PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ยาทาเล็บก็เหมือนเครื่องสำอางชนิดอื่นๆ คือถ้าโดนอากาศบ่อยๆ ก็เสื่อมคุณภาพไปตามเวลา ถ้ายาทาเล็บเริ่มเก่า ก็จะหนืดขึ้น จับตัวเป็นก้อน ทายากสุดๆ ไปเลย โชคดีที่บทความวิกิฮาวนี้มี 2 - 3 ทริคเด็ดช่วยยืดอายุยาทาเล็บมาฝากกัน ถ้ายาทาเล็บเริ่มแยกชั้น ก็ละลายให้กลับเป็นเนื้อเดียวกันได้ง่ายๆ แค่อุ่นขวดยาทาเล็บนั้นด้วยมือเปล่าหรือน้ำร้อน หรือจะใช้น้ำยาละลายยาทาเล็บโดยเฉพาะ (น้ำยาเติมสียาทาเล็บ) เติมลงไปในขวดก็ได้ ถ้ายาทาเล็บเก่าจนอุ่นแล้วไม่ได้ผล แต่ถ้าเก็บรักษายาทาเล็บใหม่ให้ถูกวิธีแต่แรก ก็จะจับตัวกันเป็นก้อนน้อยลงหรือช้าลงเยอะเลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

แก้ปัญหาเฉพาะหน้า

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คว่ำขวดและตะแคงขวดยาทาเล็บไปมาเรื่อยๆ ทุก 2 - 3 นาที เพราะบางทียาทาเล็บอาจจะแค่ไม่ได้ใช้นาน ทำแบบนี้น่าจะช่วยให้กลับมาทาง่ายเหมือนเดิม
  2. Watermark wikiHow to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    ความร้อนจากมือคุณจะช่วยให้ยาทาเล็บเหลวขึ้นได้ กลับมาทาและเกลี่ยง่ายตามเดิม แต่ย้ำว่าห้ามเขย่าขวด เพราะจะเกิดฟองอากาศจิ๋วๆ ขึ้นมา [1]
  3. ย้ำว่าต้องปิดฝาขวดยาทาเล็บให้สนิท แล้วถือขวดที่ฝา จะได้ไม่โดนน้ำร้อนลวก จุ่มขวดไว้ในน้ำร้อนแบบนี้ จะช่วยให้ยาทาเล็บเหลวขึ้น ทาง่ายเหมือนเดิม [2]
  4. Watermark wikiHow to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    รอให้ชั้นแรกแห้งก่อน แล้วค่อยทาทับชั้นที่ 2 ถ้ายาทาเล็บยังดูหนาๆ เป็นก้อนๆ ให้ทำตามวิธีการข้างล่างต่อไป
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

แก้ปัญหาระยะยาว

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    เปิดขวดยาทาเล็บ แล้วหยดน้ำยาละลายลงไป 2 - 3 หยด. [3] ถ้าใช้ที่หยดยาหยอดตาก็จะได้จำนวนหยดครบถ้วน ปกติน้ำยาเติมสียาทาเล็บ หรือน้ำยาละลายยาทาเล็บ มีขายตามร้านขายเครื่องสำอางและยา
    • ถ้าอยากละลายยาทาเล็บเจล ก็ต้องเลือกน้ำยาละลายยาทาเล็บเจลโดยเฉพาะ เพราะยาทาเล็บเจลมีสารพิเศษที่จะทำปฏิกิริยากับ UV ถ้าใช้น้ำยาละลายยาทาเล็บทั่วไป จะทำให้ยาทาเล็บเจลเสียได้
  2. เก็บอะซิโตนหรือน้ำยาล้างเล็บไว้เป็นตัวเลือกสุดท้าย. เพราะทั้ง 2 อย่างนี้ทำยาทาเล็บเสียได้ แถมพอแห้งแล้วก็แตก [4] ถ้าต้องใช้อะซิโตนหรือน้ำยาล้างเล็บจริงๆ สุดท้ายถึงละลายได้ ก็จะใช้ยาทาเล็บนั้นต่อไปได้อีกแค่ 2 - 3 ครั้งเท่านั้น
    • ย้ำว่าห้ามใช้อะซิโตนหรือน้ำยาล้างเล็บไปละลายยาทาเล็บเจล
  3. Watermark wikiHow to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    ปิดขวดยาทาเล็บให้สนิท แล้วคลึงไปมาในฝ่ามือ เพื่อผสมน้ำยากับยาทาเล็บให้เข้ากัน. ห้ามเขย่าขวด เพราะจะเกิดฟองอากาศข้างใน ถ้าน้ำยาไม่ผสมกันกับยาทาเล็บ ลองคว่ำขวดไปมาสัก 2 - 3 ครั้งดู
  4. Watermark wikiHow to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    ถ้ายาทาเล็บยังข้นหนืด ให้เปิดฝาแล้วหยดน้ำยาเพิ่มอีก 2 - 3 หยด ปิดฝาอีกรอบ แล้วคลึงขวดในฝ่ามือตามเดิม เพื่อผสมน้ำยากับยาทาเล็บเข้าด้วยกัน
  5. Watermark wikiHow to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    อาจจะทิ้งน้ำยาไว้ในยาทาเล็บสักพักค่อยผสม ถ้าหนืดเป็นพิเศษ. ถ้ายาทาเล็บหนืดมาก และทำซ้ำตามขั้นตอน 2 - 3 รอบแล้วยังไม่ได้ผล ลองหยดน้ำยาแล้วทิ้งไว้สักพักดู โดยเปิดฝายาทาเล็บ หยดน้ำยาละลาย 2 - 3 หยด แล้วปิดฝา จากนั้นทิ้งไว้เฉยๆ 1 ชั่วโมง ค่อยคลึงขวดกับฝ่ามือตามเดิม
  6. Watermark wikiHow to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    เทอะซิโตนใส่ถ้วยแก้วหรือเซรามิก ย้ำว่าห้ามใช้พลาสติก เพราะละลายได้ ที่สำคัญคือใช้แล้วอย่าเอาไปดื่มน้ำอีก ให้จุ่มแปรงทาเล็บในอะซิโตน แล้วแกว่งไปมา ยาทาเล็บแห้งกรังจะละลายออกมา ถ้ายังเหลือคราบ ให้เช็ดออกด้วยทิชชู่ อย่าใช้สำลีก้อนหรือสำลีแผ่น เสร็จแล้วก็ปิดฝายาทาเล็บตามเดิมได้เลย คราบอะซิโตนตกค้างเล็กน้อย จะช่วยละลายยาทาเล็บในขวดได้ [5]
    • ระวังยาทาเล็บเสียเพราะอะซิโตน แนะนำให้ใช้วิธีนี้เวลายาทาเล็บใกล้หมดขวดจะดีกว่า
  7. Watermark wikiHow to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    ถ้าเติมน้ำยาเยอะไป จนยาทาเล็บเหลวหรือจาง ก็ง่ายๆ คือปล่อยให้อากาศเข้าสักพัก โดยเอาแปรงทาเล็บออกไปก่อน ล้างแปรงด้วยน้ำยาล้างเล็บ ห่อแปรงด้วยแรปพลาสติก แล้วเปิดฝาขวดยาทาเล็บทิ้งไว้แบบนั้น อย่าให้ใครไปยุ่ง ผ่านไปเป็นวันค่อยกลับมาเช็ค พออากาศเข้าไป ยาทาเล็บจะข้นขึ้น พร้อมทา [6]
    • บางทีก็ต้องเปิดขวดยาทาเล็บผึ่งลมไว้เป็น 2 - 3 วัน อันนี้ก็แล้วแต่สภาพอากาศ ณ ขณะนั้นด้วย ว่าร้อน เย็น แห้ง หรือชื้นแค่ไหน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เก็บรักษายาทาเล็บให้ถูกวิธี

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    ทำยังไงไม่ให้ยาทาเล็บแห้งกรังหรือจับเป็นก้อน. อย่างที่บอกว่ายาทาเล็บมีวันหมดอายุ แต่มี 2 - 3 วิธีช่วยถนอมยาทาเล็บให้ใช้ได้นานขึ้น ส่วนนี้ของบทความจะแนะนำขั้นตอนการเก็บรักษายาทาเล็บให้คุณเอง รับรองไม่แห้งเร็วเหมือนเคย
  2. Watermark wikiHow to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    เช็ดปากขวดยาทาเล็บด้วยสำลีก้อนชุบอะซิโตนก่อนปิดฝา. เพื่อขจัดคราบยาทาเล็บเก่า ถ้าไม่ทำแบบนี้ ยาทาเล็บจะแห้งกรังที่ปากขวดคอขวด ทำให้ฝาปิดไม่สนิท อากาศก็รั่วเข้าไปขังในขวด จนทำให้ยาทาเล็บแห้งเร็วกว่าที่ควร [7]
  3. Watermark wikiHow to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    อย่าเก็บยาทาเล็บไว้ในห้องน้ำ เพราะอุณหภูมิเปลี่ยนบ่อย เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็น เดี๋ยวแห้งเดี๋ยวชื้น ให้เปลี่ยนไปเก็บในตู้หรือลิ้นชักแทน [8]
    • ถ้าเก็บยาทาเล็บไว้ที่ประตูตู้เย็นต้องระวัง ความเย็นข้างในช่วยถนอมยาทาเล็บได้ก็จริง แต่ก็เป็นที่ปิดและแคบ อากาศไม่ระบายถ่ายเท ถ้าขวดยาทาเล็บเกิดรั่วหรือแตกในตู้เย็น ก็เสี่ยงเกิดไฟไหม้เพราะสารเคมีได้ [9]
  4. เวลาเก็บยาทาเล็บ สำคัญว่าต้องวางให้ขวดตั้งตรงอยู่เสมอ ถ้าตะแคงไว้ ยาทาเล็บจะไหลไปกองกันที่ปาก/คอขวด ทำให้ยาทาเล็บแห้ง แถมเปิดขวดยากชะมัด [10]
  5. Watermark wikiHow to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    อย่าเปิดขวดยาทาเล็บทิ้งไว้ตอนรอให้เล็บแห้ง เพราะยาทาเล็บโดนอากาศแล้วแห้งได้ ถ้าอยากถนอมยาทาเล็บไว้ใช้นานๆ ไม่ให้แห้งกรัง ก็ต้องโดนอากาศน้อยสุดเท่าที่ทำได้ [11]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ให้แช่ยาทาเล็บในตู้เย็นก่อนใช้งาน เพราะความเย็นในตู้เย็นจะช่วยลดการระเหยของสารทำละลาย เม็ดสีจะได้ที่ ไม่จับตัวเป็นก้อน
  • ยาทาเล็บสีเข้มจะหนืดเป็นก้อนได้ง่ายกว่ายาทาเล็บสีอ่อนหรือสีใส เพราะมีพิกเมนต์หรือเม็ดสีเยอะกว่า
  • เวลาทาเล็บ ก็ต้องทำใจว่ายาทาเล็บจะลอกค่อนข้างไว แต่ถ้าทาหนาๆ ยิ่งลอกไวเข้าไปใหญ่
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าละลายยาทาเล็บด้วยอะซิโตนหรือน้ำยาล้างเล็บ
  • อย่าเขย่าขวดยาทาเล็บ เพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศ
  • บางกรณียาทาเล็บก็เสื่อมสภาพไปแล้ว ทิ้งไปแล้วซื้อใหม่จะปลอดภัยกว่า ไม่เสียเวลาด้วย
  • ย้ำว่ายาทาเล็บหมดอายุได้ อย่าใช้ต่อ ถ้ายาทาเล็บแยกชั้น ข้นเหนียว หรือส่งกลิ่นแปลกๆ [12]
  • น้ำยาละลายยาทาเล็บจะใช้กับยาทาเล็บแบบกลิตเตอร์ไม่ค่อยได้ ส่วนใหญ่ถ้าเปลี่ยนสภาพแล้ว ต้องทิ้งยาทาเล็บแบบกลิตเตอร์ไปเลย ซื้อใหม่ดีกว่า [13]
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำยาละลายยาทาเล็บ
  • สำลีก้อน
  • ทิชชู่

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 40,971 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา