ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การบริจาคเลือด เปรียบเสมือนการเสียสละเพียงเล็กน้อย เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ ขั้นตอนการบริจาคเลือดนั้นไม่ยุ่งยาก โดยเริ่มจากการติดต่อองค์กรที่เราต้องการจะบริจาค เพื่อประเมินและตรวจร่างกายว่าพร้อมจะบริจาคหรือไม่ หากพร้อม จะต้องเตรียมรูปถ่ายที่้เป็นทางการ 2 ใบ สวมเสื้อแขนสั้นและเครื่องแต่งกายที่หลวมเล็กน้อย รับประทานอาหารและดื่มน้ำให้เพียงพอ นอกจากนั้นยังมีข้อควรรู้เพิ่มเติม ที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้ไม่เกิดอันตรายจากการบริจาคเลือดดังต่อไปนี้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมพร้อมก่อนบริจาคเลือด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ศึกษาเงื่อนไขก่อนว่าคุณสามารถบริจาคได้หรือไม่. การจะบริจาคเลือดได้ต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ และมีน้ำหนักถึงเกณฑ์ คือประมาณ 50 กิโลกรัมเป็นอย่างต่ำ(สำหรับในไทยคือ 45 กิโลกรัม) แต่ในบางที่ อาจกำหนดไว้แค่ 16 ปีก็สามารถบริจาคได้ แต่ต้องอยู่ภายในการอนุญาตของผู้ปกครอง จากนั้นให้ติดต่อไปที่องค์กรที่รับบริจาคเพื่อสอบถามความต้องการขององค์กร. [1]
    • แต่จะมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เลือดที่บริจาคไม่ได้คุณภาพเท่าที่หากผู้บริจาคมีภาวะดังนี้เป็นไข้ ตั้งครรภ์ มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะมาแล้ว [2]
    • การรับประทานยาจำพวก ยาต้านเศร้า ยาคุมกำเนิด และยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ในช่วงที่จะบริจาคเลือดจะทำให้มีสารตกค้างในเลือด จึงไม่สามารถบริจาคได้ [3]
  2. สำหรับในประเทศไทยก็คือ สภากาชาด ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการรับบริจาคเลือด และสามารถค้นหาเพิ่มเติมได้จากลิงค์นี้หากสนใจเพิ่มเติมสำหรับในต่างประเทศ [4] [5] [6]
    • สำหรับในสหรัฐอเมริกา สามารถลงชื่อในเว็บไซต์ของ American Red Cross และค้นหาสถานที่ที่ต้องการบริจาคได้ [7]
    • นอกจากสภากาชาด ก็ยังมีองค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่อำนวยความสะดวกในการรับบริจาคเลือดด้วยเช่นเดียวกัน
  3. หากร่างกายมีน้ำเพียงพอจะทำให้เลือดที่ได้มีคุณภาพดี โดยควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 450 มิลลิลิตรก่อนบริจาคเลือด โดยเป็นน้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มที่ปราสจากคาเฟอีนจะดีที่สุด [8]
    • การดื่มน้ำมากๆ จะทำให้ไม่วิงเวียนศีรษะขณะบริจาคเลือด
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มกาเฟอีนเช่น กาแฟ หรืออื่นๆ เพราะจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้นหากดื่มในปริมาณมาก
  4. รับประทานอาหารให้พอเหมาะไม่มากไม่น้อยเกินไป สัก 2-3 ชั่วโมงก่อนบริจาคเลือด. โดยต้องไม่ให้ท้องว่างก่อนไปบริจาคเลือด สำหรับอาหารที่ควรรับประทานคือ ผลไม้ ผัก คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน(เช่น ขนมปัง พาสต้า หรือ มั่นฝรั่ง) อาหารที่มีกากใย และโปรตีนที่ไม่ติดมัน [9]
    • รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กเพิ่มเติมในช่วงสัปดาห์ก่อนจะบริจาคเลือด โดยการรับประทานเนื้อสัตว์สีแดง ผักโขม ถั่ว ปลา สัตว์ปีก เนื่องจากร่างกายต้องการธาตุเหล็กในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง [10]
    • การรับประทานอาหารที่ไขมันสูง จะทำให้ไขมันอยู่ในกระแสเลือดมาก ซึ่งมีผลต่อความบริสุทธิ์ของเลือด ทำให้เลือดขุ่น เพราะฉะนั้นควรจำกัดปริมาณไขมันในอาหารที่จะรับประทาน
  5. โดยส่วนมากองค์กรที่รับบริจาคเลือดจะต้องการเอกสารยืนยันตัวตนประมาณ 2 อย่าง เพื่อดูใบหน้าที่แท้จริง อาจจะเป็นใบอนุญาตขับขี่ หนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวทหาร ในบางแห่งอาจรับบัตรนักศึกษาด้วย โดยเพียงคุณยื่นบัตรที่โต๊ะให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเมื่อเข้าไปถึงที่นั่น [11]
    • อย่าลืมบัตรประจำตัวผู้บริจาคเลือดหากมีอยู่แล้ว เพื่อข้ามขั้นตอนที่ยุ่งยาก ทำให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น [12]
  6. จะทำให้บริจาคได้รวดเร็วขึ้น โดยเลือกสวมเสื้อแขนสั้น หรือเป็นแขนยาวที่สามารถม้วนหรือพับขึ้นได้ง่าย เนื่องจากทำให้สามารถหาตำแหน่งเจาะเลือดได้สะดวก และเครื่องแต่งกายควรหลวมเล็กน้อย เพื่อไม่ให้อึดอัด [13]
    • หากวันนั้นอากาศหนาวแล้วต้องใส่เสื้อหลายตัว ควรเลือกสวมเสื้อที่ถอดออกได้ง่าย
    • แม้อากาศจะไม่หนาวมาก แต่การสวมเสื้อกันหนาวหรือเสื้อคลุมบางๆ เตรียมไว้ ก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะหลังเจาะเลือดออกไป ร่างกายจะรู้สึกหนาวขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ทำอย่างไรให้บริจาคเลือดได้อย่างราบรื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยเจ้าหน้าที่จะให้กรอกข้อมูลเล็กน้อยเกี่ยวกับประวัติการรักษาทางการแพทย์ เช่น อาการเจ็บป่วย อาการบาดเจ็บจ่างๆ หรือความผิดปกติอื่นๆ ที่เคยเป็นมาก่อน โดยควรตอบตามความเป็นจริงและถูกต้อง [14]
    • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาที่รับประทาน หรือ รายละเอียดเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
    • ทางที่ดี หากกลัวลืม สามารถเขียนโน้ตไว้ล่วงหน้าว่าเคยมีอาการหรือได้รับการรักษาทางการแพทย์อะไรมาบ้าง
  2. เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจร่างกายคร่าวๆ อย่างเช่น ตรวจชีพจร ความดันโลหิต ความเข้มข้นของเม็ดเลือดว่าปกติหรือไม่ รวมถึงบันทึกน้ำหนัก ส่วนสูง เพศ และอายุ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะจัดแขนให้อยู่ในท่าเตรียมพร้อมและใช้สายรัดรัดบริเวณที่จะเจาะเส้นเลือด
    • การตรวจที่กล่าวมานี้ เป็นการตรวจเพื่อประเมินสภาวะสุขภาพของผู้บริจาค เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริจาคมีสุขภาพที่ดี
  3. เจ้าหน้าที่จะให้เลือกว่าจะนั่งหรือนอนก็ได้ตามสะดวกขณะบริจาคเลือด จากนั้นให้ผ่อนคลาย ทำตัวสบายๆ จากนั้นจะรู้สึกสะดุ้งเล็กน้อยหลังที่เข็มจิ้มเข้าไป และจะรู้สึกเย็นๆ ขณะที่เครื่องสูบเลือดออกจากร่างกาย
    • โดยปกติจะใช้เวลาบริจาคประมาณ 8-10 นาที จึงจะได้เลือด 1 ถุง
  4. อาจจะเลือกอ่านหนังสือ เล่นโทรศัพท์มือถือ หรือฟังเพลง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ หากไม่ได้เตรียมอะไรมา อาจใช้วิธีชวนคุยกับเจ้าหน้าที่หรือแพลนสิ่งที่ต้องทำไว้ในหัว เวลาเพียง 8-10 นาทีอาจจะดูเหมือนนาน แต่อันที่จริงแล้วเร็วกว่าที่คุณคิด [15]
    • แต่ต้องไม่ขยับมากเกินไป ต้องวางแขนไว้นิ่งๆ
    • หากคุณรู้สึกกลัวเมื่อเห็นเลือด ให้มองไปรอบๆ แทน เพื่อทัศนียภาพที่ดีกว่า [16]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การฟื้นตัวหลังบริจาคเลือด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลังจากบริจาคเลือด ให้พักให้สบายสัก 15-20 นาที โดยส่วนมากสถานที่ที่ไป จะมีมุมสำหรับพักผ่อนเพื่อให้รู้สึกมีแรงขึ้นก่อนเดินทางกลับ และหากรู้สึกวิงเวียนศีรษะนานกว่า 24 ชั่วโมงหลังจากบริจาค ให้นอนหงายวางเท้าขึ้นสูง จะทำให้รู้สึกดีขึ้น [17]
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก เช่น ออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือทำสวน อย่างน้อย 4-5 ชั่วโมงหลังบริจาคเลือด
    • ระมัดระวังอาการหน้ามืด ความดันโลหิตที่ต่ำจะส่งผลให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะ ควรจับราวบันไดขณะเดินขึ้นหรือลงบันได หรือควรมีคนช่วยพยุงจนกระทั่งอาการปกติ [18]
  2. โดยปิดไว้ประมาณ 5 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ อาจรัดข้ามคืนแล้วแกะออกตอนเช้า เพื่อป้องกันการบวมหรืออักเสบ หากยังมีจุดเลือดคั่งอยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง ให้ประคบเย็นบริเวณที่มีอาการ [19]
    • หากมีการรัดทับอีกทบหนึ่ง สามารถแกะออกได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง เพื่อให้เลือดที่แขนกลับมาไหลเวียนได้
    • ล้างบริเวณที่รัดไว้ด้วยน้ำสบู่และน้ำอุ่นเพื่อป้องกันการเกิดผื่นแดงหรือติดเชื้อ
  3. ดื่มน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มปราศจากกาเฟอีนติดต่อกันอย่างน้อย2-3 วัน เพื่อให้มั่นใจร่างกายไม่ขาดน้ำ เพราะน้ำเปล่าทำให้เลือดไม่หนืด และทำให้ร่างกายหายจากความเหนื่อยล้าหรือวิงเวียนภายในไม่กี่ชั่วโมง [20]
    • เป็นปกติหากจะรู้สึกเพลียหลังจากบริจาคเลือด เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำไปมากกว่าปกติ
    • ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลังจากบริจาคอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เนื่องจากแอลกอฮอล์มีผลทำให้เลือดจับตัวกันยากขึ้น มีผลทำให้อาการแย่ลงและเสี่ยงเลือดออกได้ง่าย [21]
  4. เว้นช่วงอย่างน้อย 8 สัปดาห์ก่อนที่จะบริจาคซ้ำอีกครั้ง. เนื่องจากต้องใช้เวลา 56 วัน ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือด หากพ้น 8 สัปดาห์ไปแล้ว ความเข้มข้นของเลือดก็จะกลับมาปกติ ไม่เสี่ยงอันตรายจากการบริจาคเลือดซ้ำ [22]
    • หากต้องการบริจาคเกล็ดเลือดเพียงอย่างเดียว ครั้งต่อไปสามารถบริจาคเลือดส่วนอื่นได้ภายใน 3 วัน หรือบริจาคเลือดทุกส่วนได้อีกครั้ง ภายใน 1 สัปดาห์ [23]
    • ไม่มีการจำกัดจำนวนครั้งของการบริจาคเลือด ในความเป็นจริงแล้ว การบริจาคเลือดบ่อยๆ ยิ่งเป็นการท้าทายและสร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเองมากขึ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ชักชวนเพื่อนมาบริจาคเลือดดูสิ นอกจากจะเป็นประสบการณ์ที่ดีแล้วยังได้ช่วยเหลือผู้อื่นอีกด้วย
  • แม้เป็นเบาหวานชนิดที่1ก็สามารถบริจาคเลือดได้ หากระดับอินซูลินในเลือดปกติ
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนหากมีข้อสงสัยหรือกังวลเกี่ยวกับการบริจาคเลือด
โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณเป็นโรคตับอักเสบ เอชไอวี/เอดส์ หรือมีประวัติเรื่องสารเสพติดเมื่อไม่นานมานี้ การบริจาคเลือดอาจเป็นอันตรายได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,534 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา