PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

จริงอยู่ว่าการคิดก่อนพูดถือเป็นกฎเหล็ก แต่มันอาจสร้างปัญหาได้ถ้าคุณคิดมากเกินไปจนลงมือทำออกมาได้ไม่ดีหรือคิดมากเกินไปจนควบคุมความวิตกกังวลไม่อยู่ คุณกำลังหาวิธีเลิกคิดมากอยู่หรือเปล่าล่ะ?

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ปล่อยวางจิต

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรับประทานอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อความอยู่รอดเช่นไร การคิดก็เป็นเช่นนั้น ดังนั้นบางครั้งอาจจะยากที่จะตัดสินว่าคุณกำลังคิดมากเกินไปอยู่หรือไม่ แต่กระนั้นก็มีสัญญาณเตือนที่ช่วยบ่งบอกว่าคุณกำลังคิดมาก ซึ่งมีดังต่อไปนี้:
    • คุณหมกมุ่นอยู่กับความคิดเดิมๆ หรือไม่? แต่คุณกลับไม่ได้อะไรจากการคิดเรื่องเดิมๆ นี้เลยใช่ไหม? ถ้าใช่ นี่อาจจะเป็นสัญญาณบอกว่าคุณควรเลิกคิดถึงมันและเดินหน้าต่อไป
    • คุณกำลังคิดถึงเรื่องเดิมๆ โดยพยายามมองจากล้านแปดแง่มุมอยู่หรือเปล่า? ถ้าคุณมีหลายแง่มุม “มากเกินไป” ในการตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง คุณกำลังถอยไปข้างหลังมากกว่าก้าวไปข้างหน้า
    • คุณเคยขอให้ก๊วนเพื่อนสนิทมาช่วยคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือไม่? ถ้าใช่ แสดงว่าถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องเข้าใจว่าการขอความเห็นมากมายเพื่อตัดสินใจเรื่องเพียงเรื่องเดียวอาจทำให้คุณเป็นบ้าได้
    • มีหลายคนบอกให้คุณเลิกคิดมากอยู่บ่อยๆ หรือไม่? มีคนชอบแซวว่าคุณเป็นคนคิดมาก เป็นนักปรัชญาช่างคิด หรือเป็นคนชอบมองเหม่อออกไปนอกหน้าต่างที่มีฝนพรำหรือไม่? ถ้าใช่ พวกเขาอาจจะพูดถูกก็ได้
  2. ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณไม่สามารถหยุดคิดได้ คุณควรเรียนรู้ว่าวิธีการ “ปล่อยวาง” จิตนั้นทำอย่างไรเพื่อให้คุณสามารถบังคับจิตของคุณได้ [1] ลองจินตนาการว่าการคิดนั้นเหมือนกับการหายใจ คุณหายใจตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้าจำเป็นคุณก็สามารถกลั้นหายใจได้ การทำสมาธิจะสอนให้คุณรู้จักการปล่อยวางจิตใจ
    • เพียงใช้เวลา 15-20 นาทีเพื่อทำสมาธิในทุกๆ เช้าจะช่วยให้คุณมีสติและเลิกยึดติดกับความคิดที่คอยรบเร้าอย่างเห็นได้ชัด
    • สามารถทำสมาธิตอนกลางคืนได้เช่นกันเพื่อช่วยสงบจิตใจ
  3. การวิ่งหรือแม้แต่การเดินเร็วจะช่วยให้จิตเลิกหมกมุ่นอยู่กับความคิดที่น่ารำคาญและจดจ่ออยู่กับร่างกายแทน การทำกิจกรรมที่ใช้กำลัง เช่น การเล่นพาวเวอร์โยคะ (Power yoga) ซึ่งใช้การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง, การฝึกศิลปะการป้องกันตัว, หรือการเล่นวอลเลย์บอลชายหาด เป็นต้น จะทำให้จิตจดจ่ออยู่กับร่างกายจนคุณไม่มีเวลาหมกมุ่นอยู่กับความคิด คุณสามารถลองทำสิ่งต่อไปนี้ดู:
    • ไปฟิตเนสเพื่อออกกำลังกายแบบวงจร. การออกกำลังกายแบบวงจรเป็นการออกกำลังกายโดยหมุนเวียนอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือท่าออกกำลังกายโดยไม่หยุดพัก ดังนั้นเมื่อคุณต้องคอยเปลี่ยนอุปกรณ์ออกกำลังกายทุกครั้งที่ได้ยินสัญญาณเตือนคุณก็จะแทบไม่มีเวลาหมกมุ่นอยู่กับความคิด
    • ปีนเขา. การอยู่ท่ามกลางธรรมชาติและการชมความงามและความสงบที่อยู่ล้อมรอบตัวคุณจะช่วยให้คุณมีสติมากขึ้น
    • ว่ายน้ำ. การว่ายน้ำเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกายอย่างมากจนคุณไม่สามารถหมกมุ่นอยู่กับความคิด
  4. เมื่อคุณได้ปลดปล่อยทุกอย่างออกมาโดยการพูดแม้ว่าจะเป็นการพูดกับตัวเองก็ตาม คุณจะเริ่มก้าวไปสู่การปล่อยวาง คุณอาจลองเดินไปมาในขณะเดียวกันด้วยก็ได้ เมื่อคุณได้ระบายออกมาแล้วคุณจะเริ่มปลดปล่อยให้ความคิดนั้นออกจากหัวของคุณ
    • คุณอาจพูดออกมาดังๆ กับตัวคุณเองหรือพูดให้เจ้าแมวเหมียวของคุณฟังหรือเพื่อนที่คุณไว้ใจ
  5. คุณอาจคิดมากจนเหนื่อยล้าและหมดพลังความคิด แต่คนอื่นอาจสามารถช่วยคุณคิดหามุมมองอื่นๆ ที่ทำให้คุณตัดสินใจง่ายขึ้น ซึ่งช่วยให้คุณปล่อยวางความคิดที่รบเร้า เพื่อนของคุณอาจทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น ช่วยแก้ปัญหาและทำให้คุณรู้ตัวว่าคุณกำลังเสียเวลาไปกับการคิดมาก
    • นอกจากนี้ ถ้าคุณออกไปเที่ยวกับเพื่อน คุณคงจะไม่มัวแต่คิดมากหรอก จริงไหม? อย่างน้อยเพื่อนก็สามารถช่วยคุณได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ควบคุมจิต

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าคุณจะเขียนบนกระดาษหรือบนคอมพิวเตอร์ก็ตาม สิ่งที่คุณควรทำอันดับแรกคือวิเคราะห์ปัญหา แล้วลองเขียนวิธีต่างๆ ในการแก้ปัญหา จากนั้นเขียนข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธี การเขียนเรียบเรียงความคิดของคุณออกมาจะทำให้คุณหยุดคิดซ้ำไปซ้ำมาในหัว เมื่อคุณถึงจุดที่คิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไรแสดงว่าสมองคุณได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่แล้ว ดังนั้นมันถือเวลาที่คุณจะหยุดคิดได้แล้ว
    • ถ้าการเขียนยังไม่สามารถทำให้คุณตัดสินใจได้อย่ากลัวที่จะทำตามสัญชาตญาณ ถ้าวิธีแก้ปัญหาแต่ละวิธีดูเป็นไปได้พอๆ กันจนทำให้คุณเลือกไม่ถูก การคิดเยอะไม่ได้ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้น ดังนั้น ณ เวลานี้คุณควรฟังเสียงจากสิ่งที่มาจากตัวตนจริงๆ ของคุณ
  2. แทนที่จะหมกมุ่นอยู่กับความคิด คุณควรจดสิ่งที่วนเวียนอยู่ในหัวคุณทุกๆ วัน เมื่อถึงปลายสัปดาห์ให้คุณกลับไปอ่านสิ่งที่คุณเขียนและจดบันทึกสิ่งที่กวนใจคุณมากที่สุด เพราะคุณควรจัดการกับสิ่งนั้นก่อนเป็นอย่างแรก
    • พยายามจดลงสมุดอย่างน้อยสองสามครั้งต่อสัปดาห์ เพราะจะช่วยให้คุณชินกับการมี “ช่วงเวลาสำหรับการไตร่ตรอง” และช่วยให้จิตใจสงบแทนที่จะหมกมุ่นอยู่ตลอดเวลา
  3. เขียนรายการสิ่งที่คุณต้องทำในแต่ละวัน เว้นแต่ว่าการ “คิดหมกมุ่น” จะอยู่ในรายการด้วย การเขียนรายการนี้จะทำให้คุณเห็นว่ามีสิ่งสำคัญกว่าที่ต้องทำมากกว่านั่งไตร่ตรองหาความหมายของจักรวาล! วิธีจัดระเบียบความคิดที่รวดเร็วที่สุดคือการนำความคิดนั้นมาลงมือทำ ถ้าคุณกำลังรู้สึกว่าเดี๋ยวนี้คุณนอนหลับไม่เพียงพอ ให้จัดเวลาสำหรับการนอนพักผ่อนทันทีแทนที่จะมัวแต่กังวลเกี่ยวกับมัน!
    • รายการสิ่งที่ต้องทำนี้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและช่วยจัดการเรื่องสำคัญๆ ได้อย่าง “การให้เวลากับครอบครัวมากขึ้น”
  4. จัดตาราง “ช่วงเวลาสำหรับการไตร่ตรอง” ให้กับตัวเองในทุกๆ วัน. อาจจะฟังดูเป็นความคิดที่น่าขันแต่การให้เวลาตัวเองทุกๆ วันเพื่อปล่อยให้ตัวเองได้กังวล สงสัย เพ้อฝัน และตกอยู่ในห้วงความคิดอาจช่วยให้คุณสามารถควบคุมจิตไปในทางที่ดีได้ สมมติว่าลองให้เวลาตัวเองสักหนึ่งชั่วโมง เช่น ตอนห้าโมงถึงหกโมงเย็นทุกๆ วัน แล้วจากนั้นจึงลดเวลาลงเป็นห้าโมงถึงห้าโมงครึ่ง ถ้าความคิดที่ทำให้กังวลใจผุดขึ้นระหว่างวันและคุณไม่สามารถจัดการกับมันได้ในเวลานั้น เพียงแค่ให้บอกกับตัวเองว่า “ไว้ค่อยกังวลกับมันตอนห้าโมงเย็น”
    • อาจจะฟังดูไร้สาระแต่ถ้าคุณไม่ลองก็คงไม่รู้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

มีสติ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าปัญหาของคุณคือการคิดมากเกี่ยวกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง เกี่ยวกับการกังวลแบบไม่มีเหตุผลหรือการคิดถึงสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ คุณก็คงจะทำอะไรไม่ได้มากเพื่อแก้ปัญหาที่คอยกวนใจ ดังนั้นคุณควรจะแก้แต่ปัญหาที่คุณสามารถแก้ได้และคิดแผนลงมือทำแทนที่จะเอาแต่ “คิด คิด คิด” โดยไม่มีการลงมือทำ ลองดูแนวทางต่อไปนี้ที่คุณสามารถทำได้:
    • แทนที่จะมัวคิดว่าคนที่คุณแอบชอบชอบคุณหรือไม่ ให้ลงมือจีบซะเลย! ลองชวนเขาหรือเธอไปออกเดท มันไม่มีอะไรเสียหายนี่ จริงไหม?
    • ถ้าคุณกำลังเครียดว่าการเรียนหรือการงานจะตกต่ำ ลองจดวิธีการที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จออกมาแล้วลงมือทำสิ!
    • ถ้าคุณเป็นคนชอบมีข้อแม้ว่า “ถ้า...” อยู่บ่อยๆ ให้ทำสิ่งที่มีโอกาสสำเร็จ
  2. การอยู่ท่ามกลางคนที่คุณรักจะทำให้คุณพูดคุยมากขึ้นและคิดน้อยลง พยายามออกจากบ้านให้ได้อย่างน้อยอาทิตย์ละสองสามครั้งและพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนและมีความหมายกับคนรอบข้างที่คุณสามารถชวนออกไปสังสรรค์ด้วย คุณจะเริ่มรู้สึกและเกิดคำถามว่าคุณใช้เวลาอยู่คนเดียวมากเกินไปหรือเปล่า?
    • จริงอยู่ว่าการใช้เวลาอยู่กับตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่ดีแต่การแบ่งเวลาไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
  3. ลองใช้เวลาเพื่อค้นหาสิ่งแปลกใหม่และท้าทายมากๆ เพราะงานอดิเรกที่คุณค้นพบซึ่งไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามจะช่วยให้คุณมีสมาธิอยู่กับสิ่งที่คุณทำและตั้งตารอดูผลลัพธ์จากสิ่งที่ทำอย่างจดจ่อ อย่าคิดไปก่อนว่าคุณรู้จักตัวเองดีว่าคุณชอบทำอะไรหรือคิดว่าสิ่งบันเทิงใจนั้นไม่จำเป็น การลองทำงานอดิเรกใหม่ๆ จะทำให้คุณมีสติและจดจ่ออยู่กับงานศิลปะ งานประดิษฐ์ หรืองานอะไรก็ตาม คุณสามารถลองทำสิ่งเหล่านี้ได้:
    • แต่งกลอนหรือเขียนเรื่องสั้น
    • หาคอร์สวิชาประศาสตร์ภาคค่ำเรียน
    • เรียนวิธีปั้นเครื่องดินเผาหรือเครื่องเซรามิก
    • เรียนคาราเต้
    • เรียนกีฬาโต้คลื่น
    • หันมาขี่จักรยานแทนการขับรถ
  4. การเต้นรำนั้นมีหลายแบบ ตั้งแต่เต้นอยู่ในห้องคนเดียว เต้นในผับกับเพื่อนๆ หรือเข้าคลาสเต้นอย่าง แท็ปแดนซ์ แจ๊ส ฟ็อกซ์ทร็อต หรือ สวิงแดนซ์ เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการเต้นแบบไหนก็ตามที่คุณสนใจ คุณจะได้เคลื่อนไหวร่างกาย ฟังเนื้อเพลง และมีสติ คุณจะเป็นนักเต้นที่เก่งกาจหรือไม่นั้นไม่สำคัญ เพราะอันที่จริงนั่นจะยิ่งทำให้คุณจดจ่ออยู่กับท่าเต้นและจดจ่ออยู่กับความคิดที่คอยรบเร้าน้อยลง
    • การเข้าคลาสเต้นเป็นการเริ่มต้นงานอดิเรกใหม่ๆ ที่ดีและทำให้คุณได้สนุกกับการเต้นรำอีกด้วย
  5. ลองออกไปข้างนอกและมองหาต้นไม้ สูดกลิ่นดอกไม้และดื่มด่ำความรู้สึกของน้ำที่ใสสะอาดที่ไหลผ่านใบหน้า ซึ่งทำให้คุณมีสติ เปิดอ้ารับธรรมชาติและเข้าใจถึงความไม่เที่ยงของการมีตัวตนของคุณ ทำให้คุณเห็นโลกกว้างที่อยู่นอกเหนือจากโลกที่คุณรู้จักที่คุณสร้างขึ้นมาเอง เริ่มทาครีมกันแดดและสวมรองเท้าผ้าใบเตรียมออกสู่โลกภายนอกและเลิกอุดอู้อยู่ในห้องนอนของคุณกันเถอะ
    • แม้ว่าคุณจะไม่ชอบการปีนเขา การวิ่ง การขี่จักรยาน หรือกีฬาโต้คลื่น ให้ลองสร้างเป้าหมาย เช่น การเดินในสวนสาธารณะอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งสองครั้ง การเดินทางไปสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติกับเพื่อนๆ ในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือแค่การไปที่ที่คุณสามารถมองออกไปในเวิ้งทะเลสาบสีครามหรือมหาสมุทร
    • แต่ถ้ากิจกรรมเหล่านั้นดูจะยากไปสำหรับคุณ ขอแค่ให้คุณได้ออกไปข้างนอก การออกไปข้างนอกและอยู่ท่ามกลางแสงแดดจะทำให้คุณสดใส สุภาพดีและหมกมุ่นน้อยลง
  6. การจดจ่ออยู่กับความคิดของคนอื่นไม่เพียงแต่จะทำให้คุณได้เห็นมุมมองที่ลึกซึ้งเท่านั้นแต่ยังทำให้คุณคิดถึงเรื่องของตัวคุณน้อยลง การอ่านชีวประวัติของบุคคลที่จุดประกายแรงบันดาลใจจากการลงมือทำจริงๆ อาจทำให้คุณเห็นว่าเบื้องหลังความคิดที่เฉียบคมคือการลงมือทำ ซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันเลย อีกทั้งการอ่านหนังสือจะทำให้คุณไม่อยากทำอะไรนอกจากหนีไปในโลกแห่งจินตนาการ ซึ่งก็ฟังดูเข้าท่าไม่น้อย
  7. เขียนรายการเกี่ยวกับสิ่งที่คุณรู้สึกซาบซึ้งใจ. ลองเขียนสิ่งห้าสิ่งในแต่ละวันที่ทำให้คุณรู้สึกขอบคุณ การเขียนนี้จะทำให้คุณใส่ใจในตัวบุคคลและสิ่งต่างๆ มากกว่าความคิดของคุณ ถ้าการเขียนทุกวันนั้นบ่อยเกินไปให้เปลี่ยนเป็นเขียนทุกๆ สัปดาห์แทน ให้คุณเขียนไปเถอะ แม้แต่สิ่งเล็กๆ ก็สำคัญ อย่างบาริสต้าคนที่เติมกาแฟให้คุณโดยคิดเงิน เป็นต้น
  8. การฟังเพลงที่ไพเราะอาจทำให้คุณออกจากโลกของตัวเองและเชื่อมต่อกับโลกภายนอก คุณอาจไปคอนเสิร์ต เล่นซีดีเพลงเก่าในรถ หรือซื้อเครื่องเล่นและแผ่นเสียงเก่าๆ สักสองสามแผ่นแล้วย้อนอดีตไปกับเสียงเพลง ลองหลับตาแล้วปล่อยใจไปกับดนตรีและมีสติ
    • ไม่จำเป็นต้องเป็นดนตรีของโมซาร์ต (Mozart) หรืออะไรที่มีความหมายลึกซึ้งหรือทรงคุณค่า การฟังเพลงของเคธี่ แพรี่ (Katy Perry) อาจได้ผลกว่าที่คุณคิดก็เป็นได้
  9. ให้คุณอยู่ท่ามกลางผู้คนที่ทำให้คุณหัวเราะได้หรือไปชมละครตลกหรือดูรายการขำขันหรือรายการที่มีนักแสดงตลกที่คุณชอบมากๆ หรือดูคลิปวิดีโอจากเว็บไซต์ยูทูป (YouTube) ก็ได้ ให้คุณทำอะไรก็ได้ที่ทำให้คุณหัวเราะออกมาจนหงายหลังและไม่สนใจว่าในใจคุณกำลังกังวลเรื่องอะไรอยู่ อย่าสบประมาทความสำคัญของการหัวเราะที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของคุณเชียว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่ายึดติดอยู่กับอดีตโดยเฉพาะอดีตที่เลวร้ายหรือสะเทือนใจ คุณต้องเข้าใจว่าการติดอยู่ในห้วงอดีตจะทำให้คุณผละออกจากปัจจุบันมากเกินไปจนอาจส่งผลเสียกับตัวคุณเองและทำให้คุณรู้สึกสับสนเมื่อต้องอยู่กับปัจจุบัน
  • การตริตรองเป็นกระบวนการที่บ่มเพาะทั้งเจตนาดีและร้าย ให้ใช้การตริตรองเป็นทางนำไปสู่การสร้างเจตนาที่ดีซึ่งจะทำให้คุณกลายเป็นคนดีมีจริยธรรมมากขึ้น
  • ให้ระลึกเสมอว่าไม่ใช่คุณคนเดียวเท่านั้นที่คิดเพราะคนอื่นก็คิดเหมือนกัน ลองคิดดูว่าทำไมเราถึงมีการนอนหลับล่ะ? ก็เพราะว่าเราจะได้หยุดพักจากการคิดนี่ละ!
  • เล่นกับสัตว์เลี้ยง การเล่นกับสัตว์เลี้ยงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณหลุดออกมาจากโลกของคุณ พวกมันจะทำให้คุณหัวเราะและได้เข้าใจว่าสิ่งเล็กๆ นั่นแหละที่สำคัญ
  • เวลาคุณคิดใคร่ครวญอย่าดูถูกตัวเอง การดูถูกตัวเองจะเพิ่มความกังวลและทำให้ยิ่งเกิดความคิดในแง่ลบ พยายามทำใจกับผลลัพธ์หรือคำตอบที่ไม่เป็นดั่งใจหวัง พยายามรับมือกับความผิดหวังโดยการปล่อยวาง ท่องไว้ว่า “มันผ่านไปแล้ว ถึงฉันจะไม่สมหวังแต่ฉันจะต้องมีชีวิตอยู่รอดต่อไปได้” การใช้คำว่า “มีชีวิตอยู่รอด” ทำให้ฟังดูเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย แต่ภายหลังคุณจะหัวเราะให้กับมันเพราะคุณจะเห็นว่ามันเป็นเรื่องเล็กนิดเดียวและคุณกดดันตัวเองมากเกินไป
  • หยุดอ่านบทความและชวนเพื่อนมาเดี๋ยวนี้! พยายามปล่อยตัวปล่อยใจให้สนุกสนานร่าเริงและผ่อนคลาย
  • เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกว่าความคิดกำลังถาโถมเข้ามาจนคุณรับไม่ไหว ให้ปลีกตัวออกมาเพื่อผ่อนคลายและไตร่ตรองก่อนจะถูกความคิดครอบงำ
  • จำไว้ว่าการเป็นนักคิดเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ บทความนี้ไม่ได้ต้องการให้คุณเปลี่ยนบุคลิกแต่เป็นการจัดการความคิดให้เป็นระเบียบ
  • ลองแช่ในน้ำอุ่นที่มีฟองสบู่ จุดเทียน แล้วผ่อนคลาย มันช่วยได้มากเชียวล่ะ!
  • ทำใจให้สงบนิ่งแล้วใช้สมองในการประมวลการสื่อสาร หน่วยประมวลความคิดและการกระทำจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนและอะดรีนาลีนเพียงเล็กน้อย
  • พึงระลึกว่าให้ไตร่ตรองถึงเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตคุณ ไม่ใช่คิดถึงเรื่องร้ายๆ
  • สูดลมหายใจ การกำหนดลมหายใจเข้าออกลึกๆ 5-10 ครั้งจะช่วยดึงคุณออกมาและตั้งสติ ทำให้คุณมีสมาธิกับปัจจุบันและสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 234,626 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา