PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) คือ การใช้อารมณ์ของเราให้มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิต การเข้าถึงอารมณ์ของตนเองจะทำให้เรารู้วิธีจัดการกับความเครียดและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตทั้งในด้านชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน ความฉลาดทางอารมณ์ไม่ได้คงที่เหมือนความฉลาดทางสติปัญญา เราสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้ตลอดชีวิต ว่าแล้วก็มาดูเทคนิคเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ที่คุณสามารถนำไปปฏิบัติได้เลยกันดีกว่า

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้อารมณ์ให้เป็นประโยชน์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. จดบันทึกปฏิกิริยาทางอารมณ์ของตัวเองตลอดทั้งวัน. การเพิกเฉยต่อความรู้สึกของตัวเองตลอดทั้งวันเป็นเรื่องง่าย แต่การใช้เวลาทบทวนว่าเรารู้สึกต่อเหตุการณ์รอบตัวในแต่ละวันอย่างไรคือหัวใจสำคัญของการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ การเพิกเฉยต่อความรู้สึกคือการมองข้ามข้อมูลสำคัญที่สร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อทัศนคติและพฤติกรรมของตัวเอง มาเริ่มใส่ใจความรู้สึกและเชื่อมมันเข้ากับประสบการณ์ชีวิตกันดีกว่า [1]
    • เช่น สมมุติว่าคุณอยู่ที่ทำงานแล้วมีคนพูดขัดคุณในที่ประชุม อารมณ์ของคุณตอนนั้นเป็นอย่างไร ในขณะเดียวกัน เวลาที่คุณได้รับคำชมว่าทำงานดี คุณรู้สึกอย่างไร การฝึกให้นิยามอารมณ์ของตัวเองว่าเศร้า อาย ร่าเริง พอใจ คือหนทางสู่การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
    • ฝึกนิสัยทบทวนอารมณ์ของตัวเองในแต่ละเวลาทุกวัน อารมณ์แรกที่ผุดขึ้นมาหลังจากตื่นนอนคืออะไร และอารมณ์สุดท้ายก่อนหลับไปคืออะไร
  2. เปลี่ยนจากการละเลยการแสดงออกทางร่างกายมาฟังร่างกายของคุณให้มากขึ้น กายกับจิตไม่ได้อยู่แยกกัน ลึก ๆ แล้วต่างฝ่ายต่างก็ส่งผลต่อกันอยู่เสมอ คุณสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้โดยการอ่านปฏิกิริยาทางร่างกายที่บอกถึงอารมณ์ของคุณในขณะนั้น [2] เช่น:
    • ถ้าเครียด คุณจะรู้สึกท้องตื้อ ๆ หน้าอกตึง หรือหายใจเร็วขึ้น
    • ถ้าเศร้า อาจจะรู้สึกเหมือนตื่นมาแล้วแขนขาหนัก ๆ ขยับได้ช้า
    • ถ้าร่าเริงหรือสุขใจจะรู้สึกเหมือนมีผีเสื้อบินอยู่ในท้อง หัวใจเต้นเร็ว มีพลังมากขึ้น
  3. สังเกตว่าอารมณ์กับพฤติกรรมเชื่อมกันอย่างไร. เวลาที่อารมณ์รุนแรงมาก ๆ คุณมีปฏิกิริยาอย่างไร วิเคราะห์การตอบสนองภายในของคุณต่อสิ่งที่เจอในแต่ละวันแทนที่จะแสดงออกมาแล้วไม่ได้กลับไปทบทวนเลย เพราะยิ่งคุณเข้าใจว่าอะไรมีผลต่อการแสดงออกทางอารมณ์มากเท่าไหร่ ความฉลาดทางอารมณ์ของคุณก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น และคุณจะรู้ว่าการรู้เท่าทันอารมณ์นั้นเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณได้จริง ๆ มาดูตัวอย่างพฤติกรรมและอารมณ์ที่ซ่อนอยู่กัน:
    • ความประหม่าหรือความไม่มั่นใจอาจทำให้คุณหลุดจากบทสนทนาหรือใจลอย
    • เวลาโกรธคุณอาจจะเผลอขึ้นเสียงหรือเดินฟึดฟัดออกไป
    • เมื่อทุกอย่างประดังประเดเข้ามา คุณอาจจะลนลานและนึกไม่ออกว่าจะต้องทำอะไรก่อนหลัง หรือร้องไห้
  4. ทุกอารมณ์ไม่ว่าจะแง่ดีหรือแง่ลบล้วนมีสาเหตุ เพราะฉะนั้นถ้าคุณตัดสินอารมณ์ของตัวเอง ก็เท่ากับว่าคุณปิดกั้นไม่ให้ตัวเองรู้สึกอะไรเลย ซึ่งจะทำให้คุณใช้อารมณ์ต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ได้ยากเข้าไปอีก เปลี่ยนมาคิดใหม่ว่า อารมณ์คือข้อมูลใหม่ที่มีประโยชน์และเชื่อมโยงกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกของคุณ ถ้าไม่มีข้อมูลชุดนี้คุณก็จะไม่รู้วิธีการวางตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมการรู้เท่าทันอารมณ์ของตนจึงเป็นความฉลาดในรูปแบบหนึ่ง
    • ตอนแรกอาจจะทำยาก แต่ลองฝึกปล่อยให้เกิดอารมณ์ในแง่ลบและเชื่อมโยงมันเข้ากับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นแทน เช่น สมมุติว่าคุณกำลังอิจฉา ลองถามตัวเองว่า อารมณ์อิจฉานั้นกำลังบอกอะไรเกี่ยวกับสถานการณ์ของคุณ
    • ปล่อยใจไปกับอารมณ์ในแง่บวกด้วยเช่นกัน และเชื่อมโยงความเบิกบานใจหรือความพึงพอใจกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นรอบตัวคุณ วิธีนี้จะทำให้คุณรู้ว่าคุณจะทำให้ตัวเองรู้สึกดีบ่อยกว่าเดิมได้อย่างไร
  5. การสังเกตรูปแบบอารมณ์เป็นการเรียนรู้อารมณ์ของตนเองและดูว่าอารมณ์นั้น ๆ สัมพันธ์กับประสบการณ์ชีวิตของคุณอย่างไร เวลาที่มีอารมณ์รุนแรง ลองถามตัวเองว่าคุณรู้สึกแบบนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ก่อนหน้านั้น ระหว่างนั้น และหลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง
    • พอคุณเห็นรูปแบบอารมณ์ของตัวเอง คุณก็จะควบคุมการแสดงออกได้ดีขึ้น สังเกตว่าคุณเคยรับมือกับสถานการณ์เดียวกันอย่างไร และครั้งต่อไปคุณอยากจะรับมือกับมันแบบไหน
    • จดบันทึกการแสดงออกทางอารมณ์หรือสิ่งที่คุณรู้สึกในแต่ละวัน เพื่อให้เห็นชัด ๆ ว่าคุณมีแนวโน้มที่จะแสดงออกในแต่ละสถานการณ์อย่างไร
  6. คุณบังคับไม่ให้ตัวเองรู้สึกไม่ได้ แต่คุณยังคงเชื่อมสัมพันธ์กับสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกของคุณได้ ถ้าไม่มีข้อมูลตรงนี้ คุณจะมืดแปดด้านว่าจะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองเช่นไรจึงจะเหมาะสม นั่นจึงเป็นเหตุว่าทำไมความสามารถในการรู้สึกถึงอารมณ์ของตนเองจึงถือเป็นความฉลาดรูปแบบหนึ่ง
    • ตอนแรกมันก็จะยาก แต่การฝึกจะช่วยปล่อยอารมณ์ด้านลบออกมาและเชื่อมมันเข้ากับสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น ถ้าคุณรู้สึกอิจฉา อารมณ์เช่นนี้บอกอะไรถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้คุณรู้
    • รับอารมณ์ด้านบวกอย่างเต็มที่ด้วย เชื่อมความสุขหรือความรู้สึกเป็นสุขกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว คุณจะได้เรียนรู้ว่าจะรู้สึกอย่างนั้นได้บ่อยขึ้นอย่างไร
  7. คุณบังคับไม่ให้ตัวเองรู้สึกไม่ได้ แต่คุณเลือกได้ว่าจะแสดงออกแบบไหน ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องการควบคุมตัวเองเวลาโกรธหรือไม่พูดไม่จาเวลาที่คุณเจ็บปวด ลองคิดดี ๆ ว่าจริง ๆ แล้วคุณควรแสดงออกแบบไหน แทนที่จะปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือคุณ ตัดสินใจให้ดีว่าถ้ามีอารมณ์รุนแรงเกิดขึ้นคุณจะแสดงออกอย่างไรในครั้งต่อไป
    • เมื่อมีเหตุการณ์ร้าย ๆ เกิดขึ้นในชีวิต ให้ทบทวนอารมณ์ของตัวเองสักพัก บางคนบอกว่ามันเหมือนกับการปล่อยให้คลื่นความเศร้าหรือความโกรธซัดออกไปก่อน พอคลื่นลูกแรกหายไป ค่อยมาตัดสินใจว่าจะแสดงออกกับเหตุการณ์นั้นอย่างไรดี เลือกที่จะสื่อสารกับความรู้สึกของตนเองแทนที่จะกดมันไว้ ตั้งสติและลองดูใหม่แทนที่จะยอมแพ้ไปเลย
    • อย่าหนีความจริง การปล่อยให้อารมณ์เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และหลายคนก็กดมันไว้ด้วยการดื่มเหล้า ดูทีวีเยอะ ๆ หรือหาอะไรทำเพื่อลดความเจ็บปวด ทำแบบนี้บ่อย ๆ เข้า EQ จะต่ำลงเรื่อย ๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สื่อสารกับคนอื่น

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อพูดถึงความฉลาดทางอารมณ์ ความใจกว้างและอัธยาศัยดีมักเป็นของคู่กัน นิสัยใจแคบคือสิ่งที่บ่งบอกว่า EQ ต่ำ เมื่อใจของคุณเปิดรับผ่านความเข้าใจและการตกผลึกทางความคิดจากภายใน คุณก็จะรับมือกับความขัดแย้งได้อย่างสุขุมและมั่นใจมากขึ้น ทักษะการเข้าสังคมจะสูงขึ้นและโอกาสใหม่ ๆ ก็จะเข้ามาหาคุณ ในการฝึกตัวเองให้ใจกว้างและทำตัวให้เป็นมิตร คุณควร:
    • ฟังรายการโต้วาทีในทีวีหรือวิทยุบ่อย ๆ พิจารณาข้อโต้แย้งของทั้งสองฝ่าย และฝึกหารายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ สำคัญที่ซ่อนอยู่
    • เวลาเห็นใครแสดงออกทางอารมณ์ในสถานการณ์เดียวกันแตกต่างจากคุณ ลองคิดว่าเป็นเพราะอะไร และพยายามมองสถานการณ์จากมุมของเขา
  2. ความเห็นอกเห็นใจคือ การที่เรารับรู้ได้ว่าคนอื่นกำลังรู้สึกอย่างไรและร่วมแบ่งปันความรู้สึกนั้นด้วย [3] การเป็นผู้ฟังที่ดีที่ใส่ใจสิ่งที่คนอื่นพูดอย่างแท้จริงจะช่วยให้คุณรู้ว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไร และถ้าคุณสามารถใช้ความรู้สึกของคนอื่นมาช่วยสื่อสิ่งที่คุณต้องการหรือพัฒนาความสัมพันธ์ได้ นั่นหมายความว่า EQ ของคุณเพิ่มขึ้นแล้ว
    • คุณสามารถฝึกทักษะเห็นใจผู้อื่นได้โดยการสมมุติว่าตัวเองเป็นคนอื่น นึกดูว่าถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นกับคุณ คุณจะรู้สึกอย่างไร จินตนาการว่าคน ๆ นั้นเขาจะต้องเจอะเจออะไรมาบ้าง และการสนับสนุนหรือความห่วงใยแบบไหนที่จะช่วยบรรเทาความทุกข์นี้ได้
    • เวลาเห็นใครของขึ้น ลองถามตัวเองว่า “ถ้าเป็นฉัน ฉันจะแสดงออกอย่างไร”
    • การตั้งใจฟังสิ่งที่คู่สนทนาพูดจะทำให้คุณแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจได้มากขึ้น แทนที่จะเหม่อลอยขณะที่เขาพูด เปลี่ยนเป็นซักถามและสรุปเรื่องที่เขาเล่า เขาจะได้รู้ว่าคุณตั้งใจฟังเขาจริง ๆ
  3. พยายามอ่านความหมายและความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ในบทสนทนา โดยสังเกตจากสีหน้าและท่าทาง เพราะบ่อยครั้งที่คนเราพูดอย่าง แต่พอเห็นสีหน้าก็รู้เลยว่ายังมีความจริงบางอย่างซ่อนอยู่ ฝึกสังเกตสีหน้าท่าทางและวิธีการสื่ออารมณ์ทางอ้อมของคนอื่น
    • ถ้าไม่แน่ใจว่าตัวเองตีความสีหน้าคนอื่นได้ถูกต้องหรือเปล่า ลองทำแบบทดสอบเพื่อดูว่าตัวเองยังต้องฝึกเพิ่มตรงไหนบ้าง [4]
    • ระดับเสียงก็สื่อความหมายได้เช่นกัน เช่น เสียงสูงสื่อว่าคน ๆ นั้นกำลังเครียด
  4. ในการพัฒนา EQ นั้น แค่เข้าใจอารมณ์ของคนอื่นยังไม่พอ คุณต้องรู้ด้วยว่าคุณทำให้คนอื่นรู้สึกอย่างไร คุณจงใจทำให้คนอื่นตื่นตระหนก ร่าเริง หรือโกรธกันแน่ คนอื่นแสดงออกอย่างไรเมื่อเห็นคุณเดินเข้ามาในห้อง
    • ลองคิดดูว่าเหตุการณ์ไหนมักเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในบทสนทนา และคุณต้องเปลี่ยนอะไรบ้าง เช่น ถ้าคุณมักจะทะเลาะกับคนที่คุณรัก คุยกับแฟนสาวทีไรเธอก็ร้องไห้ทุกที หรือพอคุณเดินเข้าไปใกล้ใครเขาก็จะรีบหยุดคุยกัน ถ้าเป็นอย่างนี้คุณต้องเปลี่ยนทัศนคติในบางเรื่องบ้าง คนอื่นจะได้รู้สึกดีกับคุณมากขึ้น
    • ถามเพื่อน ๆ ที่ไว้ใจได้หรือคนที่คุณรักว่าเขารู้สึกอย่างไรกับคุณ บางคำตอบอาจจะทำให้คุณไม่ชอบใจเท่าไหร่ แต่เชื่อเถอะว่ามันช่วยได้
  5. การที่คุณบอกว่า “ไม่เป็นไร” ทั้ง ๆ ที่หน้าเหวี่ยงสุด ๆ คือการไม่ซื่อสัตย์ในการสื่อสาร ฝึกสื่อสารอารมณ์อย่างตรงไปตรงมาผ่านภาษากาย คนอื่นจะได้อ่านใจคุณออก ถ้าไม่พอใจก็บอกไปตรง ๆ ถ้าสนุกและมีความสุขก็บอกให้เขารับรู้ด้วย
    • การเป็น "ตัวของตัวเอง" จะทำให้คนอื่นรู้จักและไว้ใจคุณมากขึ้น เพราะเขารู้ว่าเนื้อแท้ของคุณเป็นอย่างไร
    • แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า คุณต้องควบคุมอารมณ์อยู่เสมอเพื่อไม่ให้อารมณ์ของคุณทำร้ายใคร
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

การนำ EQ มาปรับใช้

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. [5] แม้ความเฉลียวฉลาดจะเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต แต่ก็ไม่จำเป็นเท่าความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางอารมณ์นำไปสู่โอกาสในอาชีพการงานและความสัมพันธ์ที่ดี ความฉลาดทางอารมณ์ประกอบด้วยส่วนสำคัญหลัก 4 ส่วนที่จะทำให้คุณมีชีวิตที่สมดุล พิจารณาแต่ละส่วนให้ดีและดูว่ายังมีส่วนไหนที่คุณต้องปรับปรุงบ้าง จากนั้นค่อย ๆ ทำตามขั้นตอนเพื่อพัฒนาในแต่ละส่วนต่อไป: [6]
    • การรู้จักตัวเอง : ความสามารถในการรับรู้ว่าอารมณ์ของตัวเองคืออะไรและเข้าใจว่ามันมาจากไหน การรู้จักตัวเองคือการรู้จุดแข็งและข้อจำกัดของตัวเอง
    • การจัดการตัวเอง : ความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ สร้างสมดุลระหว่างความต้องการของตนเองและผู้อื่น มีความคิดริเริ่ม ไม่บุ่มบ่าม การจัดการตัวเองคือความสามารถในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและมีความมุ่งมั่นตั้งใจจริง
    • การรู้จักเข้าสังคม : ความสามารถในการรับรู้อารมณ์และสิ่งที่ผู้อื่นให้ความสำคัญ รวมถึงความสามารถในการสังเกตและรู้จักปรับตัวเข้ากับกฎเกณฑ์ทางสังคม การรู้จักเข้าสังคมคือความสามารถในการรับรู้ข้อกำหนดของแต่ละวัฒนธรรมกลุ่มหรือองค์กร
    • การจัดการความสัมพันธ์ : ความสามารถในการเข้ากับผู้อื่น รับมือกับความขัดแย้ง สร้างแรงบันดาลใจ โน้มน้าวใจผู้คน และสื่อสารได้อย่างชัดเจน
  2. ความเครียดเป็นคำเรียกรวม ๆ ของอารมณ์ต่าง ๆ ที่ประดังประเดเข้ามาในเวลาเดียวกัน ทุกวันชีวิตคนเราต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากต่าง ๆ ตั้งแต่ความสัมพันธ์ขาดสะบั้นไปจนถึงตกงาน และในระหว่างนั้นก็จะเกิดความเครียดมหาศาลที่ทำให้เรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวันดูเป็นเรื่องใหญ่โตเกินจริง เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเครียดมาก ๆ คุณจะควบคุมพฤติกรรมได้ยากขึ้น เพราะฉะนั้นการวางแผนคลายเครียดจึงช่วยพัฒนา EQ ในทุก ๆ ด้าน
    • หาว่าอะไรคือสาเหตุของความเครียด และอะไรช่วยคลายเครียดได้ เขียนว่ามีอะไรที่ช่วยคลายเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพบ้าง เช่น ไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ หรือเดินเล่นในป่า จากนั้นวางแผนคลายเครียดแล้วทำตามนั้น
    • ถ้าไม่ไหวให้ขอความช่วยเหลือ ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถจัดการกับความเครียดเพียงลำพังได้อีกต่อไป ให้ขอความช่วยเหลือจากนักบำบัดหรือนักจิตวิทยาที่จะหาวิธีจัดการความเครียดให้กับคุณ (และในเวลาเดียวกันก็ช่วยคุณเพิ่ม EQ ด้วย)
  3. ทำตัวสนุกสนานมากขึ้นเวลาอยู่บ้านและที่ทำงาน. [7] เวลาที่เราคิดบวก เราจะมองเห็นความสวยงามจากสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวันง่ายขึ้น และเราก็จะถ่ายโอนความรู้สึกนี้ให้กับคนอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเราด้วย การคิดบวกทำให้สุขภาพจิตแข็งแรงและนำโอกาสดี ๆ เข้ามาในชีวิต เพราะใคร ๆ ก็อยากจะอยู่ใกล้คนที่มองโลกในแง่ดี การคิดบวกจะดึงผู้คนเข้ามาหาคุณ ยิ่งคุณรู้จักคนมากเท่าไหร่ โอกาสดี ๆ ก็จะวิ่งเข้ามาในชีวิตคุณมากเท่านั้น
    • การมองโลกในแง่ร้ายจะทำให้เรามองเห็นแต่ทางที่จะนำไปสู่ข้อผิดพลาดแทนที่จะสร้างพลังเข้มแข็งขึ้นมา
    • คนที่มี EQ สูงจะรู้วิธีใช้ความสนุกสนานและอารมณ์ขันทำให้ตัวเองและคนอื่น ๆ รู้สึกปลอดภัยและมีความสุขขึ้น ใช้เสียงหัวเราะช่วยผ่านช่วงเวลาเลวร้ายไปให้ได้
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • อย่าท้อ จำไว้เสมอว่า EQ พัฒนาได้ไม่ว่าตอนแรกมันจะสูงหรือต่ำแค่ไหน ขอเพียงมีความมุ่งมั่นและเต็มใจที่จะเปิดรับการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงก็พอ
  • ถ้าคุณเป็นคนมี EQ สูง ลองมองหางานที่ต้องติดต่อ ประสานงาน และสร้างเครือข่ายกับผู้อื่นเป็นประจำ
  • ความฉลาดทางอารมณ์ไม่ใช่แค่การควบคุมความรู้สึกของตัวเอง แต่เป็นการควบคุมตัวเองด้วย
  • ของบางอย่างต้องอาศัยการวิเคราะห์อย่างละเอียด
โฆษณา

คำเตือน

  • คนที่มี IQ สูงไม่ได้มี EQ สูงเสมอไป
  • ความใจกว้างไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องให้ค่าบางแนวคิด เช่น การคลั่งศาสนา การใช้กำลังประทุษร้ายคนที่แตกต่าง หรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เท่ากับแนวคิดที่ดีต่อโลกมากกว่า แต่ความใจกว้างคือการเข้าใจว่าทำไมคนเหล่านั้นถึงกลัวคนบางกลุ่มจนถึงขั้นที่ต้องกำจัดพวกเขาออกไป


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 37,758 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา