PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

การเจาะรูลงบนคอนกรีตนั้นเป็นเทคนิคที่มีประโยชน์และควรรู้ติดตัว คุณสามารถต่อชั้นวาง แขวนภาพ ติดตั้งโคมไฟ และยังทำอะไรได้ทั้งเร็วขึ้นและปลอดภัยยิ่งขึ้น กระบวนการนั้นเรียบง่าย แค่เลือกใช้เครื่องมือที่ถูกต้องและเข้าใจว่าจะใช้มันอย่างไรจะช่วยคุณประหยัดเวลาได้มาก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เตรียมความพร้อม

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเจาะคอนกรีตจะง่ายขึ้นมากถ้าใช้สว่านไฟฟ้าหรือสว่านเจาะกระแทกสำหรับงานใหญ่ [1] เครื่องมือเหล่านี้เจาะคอนกรีตด้วยการกระแทกอย่างเร็ว แล้วเจาะตักเอาส่วนที่เป็นสะเก็ดออกมา สว่านเจาะธรรมดานั้นจะทำให้งานเสร็จช้าและยากลำบากกว่า เนื่องจากคอนกรีตไม่ได้เป็นวัสดุที่สามารถเจาะลงไปตามชั้นได้ง่ายแบบเดียวกับเวลาเจาะไม้หรือโลหะ ยอมจ่ายเพิ่มเพื่อเช่าสว่านไฟฟ้าสำหรับงานอะไรก็ตามที่ใหญ่กว่าการเจาะรูบนคอนกรีตที่ไม่ใช่โครงสร้าง อย่างเช่น คอนกรีตผสมเบาที่พบในการทำพื้นเคาน์เตอร์สมัยใหม่ [2]
    • ส่วนใหญ่มันก็คุ้มค่าอยู่นะที่จะยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อสว่านที่มีแรงกระแทกสูงกว่า (อย่างน้อย 7 ถึง 10 แอมป์) จากยี่ห้อที่มีชื่อเสียง [3] ข้อดีอื่นๆ ก็เช่น การปรับความเร็วได้ ปรับหยุดตามระดับความลึกต่างๆ จับสะดวกมือ และมีที่จับที่สองสำหรับมืออีกข้าง
  2. อ่านคู่มือการใช้งานและเรียนรู้ว่าปุ่มควบคุมต่างๆ มีไว้เพื่ออะไร ให้แน่ใจว่าคุณคุ้นเคยกับเครื่องมือดีแล้วก่อนจะข้ามไปขั้นตอนถัดไป
    • ทำตามคำแนะนำด้านความปลอดภัย นั่นหมายถึงการสวมแว่นตานิรภัยเพื่อกันสะเก็ดปูน อุปกรณ์กันเสียง และถุงมือหนาเพื่อป้องกันมือจากรอยขีดข่วนและด้ามเจาะที่ร้อน เครื่องกรองอากาศก็แนะนำเมื่อต้องใช้ระยะยาวในงานที่เกิดฝุ่นจำนวนมาก
  3. หัวสว่านเจาะหินแบบที่เป็นหัวคาร์ไบด์เพื่อการเจาะกระแทก (หรือติดฉลากบอกว่า “เจาะ/กระแทก”) นั้นถูกออกแบบมาเพื่อทนต่อแรงกระแทกกับแรงเจาะคอนกรีตหนาแน่น ความยาวของหัวสว่านจะต้องยาวอย่างน้อยเท่ากับรูที่คุณตั้งใจจะเจาะ เนื่องจากมันสำคัญที่จะต้องเอาฝุ่นออกมาจากรู [4]
    • สว่านหมุนนั้นต้องใช้หัวเจาะพิเศษที่เรียกว่า SDS หรือ SDS-MAX (สำหรับรูที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางได้ถึง 5/8") หรือ Spline-Shank (สำหรับรูที่มีขนาด 3/4" หรือกว่านั้น) [5]
    • คอนกรีตเสริมเหล็กนั้นยากที่จะเจาะกว่ามากๆ หากคุณจำเป็นต้องเจาะลึกลงไปเกินกว่าคานเหล็ก ให้เปลี่ยนไปใช้หัวตัดคานเหล็กพิเศษเมื่อเจาะไปถึงโลหะ [6] ปรับให้ช้าลงและหยุดเป็นช่วงๆ เพื่อป้องกันการโอเวอร์ฮีต
  4. สว่านบางตัวสามารถตั้งระดับความลึกหรือแกนควบคุมความลึก ให้อ่านคู่มือการใช้และเรียนรู้วิธีการใช้มัน หากเครื่องมือของคุณไม่สามารถตั้งระดับความลึก ให้วัดและทำตำหนิบนหัวสว่านด้วยดินสอหรือเทปกาว หากคุณไม่มั่นใจว่าต้องเจาะลึกแค่ไหน ให้ทำตามคำแนะนำต่อไปนี้: [7]
    • เพราะว่าคอนกรีตเป็นวัสดุที่แข็งและมีความหนาแน่นสูง สกรูที่ฝังลึก 1 นิ้ว (2.5 ซม.) ก็ลึกพอที่จะแขวนวัตถุที่มีน้ำหนักเบา ส่วนวัตถุที่หนักกว่านั้นต้องใช้สกรูตัวยาวกว่าหรือสมอคอนกรีตซึ่งควรบอกความลึกขั้นต่ำไว้บนกล่อง
    • บวกเพิ่มอีก ½" (6 มม.) ในระดับความลึกเพื่อให้เหลือพื้นที่สำหรับละอองฝุ่นที่สะสมเวลาเจาะ [8] คุณสามารถลดระยะความยาวนี้ลงถ้าคุณวางแผนจะกำจัดสะเก็ดฝุ่นนี้ออกในภายหลัง (อธิบายไว้ด้านล่าง) [9]
    • สำหรับแท่งคอนกรีตกลวงหรือคอนกรีตฉาบบาง ให้ตรวจดูข้อมูลจำเพาะของสปริง สมอพลาสติกบางตัวต้องมีผนังรองรับหนาแน่น และจะร่วงลงมาหากคุณเจาะทะลุไปอีกด้าน
  5. ถือสว่านด้วยมือข้างหนึ่งเหมือนจับปืน โดยที่นิ้วชี้สอดอยู่ที่ “ไก” หากสว่านมีด้ามให้มืออีกข้าง ก็ใช้ด้วย ไม่เช่นนั้นก็ใช้มืออีกด้านจับทางด้านหลังของสว่าน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

เจาะคอนกรีต

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำจุดตำหนิบนผนังที่คุณต้องการจะเจาะโดยใช้ดินสอกาหรือวงเอาไว้
  2. วางสว่านไว้ตรงจุดตำหนิแล้วเจาะสั้นๆ โดยใช้ความเร็วต่ำ (หากสว่านนั้นมีปุ่มควบคุมความเร็ว) หรือเจาะระเบิดสั้นๆ (ถ้าเครื่องไม่มีปุ่มควบคุมความเร็ว) เจาะรูตื้นๆ (⅛ ถึง ¼ นิ้ว / 3 ถึง 6 มม.) เพื่อช่วยเป็นแนวทางให้สว่านเจาะรูที่แท้จริง [10]
    • หากงานต้องใช้หัวสว่านที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ขึ้น ลองใช้สว่านดอกเล็กกว่าเจาะรูนำร่อง นี่จะช่วยเพิ่มความแน่นอนของการเจาะ [11]
  3. เปิดโหมดกระแทกหากสว่านนั้นมี วางสว่านในรูนำร่อง ให้มันตั้งฉากกับผิวคอนกรีต เริ่มเจาะด้วยแรงดันอย่างมั่นคงแต่ไม่กดหนักลงไป ค่อยๆ เพิ่มความเร็วและแรงของการเจาะตามจำเป็น แต่ให้แน่ใจว่าสว่านมั่นคงและอยู่ในการบังคับของคุณตลอดเวลา คอนกรีตนั้นไม่ได้เป็นวัสดุเนื้อเดียวตลอด หัวสว่านสามารถไถลออกได้ง่ายๆ เมื่อเจอรูหรือฟองอากาศ [12]
    • ใช้แรงกดพอที่จะยึดสว่านให้ไม่เขยื้อน แต่อย่าดันมันไปข้างหน้า (มันจะทำให้หัวสว่านสึกและอาจหักได้) คุณจะเรียนรู้ขนาดของแรงกดไปเองเมื่อฝึกบ่อยเข้า
  4. ดึงสว่านออกมาแล้วค่อยเจาะเข้าไปใหม่ทุกสิบหรือยี่สิบวินาที นี่จะช่วยเอาสะเก็ดฝุ่นออกมาจากรู [13]
    • หยุดเจาะเป็นระยะแล้วเอาหัวสว่านออกมาเพื่อให้มันเย็นตัวลงสักสองสามวินาที นี่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสว่านเจาะธรรมดา เนื่องจากมันร้อนได้ง่ายในระหว่างทำการเจาะ
  5. บางทีหัวสว่านก็ไปไม่ได้อย่างที่หวัง หากคุณเจาะไปเจอคอนกรีตชิ้นหนาอย่างมาก ให้สอดตะปูเจาะอิฐเข้าไปในรูแล้วค่อยทะลวงให้ทะลุคอนกรีต พยายามอย่าให้ตะปูกินลึกเกินไปเพราะจะเอาออกยาก จากนั้นค่อยใส่หัวสว่านกลับแล้วเจาะต่อ [14]
    • หากคุณเห็นประกายไฟหรือเห็นโลหะ คุณอาจเจาะโดนเหล็กเสริม หยุดเจาะทันทีแล้วเปลี่ยนมาใช้หัวตัดคานเหล็กจนกระทั่งเจาะทะลวงผ่านสิ่งกีดขวางนี้
  6. การเอาฝุ่นออกจะช่วยเสริมความแข็งแรงของสมอคอนกรีต ใช้ลูกยางเป่าลมหรือกระปุกอัดอากาศเพื่อไล่สะเก็ดฝุ่นออกจากรู แล้วเป่าออกจนสิ้น [15] สวมแว่นตานิรภัยไว้ตอนทำเพื่อปกป้องดวงตาจากฝุ่นและเศษผง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ามีใครสักคนคอยถือเครื่องดูดฝุ่น (หรือใช้ถาดกระดาษพับติดกับผนัง) ใต้รูเจาะจะช่วยประหยัดเวลาทำความสะอาดได้มาก
  • เจาะรูตรงยาแนวปูนขาวระหว่างก้อนอิฐถ้าเป็นไปได้ เพราะมันเจาะเข้าง่ายกว่าอิฐเยอะ ให้ใช้สมอนำเพื่อยึดสกรูให้เข้าที่เวลาจะเจาะใส่ปูนขาว เพราะสกรูเจาะปูนขาวจะหลุดออกเมื่อเจาะไปนานๆ สำหรับการเจาะเพื่อแขวนวัตถุน้ำหนักเบา (กล่องไฟ ท่อสายเคเบิล) ใช้สมอพลาสติก (กับสกรูปกติ) หรือสกรูเจาะปูน "Tapcon" (โดยไม่ต้องใช้สมอ) ก็ได้เหมือนกัน (สกรู "Tapcon" นั้นมีสีน้ำเงินแยกแยะง่าย) สำหรับงานที่สกรูขึ้นกับน้ำหนัก (เช่นเก้าอี้พับ ที่จับ หรือชั้นวาง) ให้ใช้สมอยึดสำหรับงานหนักยึดก่อนหลังจากเจาะรูเสร็จ แล้วค่อยเจาะสกรูยึดกับตัวสมอ
  • มืออาชีพจะใช้สว่านหัวเพชรในการเจาะรูที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่าที่สว่านเจาะทะลวงทั่วไปจะทำได้ [16] การเลือกหัวสว่านเพชรนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของคอนกรีต เช่นขนาดและความแข็งแกร่งของมัน มันแข็งตัวมานานขนาดไหน และมันเสริมเหล็กได้หรือไม่ [17]
โฆษณา

คำเตือน

  • คอนกรีตยิ่งเก่าก็ยิ่งเจาะยาก
  • อย่าใช้แรงโถมกดไปที่หัวสว่าน มันอาจหักได้
  • หัวสว่านคาร์ไบด์สามารถแตกได้เมื่อเจอน้ำ [18] หากคุณต้องการใช้น้ำมาช่วยป้องกันการโอเวอร์ฮีตและลดฝุ่น ให้อ่านคำแนะนำการใช้หรือติดต่อผู้ผลิตว่าจะทำอย่างปลอดภัยได้อย่างไร เวลาจะใช้น้ำระวังอย่าให้มอเตอร์ของสว่านเปียก
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 25,493 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา