PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าคุณจะกำลังแต่งเรื่องสั้นหรือนิยาย การเริ่มต้นเขียนเรื่องให้เหมาะเจาะนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่าการเริ่มต้นเขียนเรื่องให้ได้ดีนั้นอาจจะชวนท้อใจแต่ใช่ว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้! เริ่มต้นด้วยการนึกถึงความคิดดีๆ หรือถ้ายังไม่แน่ใจว่าอยากเขียนไปทางไหนก็ค่อยๆ เขียนไปก็ได้ ร่างโครงเรื่องและเขียนอธิบายตัวละครเพื่อตีวงความคิด แล้วก็เริ่มเขียนเลย!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ริเริ่มความคิด

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. กับตัวเองเพื่อให้จินตนาการได้โลดแล่น. เมื่อคุณถามตัวเองว่า “อะไรจะเกิดขึ้นนะ หาก...” ก็เท่ากับว่าคุณกำลังบอกให้สมองคิดถึงอะไรที่ดูธรรมดาสามัญไปในทางสร้างสรรค์ หลังจากถามตัวเองว่า “อะไรจะเกิดขึ้นหาก..”​ แล้ว ลองคิดถึงคำตอบที่เป็นไปได้หลายๆ แบบ จำไว้ว่าคำถามนี้นั้นสามารถมีคำตอบได้หลายทาง ตอบคำถามนี้จนกระทั่งได้คำตอบที่จุดประกายความคิดสร้างสรรค์และทำให้คุณรู้สึกว่าน่าจะขยายเล่าเป็นเรื่องราวได้ ตัวอย่างคำถาม “อะไรจะเกิดขึ้นหาก...” ได้แก่: [1]
    • อะไรจะเกิดขึ้นหากไดโนเสาร์ยังไม่สูญพันธุ์?
    • อะไรจะเกิดขึ้นหากเรามีโชคจำกัดในแต่ละวัน?
    • อะไรจะเกิดขึ้นหากเราสามารถเปลี่ยนสีผมได้ทุกวัน?
    • อะไรจะเกิดขึ้นหากเพื่อนรักของฉันดันเป็นสายลับขึ้นมา?
  2. เพื่อสร้างงานเขียนที่สมจริง. การแต่งประโยคจากคำว่า “ฉันสงสัยว่า...” นั้นคือวิธีการพยายามค้นหาเหตุผลลึกซึ้งลงไปว่าทำไมบางสิ่งบางอย่างจึงเกิดขึ้น โดยเกิดขึ้นกับใครและจะทำให้คนๆ นั้นรู้สึกเช่นไร ไม่ว่าคุณจะแต่งประโยคนี้ออกมาแบบกว้างๆ หรือแต่งแบบเฉพาะเจาะจง การขึ้นต้นประโยคว่า “ฉันสงสัยว่า...” นั้นจะช่วยเปิดโอกาสให้คุณได้เรียนรู้สิ่งใหม่และช่วยให้คุณมองสิ่งที่เคยเห็นผ่านตามาแล้วต่างไปจากเดิมด้วย ตัวอย่างประโยคที่ขึ้นต้นว่า “ฉันสงสัยว่า...” ได้แก่ : [2]
    • ฉันสงสัยว่าจิมทำอะไรในห้องใต้ดินทุกคืน
    • ฉันสงสัยว่าคนที่ขับรถบรรทุกไปทั่วประเทศนั้นมีชีวิตอย่างไรกันนะ
    • ฉันสงสัยว่าชีวิตในย่านทุรกันดารของรัสเซียนั้นเป็นอย่างไร
  3. ลองไปในที่ที่คนพลุกพล่าน (เช่น ร้านกาแฟ)​ และฟังคนอื่นคุยกันแล้วก็แอบจดสิ่งที่พวกเขาคุยกันออกมา ใช้บทสนทนานั้นเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างตัวละครและสร้างสถานการณ์ให้กับโครงเรื่อง ชีวิตของคนพวกนี้น่าจะเป็นอย่างไร? คนเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร? เมื่อคุณพอจะมีความคิดคร่าวๆ ของตัวละครเหล่านี้แล้วก็เริ่มเขียนโครงเรื่องซึ่งมุ่งประเด็นถึงชีวิตของตัวละคร หรือจะเขียนให้คนเหล่านี้เป็นตัวละครประกอบเส้นเรื่องที่ใหญ่กว่านี้ก็ได้ [3]
    • หากคุณรู้สึกว่าคนที่พูดคุยกันเริ่มรู้สึกไม่สบายใจก็หยุดแอบฟังและลองฟังคนอื่นๆ คุยกันแทน
  4. จดความคิดที่ยังไม่ปะติดปะต่อไว้ในสมุดบันทึก. ใช่ว่าทุกความคิดจะนำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวได้ แต่ความคิดอันสะเปะสะปะนี้อาจช่วยคุณสร้างตัวละครหรือโครงเรื่องรองได้ อย่าลบความคิดที่คุณคิดว่า “ยังไม่ดี” ทิ้ง แต่จดสิ่งที่คิดได้แยกออกมาหรือจดใส่สมุดบันทึกอีกเล่มเพื่อสะสมความคิดที่ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง จากนั้นค่อยกลับมาอ่านทวนอีกครั้งทีหลัง
    • บันทึกความฝันของคุณไว้ด้วย ความฝันหรือฝันกลางวันอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของเรื่องราวดีๆ ก็ได้นะ! [4]
  5. การอ่านจะช่วยให้คุณเข้าใจทิศทางการดำเนินเรื่องและจะทำให้คุณนึกอยากพัฒนาเรื่องราวแบบที่คุณชอบขึ้นมา คุณชอบเรื่องที่เริ่มและจบแบบฉับพลันหรือเปล่า? หรือคุณชอบการบรรยายฉากและตัวละครแบบไหลลื่น? โครงเรื่องเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในเรื่องสำหรับคุณไหม? ลองให้ความสำคัญกับวิธีการเริ่มต้นของเรื่อง วิธีการแนะนำตัวละคร และดูว่าโครงเรื่องดำเนินไปรวดเร็วหรือแช่มช้าอย่างไร คุณจะได้เริ่มระดมความคิดสำหรับการเล่าเรื่องของตัวเองได้ [5]
    • รูปแบบและประเภทของงานวรรณกรรมส่วนใหญ่จะมีขนบเฉพาะตัว ดังนั้นคุณต้องอ่านหนังสือและเรื่องแต่งที่เขียนออกมาในรูปแบบที่คุณอยากจะเขียนนะ
  6. โปรแกรมช่วยสร้างโครงเรื่องอาจช่วยให้คุณเริ่มต้นเขียนเรื่องด้วยการเสนอโครงเรื่องที่แปลก สดใหม่ หรือไม่ซ้ำใครให้แก่คุณ บางครั้ง การได้แรงกระตุ้นจากสื่อภายนอกอาจเป็นสิ่งเดียวที่คุณต้องการเพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ก็ได้นะ!
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ร่างโครงเรื่อง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. สรุปโครงเรื่องควรจะบรรยายเรื่องทั่วไป เช่น อะไรจะเกิดขึ้น จะเกิดขึ้นที่ไหน จะเกิดขึ้นกับใคร คุณจะใส่รายละเอียดหรือเขียนกว้างแค่ไหนก็ได้ เขียนสรุปออกมาให้ได้อย่างน้อยหนึ่งประโยคต่อฉากหรือบท โดยขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการเขียนเรื่องยาวแค่ไหน แต่อย่าไปกังวลว่าต้องอธิบายทุกรายละเอียดออกมา เดี๋ยวความคิดดีๆ ก็ตามมาเองแหละ! [6]
    • เขียนโครงเรื่องทั้งหมด ไม่ใช่แค่จุดเริ่มต้นของเรื่อง คุณจะได้รู้ว่าเรื่องจะดำเนินไปในทิศทางไหน
    • การเขียนสรุปโครงเรื่องอาจจะไม่เหมาะกับทุกคน หากการพยายามวางโครงเรื่องก่อนเขียนจริงรบกวนจิตใจคุณเกินไปก็เริ่มเขียนเรื่องไปเลยแล้วค่อยๆ คิดรายละเอียดไปตามทางก็ได้
  2. คุณอาจจะเขียนภูมิหลังตัวละครที่มีรายละเอียดน้อยลงสำหรับตัวละครที่มีบทบาทลดหลั่นลงมาด้วยก็ได้หากคุณต้องการ แม้ว่าข้อมูลบางอย่างที่คุณเขียนไว้ในภูมิหลังตัวละครอาจจะไม่มีโอกาสเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง การที่คุณรู้ความจริงของตัวละครนั้นๆ จะทำให้คุณเขียนตัวละครออกมาได้มีมิติและทำให้เรื่องน่าสนใจมากขึ้นสำหรับผู้อ่าน! คุณสามารถหาแบบฟอร์มสำหรับเขียนภูมิหลังและประวัติตัวละครได้มากมายบนอินเทอร์เน็ต โดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลพื้นฐานที่ควรมีในภูมิหลังตัวละคร ได้แก่: [7]
    • ส่วนสูง น้ำหนัก เชื้อชาติ สีตา สีผม สีผิว ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ
    • ลักษณะทางท่าทาง นิสัย งานอดิเรก วิธีการพูด คนๆ นี้เป็นคนเข้าสังคมเก่งหรือเก็บตัว
    • จุดบกพร่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและคุณสมบัติที่ดีที่สุดของตัวละคร
    • การศึกษา ความฉลาด เป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวของตัวละคร
    • เรื่องที่น่าอับอายที่สุดที่เคยเกิดขึ้นกับตัวละคร
    • สิ่งที่ที่ตัวละครภาคภูมิใจที่สุด
    • จุดแข่งและจุดอ่อน
    • ความสัมพันธ์กับตัวละครอื่นๆ
  3. สร้าง ฉาก ของเรื่อง. ฉากของเรื่องอาจส่งผลต่อสิ่งที่ตัวละครทำ อดีตของตัวละคร รวมไปถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้ ตัวอย่างเช่น เรื่องราวที่เกิดขึ้นในส่วนที่ทุรกันดารของประเทศบราซิลย่อมต้องแตกต่างกับเรื่องที่เกิดขึ้นในอวกาศเพราะสภาพแวดล้อมนั้นส่งอิทธิพลต่อสิ่งที่ตัวละครสามารถและไม่สามารถทำได้ ลองคิดดูว่าฉากที่คุณสร้างขึ้นจะส่งผลกระทบต่อตัวละครอย่างไรและฉากจะมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่เมื่อเรื่องราวดำเนินไป สิ่งสำคัญที่คุณควรคิดถึงได้แก่: [8]
    • ปีที่เรื่องดำเนินอยู่
    • สภาพอากาศและช่วงเวลาของปี
    • แม่น้ำ ภูเขา ต้นไม้ และปัจจัยทางภูมิศาสตร์อื่นๆ
    • สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมและการเมืองของสถานที่ที่คุณเลือก
      • ตัวอย่างเช่น หากเรื่องเกิดในวอชิงตันดีซี คุณอาจจะควรพูดถึงเรื่องการเมืองด้วย
      • เรื่องที่เกิดขึ้นในปารีสควรมีการอ้างอิงถึงแฟชั่นและสิ่งปลูกสร้างสำคัญ เช่น หอไอเฟล
  4. เรื่องสามารถเล่าได้ผ่านสามมุมมอง ได้แก่ วิธีการเล่าโดยบุรุษสรรพนามที่หนึ่ง (ใช้แทนผู้เล่าว่า "ฉัน") บุรุษสรรพนามที่สอง (ใช้แทนผู้เล่าว่า "คุณ") และ บุรุษสรรพนามที่สาม (ใช้แทนผู้เล่าว่า "เขา"​ "เธอ"​ หรือ "พวกเขา") มุมมองการเล่าเรื่องที่คุณเลือกจะทำให้เรื่องของคุณเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา [9]
    • คุณอยากจะเล่าเรื่องผ่านสายตาตัวละครหลักหรือเปล่า? หากใช่ เรื่องของคุณต้องเล่าผ่านบุรุษสรรพนามที่หนึ่งหรือสาม (สรรพนามอย่าง "เขา" "เธอ"​ และ "พวกเขา" นั้นสามารถใช้บรรยายความคิดของตัวละครหลักได้)
    • คุณอยากจะเล่าเรื่องราวเหมือนตัวเองเป็นผู้บรรยายหรือเปล่า? ถ้าใช่ คุณต้องใช้สรรพนามบุรุษที่สาม หรือเขียนจากมุมมองของผู้รอบรู้ทุกความคิดของตัวละคร ไม่ก็เลือกไม่เขียนระบุความคิดของตัวละครใดเลย
    • การใช้สรรพนามบุรุษที่สองนั้นเป็นที่นิยมน้อยกว่า เพราะอาจจะทำให้ผู้อ่านหลงทางและเกิดสับสนได้ ก่อนที่คุณจะเลือกเขียนเรื่องโดยใช้สรรพนามบุรุษที่สอง ลองอ่านหนังสือหรือเรื่องสั้นที่เล่าเรื่องผ่านมุมมองนี้ดูก่อน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

เขียนจุดเริ่มต้นของเรื่อง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าเริ่มเรื่องโดยเล่าย้อนหลังไปไกลมากหรือเล่าข้ามไปถึงอนาคตอย่างรวดเร็ว จำไว้ว่าคุณกำลังแนะนำโลกใบใหม่ให้ผู้อ่านรู้จัก (แม้ว่าเรื่องที่แต่งจะเป็นแนวสมจริงก็เถอะ) ดังนั้น คุณต้องให้เวลาผู้อ่านได้ปูพื้นฐานความรู้ต่างๆ เช่น ชื่อตัวละคร บุคลิกของตัวละคร สิ่งที่ขับเคลื่อนตัวละครในฉากแรกหรือบทแรกของเรื่องเสียก่อน [10]
  2. หากคุณไม่แน่ใจว่าควรเริ่มอย่างไร ทดลองเขียนจุดเริ่มเรื่องหลายๆ แบบดูสิ คุณอาจจะลองเขียนสักสองสามแบบก่อนแล้วค่อยเลือกแบบที่คิดว่าใช่ดูก็ได้ นี่แหละวิธีการเขียนเรื่องที่แท้จริง!
    • ลองเริ่มเรื่องโดยให้ตัวละครทำอะไรสักอย่างหรืออธิบายลักษณะทางกายภาพของตัวละคร เพื่อให้ผู้อ่านทราบในทันทีว่าตัวละครสำคัญของเรื่องคือใคร
    • เริ่มเรื่องโดยบรรยายฉากจากมุมสูง พรรณนารายละเอียดจนผู้อ่านจินตนาการภาพได้ก่อนจะค่อยๆ ขยับเข้าใกล้ชีวิตหรือบ้านของตัวละครของคุณ
    • บอก "ความลับ"​ ของตัวละครแก่ผู้อ่านเพื่อดึงดูดความสนใจแบบทันทีทันใด
    • เล่าถึงปมขัดแย้งหลักของเรื่องตั้งแต่ต้นเริ่มต้นเพื่อทำให้ผู้อ่านกระหายที่จะรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป
    • เริ่มต้นด้วยการเล่าย้อนถึงอดีตที่น่าจดจำ เศร้าสลด หรือมีความสำคัญ แต่ก็ระวังด้วยเพราะการเล่าย้อนอดีตอาจจะทำให้ผู้อ่านสับสนหากไม่รู้ว่าเรื่องกำลังบรรยายถึงอดีตอยู่
  3. ลองนึกดูว่าคุณอยากเปิดเรื่องด้วยประโยคแบบไหน อยากเล่าแบบไม่มีแก่นสานและสร้างความขบขัน? สร้างความอ้างว้างและบอกลางร้าย? เป็นกันเอง? สร้างความคาดไม่ถึง? เล่าถึงปัจจุบันหรือเล่าถึงความจริงอันเป็นที่รู้กัน? ประเภทของประโยคเริ่มเรื่องที่คุณเลือกจะเป็นตัวสร้างความคาดหวังถึงเรื่องที่จะเกิดขึ้นให้กับผู้อ่านและชวนให้ผู้อ่านอ่านประโยคถัดไป หากคุณรู้สึกติดขัด ลองอ่านตัวอย่างประโยคเริ่มเรื่องอันโด่งดังเหล่านี้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจดู: [11]
    • ไม่มีแก่นสารและสร้างความขบขัน: “วันนั้นเป็นวันอันหนาวเหน็บในเดือนเมษายน เข็มนาฬิกาบอกเวลาสิบสามนาฬิกา” จาก "หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่” ของ จอร์จ ออร์เวลล์
    • บอกลางร้าย: “ณ​ ขณะนั้นเป็นฤดูร้อนที่แปลกไปจากที่เคย อากาศร้อนช่างแสนอบอ้าว และฤดูร้อนนั้นเองที่พวกโรเซนเบิร์กโดนประหารชีวิตด้วยเก้าอี้ไฟฟ้า ฉันเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าตอนนั้นฉันไปทำอะไรที่นิวยอร์ค” จาก “ในกรงแก้ว”​ ของ ซิลเวีย แพลตต์
    • เป็นกันเอง: “เรียกฉันว่าอิชมาเอลก็ได้” จาก “โมบี ดิก” ของ เฮอร์มัน เมลวิลล์
    • ทำให้รู้สึกคาดไม่ถึง: “เด็กทุกคนล้วนโตขึ้น เว้นอยู่คนเดียว” จาก “ปีเตอร์แพน”​ ของ เจ เอ็ม แบร์รี่
    • บอกถึงความจริงอันเป็นที่รู้กัน: “ครอบครัวที่มีความสุขล้วนเหมือนกันหมด ส่วนครอบครัวที่มีความทุกข์นั้นทุกข์ต่างกันไป” จาก “แอนนา คาเรนนินา”​ ของ ลิโอ ตอลสตอย
  4. เขียนบทนำหากเรื่องที่คุณเขียนมีเนื้อหาอ้างอิงถึงเรื่องในประวัติศาสตร์หรือเรื่องเล่า. หากเนื้อหาของเรื่องเกี่ยวข้องกับตัวละครหลัก คุณอาจใส่เนื้อหาส่วนนี้ไปในเนื้อเรื่องหลักไปเลย แต่หากเนื้อหาส่วนสำคัญเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือไม่เกี่ยวข้องกับตัวละครหลักในนัยยะสำคัญ การเขียนบทนำอาจจะช่วยให้เรื่องเข้าใจง่ายขึ้น [12]
    • คุณต้องทำให้บทนำมีความสำคัญและส่งผลกระทบที่มากพอต่อเนื้อเรื่องหลัก หากทำไม่ได้ บางทีเรื่องนี้อาจจะไม่จำเป็นต้องมีบทนำก็ได้
  5. คุณไม่จำเป็นต้องบอกทุกอย่างแก่ผู้อ่านตั้งแต่ฉากหรือบทแรกของเรื่อง การใส่ข้อมูลมากเกินไปอาจจะทำให้เรื่องไม่น่าสนใจจนผู้อ่านเอือม ส่วนการให้ข้อมูลน้อยเกินไปก็อาจจะทำให้ผู้อ่านสับสนได้ คุณต้องเขียนให้ได้สมดุลพอดีและลองให้คนอื่นๆ ลองช่วยอ่านงานของคุณดูหากจำเป็น
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เขียนดำเนินเรื่องต่อ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลังจากเขียนช่วงเริ่มต้นของเรื่องแล้ว ลองคิดถึงภาพรวมของเรื่องและพิจารณาว่าจุดเริ่มเรื่องนั้นเหมาะสมกับเรื่องโดยรวมหรือไม่ หากไม่ คุณอาจจะเปลี่ยนจุดเริ่มเรื่องหรืออาจจะต้องทบทวนเรื่องโดยรวมใหม่ดู
    • หากคุณไม่แน่ใจว่าตอนต้นของเรื่องดีพอหรือยัง ลองถามความเห็นของคนอื่นดูสิ! บอกคนอ่านว่าคุณอยากได้คำแนะนำที่ซื่อตรงและส่งผลเชิงบวกต่อสิ่งที่คุณได้ลงมือเขียนไปแล้ว
  2. การเขียนให้ได้เนื้อหายาวๆ ในแต่ละครั้งจะช่วยให้คุณเล่าเรื่องได้อย่างลื่นไหลมากขึ้น โดยเฉพาะหากคุณเพิ่งเริ่มเขียน แม้ว่าคุณอาจจะอยากเขียนนั่นนี่สักห้าหรือสิบนาทีพอ การทำแบบนี้อาจจะทำให้เรื่องของคุณไม่ปะติดปะต่อและทำให้ "น้ำเสียง"​ ของการเล่าเรื่องไม่ลื่นไหลได้ [13]
    • เลือกสถานที่เขียนที่เข้ากับคุณ. ลองเขียนที่บ้าน ในร้านกาแฟ ในห้องสมุด ในสวนสาธารณะ หรือสถานที่อื่นๆ จากนั้นก็เลือกดูว่าการเขียนพลางได้ยินเสียงพูดคุยกันเบาๆ การเขียนในความเงียบ หรือเขียนไปด้วยฟังเพลงไปด้วยทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของคุณโลดแล่นที่สุด [14]
  3. การเขียนอาจจะเป็นเรื่องยาก ชวนให้หงุดหงิดและสร้างความท้าทาย แต่ถึงอย่างไรการเขียนก็ควรจะเป็นเรื่องสนุกนะ! สนุกสนานกับการสรรค์สร้างเรื่องราวของคุณเอง ให้ความสำคัญกับความคิดที่คุณชอบ และเขียนเรื่องที่คุณจะนึกอยากอ่านทีหลังล่ะ [15]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากคุณมีความคิดต่างๆ อยู่ในหัวเยอะเกินไป ให้ความสำคัญกับความคิดที่รู้สึกว่าน่าตื่นเต้นที่สุดในตอนนั้น เก็บความคิดที่ยังไม่ทำให้รู้สึกตื่นเต้นตอนนี้ไว้สำหรับโอกาสอื่นๆ [16]
  • อย่าลบเรื่องทิ้งหากนึกหัวเสียขึ้นมา หยุดพักแล้วค่อยกลับมาเขียนต่อนะ!
  • จำไว้ว่าการเขียนก็เหมือนกับการปลุกปั้นผลงานซึ่งต้องใช้เวลาในการพัฒนา อดทนกับตัวเองหน่อย!
  • อย่าหยุดแก้งานหรือไวยากรณ์ขณะเขียน ค่อยกลับมาแก้รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้ทีหลังเพื่อที่จะได้ไม่ดึงเวลาการเขียนไป
  • อ่านออกเสียงเรื่องที่แต่งเพื่อที่จะได้พบสิ่งที่คุณอาจหาไม่เจอหากอ่านในใจ การอ่านออกเสียงยังจะช่วยให้คุณรู้ว่าเรื่องดำเนินไปอย่างลื่นไหลหรือไม่และบทสนทนาสมจริงหรือไม่ด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณเริ่มเล่าเรื่องด้วยการเล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต คุณต้องเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนว่าเมื่อไหร่ที่เรื่องได้เปลี่ยนมาอยู่ในปัจจุบันแล้ว ไม่อย่างนั้นผู้อ่านอาจจะรู้สึกสับสนได้
  • อย่าเขียนอะไรซ้ำรอยคนอื่น อย่าเริ่มเรื่องด้วยการเขียนเล่าอะไรโหลๆ หรือเขียนยาวยืดเยื้อเพราะคนอ่านอาจจะรู้สึกได้ว่าคุณไม่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองเท่าไหร่นัก
  • ใช้เครื่องหมายตกใจแต่พอดี ปล่อยให้เรื่องดำเนินไปเองแทนที่จะพยายามสร้างความตื่นเต้นมากเกินไป
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,769 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา