ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ค่านิยมส่วนบุคคลเป็นเงาสะท้อนความต้องการ ความปรารถนา และสิ่งที่เราให้ความสำคัญมากที่สุดในชีวิต ค่านิยมต่างๆ ร่วมกันเป็นแรงขับชั้นดีที่จะแสดงอัตลักษณ์คนเราออกมา ทั้งอาจมองได้ว่าเป็นตัวชี้นำการตัดสินใจอันจะช่วยยึดโยงเราเข้ากับตัวตนที่แท้จริงของเราก็ว่าได้ [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง การระบุค่านิยมส่วนบุคคลจะช่วยให้คุณรู้ว่าตัวเองควรทำอะไรและควรเลี่ยงอะไร คุณจะใช้ชีวิตโดยมีเข็มทิศชีวิตที่แข็งแรงที่มาจากภายในตัวคุณ และค่านิยมส่วนบุคคลนี้ยังสามารถเป็นเครื่องเตือนว่าอะไรคือสิ่งที่คุณยึดมั่นในขณะที่ตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากคุณอาจตกอยู่ใต้ความกดดันและทำอะไรลงไปตามมาตรฐานความเชื่อของคนอื่นๆ เพราะเหตุนี้ การรู้จักค่านิยมส่วนบุคคลจะช่วยให้คุณเป็นตัวของตัวเองได้ในทุกขณะการใช้ชีวิต
ขั้นตอน
-
หาเวลาให้ตัว “คุณ” เอง. เพราะในการระบุค่านิยมส่วนบุคคลจำเป็นที่จะต้องให้เวลากับตัวเอง จึงต้องแน่ใจว่าคุณมีพื้นที่ให้กับตัวเองพอที่จะคิดถึงค่านิยมเหล่านั้น [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง พยายามปิดโทรศัพท์ ฟังเพลงสบายๆ หรือทำอะไรก็ตามที่ช่วยให้คุณผ่อนคลายและมีสมาธิกับปัจจุบัน
-
จดบันทึกช่วงเวลาที่มีความสุขและทุกข์ที่สุด. [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง นึกถึงประสบการณ์ในช่วงที่มีความสุขสุดๆ และช่วงเวลาตกต่ำที่สุด บันทึกรายละเอียดและความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของความทรงจำ จดเฉพาะเรื่องราวที่มีผลกระทบต่อชีวิตและความอยู่ดีมีสุขของคุณมากที่สุดแทนที่จะเลือกเรื่องที่คุณได้รับการชื่นชมหรือการยอมรับจากผู้อื่น
- ตัวอย่างเช่น ช่วงเวลาแห่งความสุขสุดๆ อาจเป็นค่ำคืนสุดพิเศษที่ได้อยู่กับเพื่อนสนิท มันอาจจะไม่ใช่เหตุการณ์ที่คุณประสบความสำเร็จที่สุดในชีวิต แต่เป็นเหตุการณ์ที่คุณได้รู้จักตัวเองมากขึ้นอย่างมาก และรู้จักการผูกสัมพันธ์และแบ่งปันกับผู้อื่น
- มองหาประเด็นหลักที่ปรากฏอยู่ในความทรงจำ ทั้งดีและไม่ดี ที่มีผลต่อคุณมากที่สุดมันอาจจะเป็นเรื่องความเชื่อทางการเมืองหรือจิตวิญญาณ เกือบจะแน่นอนเลยว่าคุณจะพบสองสามสิ่งที่กระตุ้นความรู้สึกอยุติธรรม ความโศกเศร้า ความโกรธ หรือความรู้สึกทั้งหมดนี้อย่างแรงกล้า สังเกตดูว่ามันมีอะไรขาดหายไปและพยายามหาคุณค่าจากความทรงจำที่ทำให้คุณมีความสุขที่สุดให้เจอ
-
พิจารณาค่านิยมที่ปรากฏในความเป็นมนุษย์. คนเราต่างมีความต้องการขั้นพื้นฐานที่ค่อนข้างจะเหมือนกันอยู่ ซึ่งมีที่มาจากพื้นฐานทางร่างกายและวิวัฒนาการของวัฒนธรรมมนุษย์ [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Maslow, Abraham Harold. "A theory of human motivation." Psychological review 50.4 (1943): 370. สิ่งที่เราให้คุณค่าที่สุดแล้วก็มาจากความต้องการของคนเราทั้งสิ้น--นี่เป็นเหตุว่าทำไมเราถึงมีความเชื่ออย่างแรงกล้าและยึดถือค่านิยมของเรา! ตรวจสอบดูความต้องการของคนเราจะช่วยให้คุณมีแรงผลักอันทรงพลังที่จะนำคุณไปสู่ค่านิยมส่วนบุคคลของคุณ มนุษย์เกือบจะทุกคนต่างมีความต้องการ ได้แก่:
- ความอยู่ดีมีสุขด้านร่างกาย (เช่น อาหาร การพักผ่อน ความปลอดภัย)
- ความสามารถในการควบคุมตนเอง (เช่น การเลือก เกียรติศักดิ์ศรี การแสดงออก)
- ความสงบสุข (เช่น การยอมรับ ความหวัง ความสบายใจ)
- ความหมาย (เช่น การเฉลิมฉลอง การมีส่วนร่วม ความเข้าใจ)
- ความผูกพันเชื่อมโยง (เช่น ความอบอุ่นใจ ความเคารพ การนึกถึงผู้อื่น)
- ความสนุก (เช่น การผจญภัย ความขำขัน ความปิติยินดี)
-
ร่างค่านิยมส่วนบุคคลออกเป็นข้อๆ. รวมเอาคุณค่าที่มีผลกับคุณอย่างลึกซึ้งที่คุณอยู่โดยไม่ยึดถือมันไม่ได้ ที่นี้ คุณก็จะสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ส่วนตัวเข้ากับค่านิยมของวัฒนธรรมและความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบที่เกี่ยวกับชีวิตของคนเราได้
- ให้แน่ใจว่าคำที่คุณใช้สื่อถึงสิ่งที่สะท้อนตัวคุณได้อย่างดีจริงๆ ตัวอย่างเช่น หากคุณมองว่าความสามารถในการกระตุ้นตัวเองและทำงานต่างๆ เสร็จสิ้นโดยไม่ต้องพึ่งใครเป็นสิ่งที่มีคุณค่า คุณอาจจดลงไปว่า “ฉันให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระและความเป็นปัจเจก” เช่นเดียวกัน หากคุณให้คุณค่ากับการช่วยเหลือคนที่ต้องการความช่วยเหลือ คุณอาจจดว่า “ฉันให้คุณค่ากับการได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยไม่หวังอะไรและไม่ตัดสินอะไรเขา”
- ลองเริ่มจากค่านิยม 7-10 ข้อ พึงระลึกไว้ว่ามันอาจจะดีกว่าถ้าเจาะจงให้เหลือแค่ 3-4 ข้อหลักๆ
-
จดบันทึกไว้ว่าปกติแล้วคุณใช้ค่านิยมเหล่านี้อย่างไร. ค่านิยมนั้นต่างจากกลยุทธ์ที่คุณใช้ในเพื่อที่จะเข้าในค่านิยมเหล่านั้น หลายครั้งที่กลยุทธ์เหล่านั้นมีที่มาจากความเชื่อ ความศรัทธาที่คุณได้รับการปลูกฝังจากครอบครัว การที่รู้ว่าคุณมีแนวโน้มที่จะปรับใช้ค่านิยมเหล่านั้นอย่างไรจะทำให้คุณมีความเข้าใจค่านิยมเหล่านี้ลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งมันจะนำคุณไปสู่การทำสิ่งต่างๆ ที่คุณภาคภูมิใจมากที่สุด
- ตัวอย่างเช่น คุณอาจให้คุณค่ากับการเป็นที่นิยมชมชอบของคนในสังคม แต่คุณใช้วิธีใส่เสื้อผ้าแพงๆ เพื่อเพิ่มฐานะของคุณหรือโดยการเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนล่ะ หากคุณให้ความสำคัญกับความสงบสุขและความเป็นระเบียบอย่างมาก คุณจัดบ้านของคุณและใช้น้ำมันหอมระเหยที่บ้านหรือไม่ หรือคุณได้จัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวหรือเปล่า ให้คุณเชื่อมโยงค่านิยมของคุณเข้ากับชีวิตประจำวันของคุณด้วย
โฆษณา
-
สังเกตดูว่าอะไรที่ทำให้คุณมีพฤติกรรมบางอย่าง. ทางหนึ่งที่จะแน่ใจว่าคุณให้คุณค่ากับอะไรจริงๆ ก็คือการใช้เวลาสักวันกับสิ่งที่ทำให้คุณมีพฤติกรรมบางอย่าง หากคุณให้คุณค่ากับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากๆ แล้วสิ่งนั้นถูกคุกคามขึ้นมา คุณจะรู้สึกกระวนกระวาย หวั่นไหว หรือแม้แต่รู้สึกโกรธ บางสิ่งที่คุณได้ยินหรือเห็นในข่าวก็อาจจะทำให้คุณทำอะไรบางอย่างได้ [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่างเช่น อาจมีคนบอกเจ้านายของคุณว่าเสื้อกล้ามตัวใหม่ของคุณไม่เหมาะสมที่จะใส่มาทำงาน แทนที่จะไม่คิดอะไรมากหลังจากหงุดหงิดไปสักครู่หนึ่งแล้ว คุณอาจรู้สึกโกรธมากหรือใกล้จะระเบิดอารมณ์ออกมาแล้ว หากคุณเป็นแบบนี้ อาจเป็นไปได้ว่าค่านิยมส่วนบุคคลที่คุณยึดถือมากที่สุดสองข้อก็คือ การยอมรับและความสามารถในการควบคุมตัวเอง
-
ทดสอบค่านิยมด้วยการสังเกตการตัดสินใจที่มาจากค่านิยมนั้นๆ. การทดสอบนี้ใช้ได้ทั้งในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจที่เป็นเรื่องจริงหรือแค่ในจินตนาการ ถ้าคุณให้คุณค่ากับความเป็นอิสระ และคุณกำลังคิดที่จะย้ายไปอยู่ด้วยกันกับคนรัก คุณมีทางเลือกอะไรใดๆ บ้าง เมื่อดูจากค่านิยมของคุณ หากคุณให้คุณค่ากับการพักผ่อนและอะไรๆ ที่ไม่ต้องวางแผน แต่ถ้าคุณต้องทำงานที่ต้องทำถึง 70 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คุณจะเลี่ยงความเครียดและความขัดแย้งภายในได้อย่างไร ในสถานการณ์เช่นนี้ ความเข้าใจในค่านิยมของตนเองสามารถช่วยให้คุณตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่สะท้อนการดูแลตัวเองของคุณ [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- รับรู้ไว้ว่าคุณจะสามารถเห็นค่านิยมของตนเองอย่างชัดเจนที่สุดขณะที่คุณกำลังตัดสินใจอะไรสักอย่างจริงๆ บางครั้งคนเราก็ให้ความชื่นชอบค่านิยมบางประการมากไปจนคิดไปว่ามันจะนำเราไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งมันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป
-
ตัดสินใจว่าคุณจะแสดงความเห็นแย้งกับเรื่องอะไร. หากคุณตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากต่อการยึดถือค่านิยมของคุณ คิดให้ดีๆ ว่าจะแสดงความเห็นออกไปหรือไม่ หากต้องอยู่ในสถานการณ์ที่คุณไม่สามารถยึดถือค่านิยมของคุณได้ คุณจะออกจากมาสถานการณ์นั้นดีมั้ย ค่านิยมข้อไหนของคุณที่กำลังถูกคุณคาม และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
- สมมติว่าคุณกำลังคบหากับใครสักคนที่ไม่ยินดีกับการทำงานหนักของคุณ และคุณเองก็ให้คุณค่ากับการที่ผู้คนยอมรับในความอุตสาหะของคุณ มันเป็นปัญหาที่คุณแก้ได้ด้วยการพูดคุยหรือไม่ คุณจะสามารถอยู่ได้โดยการพึ่งคนชื่นชมกับความดีของคุณแทนที่จะเป็นคนรักของคุณได้หรือไม่ หรือเป็นไปได้มั้ยที่จะนับเอาความชื่นชมยินดีในแบบที่คนรักของคุณแสดงออกมาร่วมด้วย
- ความเป็นไปได้อีกข้อหนึ่งคือ คุณมีความรู้สึกบางอย่างหากต้องแสดงความไม่เห็นด้วยกับเรื่องหรือสาเหตุของมันในชุมชนของคุณ บางทีคุณอาจหงุดหงิดกับการลดการให้ทุนกับโรงเรียนรัฐบาล – เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณอยากจะรับรู้หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในทางไหนบ้างหรือไม่ อาจเป็นได้ว่าค่านิยมเรื่องความใส่ใจในเด็กและเยาวชนในอนาคตเป็นเรื่องที่จะต้องลงมือทำให้มันเป็นจริง
-
จดค่านิยมออกมาเป็นข้อๆ เป็นรอบสุดท้าย. ค่านิยมเหล่านี้ควรจะเป็นสิ่งที่มีรากฐานมาจากสิ่งแรกๆ ที่คุณให้ความสำคัญ นอกจากนี้ ให้คุณบูรณาการเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการจดบันทึกและทดสอบค่านิยมของตัวเองเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่างๆ ตั้งเป้าในการระบุค่านิยมให้ชัดเจนให้ได้สัก 3-4 ข้อ
- จำไว้ ค่านิยมเหล่านี้เป็นอาวุธทรงประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้คุณก้าวผ่านแต่ละช่วงชีวิตได้อย่างดี ค่านิยมส่วนตัวอาจจะเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาชีวิต นี่เป็นเพราะค่านิยมเหล่านั้นของคุณเป็นองค์ประกอบที่ทรงพลังในการสร้างคุณ หมายความว่ามันสามารถเปลี่ยนแปลงและเติบโตได้เช่นเดียวกับตัวคุณเอง!
-
บันทึกค่านิยมที่ขัดแย้งกันไว้. ไม่เหมือนกับจารีตและทัศนคติ ค่านิยมเป็นสิ่งที่ประกอบสร้างระบบความสำคัญอันเป็นระเบียบแบบแผนขึ้น [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง นี่หมายความว่าคุณอาจพบว่าค่านิยมไหนที่เติมเต็มสิ่งสำคัญในชีวิตคุณ ไม่เพียงแค่มันจะ “ไม่” เป็นปัญหา แต่มันยังสามรถทำให้ชีวิตน่าสนใจขึ้นกว่าเดิมด้วย ให้อ่านค่านิยมที่จดออกมาและลากเส้นความสัมพันธ์ข้อที่น่าจะขัดแย้งกัน คุณก็จะได้ความรู้ความเข้าใจลึกซึ้งว่าอะไรที่สร้างแรงกดดันที่เป็นประโยชน์กับชีวิตของคุณ
- ตัวอย่าเช่น คุณอาจให้คุณค่ากับพื้นที่ของตัวเอง “และ” ความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุนสนับสนุนกันและกันอย่างไม่มีเงื่อนไข หากมันจริงสำหรับคุณ คุณจะเข้าใจว่าการมีพื้นที่เป็นของตนเองจะต้องได้รับการจัดการให้ลงตัวควบคู่กับคุณค่าอื่นๆ เพื่อนที่จะสนับสนุนเพื่อนหรือคนที่คุณรักยามใดที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ขณะที่การหาสมดุลให้กับค่านิยมที่อาจขัดแย้งกันเหล่านี้อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย การรู้ล่วงหน้าก็จะช่วยให้คุณตัดสินใจอะไรๆ ได้ดียิ่งขึ้น
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.jstor.org/stable/1519843?seq=1#page_scan_tab_contents
- ↑ http://www.aarp.org/health/healthy-living/info-2015/meditation-cure.html
- ↑ http://www.mindtools.com/pages/article/newTED_85.htm
- ↑ Maslow, Abraham Harold. "A theory of human motivation." Psychological review 50.4 (1943): 370.
- ↑ http://scholarworks.gvsu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1116&context=orpc
- ↑ http://www.mindtools.com/pages/article/newTED_85.htm
- ↑ http://scholarworks.gvsu.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1116&context=orpc
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,496 ครั้ง
โฆษณา