PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าความสุขเกือบครึ่งหนึ่งนั้นขึ้นอยู่กับตัวเราเอง ความผาสุกทำให้เกิดความรู้สึกด้านบวก และความรู้สึกด้านบวกทำให้เกิดความผาสุกเช่นกัน การแสวงหาความสุขและความผาสุกจะสร้างวงจรสะท้อนกลับเชิงบวกขึ้นมา วงจรนี้เป็นวงจรที่เกิดขึ้นมาเอง และมีพลังในตัวเอง ลองกระตุ้นความคิดเชิงบวกแบบเป็นไปตามความเป็นจริงดู จะได้สร้างเกลียวพลังบวกแห่งความสุขขึ้นมา ช่วยตัวเอง แต่อย่าแยกตนเองออกไปอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือไม่ยอมปรึกษาคนอื่น เพราะมีบางสิ่งที่เราสามารถหาได้จากผู้อื่นเท่านั้น และมีบางสิ่งที่เราสามารถหาได้จากตนเองเท่านั้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

สร้างเกลียวพลังบวกจากความสุข

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองสังเกตตนเองตอนที่รู้สึกดี และปล่อยตนเองให้รู้สึกดีที่เป็นแบบนั้น ยิ่งคิดถึงสิ่งดีๆ ก็ยิ่งรู้สึกมีความสุข และรู้สึกมีพลังใจมากยิ่งขึ้น ลองบ่มเพาะความรู้สึกผาสุก ความเข้มแข็ง และความผูกพัน แทนการบังคับให้ความสุขเกิดขึ้น รับความคิดบวกเอาไว้ พูดออกมาดังๆ หรือเขียนออกมาเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่น “แสงแดดดีต่อผิวฉัน” “ฉันภูมิใจตนเองที่ได้ล้างจาน”
    • พอหมดวัน ทบทวนสิ่งที่ทำให้เราสนุก ลองเขียนความสุขของเรามาสักสามสิ่ง
    • ความรู้สึกด้านบวกช่วยเราให้หายจากความชอกช้ำทางใจและความทุกข์ทรมาน อีกทั้งสร้างพลังใจให้ฟื้นคืนมาเมื่อประสบพบความยากลำบาก [1]
  2. มนุษย์เราขึ้นชื่อเรื่องเดาความสุขของตนเองไม่ถูก เอาแต่ไล่ตามอำนาจ เงินทอง และชื่อเสียง ไม่ค่อยใฝ่หาความพึงพอใจในตนเอง จึงเกิดความเครียดแทนความสุขอย่างช่วยไม่ได้ ตอนที่เราได้รับความบันเทิงหรือได้รับการยกย่องไม่จำเป็นต้องเป็นตอนที่เรามีความสุขมากที่สุด ก่อนตั้งเป้าหมาย ลองให้เวลาตามหาความสุขด้วย
    • หมั่นเขียนไดอารีทุกวัน และดูสักสองสามครั้งต่อวัน ทำกิจกรรมอะไรแล้วมีความสุข กิจกรรมเหล่านั้นมีอะไรที่เหมือนกัน [2]
    • สังเกตว่าเรามักจะอยู่ที่ไหนเวลาที่มีความสุข มีความสุขตอนอยู่ข้างนอกเหรอ มีความสุขตอนเดินเล่นเหรอ มีความสุขตอนอยู่คนเดียวหรือตอนอยู่กับเพื่อน แล้วตอนนั้นกี่โมงแล้ว
  3. พอหาสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขได้แล้ว ถามตนเองว่าสิ่งเหล่านั้นมีอะไรที่เหมือนกัน กิจกรรมประเภทใดที่เราจมอยู่กับมันได้จริงๆ เมื่อไรที่รู้สึกเหมือนว่าทำงานออกได้ดีที่สุด หรือเป็นตัวของตัวเองที่สุด ตั้งเป้าหมายที่จะช่วยเราทำตามสิ่งที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จได้ดียิ่งขึ้นในแต่ละวัน [3]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้ารู้สึกมีความสุขมากที่สุดตอนพาสุนัขไปเดินเล่น รอรถประจำทาง และรดน้ำสนามหญ้า แสดงว่าเป้าหมายของเราอาจเป็นการใช้เวลาอยู่ข้างนอกมากขึ้น
    • ถ้ามีความสุขมากที่สุดเมื่อได้ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน และทำกับข้าวให้สามีหรือภรรยากิน แสดงว่าเป้าหมายใหม่ของเราอาจเป็นการทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น
  4. เน้นหาประสบการณ์มากกว่าหาทรัพย์สินมาไว้ในครอบครอง ใช้เงินเดินทางท่องเที่ยวและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การสร้างความทรงจำที่ดีจะทำให้เรารู้สึกมีชีวิตชีวามากว่าการใฝ่หาวัตถุมาครอบครอง การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะคอยทำให้จิตใจเราเข้มแข็งเมื่ออายุมากขึ้น และได้รู้จักความสนุกใหม่ๆ ในชีวิต การมีงานอดิเรกเป็นการช่วยเหลือตนเองที่ดีเยี่ยมเมื่อต้องการผ่อนคลายจากการทำงานโดยไม่ต้องตัดตัวเองออกไปจากชีวิตคนอื่น [4] [5]
    • เป็นอาสาสมัครกับองค์กรที่เราเชื่อถือ จะได้เพิ่มความรู้สึกผูกพันกับผู้อื่น และรู้สึกว่าตนได้ทำประโยชน์
    • เก็บเงินบางส่วนเพื่อเป็นรายจ่ายทางสังคม และหาซื้ออะไรเป็นของขวัญให้คนอื่น พาเพื่อนออกไปกินอาหารมื้อค่ำ หรือซื้อไวน์สักขวดให้เจ้าภาพงานเลี้ยงอาหารค่ำ
    • ตั้งเป้าหมายด้านการเรียนรู้ให้ตนเอง ลงเรียนภาษาและเดินทางท่องเที่ยวไปที่ประเทศซึ่งพูดภาษานั้นตอนสิ้นปี เข้าเรียนทำอาหาร และจัดปาร์ตี้พร้อมเสิร์ฟอาหารที่เราเป็นคนทำเอง
  5. พอใจสิ่งที่ตนมีจะทำให้เรามีความสุขมากกว่ามองหาทางเลือกอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงอาจน่าตื่นตาตื่นใจ แต่การทุ่มเทเอาใจใส่ผู้คนและสถานที่ซึ่งเรารักช่วยนำมาซึ่งความสุขทุกอย่าง ดูสิ่งที่เรามี และเห็นคุณค่าสิ่งที่มีนั้น เขียนว่าสิ่งดีๆ สำหรับเรานั้นมีอะไรบ้าง และแบ่งปันสิ่งดีๆ นั้นให้คนที่เรารักด้วย
    • รักษาผู้คนในชีวิตไว้ การช่วยตนเองไม่ได้หมายถึงแยกตัวเองออกไปอยู่คนเดียว หาเวลาบอกรักเพื่อนและครอบครัว รวมทั้งบอกถึงสิ่งดีๆที่พวกเขาทำให้เราว่ามีอะไรบ้าง
    • ถ้ารู้สึกว่าแสดงตัวตนด้วยการเขียนได้ดีกว่า เขียนชื่อผู้คนที่เราอยากขอบคุณ และเขียนจดหมายวันละฉบับ [6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ดูแลตัวเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การอดนอนอาจทำให้สถานการณ์ที่เผชิญอยู่เลวร้ายลง ผู้ใหญ่ต้องหลับ 7-8 ชั่วโมงในแต่ละคืน และพยายามให้มีสิ่งรบกวนการนอนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การนอนมากเกินไปอาจก่อให้เกิดอาการง่วงซึมและภาวะซึมเศร้า และการนอนน้อยเกินไปอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง น้ำหนักเพิ่มขึ้น สุขภาพจิตแย่ลง [7] [8]
    • ถ้ากำลังมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ลองทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายก่อนเข้านอน ให้เวลาตัวเองสักหนึ่งชั่วโมงก่อนเข้านอน แปรงฟัน เปลี่ยนเป็นชุดนอนที่ใส่แล้วสบายตัว และทำกิจกรรมสักอย่างเพื่อช่วยให้ผ่อนคลาย อย่างเช่น อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ ดูรายการทีวี หรือฟังดนตรี
    • ลดการดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน รวมทั้งพยายามไม่งีบหลับระหว่างวัน
    • เมื่อเกิดคิดถึงเรื่องงานหรือเรื่องเครียดขึ้นมาตอนดึก ให้บอกตนเองเบาๆ ว่า “นี่ไม่ใช่เวลาคิดเรื่องนั้นนะ ตอนนี้เป็นเวลานอน”
  2. การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถทำให้เรามีเรี่ยวแรง มีความมั่นใจ มีสุขภาพดี และผ่อนคลายมากขึ้น [9] คนส่วนใหญ่ควรทำกิจกรรมแอโรบิกแบบหนักปานกลางอย่างน้อย 150 นาที หรือทำกิจกรรมแอโรบิกแบบหนักมาก 75 นาทีต่อสัปดาห์ ออกกำลังออกช่วงสั้นๆ ทุกวัน ถ้าไม่ชอบไปยิม ลองเดินเร็ว ขี่จักรยาน เข้าเรียนเต้น หรือโยคะ
  3. การทำอาหารกินเองที่บ้านนั้นถูกกว่าและดีต่อสุขภาพมากกว่า ฉะนั้นลองฝึกทำอาหารที่เราชอบกิน และเก็บไว้ในตู้เย็นที่เก็บอาหารได้เป็นอย่างดี แทนที่จะไปกินวิตามินและอาหารเสริม ลองกินผลไม้และผักให้มาก รวมท้งรับประทานอาหารให้หลากหลาย การกินอาหารหลากหลายจะช่วยให้เราได้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย [10] ต้องกินโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตเพื่อจะได้รับพลังงานด้วย
    • กินอาหารอย่างน้อยสามมื้อพร้อมกับมีของว่างที่ดีต่อสุขภาพระหว่างวัน
  4. ปฏิบัติกับตนเองเหมือนกับที่คนทั่วไปควรได้รับคือ ปฏิบัติกับตนเองด้วยความเมตตา ความเคารพ และความรัก แทนที่จะทำให้ตนเองรู้สึกท้อแท้ ให้พูดกับตนเองด้วยความตั้งใจดี เมื่อความคิดและความรู้สึกที่ไม่ดีเข้ามาในใจ บอกสิว่ามีอะไรบ้าง บอกว่ามีสถานการณ์ไหนที่ทำให้เกิดความรู้สึกแบบนั้น เมื่อเกิดความรู้สึกด้านลบขึ้น ให้ยอมรับไว้ และวิเคราะห์หาว่าทำไมเราถึงรู้สึกแบบนั้น [11]
    • ถ้าเรามีความรู้สึกด้านลบบ่อยๆ ลองบอกว่ามันเป็นความรู้สึกอะไร และทำกับมันเหมือนเรื่องไม่เป็นเรื่อง ให้พูดว่า “โธ่ อายเรื่องรูปร่างตนเองอีกแล้ว อาจเป็นเพราะว่ารออยู่ในห้องที่มีนิตยสารซึ่งมีแต่นางแบบหุ่นดีขึ้นปกสินะ”
  5. การมีสติหมายถึงการจดจ่อกับสิ่งที่คิด สิ่งที่รับรู้ และความรู้สึกในตอนนั้นโดยไม่ตีความหรือตัดสิน วิธีนี้สามารถคลายความวิตกกังวล และช่วยเราคลายเกลียวความคิดด้านลบ [12] จดจ่อกับสิ่งที่รับรู้เพื่อฝึกการมีสติ บอกทุกอย่างที่เห็น ได้กลิ่น ได้ยิน และรู้สึกในตอนนั้น [13]
    • ลองพูดว่าทำอะไรอยู่เมื่อเริ่มรู้สึกเครียด พูดว่า “ฉันกำลังเดินไปตามถนน ฉันกำลังจับเสื้อแจ็กเก็ตไว้แน่น ฉันกำลังหายใจ”
    • รู้สึกถึงลมหายใจเข้าออก ลองสังเกตดูว่าส่วนไหนของร่างกายยุบหรือพอง เมื่อจิตใจเตลิด เตือนตนเองให้กลับมาจดจ่ออยู่กับลมหายใจ [14]
    • เกร็งและคลายกล้ามเนื้อแต่ละส่วนเพื่อผ่อนคลายร่างกาย
  6. รู้ว่ามีรายรับเท่าไรและรายจ่ายเท่าไร ต้องมีรายรับเพียงพอกับรายจ่ายแต่ละเดือน และมีเงินเก็บไว้สำหรับอนาคต ถ้าใช้เงินมากกว่ารายรับที่มี ให้ดูสิว่าสามารถลดรายจ่ายได้หรือไม่ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะลดความวิตกกังวลของเรา และทำให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น
    • คำนวณค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน จ่ายอะไรไปบ้าง และต้องไปจ่ายอะไรอีก จากนั้นคำนวณว่าเราสามารถจ่ายอะไรได้บ้างในแต่ละเดือน
    • ถ้าไม่มีบัญชีออมทรัพย์ เปิดบัญชีเสีย คำนวณเงินที่เราสามารถจ่ายได้เพื่อเอาเข้าบัญชีทุกเดือนด้วย
    • วิธีเริ่มเก็บเงินได้แก่ ทำอาหารกินเองที่บ้าน ซื้อวัตถุดิบมาทำเองแทนการซื้ออาหารปรุงสำเร็จ ใช้บริการขนส่งสาธารณะ และไม่ซื้อเครื่องดื่มจากบาร์หรือร้านกาแฟ
  7. วิธีการช่วยตนเองที่ทำได้จริงวิธีหนึ่งคือยอมรับฟังความคิดเห็นจากคนภายนอก มีสถานการณ์บางสถานการณ์ที่เราไม่อาจหลุดพ้นเองได้ ถ้าเรากำลังมีปัญหาติดยา มีอาการป่วยทางจิต ประสบปัญหาทางการเงิน ทางกฎหมาย หรือถูกทารุณกรรม ลองไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และความสามารถที่เพียบพร้อม จะได้แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 22,760 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา