PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ความสามารถในการสร้างความสุขให้กับคนรอบข้างเป็นทักษะเฉพาะตัวอันยอดเยี่ยมที่สามารถช่วยสร้างเสน่ห์ให้กับคุณและดึงดูดผู้คนให้เข้ามาหาคุณมากขึ้น พยายามทำให้ผู้คนรอบข้างรู้สึกมีความสุขด้วยการแสดงความเอาใจใส่ต่อพวกเขา สนทนาอย่างเป็นมิตรโดยเน้นการฟังมากกว่าพูดและพยายามทำความรู้จักพวกเขามากยิ่งขึ้น รวมถึงชื่นชมในความสำเร็จและจดจำรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับผู้คนรอบข้างเพื่อให้พวกเขารู้สึกเป็นคนสำคัญ นอกจากนี้ การสร้างทัศนคติที่ดีบวกกับการมีอารมณ์ขันก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถส่งต่อความสุขไปยังผู้คนรอบข้างได้เช่นกัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

สนทนาอย่างเป็นมิตร

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามอย่าครอบครองการสนทนา เพราะหากคุณเป็นผู้พูดเพียงฝ่ายเดียว คู่สนทนาของคุณอาจรู้สึกว่าพวกเขามีหน้าที่ฟังเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในทางกลับกัน ควรปล่อยให้พวกเขาได้พูดคุยอย่างเต็มที่และเสริมข้อมูลต่างๆ หลังจากที่พวกเขาพูดจบแล้ว การแสดงความสนใจในสิ่งที่ผู้สนทนาต้องการสื่อออกมาจะทำให้คุณดูเป็นคนสุภาพและเอาใจใส่ต่อผู้อื่น [1]
    • อย่าพูดแทรกผู้สนทนาในระหว่างที่พวกเขากำลังพูดอยู่ เพราะไม่ว่าใครก็คงไม่ชอบถูกขัดจังหวะในขณะพูดทั้งนั้น ปล่อยให้พวกเขาพูดสิ่งที่ต้องการจนจบเรียบร้อยก่อนเสมอ
    • และแน่นอน คุณควรตอบคำถามทุกครั้งเมื่อคู่สนทนาถามคำถามใดๆ แต่อย่าเพิ่งรีบหาโอกาสครั้งต่อไปที่คุณจะได้พูดคุยเกี่ยวกับตัวเองและปล่อยให้คู่สนทนาได้พูดคุยอย่างเต็มที่
  2. ให้การสนทนาดำเนินอย่างต่อเนื่องด้วยการถามไถ่สารทุกข์สุขดิบกับคู่สนทนาเพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขาได้พูดคุยเรื่องราวต่างๆ กับคุณอย่างเปิดใจ เพราะไม่ว่าใครต่างก็ดีใจเมื่อมีใครสักคนฟังสิ่งที่พวกเขาพูดอย่างตั้งอกตั้งใจ แม้เพียงคำถามทั่วไปอย่าง “วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง” ก็สามารถทำให้พวกเขารู้สึกได้ถึงความห่วงใยของคุณได้ [2]
    • อย่าถามแต่คำถามทั่วไปเพียงอย่างเดียว พยายามแสดงให้ผู้สนทนาเห็นว่าคุณกำลังรับฟังอย่างตั้งใจด้วยการถามไถ่เรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขากำลังเล่าให้คุณฟังอยู่
    • ยกตัวอย่างเช่น หากคู่สนทนากำลังพูดคุยเกี่ยวกับทริปเที่ยววันหยุดของพวกเขาและเล่าให้ฟังว่ายางรถยนต์เกิดแบนขึ้นมาระหว่างทาง คุณอาจถามขึ้นมาว่า “แล้วคุณซ่อมยางรถยนต์ได้อย่างไร” นอกจากจะแสดงให้เห็นว่าคุณสนใจในเรื่องราวที่พวกเขาเล่าแล้ว คู่สนทนายังรู้สึกว่าคุณกำลังรับฟังอย่างตั้งใจอีกด้วย
  3. งดใช้มือถือหรือคอมพิวเตอร์ในระหว่างการสนทนา. อย่าเบี่ยงเบนความสนใจไปยังสิ่งอื่นในระหว่างการสนทนากับผู้อื่น เพราะการมัวแต่ดูมือถือหรือคอมพิวเตอร์นั้นจะทำให้คุณดูไม่มีมารยาทและแสดงให้เห็นว่าคุณไม่ได้ให้ความสนใจในผู้สนทนา ดังนั้นเก็บมือถือของคุณลงกระเป๋าหรือละสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ในขณะกำลังพูดคุยกับผู้อื่น รวมถึงสบตาคู่สนทนาเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังตั้งใจรับฟังพวกเขา [3]
    • หากคุณจำเป็นต้องดูมือถือ อย่าลืมกล่าวขอโทษคู่สนทนาและพูดว่า “ขออนุญาตใช้มือถือสักครู่นะครับ/คะ”
    • หากคุณค่อนข้างยุ่งจริงๆ และไม่สะดวกคุยในขณะนั้น ให้ปฏิเสธการสนทนาอย่างสุภาพโดยพูดว่า “ผม/ฉันอยากคุยกับคุณต่ออีกสักนิดแต่ดันมีธุระทางโทรศัพท์เข้ามาพอดี เจอกันโอกาสหน้าครับ/ค่ะ”
  4. แสดงท่าทีตื่นเต้นเมื่อคู่สนทนาเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้คุณฟัง และหากพวกเขาแจ้งข่าวดีหรือเล่าเรื่องความสำเร็จต่างๆ อย่าลืมที่จะแสดงความยินดีกับพวกเขาอย่างจริงใจ เพียงแค่คุณกล่าวชื่นชมว่า “เยี่ยมไปเลย” ก็สามารถทำให้คู่สนทนามีความเชื่อมั่นในความสำเร็จของตัวเองและรู้สึกว่าคุณให้ความสำคัญกับความสำเร็จนั้น [4]
    • บางคนอาจรู้สึกเขินอายเมื่อได้รับคำชื่นชมจากคุณ ดังนั้นหากพวกเขาพูดประมาณว่า “ไม่ขนาดนั้นหรอก” คุณอาจพูดเสริมว่า “ผม/ฉันเพียงแค่รู้สึกยินดีไปกับคุณจริงๆ” วิธีนี้จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคุณและคู่สนทนาได้โดยไม่ทำให้พวกเขารู้สึกอึดอัดใจ
  5. หากผู้อื่นแสดงความยินดีหรือชื่นชมคุณในระหว่างการพูดคุย ให้คุณกล่าวขอบคุณอย่างจริงใจและหาโอกาสชื่นชมพวกเขากลับไป นอกจากทำให้คุณดูเป็นคนสุภาพแล้วยังแสดงให้เห็นถึงความใจกว้างของคุณอีกด้วย [5]
    • สมมติว่าเพื่อนร่วมงานของคุณกล่าวชื่นชมไอเดียที่คุณนำเสนอในการประชุมในวันนี้ คุณอาจตอบรับคำชมโดยพูดว่า “ขอบคุณครับ/ค่ะ ผม/ฉันดีใจจริงๆ ที่คุณชอบไอเดียนั้น ด้วยความสามารถของคุณ ผม/ฉันมั่นใจว่าเราจะสามารถทำมันได้สำเร็จอย่างแน่นอน”
  6. เป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ในบางครั้งคุณอาจไม่เห็นด้วยกับความเชื่อหรือความเห็นของคู่สนทนา อย่างไรก็ตาม พยายามให้บทสนทนายังคงราบรื่นดังเดิมด้วยการหลีกเลี่ยงการวิจารณ์และปล่อยให้พวกเขาพูดถึงความเห็นนั้นโดยไม่แสดงอาการขัดแย้งใดๆ การทำเช่นนี้จะทำให้คู่สนทนารู้สึกไว้วางใจและมีความสุขในการพูดคุยกับคุณ [6]
    • คุณสามารถแสดงความไม่เห็นด้วยได้โดยไม่จำเป็นต้องแสดงท่าทีต่อต้าน เพียงพูดว่า “แม้ผม/ฉันอาจจะเห็นต่างจากคุณเล็กน้อย แต่ก็เข้าใจในมุมมองของคุณเช่นกัน” เพื่อแสดงให้พวกเขาเห็นว่าถึงแม้คุณจะรู้สึกไม่เห็นด้วย แต่คุณยังคงเคารพในความคิดเห็นของพวกเขา
    • หากต้องการหลีกเลี่ยงการโต้แย้ง เพียงมองข้ามความเห็นของพวกเขาและพยายามเปลี่ยนหัวข้อสนทนา
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ทำให้คนรอบข้างรู้สึกสำคัญ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การจดจำรายละเอียดต่างๆ ของผู้คนรอบข้างจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและแสดงให้เห็นว่าคุณมีความใส่ใจในสิ่งที่พวกเขาพูด เพราะหากคุณลืมสิ่งที่พวกเขาเล่าให้คุณฟังทุกครั้ง คนรอบข้างก็จะรู้สึกว่าคุณไม่ได้ตั้งใจรับฟังพวกเขาเท่าไรนัก พยายามจดจำรายละเอียดต่างๆ ในเรื่องที่พวกเขาเล่าให้คุณฟังเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคุณและผู้คนรอบข้าง [7]
    • และอย่าลืมถามไถ่เพิ่มเติมในเรื่องที่พวกเขาเล่าให้ฟัง ยกตัวอย่างเช่น มีคนบอกคุณในวันศุกร์ว่าพวกเขาจะไปคอนเสิร์ตในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ หากคุณเจอหน้ากันอีกครั้งในวันจันทร์ ลองถามพวกเขาดูว่าคอนเสิร์ตเป็นอย่างไรบ้าง การทำเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าคุณไม่ได้ฟังไปเพียงส่งๆ และใส่ใจในสิ่งที่พวกเขาพูดจริงๆ
    • หากคุณมีปัญหาในเรื่องการจดจำสิ่งต่างๆ ลองฝึกบริหารสมองเพื่อ กระตุ้นให้ความจำดีขึ้น
  2. กิริยาท่าทางหรือภาษากายบางอย่างเป็นสิ่งที่สามารถแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังตั้งใจรับฟังได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการพยักหน้า การมองตา หรือการแสดงอารมณ์ต่างๆ ทางใบหน้าไปกับเรื่องราวของพวกเขาก็สามารถทำให้คู่สนทนามองเห็นว่าคุณให้ความสนใจในสิ่งที่พวกเขาเล่าให้ฟังจริงๆ หลีกเลี่ยงการฟังเฉยๆ โดยไม่มีการตอบรับใดๆ เพื่อไม่ให้พวกเขารู้สึกว่าคุณไม่ให้สนใจในบทสนทนามากนัก [8]
    • หากมีคนเล่าให้คุณฟังเกี่ยวกับเรื่องที่น่าเหลือเชื่อ คุณอาจเบิกตากว้างและทำหน้าตาตกใจเพื่อให้คู่สนทนารู้สึกว่าคุณให้ความสนใจในสิ่งที่พวกเขาเล่าให้ฟังจริงๆ
    • คุณยังสามารถแสดงความสนใจด้วยอวัจนภาษาได้แม้จะไม่ได้เป็นการพูดคุยกันโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น หากเพื่อนร่วมงานกำลังนำเสนองานในที่ประชุม สายตาของคุณควรมองไปยังผู้พูดในขณะที่พวกเขากำลังพูดอยู่ รวมถึงพยักหน้าตอบรับในประเด็นที่พวกเขาพูดพร้อมทั้งจดบันทึกตาม การทำเช่นนี้เป็นการบ่งบอกถึงการให้เกียรติและแสดงความเคารพต่อผู้พูด
  3. การชมเชยและยกย่องสามารถทำให้ผู้อื่นรู้สึกเป็นคนสำคัญ ลองหาโอกาสแสดงความชื่นชมต่อคนรอบข้างบ้าง แต่ต้องระวังอย่าให้มากเกินพอดี เพราะการเอ่ยปากชื่นชมผู้อื่นพร่ำเพรื่อกลับจะทำให้คำชื่นชมของคุณดูเสแสร้งแทน พยายามชื่นชมคนรอบข้างด้วยความจริงใจและเอ่ยปากชมเพียงครั้งเดียวเท่านั้นโดยไม่ต้องพูดซ้ำ [9]
    • หยุดแสดงความชื่นชมต่อหากคู่สนทนาตอบรับคำชื่นชมแล้ว เมื่อพวกเขากล่าวขอบคุณแล้ว อย่าพูดต่อว่า “ไม่นะ เธอทำได้ดีจริงๆ” เพราะคำชมของคุณจะดูไม่มีน้ำหนักในทันที
  4. การชมเชยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวกันเป็นการส่วนตัวเท่านั้น หากคนที่คุณรู้จักประสบความสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คุณก็สามารถกล่าวชื่นชมพวกเขาให้คนอื่นๆ ได้รับรู้ด้วยได้เช่นกัน พวกเขาจะรู้สึกยินดีเมื่อได้เห็นหลายๆ คนให้ความสำคัญกับความสำเร็จของพวกเขา [10]
    • คุณไม่จำเป็นต้องแสดงอาการชื่นชมให้ดูใหญ่โตมากนัก เพียงกล่าวชื่นชมต่อหน้าทุกคนโดยพูดว่า “ผม/ฉันต้องขอขอบคุณคุณจอห์นสำหรับผลงานที่ยอดเยี่ยมเหล่านี้” การพูดสั้นๆ เพียงเช่นนี้ก็สามารถมอบเครดิตให้กับจอห์นได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องมีพิธีรีตองมากมาย
    • อย่างไรก็ตาม หากพวกเขาต้องการให้คุณเก็บเงียบไว้โดยไม่บอกใคร คุณควรเคารพการตัดสินใจของพวกเขา เพราะพวกเขาอาจต้องการเป็นฝ่ายบอกด้วยตนเองหรือรู้สึกเขินอายที่จะบอกให้ผู้อื่นรู้
  5. เขียนจดหมายขอบคุณเมื่อผู้อื่นทำอะไรให้กับคุณ. การทำให้คนรอบข้างรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้พวกเขารู้สึกเป็นคนสำคัญ ดังนั้นหากมีคนให้ความช่วยเหลือกับคุณ ลองเขียนจดหมายหรืออีเมลแสดงความขอบคุณโดยบรรยายเกี่ยวกับความช่วยเหลือที่คุณได้รับและบอกให้พวกเขาทราบว่าคุณรู้สึกดีเพียงใด [11]
    • คุณยังสามารถแสดงความขอบคุณเป็นการส่วนตัวได้เช่นกัน ลองหาโอกาสพบหน้าพวกเขาเพื่อกล่าวขอบคุณ โดยอาจพูดว่า “ผม/ฉันแวะมาหาเพื่อต้องการขอบคุณสำหรับความช่วยเหลือที่คุณมอบให้” เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณตั้งใจมาหาพวกเขาเพื่อกล่าวขอบคุณโดยเฉพาะ
    • หากไม่สะดวกพบหน้าพวกเขาจริงๆ คุณอาจโทรหาพวกเขาเพื่อกล่าวขอบคุณแทนได้เช่นกัน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ส่งต่อพลังบวก

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลีกเลี่ยงการซุบซิบนินทาหรือพูดถึงผู้อื่นในเชิงลบ. การนินทาผู้อื่นลับหลังเป็นการสร้างบรรยากาศที่ไม่เป็นมิตรและเต็มไปด้วยความขัดแย้ง และหากคุณโดนตราหน้าจากคนอื่นๆ ว่าเป็นคนขี้นินทา คงแทบไม่มีใครอยากข้องเกี่ยวหรือมีปฏิสัมพันธ์ใดๆ กับคุณ พยายามหลีกเลี่ยงการซุบซิบนินทาและทำให้ตัวเองเป็นคนที่ใครๆ ก็สามารถเข้ามาพูดคุยได้อย่างสบายใจเพื่อให้ผู้คนรอบข้างรู้สึกมีความสุขเมื่อได้อยู่ใกล้ๆ คุณ [12]
    • กฎทองคำ (Golden Rule) หรือหลักประพฤติที่ให้ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตัวเองสามารถนำมาปรับใช้ในเรื่องนี้ได้อย่างดีเยี่ยม ลองคิดดูว่าคุณคงไม่อยากให้คนอื่นๆ นินทาคุณลับหลังอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นคุณอย่าเป็นฝ่ายแพร่กระจายข่าวซุบซิบนินทาของผู้อื่นเสียเอง
  2. ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตัวเอง. หลักประพฤตินี้เรียกว่า “กฎทองคำ” (Golden Rule) กล่าวคือ หากคุณต้องการให้ผู้คนรอบข้างรู้สึกมีความสุข เพียงลองนึกว่าอะไรบ้างที่จะทำให้คุณมีความสุขได้แล้วจึงปฏิบัติเช่นเดียวกันกับผู้คนรอบข้าง เพียงนำกฎข้อนี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน คุณก็จะเป็นคนที่น่าคบค้าสมาคมด้วยอย่างแน่นอน [13]
    • ลองนึกภาพดูว่าหากคุณกำลังพูดคุยอยู่กับใครคนหนึ่งแล้วคุณไปล้อเลียนเรื่องวงดนตรีโปรดของพวกเขา คุณจะรู้สึกดีหรือไม่หากมีคนมาทำแบบเดียวกันนี้กับคุณ ดังนั้นลองทบทวนการกระทำของตัวเองดูอีกครั้งและกล่าวขอโทษพวกเขาอย่างจริงใจ
  3. ยิ้ม เยอะๆ. การยิ้มจะช่วยให้คุณอารมณ์ดีและมีความสุข ทั้งยังสามารถส่งต่ออารมณ์เชิงบวกไปยังผู้คนรอบข้างได้ ลองยิ้มบ่อยๆ แล้วคุณจะดูเป็นมิตรจนไม่ว่าใครก็อยากเข้ามาพูดคุยกับคุณ [14]
    • ทุกครั้งที่คุณทักทายคนอื่น ให้คุณกล่าวสวัสดีด้วยรอยยิ้มทุกครั้ง เพียงเท่านี้คุณก็สามารถส่งต่ออารมณ์เชิงบวกไปยังผู้คนรอบข้างได้ง่ายๆ
    • การยิ้มกว้างมากจนเกินไปอาจทำให้รอยยิ้มกลับดูไม่จริงใจแทนได้ คุณจึงควรยิ้มโดยยกมุมปากขึ้นเพียงเล็กน้อยเพื่อให้รอยยิ้มของคุณดูเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น
  4. มี อารมณ์ขัน . การมีอารมณ์ขันสามารถช่วยลดความตึงเครียดและเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวก และที่สำคัญกว่านั้น การเป็นคนสนุกสนานยังสร้างแรงดึงดูดให้ผู้คนรอบข้างอยากเข้ามาพูดคุยกับคุณมากยิ่งขึ้น พยายามหัวเราะบ่อยๆ และสร้างความสุขให้กับคนอื่นๆ เพื่อส่งต่อพลังบวกไปยังผู้คนรอบข้าง [15]
    • จำไว้ว่าการมีอารมณ์ขันไม่ใช่เพียงการเล่าเรื่องตลกเท่านั้น แต่หมายถึงการทำตัวร่าเริงเข้าไว้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นและมองหาด้านดีๆ ในสถานการณ์ที่เลวร้าย รวมถึง คิดบวก อยู่เสมอเมื่อคนรอบข้างรู้สึกไม่สบายใจ
    • อย่างไรก็ตาม คุณควรมีอารมณ์ขันพอประมาณและไม่เกินพอดี หลีกเลี่ยงการเล่นมุกตลกที่ไม่เหมาะสมและเพลาๆ ลงหากผู้ฟังดูไม่ขบขันไปกับคุณ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จำไว้ว่าแต่ละสถานการณ์ล้วนมีความแตกต่างกัน หากมีเรื่องน่าเศร้าเกิดขึ้น อาจไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมเท่าไรนักที่จะแสดงความตลกขบขันของคุณออกมา ดังนั้นลองประเมินสถานการณ์ให้ดีและปฏิบัติตัวให้เหมาะสม
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,202 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา