PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเรามีอาการเล็บขบ แต่ปล่อยไว้ ไม่ยอมรักษาให้หาย เล็บของเราอาจติดเชื้อได้ สัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าเล็บของเราติดเชื้อคือมีอาการปวดตุบๆ มีหนอง และกลิ่น ถ้าแน่ใจว่าเล็บของเราติดเชื้อ ก็ควรไปพบแพทย์ ถ้าเราพบว่าตนเองมีอาการเล็บขบระยะแรก เราอาจป้องกันไม่ให้เล็บติดเชื้อได้ด้วยการแช่เท้าในน้ำเกลืออุ่นๆ สามครั้งต่อวัน เราสามารถป้องกันอาการเล็บขบด้วยการตัดเล็บให้ถูกวิธี ใส่รองเท้าที่พอดีเท้า และพักเท้าหลังจากเล่นกีฬาและออกกำลังกาย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

สังเกตอาการ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการแรกของเล็บขบคือผิวหนังแดงและอ่อนนิ่ม แต่ถ้าเห็นว่าบริเวณนั้นมีรอยแดงเพิ่มขึ้น แสดงว่าเล็บกำลังเข้าสู่การติดเชื้อ [1]
  2. ถ้าเรารู้สึกอุ่นจนถึงกับร้อนบริเวณเล็บเท้า แสดงว่ามีการติดเชื้อ อาการปวดตุบๆ อาจเกิดขึ้นพร้อมกับที่อุณหภูมิบริเวณเล็บเท้าสูงขึ้น ถ้าอาการติดเชื้อนั้นรุนแรงขึ้น หรือไม่ได้รับการรักษา เราอาจมีไข้ได้ [2]
  3. หาว่ามีหนองอยู่ใต้ผิวหนังใกล้เล็บไหม ถ้ามีหนอง แสดงว่าติดเชื้อ อาจมีกลิ่นเหม็นเกิดร่วมกับอาการติดเชื้อซึ่งเห็นได้จากมีหนองขังอยู่ [3]
    • ถ้าเล็บติดเชื้อ เราก็จะเห็นว่าผิวหนังบริเวณนั้นเป็นรอยแดง ผิดกับผิวหนังบริเวณข้างเคียงซึ่งมีสีอ่อนกว่า (สีค่อนข้างขาว)
  4. ถ้าเรามีอาการติดเชื้อ เราต้องพบแพทย์ แพทย์จะสามารถวินิจฉัยและรักษาอาการติดเชื้อให้หายได้ วิธีรักษาขึ้นอยู่ความรุนแรงและอาจได้แก่ การแช่เท้าในน้ำอุ่น ใช้ยาปฏิชีวนะ หรือการเอาเล็บออกถ้ามีการติดเชื้อรุนแรง [4]
    • พบแพทย์หรือนักบาทานามัยทันที ถ้าเป็นโรคเบาหวาน โรคเอดส์ มีการไหลเวียนโลหิตไม่ดี อยู่ในระหว่างทำเคมีบำบัด หรือมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
    • อาจต้องไปพบแพทย์ ถ้าเรามีปัญหาเล็บขบอยู่เรื่อยๆ หรือเรื้อรัง โดยที่ตนเองก็ป่วยเป็นโรคเบาหวาน มีภูมิคุ้มกันระบบบกพร่อง มีภาวะที่มีผลกระทบต่อประสาทหรือความรู้สึกที่เท้า หรือถ้าเล็บติดเชื้อ มีหนอง รอยแดง เจ็บปวด หรือบวม [5]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

รักษาเล็บขบให้หายก่อนติดเชื้อ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใส่ดีเกลือหรือสบู่อ่อนในน้ำ จะช่วยทำความสะอาดบริเวณที่เล็บขม การแช่เท้าจะช่วยคลายความเจ็บปวดและลดความแดงลง อีกทั้งช่วยให้เล็บและผิวหนังบริเวณเล็บขบอ่อนนุ่มลง [6]
    • ต้องให้บริเวณที่เล็บขบแห้งสนิทก่อนที่จะทำขั้นตอนต่อไป
  2. สอดผ้าก๊อชหรือสำลีก้อนเล็กๆ ระหว่างเล็บและผิวหนัง. เตรียมผ้าก๊อซหรือสำลีก้อนเล็กๆ จากนั้นกดผิวหนังบริเวณเล็บและดันผิวหนังให้ห่างจากเล็บ สอดสำลีก้อนเล็กๆ ไว้ระหว่างผิวหนังและเล็บ วิธีนี้จะช่วยให้เล็บยกตัวขึ้น ป้องกันไม่ให้เล็บงอกออกมาแทงผิวหนัง [7]
    • ยึดสำลีก้อนเล็กๆ นั้นไว้โดยใช้ผ้าก๊อชพันนิ้ว
    • วิธีนี้อาจเจ็บสักหน่อย แต่จำเป็นต้องทำ เราอาจกินยาแก้ปวดที่จำหน่ายตามหน้าเคาน์เตอร์อย่างไอบูโปรเฟนหรือไทลินอลเพื่อบรรเทาอาการปวดได้
    • อาจใช้ยาทาแผลเฉพาะภายนอกอย่างเช่น นีโอสปอริน (Neosporin) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  3. ทุกครั้งที่เราแช่เท้า เราจะต้องเปลี่ยนสำลีด้วย แต่ละวันพยายามสอดสำลีเข้าไปให้ลึกอีกนิด ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จบกว่าเล็บเท้าจะยาวเลยปลายนิ้ว อาจใช้เวลาหนึ่งถึงสองสัปดาห์กว่าเล็บเท้าจะงอกออกมา [8]
    • ถ้ายังไม่ดีขึ้นหรือเกิดการติดเชื้อ อาจต้องไปพบแพทย์
    • เราอาจต้องใส่รองเท้าแตะจนกว่าอาการเล็บขบจะหายไป
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ป้องกันไม่ให้เล็บขบ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. และพยายามอย่าตัดลึกเข้าไปในขอบเล็บมากเกินไป ให้ตัดเล็บเป็นแนวตรงและอย่าตัดขอบเล็บ ต้องเห็นปลายเล็บเลยออกมาจากผิวหนัง [9]
  2. รองเท้า (รวมทั้งถุงเท้า) ที่บีบเท้าเราอาจทำให้เล็บขบได้ ฉะนั้นเราควรจะเลือกรองเท้าที่เราใส่แล้วยังสามารถกระดิกเท้าได้อยู่ ถ้ารองเท้าคู่นั้นใส่แล้วไม่สามารถกระดิกเท้าได้ ให้ไปเลือกใส่คู่อื่น [10]
    • รองเท้าที่คับเท้าเช่น รองเท้าส้นสูงและรองเท้าปลายแหลมอาจทำให้เล็บขบได้
  3. คนที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาบ่อยๆ โดยเฉพาะกีฬาที่ทำให้เท้าและนิ้วบาดเจ็บได้ เช่น ฟุตบอล และบัลเลต์มักจะมีโอกาสเล็บขบ ฉะนั้นหลังจากทำกิจกรรมพวกนี้เสร็จแล้ว ให้ถอดรองเท้าและถุงเท้าออก ปล่อยให้เท้าเปลือยเปล่าสักหนึ่งหรือสองชั่วโมง อาจเปลี่ยนไปใส่รองเท้าแตะหรือเดินเท้าเปล่าก็ได้ [11]
    • การล้างเท้าให้สะอาดและเช็ดให้แห้งหลังจากออกกำลังกายมาอย่างหนักช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการเล็บขบได้
    • การใช้ถุงเท้าที่ทำมาจากผ้าฝ้ายแทนที่จะทำมาจากวัสดุสังเคราะห์อาจช่วยให้นิ้วและเท้าของเรามีอากาศไหลเวียนดีขึ้น
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 19,940 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา