PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

หมาป่วยมักไม่อยากอาหารและหมดแรง บางทีอาจอยู่ไม่สุข หายใจหอบ หรือเซื่องซึมร่วมด้วย ถ้าคุณสงสัยว่าน้องหมาน่าจะกำลังป่วย คงต้องจับมาวัดไข้กันหน่อย จะได้เอาไว้ใช้เป็นข้อมูลบอกคุณหมอเกี่ยวกับอาการ หมาไม่เหมือนคนตรงที่เวลาเป็นไข้จะตัวไม่ร้อนหรือหนาวสั่น ดังนั้นสำคัญว่าคุณต้องวัดไข้น้องหมาให้เป็น จะได้รู้ว่าน้องหมาไข้สูงแค่ไหน และควรพาไปหาหมอเมื่อไหร่

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เตรียมตัวก่อนวัดไข้

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะดีกว่าถ้าคุณเลือกใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตัลที่มีขายตามร้านขายของใช้สัตว์เลี้ยงหรือในเน็ต และอย่าลืมสารหล่อลื่นอย่าง Vaseline หรือ KY jelly ด้วย นอกจากนี้ก็มีตะกร้อครอบปาก ไปจนถึงกระดาษและปากกาเอาไว้บันทึกอุณหภูมิที่วัดได้ยังไงล่ะ
  2. ถ้าช่วยกัน 2 คนจะวัดไข้น้องหมาได้ง่ายกว่า เพราะคนหนึ่งก็จับตัวหมาไว้ ส่วนอีกคนเสียบเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ แค่นี้ก็เรียบร้อย
  3. ถ้าเป็นห้องเล็กๆ อย่างห้องน้ำได้จะดีมาก เพราะเวลาวัดไข้ น้องหมาจะได้ไม่ดิ้นหนีไปง่ายๆ วิธีที่ดีที่สุดคืออุ้มน้องหมามาวางบนโต๊ะ คุณจะได้ไม่ต้องก้มให้ปวดหลัง แถมเห็นรูก้นน้องหมาชัดเจน [1]
    • ถ้าเป็นน้องหมาขนาดเล็กไปจนถึงกลาง ก็อุ้มมาวางวัดไข้บนโต๊ะได้ง่ายเข้าไปใหญ่
    • ตอนน้องหมายืนอยู่บนโต๊ะต้องมีคนคอยจับไว้ เพราะไม่งั้นอาจกระโดดหนีลงจากโต๊ะจนเจ็บตัวได้
    • ถ้าเป็นหมาใหญ่ วัดไข้ที่พื้นตามปกติจะดีกว่า
  4. ถ้าคุณตื่นเต้นหรือกังวลซะเอง น้องหมาจะได้รับพลังงานทางลบจากคุณจนพลอยตื่นตูมไปด้วย ให้คุณสงบและมั่นใจเข้าไว้ตอนวัดไข้แต่ละขั้นตอน ที่สำคัญคืออย่าลืมชมและพูดคุยกับน้องหมาไปพลางๆ ด้วย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

จับน้องหมาเวลาวัดไข้

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. จับตัวน้องหมาให้นิ่งๆ หรืออุ้มน้องมาวางบนโต๊ะ. ให้ผู้ช่วยของคุณอุ้มหมามาวางบนโต๊ะหรือเข้ามาในห้องที่คุณจะใช้วัดไข้ ให้หางหมาหันไปทางเดียวกับมือข้างที่ถนัดของคุณ อย่างถ้าคุณถนัดขวา ก็ให้จับตัวหมาหันข้างให้คุณ โดยที่หัวชี้ไปทางซ้ายของคุณส่วนหางชี้ไปทางขวาของคุณ
    • ให้ผู้ช่วยของคุณยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามของตัวหมา หรือก็คือประจันหน้ากับคุณโดยมีน้องหมาคั่นกลางนั่นแหละ
  2. กระทั่งหมาที่แสนจะน่ารักเป็นมิตรที่สุด วันดีคืนดีก็อาจแว้งกัดขึ้นมาได้เวลารู้สึกถูกคุกคามไม่ปลอดภัย ถ้าคุณคิดว่าน้องหมาไม่ชอบถูกวัดไข้แน่ หรือมีท่าทีกระวนกระวายอยู่ไม่สุข ก็น่าจะเอาตะกร้อครอบปากไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย
    • จะใช้ตะกร้อครอบปากแบบมีสายจูงเวลาไปเดินเล่นก็ได้ถ้ามีแต่แบบนั้น
  3. เนคไทธรรมดาๆ นี่แหละเอามาใช้แทนตะกร้อได้ แถมใช้ได้ดีด้วยจะบอกให้ [2]
    • มัดเนคไทเป็นห่วงหลวมๆ ทบเดียวตรงกลาง
    • ต้องให้ห่วงที่ว่าใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของตะกร้อนิดหน่อย
    • ค่อยๆ เอาห่วงครอบเหนือจมูกหมาอย่างระมัดระวัง แล้วผูกให้แน่น
    • คือแน่นพอที่จะไม่เลื่อนหลุดจากจมูกเวลาหมาสะบัดหัว
    • เอาปลายเนคไท 2 ข้างพันรอบห่วงนั้นไปเรื่อยๆ จนสุด แล้วผูกปลายเข้าด้วยกัน
  4. ต้องแน่ใจว่าผู้ช่วยของคุณจะจับตัวน้องหมาไว้แน่นหนาโดยคุกเข่าบนพื้นข้างตัวหมา หรือจับตัวน้องหมาที่อยู่บนโต๊ะไว้ให้มั่น [3]
    • ผู้ช่วยควรสอดแขนใต้ท้องน้องหมาแล้วโอบขึ้นมาที่สีข้าง กอดน้องหมาแนบไว้กับตัว
    • จากนั้นเอาอีกแขนโอบรอบคอน้องหมาด้านหน้า ใต้คาง ไปทางหู
    • ให้ผู้ช่วยคอยประคองหัวกับคอน้องหมาให้พิงอยู่ที่ไหล่ของเขาหรือเธอ
    • ถ้าน้องหมากระดุกกระดิกหรือดิ้นไปมาตอนกำลังวัดไข้ ให้ผู้ช่วยพยายามโอบน้องหมาแนบกับตัวมากกว่าเดิม แล้วคอยปลอบด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนให้หมาคลายความกลัวลง
  5. ถ้าน้องหมาแสดงอาการไม่สบายตัวไม่สบายใจ ก้าวร้าว หรือตื่นตระหนกชัดเจน ให้เลิกวัดไข้ก่อน ถ้าคุณรู้จักสังเกตว่าตอนไหนน้องหมาดูตื่นกลัวควรจะหยุดมือ ก็จะทำให้ปลอดภัยทั้งคนและหมา [4]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ได้เวลาวัดไข้

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถือเทอร์โมมิเตอร์ด้วยมือข้างที่ถนัด (หรือตอนนี้ก็คือมือข้างที่อยู่ฝั่งเดียวกับหางหมา) แล้วเอาปลายเทอร์โมมิเตอร์จุ่มลงในสารหล่อลื่น จุ่มให้ชุ่มๆ เลย เอาให้ติดมาเป็นก้อนที่ปลายได้ยิ่งดี
  2. เอามือข้างที่ไม่ถนัด (สมมุติว่าคุณถนัดขวา ก็ต้องเป็นมือซ้าย) จับหางหมาตรงโคนแล้วยกขึ้น ให้ยกขึ้นพรวดเดียวแต่แบบเบามือ จนมองเห็นรูก้นของน้องหมา [5]
  3. รูก้นของน้องหมาก็อยู่ใต้หางพอดิบพอดีนั่นแหละ จะเห็นเป็นรูกลมๆ เลย แต่ก็ต้องระวังถ้าเป็นหมาตัวเมีย เพราะจะมีรูตรงนั้นโผล่มาอีกรู แต่จะค่อนมาทางข้างล่างตรงหว่างขา และหน้าตาเหมือนรอยกรีดตรงๆ เพราะงั้นก็ดูให้ดีๆ ก่อนเสียบเทอร์โมมิเตอร์ล่ะ [6]
  4. ให้คุณถือเทอร์โมมิเตอร์ขนาไปกับ long axis หรือกระดูกไหล่ของหมา โดยถือเทอร์โมมิเตอร์แนวนอน ชี้จากหางไปทางหัว ถือเทอร์โมมิเตอร์ในลักษณะนี้ไว้ แล้วค่อยๆ จรดปลายเทอร์โมมิเตอร์ที่รูก้นของน้องหมา [7]
    • อย่าขยับเทอร์โมมิเตอร์ขึ้นลงเวลาเสียบเข้าไป ให้สอดเข้าไปแนวนอนตรงๆ นั่นแหละ
  5. กล้ามเนื้อหูรูด (ที่อยู่รอบๆ รูก้น) ตามปกติจะรัดหดตัวอยู่เพื่อปิดบังรูก้นไว้ จะสอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปได้คุณต้องค่อยๆ ดันฝืนกล้ามเนื้อหูรูด สอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในรูก้นช้าๆ โดยบิดนิดๆ ระหว่างสอด
    • บิดเทอร์โมมิเตอร์ไปด้วยไม่ต้องมากเวลาสอด จะได้เข้าไปง่ายขึ้น
    • สอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปครึ่งหนึ่งของความยาว หรือน้อยกว่ากรณีที่เป็นหมาเล็ก
    • ระหว่างนั้นต้องจับเทอร์โมมิเตอร์ไว้ให้มั่น ห้ามปล่อยให้เทอร์โมมิเตอร์ไหลเข้าไปในก้นน้องหมาทั้งอันล่ะ
  6. "ห้าม" ย้ำว่า "ห้าม" ดันหรือกดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปแรงๆ เด็ดขาดเพราะเห็นว่าใส่เข้าไปไม่ได้ แบบนั้นอาจอันตรายถึงขั้นทำลำไส้น้องหมาทะลุจนบาดเจ็บรุนแรงหรือถึงตายได้
    • ถ้าตอนเสียบเทอร์โมมิเตอร์แล้วไม่ค่อยเข้าเหมือนมีอะไรขวาง ให้เอาออกมาก่อนแล้วค่อยลองใหม่ บางทีอาจต้องชุบสารหล่อลื่นอีกครั้งด้วย
  7. ถ้าคุณใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตัล ก็ต้องกดปุ่มเปิดที่แท่งเทอร์โมมิเตอร์ก่อน จากนั้นก็กดอีกครั้งเพื่อวัดไข้น้องหมา
    • หน้าจอจะกระพริบหรือเลขอุณหภูมิสูงขึ้นตอนวัดไข้
    • รอประมาณ 5 - 60 วินาที แล้วแต่เทอร์โมมิเตอร์ที่คุณใช้
    • พอได้ยินเสียงเทอร์โมมิเตอร์ดังบี๊บแล้ว หรือเลขอุณหภูมิหยุดวิ่ง ก็แปลว่าเสร็จเรียบร้อย
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ประเมินผล

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเป็นเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตัลก็อ่านค่าที่หน้าจอได้เลยหลังเสียงบี๊บ ทางที่ดีให้จดอุณหภูมิออกมาจะได้ไม่ลืม
    • คุณจะอ่านเทอร์โมมิเตอร์ตอนเสียบอยู่ในก้นน้องหมาหรือตอนเอาออกมาแล้วก็ได้ แต่ต้องรีบอ่านให้เร็วๆ ก่อนหน้าจอจะดับไป
  2. ค่อยๆ ดึงเทอร์โมมิเตอร์ออกมาจากรูก้นน้องหมา โดยดึงย้อนออกมาตรงๆ ให้ขนานไปกับพื้นไว้ (ถือแนวนอนขนานไปกับโต๊ะหรือพื้นเหมือนตอนเสียบเข้าไป)
  3. จะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์ล้างแผลมาฆ่าเชื้อทำความสะอาดเทอร์โมมิเตอร์ก็ได้ ให้เทน้ำยาลงสำลีก้อน แล้วเอามาเช็ดถูที่ปลายเทอร์โมมิเตอร์ บิดเทอร์โมมิเตอร์ไปมาจนกระทั่งเอาสำลีก้อนออกมาแล้วสะอาดเอี่ยมอ่อง [8] เอาเทอร์โมมิเตอร์กลับไปเก็บไว้ในกล่องหรือที่เก็บตามเดิม
  4. ปกติอุณหภูมิร่างกายของน้องหมาจะแตกต่างจากอุณหภูมิร่างกายของคนเรานิดหน่อย คนเราจะมีอุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส ในขณะที่ของหมาอยู่ที่ประมาณ 38 - 39.2 องศาเซลเซียส [9] [10]
    • ถ้าอุณหภูมิร่างกายของน้องหมาสูงกว่า 39.2 องศาเซลเซียส แปลว่าสูงกว่าปกตินิดหน่อยแต่ยังไม่น่าเป็นห่วง
    • ถ้าอุณหภูมิร่างกายของน้องหมาสูงกว่า 39.5 องศาเซลเซียส แปลว่ามีไข้ ควรพาไปหาหมอ
  5. ถ้าน้องหมามีไข้สูง โดยเฉพาะถ้ามีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย อย่างไม่กินอาหารหรือเซื่องซึม ให้ปรึกษาคุณหมอด่วน รีบนัดเลย เพราะน้องหมาควรได้รับการตรวจรักษาแล้วล่ะ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณจะเลือกวัดไข้น้องหมาด้วยเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้กับหูก็ได้ แต่ก็ต้องเตือนกันก่อนว่าผลที่ได้ไม่ค่อยแม่นยำเท่าไหร่ สู้วัดที่ก้นไม่ได้หรอก
  • ถึงจะวัดไข้น้องหมาด้วยเทอร์โมมิเตอร์แบบวัดไข้ทางปากของคนก็ได้ไม่เป็นไร แต่ถ้าใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตัลสำหรับน้องหมาโดยเฉพาะได้จะดีที่สุด ส่วนปรอทแบบเก๋ากึ้กน่ะอย่าใช้เลยดีกว่า เพราะถ้าแตกขึ้นมาละก็อันตรายน่าดู
  • ระหว่างวัดไข้หรือพยายามวัดไข้น้องหมา ให้คุณทำใจให้สบายเข้าไว้ ห้ามแสดงอาการวิตกกังวลให้หมารู้สึกเด็ดขาด
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าโกรธถ้าน้องหมาไม่ยอมอยู่นิ่งๆ ให้สอดเทอร์โมมิเตอร์ ถ้าเหลือบ่ากว่าแรงจริงๆ ก็พาไปหาคุณหมอเลยจะดีที่สุด
  • อย่าดันทุรังวัดไข้ถ้าน้องหมากำลังไฮเปอร์หรืออาละวาด เพราะถ้าทำแบบนั้นอาจเจ็บตัวได้ทั้งคุณและหมา อดใจรอจนกว่าน้องหมาจะสงบดีกว่าแล้วค่อยวัดไข้กันใหม่อีกที
  • ห้ามสอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปโดยไม่หล่อลื่นเด็ดขาด นอกจากจะใส่ยากแล้ว น้องหมายังเจ็บตัวไปเปล่าๆ ด้วย
  • อย่าคิดรักษาเองสุ่มสี่สุ่มห้าเวลาน้องหมาไข้สูงหรือกลับกันคืออุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ต้องพาไปหาคุณหมอลูกเดียว
  • เวลาวัดไข้น้องหมาให้ใจเย็นและมือเบาเข้าไว้ อย่าสอดเทอร์โมมิเตอร์ลึกเกินไป เดี๋ยวน้องหมาจะเจ็บหรือเอาออกยากตอนวัดไข้เสร็จ
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Jones’s Animal Nursing. Bruce Jones. Publisher: Pergamon
  2. Jones’s Animal Nursing. Bruce Jones. Publisher: Pergamon
  3. Jones’s Animal Nursing. Bruce Jones. Publisher: Pergamon
  4. Jones’s Animal Nursing. Bruce Jones. Publisher: Pergamon
  5. BSAVA Manual of Practical Veterinary Nursing. Mollineaux & Jones. BSAVA Publication
  6. BSAVA Manual of Practical Veterinary Nursing. Mollineaux & Jones. BSAVA Publication
  7. BSAVA Manual of Practical Veterinary Nursing. Mollineaux & Jones. BSAVA Publication
  8. Jones’s Animal Nursing. Bruce Jones. Publisher: Pergamon
  9. BSAVA Manual of Practical Veterinary Nursing. Mollineaux & Jones. BSAVA Publication
  1. Jones’s Animal Nursing. Bruce Jones. Publisher: Pergamon

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,172 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา