PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

โลกนี้ไม่มีใครแก่เกินเรียน ไม่ว่าคุณจะเพิ่งแตกเนื้อสาวหรือเข้าสู่บั้นปลายชีวิตแล้ว คุณก็สวมหน้ากากแห่งผู้รู้ได้เสมอด้วยการเรียนรู้ศัพท์ใหม่ ๆ นิสัยรักการเรียนรู้และฝึกใช้ศัพท์ใหม่ ๆ ได้อย่างถูกต้องจะช่วยให้คุณสื่อสาร เขียน และคิดเรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ลองอ่านบทความนี้ดู แล้วคุณจะได้รู้เคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยเพิ่มคลังศัพท์ของคุณให้มากขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เรียนรู้ศัพท์ใหม่

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอเรียนจบแล้ว คุณก็จะไม่ได้เขียนตามคำบอกหรือมีการบ้านที่บังคับให้คุณต้องเรียนรู้ศัพท์ใหม่อีกแล้ว และก็อาจจะทำให้คุณเลิกอ่านหนังสือไปโดยปริยายด้วย ถ้าคุณอยากเพิ่มคลังศัพท์ในหัว คุณต้องตั้งกฎเกี่ยวกับการอ่านหนังสือขึ้นมาแล้วปฏิบัติตามนั้น
    • เริ่มจากการอ่านหนังสือเล่มใหม่สัปดาห์ละเล่ม หรืออ่านหนังสือพิมพ์ทุกเช้า เลือกความถี่และระยะเวลาที่เหมาะกับตัวเอง และจัดเวลาอ่านหนังสือให้อยู่ในตารางชีวิตของคุณ
    • ในหนึ่งสัปดาห์ พยายามอ่านหนังสืออย่างน้อยหนึ่งเล่มและนิตยสารอีกหลาย ๆ เล่มสม่ำเสมอ เพราะนอกจากคุณจะได้เพิ่มพูนคลังศัพท์แล้ว คุณยังได้รู้ทั้งเรื่องราวใหม่ ๆ และเรื่องราวที่ผ่านไปแล้วอยู่ตลอดเวลา ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ของคุณก็จะมากขึ้น และพอมีความรู้มากขึ้น คุณก็จะกลายเป็นคนฉลาดและรอบรู้
  2. ท้าทายตัวเองด้วยการอ่านหนังสือให้มากที่สุดเท่าที่เวลาและความชอบจะอำนวย อ่านงานเขียนคลาสสิก อ่านนิยายทั้งใหม่และเก่า อ่านกวีนิพนธ์หรืองานยาก ๆ อย่างงานของเฮอร์แมน เมลวิลล์ วิลเลียม ฟอล์กเนอร์ และเวอร์จิเนีย วูล์ฟ
    • ลองอ่านหนังสือที่ไม่ใช่นิยายและหนังสือเฉพาะทางบ้าง เพราะนอกจากจะทำให้คุณมีเรื่องใหม่ ๆ มีศัพท์ใหม่ ๆ ให้พูดแล้ว ยังช่วยเปิดมุมมองวิธีคิดใหม่ ๆ ด้วย ลองอ่านหนังสือหลาย ๆ ประเภท เช่น ปรัชญา ศาสนา และวิทยาศาสตร์
    • ถ้าปกติคุณอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหรือนิตยสาร lifestyle ทั่วไปอยู่แล้ว ลองหันมาอ่านหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่มีเนื้อหายาก ๆ เกี่ยวกับเรื่องระดับชาติหรือระดับโลกอย่าง The New Yorker หรือ The Economist ดูบ้าง
    • มีงานเขียนคลาสสิกมากมายให้คุณเลือกอ่านได้ใน Project Gutenberg [1] และ LibriVox [2]
  3. อ่านเรื่องที่มาจากอินเทอร์เน็ตและเรื่อง "ไร้สาระ" ด้วย. อ่านนิตยสาร บทความ บล็อกออนไลน์หลาย ๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็นบทความวิจารณ์เพลงหรือบล็อกแฟชั่น เพราะโลกนี้ไม่ได้มีแต่ศัพท์หรู ๆ การที่จะมีคลังศัพท์เยอะนั้น คุณจะต้องรู้ทั้งความหมายของคำว่า "soliloquy" และ "twerking" และคนที่ได้ชื่อว่ามีคลังศัพท์เยอะจะต้องอ่านได้ทั้งงานของเจฟฟรีย์ ชอร์เซอร์และลี ไชลด์
  4. เปิดพจนานุกรมเมื่อเจอคำที่คุณไม่รู้ความหมาย. เมื่อเจอคำที่ไม่รู้ความหมาย อย่าเพิ่งรีบอ่านข้ามไป ลองใช้บริบทช่วยเดาความหมายก่อน แล้วค่อยเปิดพจนานุกรมอีกทีเพื่อความแน่ใจ
    • พกสมุดเล่มเล็ก ๆ ติดตัวไว้ก็ไม่เสียหายนะ พอเจอคำที่ไม่รู้ปุ๊บก็จะได้จดไว้เลยแล้วไปหาความหมายทีหลัง ถ้าได้ยินหรือเห็นคำที่ไม่รู้จักแล้วละก็ อย่าลืมเปิดหาความหมายนะ
  5. ด่ำดิ่งลงไปในห้วงคำศัพท์ อ่านความหมายและคำอธิบายศัพท์ที่คุณไม่รู้ให้หมด สิ่งที่คุณต้องมีคือพจนานุกรมดี ๆ สักเล่มเพื่อให้การอ่านพจนานุกรมน่าสนใจขึ้น ลองหาซื้อพจนานุกรมที่มีคำอธิบายยาว ๆ ทั้งที่มาของศัพท์และหลักการใช้ เพราะจะช่วยให้คุณจำศัพท์ได้มากขึ้นและเพลิดเพลินไปกับการอ่านพจนานุกรมมากกว่าเดิมด้วย
  6. หาศัพท์ที่คุณใช้บ่อยเพื่อที่จะได้รู้ศัพท์ใหม่ ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำที่คุณใช้ และลองฝึกใช้คำใหม่ ๆ นั้นด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้ศัพท์ใหม่

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณตั้งมั่นแล้วว่าจะพัฒนาคลังศัพฺท์ของตัวเองให้ได้ คุณก็ต้องตั้งเป้าหมายให้ตัวเองด้วย พยายามเรียนรู้ศัพท์ใหม่สัปดาห์ละสามคำ แล้วลองพูดหรือเขียนโดยใช้คำนั้น ๆ ถ้าคุณตั้งใจจริงแล้วละก็ คุณจะได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่อีกหลายพันคำ แถมยังจำได้และใช้เป็นอีกด้วย ถ้าคุณไม่สามารถใช้คำได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องแล้วละก็ นั่นหมายความว่าคำนั้นไม่เหมาะจะอยู่ในคลังศัพท์ของคุณ
    • ถ้าศัพท์ใหม่ 3 คำต่อสัปดาห์ง่ายเกินไปสำหรับคุณ ลองเพิ่มจำนวนดู เช่นเปลี่ยนจาก 3 คำเป็น 10 คำต่อสัปดาห์
    • อย่าริเรียนคำใหม่ 20 คำต่อวัน เพราะมันยากที่จะเอาทุกคำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง ทำเท่าที่ทำได้และสร้างคลังศัพท์ที่คุณใช้เป็นจริง ๆ จะดีกว่า
  2. ถ้าคุณกำลังสร้างนิสัยเรียนรู้ศัพท์ใหม่ ลองใช้เทคนิคง่าย ๆ เหมือนตอนที่กำลังเตรียมสอบสิ เขียนศัพท์พร้อมกับความหมายลงใน post-it แล้วแปะไว้เหนือเครื่องชงกาแฟ เพราะคุณจะได้เห็นศัพท์ขณะชงกาแฟไปด้วย หรือจะติดศัพท์ไว้ที่กระถางต้นไม้ก็ได้นะ คุณจะได้เรียนศัพท์เพิ่มระหว่างรดน้ำต้นไม้ไงล่ะ
    • ตอนดูทีวีหรือทำอย่างอื่นก็อย่าลืมเอาบัตรคำไว้ใกล้ ๆ ตัวแล้วอ่านศัพท์ใหม่ไปด้วย ต้องเรียนรู้ตลอดเวลานะ
  3. ถ้าไม่เคยเขียนไดอารี่ก็เขียนซะ หรือไม่ก็เขียนบล็อกก็ได้ การใช้ทักษะการเขียนบ่อย ๆ จะทำให้คุณนึกศัพท์ดี ๆ ได้เสมอ
    • เขียนจดหมายหาเพื่อนเก่าและเล่ารายละเอียดเยอะ ๆ ถ้าปกติคุณเป็นคนเขียนจดหมายหรืออีเมลสั้น ๆ และใช้ภาษากันเอง ลองเปลี่ยนแนวการใช้ภาษาและเขียนให้ยาวขึ้น ค่อย ๆ ละเมียดละไมเขียนเหมือนตอนเขียนเรียงความส่งครู เลือกใช้คำสวย ๆ ด้วยนะ
    • ลองรับผิดชอบงานที่ต้องใช้ทักษะการเขียนดูบ้าง ถ้าปกติแล้วคุณมักจะเกี่ยงงานอย่างการเขียนบันทึกข้อความ เขียนอีเมลถึงเพื่อนร่วมงานหลาย ๆ คน หรือเข้าร่วมการอภิปรายกลุ่ม ลองเปลี่ยนนิสัยแล้วเขียนให้มากขึ้น เขาอาจจะจ้างคุณให้เรียนศัพท์เพิ่มด้วยก็ได้นะ
  4. นักเขียนที่ดีจะพยายามเขียนให้สั้นกระชับและถูกต้อง เปิดอรรถาภิธานและเลือกคำที่มีความหมายตรงกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อมากที่สุด อย่าใช้ถึง 3 คำถ้าใช้คำเดียวได้ เพราะประโยชน์ที่แท้จริงของการเรียนรู้ศัพท์ใหม่คือการที่คุณสามารถลดจำนวนคำในประโยคได้
    • เช่นวลี "dolphins and whales" สามารถใช้คำว่า "cetaceans" แทนได้ เห็นไหม คำเดียวแทนได้ตั้ง 2 คำแน่ะ
    • ศัพท์คำนั้นจะมีประโยชน์ต่อเมื่อมันให้รายละเอียดมากกว่าคำที่มันเข้าไปแทน เช่น หลายคนอาจจะมีเสียงที่ "pleasant" แต่คนที่มีน้ำเสียง "pleasant" มาก ๆ แทนที่จะเขียนว่า very pleasant ก็เปลี่ยนเป็น "mellifluous" ที่รวมความหมายทั้ง 2 คำเอาไว้
  5. นักเขียนด้อยประสบการณ์มักจะคิดว่า การคลิกตัวเลือก Thesaurus ใน Microsoft Word ประโยคละ 2 ครั้งจะทำให้งานเขียนดีขึ้น ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย การใช้ศัพท์หรู ๆ ชนิดที่ในชีวิตปกติไม่มีใครใช้ยกเว้นเวลาแข่ง Spelling bee จะทำให้งานเขียนของคุณดูน่าหมั่นไส้ และที่แย่ไปกว่านั้นคือคำหรูหรามีโอกาสจะลดทอนความแม่นยำของเนื้อหามากกว่าการใช้ศัพท์ทั่วไป การใช้ศัพท์ได้อย่างเหมาะสมต่างหากคือสิ่งที่บอกว่าใครเป็นนักเขียนตัวจริง และยังบอกได้อีกด้วยว่าคน ๆ นั้นมีคลังศัพท์ในหัวเยอะ
    • คุณอาจจะพูดว่า "Iron Mike" เป็น "sobriquet" ของ Mike Tyson แต่คำว่า "nickname" อาจจะสื่อความหมายได้ถูกต้องมากกว่าและฟังดูเหมาะสมมากกว่าเมื่ออยู่ในประโยค เพราะฉะนั้น คำว่า "sobriquet" ถึงจะฟังดูเป็นศัพท์ไฮโซ แต่ถึงรู้ไปก็อาจจะไม่มีประโยชน์เท่าไหร่
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

สร้างคลังศัพท์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าไปในเว็บไซต์พจนานุกรมออนไลน์ แล้วลงทะเบียนขอรับอีเมล "Word of the Day" ทุกวัน. หรือจะทำปฏิทิน a Word of the Day ไว้ก็ได้ อ่านศัพท์ประจำวันทุกวัน พยายามจำศัพท์แต่ละวันและหาทางใช้ศัพท์ใหม่ในวันนั้นให้ได้
    • เข้าเว็บไซต์ที่มีการสอนศัพท์ เช่น freerice.com เว็บไซต์นี้นอกจากคุณจะได้ขยายคลังศัพท์แล้ว ยังมีโอกาสทำประโยชน์ให้แก่ผู้ยากไร้และผู้ด้อยโอกาสไปพร้อม ๆ กันด้วย
    • มีเว็บไซต์มากมายที่รวบรวมศัพท์ที่ไม่ค่อยได้ใช้ ศัพท์แปลก ๆ ศัพท์เก่า หรือศัพท์ยาก ๆ เรียงลำดับตามตัวอักษร ลองใช้ search engine ค้นหาเว็บไซต์เหล่านี้ดูเพื่อเรียนรู้ศัพท์ ถือว่าเป็นกิจกรรมฆ่าเวลาระหว่างรอรถเมล์หรือเข้าคิวธนาคารได้เลยนะเนี่ย
  2. เล่มเกมปริศนาอักษรไขว้หรือเกมทายศัพท์อื่น ๆ. เกมปริศนาอักษรไขว้คือแหล่งเพิ่มพูนคลังศัพท์ชั้นดี เพราะคนคิดเกมก็จะต้องไปหาคำแปลก ๆ มาเพื่อให้มันลงล็อกกับตารางพอดี แถมยังต้องเป็นคำที่คนเล่นรู้สึกสนุกด้วย เกมปริศนาทายศัพท์มีเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Crossword เกมหาคำที่ซ่อนอยู่ในตัวหนังสือ หรือเกมที่มีคำกำหนดมาให้แล้วให้เราไล่หา เกมปริศนาเหล่านี้นอกจากจะเพิ่มคลังศัพท์ในหัวแล้ว ยังช่วยฝึกทักษะคิดวิเคราะห์อีกด้วย นอกจากเกมปริศนาแล้ว ยังมีเกมที่เกี่ยวกับการใช้ศัพท์อื่น ๆ อีกด้วย เช่น Scrabble ที่ช่วยให้คุณรู้ศัพท์มากขึ้น
  3. ถึงละตินจะเป็นภาษาที่ตายแล้ว แต่การรู้ภาษาละตินบ้างเล็กน้อยคือวิธีการเรียนรู้รากศัพท์ภาษาอังกฤษ และช่วยให้คุณเดาความหมายศัพท์ที่คุณไม่รู้ได้โดยที่คุณไม่ต้องเปิดพจนานุกรม มีฐานข้อมูลภาษาละตินและหนังสือภาษาละตินมากมาย (ลองไปดูที่ร้านหนังสือมือสองร้านโปรดของคุณก็ได้นะ)
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ดาวน์โหลดแอพฯพจนานุกรมออนไลน์แบบฟรีลงในมือถือ ใช้ screenshot แคปหน้าจอความหมายไว้ คุณจะได้ไว้ดูทีหลังได้
  • การใช้คำติดปากบ่อย ๆ อย่างคำว่า "Like...", "So...", "Um...", "Ain't" และ "Yea..." ทำให้คนที่มีคลังศัพท์อู้ฟู่ดูเป็นคนการศึกษาน้อยไปได้ในบัดดล เพราะฉะนั้นพยายามหลีกเลี่ยงคำพวกนี้ซะ รวมทั้งคำย่อที่เป็นภาษาวัยรุ่นด้วย
  • อ่านฉลากด้านหลังของใช้ในบ้าน (เช่นกระป๋องโซดา กล่องอาหาร ขวดแชมพู) เพราะมักจะมีคำยาก ๆ เขียนอยู่เสมอ
  • มีเว็บไซต์มากมายที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้คุณได้พัฒนาคลังศัพท์ ลองหาเว็บไซต์ที่ชอบและใช้ประโยชน์จากมันให้ได้มากที่สุด
  • ลองซื้อสมุดจดศัพท์เล่มเล็ก ๆ ที่คุณใส่ไว้ในกระเป๋าหรือกระเป๋าเสื้อได้และพกติดตัวไปได้ทุกที่ เขียนศัพท์ใหม่ที่คุณเพิ่งรู้แล้วเอาออกมาทวนตอนนั่งรถเมล์ เข้าแถว หรือรอคนเพื่อให้ตัวเองได้ทวนศัพท์บ่อย ๆ
  • พยายามหาสมุดจดคำที่มีความหมายเหมือน/คำที่มีความหมายตรงข้าม วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้เรียนรู้ระดับของคำมากขึ้น เช่นคำว่า "destitute" ฟังดูจริงจังกว่าคำว่า "poor"
  • เว็บไซต์ Dictionary.com หนึ่งในเว็บไซต์พจนานุกรมที่มีคนใช้มากที่สุด ตรงด้านล่างจะมีมุมเล็ก ๆ ที่บอกว่าคำไหนถูกค้นบ่อยบ้าง
โฆษณา

คำเตือน

  • ต้องนึกด้วยว่าบางทีเราอาจจะใช้คำที่คนอื่นไม่รู้ ซึ่งจะทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสารและความเข้าใจระหว่างกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ คุณควรเตรียมคำที่มีความหมายเหมือนกันแต่ง่ายกว่าไว้ด้วย พูดง่าย ๆ คืออย่าอวดภูมิให้มันมากนักนั่นแหละ


โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • พจนานุกรม
  • บัตรคำและปากกามาร์กเกอร์
  • สมุดและปากการมาร์กเกอร์
  • นวนิยายคลาสสิก หนังสือหรือบทความที่อ่านยาก ๆ
  • หนังสือหรือบทความหลากหลายประเภท


ข้อมูลอ้างอิง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,631 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา