PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าคุณจะกำลังต้องการใช้แป้งไม่มีกลูเตน (gluten-free) แป้งทั่วไป หรือแค่อยากประหยัดงบ ก็ผสมแป้งข้าวเจ้าใช้เองได้ ง่ายนิดเดียว ใช้แค่เครื่องครัวต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น เครื่องปั่น (ถ้าจะผสมแป้งในปริมาณมาก) หรือเครื่องปั่นกาแฟ (ถ้าผสมในปริมาณน้อย) ถ้าต้องใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นประจำ แนะนำให้ลงทุนหาซื้อเครื่องบดเมล็ดข้าวโดยเฉพาะมาใช้เลย ว่าแล้วก็มาทำแป้งใช้เองกันดีกว่า!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้เครื่องปั่น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ) . ถ้าใส่ข้าวไปในเครื่องปั่นทีเดียวหมด จะติดเป็นก้อน ปั่นไม่ไปได้ ถ้าใส่ไปทีละนิด ใบมีดจะปั่นตัดได้มีประสิทธิภาพกว่า บดข้าวได้ละเอียด [1]
    • วิธีกะง่ายๆ คือข้าว 1 ถ้วยตวง (240 มล.) จะได้แป้งข้าวเจ้าประมาณ 1 1/2 ถ้วยตวง (350 มล.) [2]
    • จะใช้ข้าวขาวหรือข้าวกล้องก็ได้ ขอแค่เป็นข้าวสาร ไม่ใช่ข้าวสวย

    ข้าวขาว vs. ข้าวกล้อง

    ใช้อบขนมได้ดีกว่า: ข้าวกล้อง จะรสชาติออกหวานๆ ถั่วๆ หน่อย

    ถูกกว่า: ข้าวขาว ข้าวกล้องถือว่าเป็นอะไรที่พิเศษกว่า เลยทำให้ราคาแพงกว่า

    คุณค่าทางอาหารมากกว่า: ข้าวกล้อง เพราะมีรำข้าว ถ้าเป็นข้าวขาวจะไม่มี แบบนี้ข้าวกล้องเลยมีโปรตีนและไฟเบอร์มากกว่า

    เก็บได้นานกว่า: ข้าวขาว น้ำมันในข้าวกล้องทำให้เสียเร็วกว่า

    เบากว่า: ข้าวขาว แป้งข้าวกล้องจะแน่นกว่า อบขนมออกมาหนักกว่า

  2. เปิดเครื่องปั่น ใช้รอบปั่นสูงสุด เพื่อให้เห็นผลที่สุด แป้งที่ได้จะนุ่มเนียน ไม่เหลือก้อนแข็งๆ [3]
    • ปั่นข้าวสารเยอะๆ จะทำให้ใบมีดของเครื่องปั่นบิ่นได้ ถ้าต้องบดข้าวทำแป้งทีละเยอะๆ หรือบ่อยๆ ให้ลงทุนซื้อเครื่องปั่นแพงๆ ที่ทนทานกว่ามาใช้
    • ยิ่งแป้งละเอียด ก็ยิ่งใช้ดี เวลาเอาไปอบขนมหรือทำอาหารอื่นๆ
  3. ถ่ายแป้งใส่ภาชนะสูญญากาศ แล้วปิดฝาให้มิดชิด. เพราะถ้าอากาศรั่วไหลเข้าไปในภาชนะที่ปิดไม่สนิท แป้งจะเสียเร็วขึ้น คุณจะใช้ภาชนะพลาสติกหรือแก้ว กระทั่งขวดโหล ก็ได้ทั้งนั้น [4]
    • ถ้าใช้ถุงซิปล็อค ให้บีบไล่อากาศส่วนเกินออกมาก่อนรูดปิดปากถุง
  4. ถ้ายังไม่ใช้ ก็เก็บแป้งในตู้กับข้าวได้ถึง 1 ปี. ถึงคุณจะเก็บแป้งไว้ได้นานมาก แต่ส่วนใหญ่จะเริ่มเก่า มีกลิ่นอับ เมื่อผ่านไป 1 ปี ยิ่งถ้าแป้งขึ้นรา หรือเริ่มส่งกลิ่นแปลกๆ ให้รีบทิ้งไป [5]
    • ถ้าอยากรู้ว่าควรทิ้งแป้งเมื่อไหร่ ให้ใช้ปากกาเคมีหรือติดสติกเกอร์บอกวันหมดอายุไว้ ก็คือ 1 ปีนับจากวันที่ทำแป้ง ถ้าในตู้มีแป้งหลายๆ ชนิดรวมกัน ให้เขียน “แป้งข้าวเจ้า” ติดไว้
    • ถ้าเอาแป้งแช่ตู้เย็นหรือแช่ช่องฟรีซไว้ จะยิ่งทำให้แป้งอยู่ได้นานขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้เครื่องบดเมล็ดกาแฟ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่งั้นจะกลายเป็นแป้งข้าวเจ้ารสกาแฟไป! ให้ใช้แปรงขัดหรือไม้พายเล็กๆ กำจัดเศษกาแฟออกจากใบมีดให้หมด [6]
    • ห้ามเอานิ้วไปจับแถวใบมีด และถอดปลั๊กเครื่องบดกาแฟก่อนทำความสะอาดเสมอ
    • จะใช้พู่กันหรือแปรงสีฟันเก่า ทำความสะอาดซอกมุมที่เข้าถึงยากก็ได้
  2. ) . เครื่องบดกาแฟจะทำให้ข้าวสารกลายเป็นแป้งเนียนนุ่ม แนะนำให้บดข้าวทีละน้อยๆ จะได้ไม่จับเป็นก้อน บดลำบาก หรือเป็นภาระให้ใบมีด [7]
    • ถ้าสังเกตว่าเครื่องบดกาแฟเริ่มร้อน ก็ให้ถอดปลั๊ก แล้วทิ้งไว้จนเย็นลง 2 - 3 นาที ค่อยบดต่อ
    • ถ้าแป้งที่ได้หยาบไปหลังการบดครั้งแรก ให้เอาไปบดต่อรอบ 2 บางทีเครื่องบดกาแฟที่เก่าไป ใบมีดบิ่น เสื่อมแล้ว ก็บดข้าวได้ไม่ละเอียดพอ
  3. พอบดข้าวเสร็จแล้ว ให้เอาแป้งที่ได้ใส่ภาชนะพลาสติกหรือแก้ว จากนั้นปิดฝาภาชนะให้สนิท เพื่อรักษาให้แป้งสดใหม่อยู่เสมอ [8]
    • ถ้าไม่มีกล่องพลาสติก จะใช้ขวดโหลแก้วที่มีฝาปิด หรือถุงซิปล็อคก็ได้
  4. ให้เอาภาชนะใส่แป้ง เก็บในตู้กับข้าวหรือตู้เก็บของแห้ง จนกว่าจะถึงเวลาต้องนำออกมาใช้ ถ้าเริ่มมีกลิ่นเปรี้ยว ฉุน ก็ทิ้งแป้งไปได้เลย [9]
    • ถ้ากลัวลืม “วันหมดอายุ” ของแป้ง ให้ใช้ปากกาเคมีหรือสติกเกอร์ติดวันหมดอายุของแป้งไว้ที่ภาชนะ
    • ถ้าแช่แป้งไว้ในตู้เย็นหรือช่องฟรีซ ก็จะทำให้เก็บได้นานยิ่งขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้เครื่องบดเมล็ดข้าว

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางเครื่อง setting สูงสุดจะเขียนว่า “pastry” (เบเกอรี่ หรือขนมอบ) ให้ดันสวิตช์เปิดเครื่องบดข้าว หลังปรับ setting แล้ว [10]
    • ตัว settings ที่เป็นแผงหรือปุ่ม ใช้ปรับว่าอยากบดข้าวออกมาเป็นแป้งที่หยาบหรือละเอียดแค่ไหน ถ้า setting ต่ำหน่อย ก็จะได้แป้งหยาบเป็นต้น
    • ให้เปิดเครื่องก่อนเติมข้าวลงไปเสมอ
  2. ถังจะบดข้าวอัตโนมัติ ผ่านเข้าไปในเครื่อง แล้วเป็นแป้งอยู่ในกระบอกติดกัน ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้ช้อนหรืออุปกรณ์อื่นดันข้าวลงไปกลาง hopper จะช่วยให้บดข้าวเร็วขึ้น [11]
    • ถ้าแป้งออกมาไม่ละเอียดอย่างที่คิด ให้เอาใส่ hopper แล้วบดอีกรอบ
  3. จะรู้ได้ว่าบดข้าวเสร็จแล้ว ก็คือเสียงเครื่องจะแหลมๆ เบาๆ หน่อย ให้ดันสวิตช์ปิดเครื่องได้เลย [12]
    • บดข้าวเสร็จแล้วอาจจะเดินเครื่องต่อไปอีก 5 วินาที เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้าวตกค้างในเครื่อง
  4. เอากระบอกใส่แป้งออกจากเครื่อง แล้วเทแป้งใส่ภาชนะ. กระบอกนี้จะถอดจากเครื่องได้ง่าย พอเทแป้งข้าวเจ้าใส่ภาชนะสูญญากาศเรียบร้อยแล้ว ให้ปิดฝาให้สนิท โดยกดให้มีเสียงล็อคหรือดูดเข้าไป [13]
    • ใช้ช้อนขูดแป้งที่เกาะตามข้างกระบอกลงไปในภาชนะด้วย จะได้ไม่เสียเปล่า
    • ถ้าไม่มีกล่องทัพเพอร์แวร์ จะใช้ถุงซิปล็อคแทนก็ได้
  5. เก็บแป้งในตู้กับข้าว ตู้เย็น หรือช่องฟรีซได้นาน 1 ปี. พอครบ 1 ปี จะสังเกตว่าแป้งเริ่มเสียรสชาติ และมีกลิ่นอับๆ ยิ่งถ้าแป้งขึ้นรายิ่งต้องรีบทิ้ง [14]
    • แนะนำให้เก็บแป้งในที่มืดๆ เย็นๆ และต้องเป็นที่ที่แห้งด้วย
    • แต่เก็บแป้งไว้ในตู้เย็นหรือช่องฟรีซ จะป้องกันไม่ให้แป้งเสียเร็วได้ดีที่สุด
    • อย่าลืมติดป้ายหรือใช้ปากกาเคมีเขียนวันหมดอายุของแป้งไว้ที่ภาชนะด้วย รวมถึงเขียนไว้ว่าในภาชนะนั้นใส่อะไรไว้ (เช่น “แป้งข้าวเจ้า”) คู่กับวันหมดอายุ
    โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

ใช้เครื่องปั่น

  • เครื่องปั่น
  • ภาชนะสูญญากาศ
  • ปากกาเคมีชนิดลบไม่ได้ หรือฉลากสำหรับติด (ถ้ามี)

ใช้เครื่องบดเมล็ดกาแฟ

  • เครื่องบดเมล็ดกาแฟ
  • แปรงขัดหรือไม้พายเล็กๆ
  • ภาชนะสูญญากาศ
  • ปากกาเคมีชนิดลบไม่ได้ หรือฉลากสำหรับติด (ถ้ามี)

ใช้เครื่องบดเมล็ดข้าว

  • เครื่องบดเมล็ดข้าว
  • ภาชนะสูญญากาศ
  • ช้อน (ไม่บังคับ)
  • ปากกาเคมีชนิดลบไม่ได้ หรือฉลากสำหรับติด (ถ้ามี)

เคล็ดลับ

  • ใช้เครื่องผสมอาหารแทนเครื่องปั่นก็ได้ โดยใช้งานตามคำแนะนำและข้อควรระวังในคู่มือ
  • ถ้ามีงบ จะเล่นใหญ่หาเครื่องบดข้าวมาใช้เลยก็ได้ เพราะจะทำให้ได้แป้งข้าวเจ้าที่เนียนขึ้น ในกรณีที่ไม่พอใจกับผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องปั่นหรือเครื่องบดกาแฟ
  • ข้าวกล้องจะให้สารอาหารเยอะกว่าข้าวขาว
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าใช้ข้าวสวยสำเร็จรูปพร้อมทาน ให้ใช้ข้าวสารที่ยังไม่ได้หุง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 43,858 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา