอล์ 5% - 15% ABV (alcohol by volume) แต่ถ้าได้ 9% - 12% จะดีที่สุด ไวน์ส่วนใหญ่จะมี ABV ประมาณ 12% - 14% พอมาผสมน้ำในสัดส่วน 1:1 คืออย่างละ 12 ออนซ์ (350 มล.) จะได้น้ำส้มสายชูที่รสชาติดี และระดับความเป็นกรดไม่ขาดไม่เกิน [3]
    • ให้ใช้น้ำกลั่น อย่าใช้น้ำก๊อก จะได้ลดความเสี่ยงรสชาติเพี้ยน
    • ถ้าไม่อยากให้รสแหลมเกินไป ให้ใช้ไวน์ 8 ออนซ์ (250 มล.) กับน้ำเปล่า 16 ออนซ์ (500 มล.) แต่ถ้าอยากได้รสจัดๆ ให้ใช้ไวน์ในสัดส่วน 2:1
    • จะใช้ไวน์ขาวหรือไวน์แดงก็ได้ตามชอบ แต่ต้องเลือกไวน์ที่ไม่มี sulfites (อ่านที่ฉลากได้เลย)
  4. Watermark wikiHow to ทำน้ำส้มสายชูใช้เอง
    เติมเบียร์ หรือ hard cider 24 ออนซ์ (700 มิลลิลิตร) แทนไวน์. คุณทำน้ำส้มสายชูจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดไหนก็ได้ ที่มี ABV 5% ขึ้นไป เช็คที่ฉลากได้เลย ว่าเบียร์หรือไซเดอร์ที่จะใช้ เข้าข่ายหรือเปล่า จากนั้นก็เทลงไปโดยไม่ต้องเจือจางด้วยน้ำ [4]
    • จะใช้แอลกอฮอล์ชนิดอื่นที่ ABV สูงๆ ก็ได้ ขอแค่เจือจางด้วยน้ำก่อน เพื่อลด ABV เหลือ 15% หรือน้อยกว่า
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ใส่ “Mother” แล้วเก็บขวด

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ทำน้ำส้มสายชูใช้เอง
    “mother” จะมีแบคทีเรียที่จำเป็นต่อการเริ่มกระบวนการเปลี่ยน ethanol เป็นกรดอะซิติก mother นี้จะก่อตัวในไวน์ที่เปิดขวดทิ้งไว้ เป็นเหมือนก้อนเมือก ลอยอยู่บนผิวหน้า แต่จะหาซื้อ “mother” (มักขายในชื่อหัวเชื้อน้ำส้มสายชู หรือ “vinegar starter”) แบบเจลาติน หรือน้ำ มาใช้แทนก็ได้ มีขายตามร้านขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ร้านออร์แกนิก หรือออนไลน์ [5]
    • ถ้าซื้อ “mother” แบบเจลาตินมาใช้ ต้องอ่านฉลากให้ดีๆ ว่าใส่เท่าไหร่ แล้วตักใส่แอลกอฮอล์ในขวดโหล
    • ถ้าเป็นหัวเชื้อน้ำส้มสายชูแบบน้ำ ให้เทลงไป 12 ออนซ์ (350 มล.) หรือตามที่แนะนำไว้ในวิธีใช้
  2. ใช้ “mother” แบบโฮมเมดแทน ถ้าเคยเก็บไว้จากตอนทำน้ำส้มสายชูรอบก่อน. โดย “mother” จะเกิดขึ้นมาทุกครั้งที่ทำน้ำส้มสายชูแต่ละรอบ เพราะงั้นถ้าเคยทำน้ำส้มสายชูเองมาก่อน หรือเพื่อน/ครอบครัวเคยทำ ก็ใช้ “mother” ที่เกิดขึ้นในรอบที่แล้วได้เลย โดยตักขึ้นมาใส่ในขวดโหลใหม่ [6]
    • คุณทำขั้นตอนนี้ซ้ำไปมาได้เป็นปีๆ ตามต้องการ
    • จะใช้ “mother” ที่ได้จากน้ำส้มสายชูชนิดอื่น (เช่น ไวน์) ไปทำน้ำส้มสายชูอีกชนิด (เช่น ไซเดอร์) ก็ได้
  3. Watermark wikiHow to ทำน้ำส้มสายชูใช้เอง
    ปิดปากขวดด้วยผ้าขาวบางหรือทิชชู่หนาๆ แล้วรัดด้วยหนังยาง. ปิดปากขวดด้วยทิชชู่แผ่นหนาสำหรับซับน้ำมัน หรือผ้าขาวบางก็ได้ แล้วใช้หนังยางรัดปากขวดไว้ อะไรที่เอามาปิดปากขวดต้องระบายอากาศได้ดี อากาศจะได้ไหลเวียนในขวด [7]
    • แต่ก็อย่าถึงขั้นเปิดปากขวดทิ้งไว้ เพราะฝุ่นผงสิ่งสกปรกจะลงไปได้ หรือสุดท้ายกลายเป็นได้น้ำส้มสายชูที่มีแมลงวันลอยแอ้งแม้งแทน!
  4. เอาขวดไปเก็บในมืด อากาศถ่ายเท อุณหภูมิคงที่ เป็นเวลา 2 เดือน. ให้เก็บขวดไว้บนชั้นในตู้กับข้าวหรืออื่นๆ ที่ใกล้เคียง คือมืดหน่อยและอากาศถ่ายเทสะดวก โดยน้ำในขวดจะเปลี่ยนเป็นน้ำส้มสายชูในอุณหภูมิประมาณ 15 - 35 °C (60 - 95 °F) แต่ถ้าอุณหภูมิ 27 - 30 °C (80 - 85 °F) ได้จะดีที่สุด เพราะฉะนั้นให้เลือกจุดที่อุ่นๆ หน่อย [8]
    • ถ้าหาที่มืดๆ ไม่ได้ ก็ให้แรปขวดโหลด้วยผ้าเช็ดจานหนาๆ แทน โดยไม่ต้องปิดปากขวดด้วยผ้าขาวบางหรือทิชชู่แผ่นหนา
    • อย่าเขย่า คน หรือ (ถ้าเป็นไปได้) ย้ายที่ขวดโหล ในช่วง 2 เดือนแรก เพราะ “mother” จะได้ขึ้นง่าย และได้ผล
    • ในช่วง 2 เดือนนี้ จะได้กลิ่นน้ำส้มสายชู และอาจจะมีกลิ่นไม่ค่อยดีออกมาจากขวดโหล ก็ไม่ต้องสนใจ ทิ้งไว้จนครบ 2 เดือน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ชิมรสแล้วบรรจุขวด

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ทำน้ำส้มสายชูใช้เอง
    พอครบ 2 เดือน ให้ถ่ายน้ำส้มสายชูออกมาด้วยวิธีกาลักน้ำโดยใช้หลอด. แกะยางและผ้าหรือกระดาษปิดปากขวดออก จากนั้นใส่หลอดลงไปในน้ำ อย่าให้ “mother” หยุ่นๆ ที่ลอยอยู่บนผิวหน้าแตกตัว จากนั้นใช้นิ้วโป้งปิดหลอดอีกด้าน เพื่อกักน้ำส้มสายชูไว้ข้างใน จากนั้นเอาน้ำส้มสายชูไปปล่อยใส่แก้วใบเล็ก โดยเอานิ้วออกจากหลอด น้ำส้มสายชูจะไหลลงมา [9]
    • จะใช้หลอดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง หรือหลอดแบบใช้ซ้ำก็ได้เหมือนกัน
  2. ชิมรสน้ำส้มสายชูที่ถ่ายออกมา ถ้ายังไม่ได้ที่ ก็ให้ทิ้งไว้ต่อ. จิบเพื่อชิมรสน้ำส้มสายชู ถ้ารสอ่อนไป (เพราะกระบวนการหมักยังไม่ได้ที่) หรือรสเข้มแหลมไป (เพราะน้ำส้มสายชูจะรสเข้มขึ้นตามเวลา) ให้เก็บ แล้วหมักต่อไปอีก 2 อาทิตย์ [10]
    • ชิมรสต่อไปทุกๆ 1 - 2 อาทิตย์ จนได้ที่ตามต้องการ
  3. ตัก “mother” ขึ้นมา ถ้าจะเอาไปใช้ทำน้ำส้มสายชูรอบใหม่. ค่อยตักก้อนหยุ่นๆ ที่ลอยอยู่บนผิวน้ำส้มสายชูที่ได้ที่แล้ว ออกไปใส่ในขวดโหลใหม่ที่เตรียมน้ำสำหรับทำน้ำส้มสายชูไว้ (เช่น ไวน์ผสมน้ำในสัดส่วนที่เท่ากัน) แบบนี้ก็หมักน้ำส้มสายชูรอบใหม่ได้แบบโฮมเมดจริงๆ! [11]
    • หรือค่อยๆ เทน้ำส้มสายชูออกมาเกือบหมดขวด ให้เหลือติดก้นขวดเล็กน้อย โดยที่ “mother” ยังลอยอยู่ แล้วเติมแอลกอฮอล์เพิ่มไปในขวด ก็เริ่มหมักน้ำส้มสายชูขวดใหม่ได้ด้วยขวดโหลเดิม [12]
  4. พอตัก "mother" ออกไปจากขวดโหลที่ใช้หมักแล้ว (หรือเหลือติดขวดไว้) ก็ให้เทน้ำส้มสายชูใส่หม้อขนาดกลางแบบมีด้ามจับ แล้วยกขึ้นตั้งไฟอ่อนปานกลาง ใช้ probe thermometer หรือเทอร์โมมิเตอร์ก้านยาวสำหรับวัดอุณหภูมิอาหาร จุ่มเช็คดู ถ้าอุณหภูมิสูงเกิน 60 °C (140 °F) แต่ไม่ถึง 70 °C (160 °F) ก็ยกหม้อลงจากเตาได้เลย แล้วทิ้งให้น้ำส้มสายชูเย็นตัวลงจนเท่าอุณหภูมิห้อง
    • กระบวนการพาสเจอไรซ์น้ำส้มสายชูนี้ จะช่วยให้เก็บน้ำส้มสายชูไว้ใช้ต่อได้เรื่อยๆ ในภาชนะแก้ว ที่อุณหภูมิห้องตามปกติ และไม่โดนแสงหรือแดดแรงๆ [13]
    • จะข้ามขั้นตอนพาสเจอไรเซอร์ไปก็ได้ โดยจะยังเก็บน้ำส้มสายชูไว้ได้อีกหลายเดือน หรือกระทั่งหลายปี โดยที่คุณภาพและรสชาติแทบจะไม่เปลี่ยนไป แต่อย่างน้อยก็เป็นขั้นตอนง่ายๆ ที่แนะนำให้ทำ เพราะจะเก็บรักษาน้ำส้มสายชูโฮมเมดของคุณไว้ได้นานมาก โดยที่คงคุณภาพไว้ได้ดี
  5. Watermark wikiHow to ทำน้ำส้มสายชูใช้เอง
    กรอกน้ำส้มสายชูที่ได้ลงขวด โดยใช้กรวยกรอกน้ำและกระดาษกรอง. เอากระดาษกรองกาแฟแบบไม่ฟอกสี ใส่ในกรวยกรองน้ำ แล้วเอากรวยไปใส่ปากขวดแก้วสะอาดที่ฆ่าเชื้อแล้ว จะใช้ขวดไวน์เก่าก็ได้ ค่อยๆ กรอกน้ำส้มสายชูลงไปในขวดผ่านกระดาษกรอง จากนั้นปิดขวดโดยใช้จุกไม้ก๊อกหรือฝาเกลียวก็ได้ [14]
    • คุณฆ่าเชื้อขวดได้โดยล้างน้ำและน้ำยาล้างจานให้สะอาด จากนั้นเทน้ำเดือดลงไป ทิ้งไว้ 5 - 10 นาที
    • ติดป้ายประจำขวด บอกประเภทแอลกอฮอล์ที่ใช้ทำน้ำส้มสายชู และระยะเวลาที่ใช้ในการหมักน้ำส้มสายชู จากนี้ก็เอาไปมอบเป็นของขวัญ หรือเก็บเป็นสต็อกไว้ใช้เองได้เลย!
  6. อย่าใช้น้ำส้มสายชูโฮมเมดในการบรรจุอาหารกระป๋อง ถนอมอาหาร หรือเก็บในอุณหภูมิห้อง. น้ำส้มสายชูโฮมเมดเหมาะกับการน้ำไปเป็นน้ำสลัดและหมักอาหารอื่นๆ โดยที่อาหารนั้นต้องนำไปปรุงสุกหรือแช่ตู้เย็นต่อ แต่เพราะกรด (ค่า pH) จะต่างกันไปตามขวด ทำให้ไม่ปลอดภัยถ้านำไปใช้ในการถนอมอาหาร บรรจุอาหารกระป๋อง หรือใช้กับอาหารที่ต้องเก็บในอุณหภูมิห้อง [15]
    • ถ้าค่าความเป็นกรดต่ำไป น้ำส้มสายชูจะกันเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคตัวอันตราย อย่าง e. Coli ในอาหารที่จะถนอมไม่ได้
    • กระทั่งพาสเจอไรซ์น้ำส้มสายชูแล้วก็ไม่ได้ แต่ตัวน้ำส้มสายชูเองจะเก็บในอุณหภูมิห้องได้ (ไม่ว่าจะพาสเจอไรซ์แล้วหรือยังก็ตาม) โดยเก็บในที่มืดๆ เย็นๆ
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

สูตรทางเลือก

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองทำน้ำส้มสายชูหมักจากเมเปิ้ลไซรัป เพื่อให้ได้รสชาติไม่เหมือนใคร. สำหรับน้ำเริ่มต้นปริมาณ 24 ออนซ์ (700 มล.) ให้ผสมเมเปิ้ลไซรัปแท้ 15 ออนซ์ (450 มล.) กับ dark rum (รัมสีเข้มดำ) 5 ออนซ์ (150 มล.) และน้ำกลั่น 4 ออนซ์ (120 มล.) เข้าด้วยกัน แล้วทำตามขั้นตอนการหมักน้ำส้มสายชูทั่วไป ที่อธิบายไว้ด้านบน [16]
    • รสชาติของน้ำส้มสายชูหมักจากเมเปิ้ลไซรัปจะเข้มข้น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เหมาะจะใช้ราดพวกแตงย่าง หรือไก่อบ
  2. Watermark wikiHow to ทำน้ำส้มสายชูใช้เอง
    ถ้าอยากได้น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลธรรมดา ก็ไม่ต้องใส่แอลกอฮอล์. เอาแอปเปิ้ลประมาณ 2 กก. (4 ปอนด์) ไปปั่นในเครื่องผสมอาหาร แล้วห่อผ้าขาวบาง คั้นแยกกาก เอาแต่น้ำหมัก 24 ออนซ์ (700 มล.) หรือใช้น้ำแอปเปิ้ล/แอปเปิ้ลไซเดอร์ 100% แบบออร์แกนิกแทนก็ได้ โดยหมักน้ำส้มสายชูตามขั้นตอนปกติด้านบนของบทความ [17]
    • ถึงสูตรนี้จะไม่มีแอลกอฮอล์ผสม แต่น้ำตาลในน้ำแอปเปิ้ลก็เพียงพอให้ “mother” ออกฤทธิ์แล้ว อาจจะใช้เวลาหมักนานหน่อย กว่าจะกลายเป็นน้ำส้มสายชูรสชาติได้ที่
  3. ลองหมักน้ำส้มสายชูจากน้ำผึ้ง แบบไร้แอลกอฮอล์. ให้ต้มน้ำกลั่น 12 ออนซ์ (350 มล.) แล้วเทน้ำผึ้ง 12 ออนซ์ (350 มล.) ลงไป คนผสมให้เข้ากัน ทิ้งไว้ให้เย็นลงจนอุ่นกว่าอุณหภูมิห้องเล็กน้อย (แต่ไม่เกิน 35 °C (95 °F)) จากนั้นทำตามสูตรด้านบนของบทความได้เลย [18]
    • ก็เหมือนน้ำส้มสายชูหมักจากน้ำแอปเปิ้ล คือน้ำตาลในน้ำผึ้งเพียงพอจะเป็นสารอาหารให้ “mother” จนเกิดกระบวนการหมักได้
    โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ขวดโหลแก้ว 64 ออนซ์ (2 ลิตร)
  • ผ้าขาวบาง หรือทิชชู่ซับมันหนาๆ
  • หนังยาง
  • หลอดพลาสติก หรือหลอดที่ใช้ซ้ำได้
  • หม้อขนาดกลางแบบมีด้ามจับ
  • เทอร์โมมิเตอร์แบบมีปลายแหลม (Probe thermometer) สำหรับวัดอุณหภูมิอาหาร
  • ขวดไวน์เปล่าสะอาดๆ ที่มีจุกปิดด้วย
  • กรวยกรอกน้ำ
  • กระดาษกรองกาแฟแบบไม่ฟอกสี

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 24,811 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา