PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ต้นว่านหางจระเข้นั้นมักขึ้นทั่วไปในเขตร้อน แต่ถึงแม้ว่าคุณจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีฤดูหนาวกันเย็นเยือก ก็สามารถปลูกต้นว่านหางจระเข้ที่สวยงามและแข็งแรงไว้ในบ้านได้เช่นกัน ต้นว่านหางจระเข้ควรปลูกในกระถางที่มีดินผสมที่มีไว้สำหรับพืชชนิดที่มีใบและก้านฉ่ำน้ำ พวกมันชอบที่จะแห้งและอบอุ่น ไม่ชอบความเปียกชื้นและความหนาวเย็น ฉะนั้นรดน้ำเฉพาะตอนที่ดินแห้งเกือบหมดแล้วเท่านั้น ต้นว่านหางขระเข้ที่สมบูรณ์แข็งแรงจะแตก”หน่อเล็กๆ”ออกมา ซึ่งคุณสามารถขุดมันออกไปปลูกไว้ในกระถางอื่นแล้วแจกให้เพื่อนได้ด้วยนะ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ให้แสงแดด น้ำ และปุ่ย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าจะเป็นหน้าต่างห้องครัวที่แสงอาทิตย์ส่องเข้ามา หรือจะเป็นบริเวณไหนก็ได้ในบ้านที่แสงแดดส่องถึงก็ย่อมดีที่สุดกับต้นว่านหางจระเข้ของคุณอย่างแน่นอน ว่านหางจระเข้อยู่ได้ถึงจะได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง แต่ถ้าให้มันอยู่ในร่มเงาก็จะเจริญเติบโตได้ไม่สมบูรณ์นัก ฉะนั้นอย่างน้อยควรให้มันอยู่ในห้องที่แสงแดดส่องถึง
    • คุณสามารถนำต้นว่านหางจระเข้ไปวางไว้ข้างนอกในช่วงฤดูร้อนได้ตราบใดที่จะไม่มีการเกิดน้ำค้างแข็งขึ้น ว่านหางจระเข้มีน้ำถึง 95 เปอร์เซนต์ในใบและกิ่งของมัน น้ำค้างแข็งแค่เพียงเล็กน้อยอาจไปแช่แข็งมันได้ และนั่นจะทำให้มันอ่อนนุ่มยวบยาบไปเลย [1]
    • ถ้าคุณอยู่ในเขตเพาะปลูกที่อบอุ่น และได้ปลูกว่านหางจระเข้ไว้นอกบ้าน ให้เลือกวางในที่ที่แสงอาทิตย์ส่องถึงอย่างเต็มที่ (ให้แสงอาทิตย์หกถึงแปดชั่วโมงต่อวัน)
  2. ต้นว่านหางจระเข้นั้นเป็นพืชที่ค่อนข้างต้องดูแลไม่มากเท่าไร เพราะมันไม่ได้ต้องการน้ำมาก ให้รอจนกว่าดินจะแห้งอย่างน้อยต่ำลงไป 2 นิ้วจากผืนหน้าดิน ค่อยรดน้ำให้ช้าๆ ให้ลงไปลึกๆ จนกว่าจะเห็นน้ำซึมออกมาจากรูระบายน้ำ ห้ามให้น้ำว่านหางจระเข้ต่อจนกว่าดินจะแห้งลงไปจากผิวหน้าดินสองนิ้วอีกครั้งหนึ่ง ตามธรรมชาติแล้ว ส่วนใหญ่จะให้น้ำครั้งละอาทิตย์ครึ่งหรือสองอาทิตย์ และให้น้อยลงในฤดูหนาว [2]
    • ถ้าคุณเพิ่งเปลี่ยนกระถางมันใหม่ ให้รอไปอีกสองสามวันก่อนจะรดน้ำ เพื่อให้รากทำความคุ้นชินกับดินใหม่ก่อนที่จะรับน้ำเข้าไป
    • เมื่อรู้สึกไม่มั่นใจ ให้รดน้ำให้น้อยลง ไม่ใช่มากขึ้น เมื่อว่านหางจระเข้ได้รับน้ำมากเกินไป รากมันอาจเน่าได้ และต้นก็จะตายในที่สุด จะดีกว่าหากรอต่อไปอีกสองสามวัน ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าเมื่อไรจะถึงเวลารดน้ำอีกครั้ง
    • ถ้าคุณรักต้นว่านหางจระเข้จริงๆ ให้ใช้น้ำฝน เมื่อฝนตก ว่านหางจระเข้ก็จะได้รับการรดน้ำ และเมื่อฝนไม่ตกก็ไม่ได้รับน้ำ เป็นเหมือนการจำลองตามสภาพธรรมชาติของว่านหางจระเข้นั่นเอง [3]
    • จำไว้ว่าการรดน้ำมากเกินไปจะทำให้รากเน่าและเกิดเชื้อรา จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเรื่องที่ว่านี้ [4]
  3. ตั้งแต่เดือนเมษายนไปถึงกันยายน ต้นว่านหางจระเข้จะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่คุณสามารถช่วยเร่งมันได้ด้วยการใส่ปุ๋ยสองครั้งต่อเดือนในระหว่างเดือนเหล่านี้ เจือจางปุ๋ยสูตร 15-30-15 ด้วยการผสมมันกับน้ำเปล่า ในอัตราส่วนปุ๋ย 1 ส่วนกับน้ำ 5 ส่วน ให้ปุ๋ยกับว่านหางจระเข้ในวันเดียวกับที่คุณจะรดน้ำมัน
    • ห้ามใส่ปุ๋ยในช่วงฤดูหนาว เพราะต้นว่านหางจระเข้จะไม่ดูดซึมปุ๋ยเข้าไปหากมันไม่อยู่ในช่วงเจริญเติบโตขึ้น [5]
  4. มีแมลงศัตรูพืชไม่กี่ชนิดที่ชอบต้นว่านหางจระเข้ เช่น เพลี้ยแป้ง แมลงเหล่านี้ตัวแบนสีน้ำตาลและชอบดูดของเหลวจากต้นว่านหางจระเข้ วิธีป้องกันให้ใช้ยาฆ่าแมลงแบบธรรมชาติที่ไม่มีอันตรายใส่ต้นว่านหางจระเข้ [6]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การเปลี่ยนกระถางให้ว่านหางจระเข้

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจสอบกระถางที่จะย้ายว่านหางจระเข้ใส่เข้าไป. ในตอนแรกที่ซื้อต้นว่านหางจระเข้มา มักจะมาพร้อมกับกระถางพลาสติกเล็กๆ ดูไม่แข็งแรง ในการที่จะทำให้ต้นไม้นี้อยู่กับคุณไปอีกนานๆ ก็ถือว่าเป็นความคิดที่ดีที่จะย้ายมันไปยังกระถางที่ใหญ่ขึ้น เพื่อเพิ่มที่ว่างให้กับมันอีก ถ้าต้นว่านหางจระเข้อยู่ในกระถางดินเหนียวขนาดใหญ่ที่มีรูเจาะตรงก้นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนย้ายกระถางให้มันอีก
  2. ว่านหางจระเข้ก็เหมือนกับกระบองเพชร ชอบดินทรายที่แห้ง และไม่ค่อยดีที่จะใช้ดินปลูกที่มีความชื้นสูง หรือดินแบบธรรมดาก็ตาม ให้ไปที่ร้านขายของเกี่ยวกับต้นไม้เพื่อซื้อดินสำหรับต้นกระบองเพชรหรือต้นไม้ที่มีน้ำอยู่มาก เพราะว่ามันชอบที่จะอยู่แห้งๆ มากกว่าแบบเปียกๆ
    • ถ้าคุณอยู่ในเขตอากาศอบอุ่น ที่ไม่มีทางหนาวจนถึงขั้นหิมะตก ก็สามารถปลูกต้นว่านหางจระเข้ไว้นอกตัวบ้านแทนที่จะปลูกในบ้านก็ได้ เปลี่ยนดินด้วยการตักออกแล้วทำให้ถูกต้องโดยการใช้ดินที่เหมาะกับพืชที่มีน้ำเยอะแทน หมายถึงถ้าเขตที่คุณอยู่มีดินที่มีความเปียกชื้นเป็นพิเศษ ให้เปลี่ยนเป็นดินทรายที่ระบายน้ำได้ดีแทน [7]
  3. เลือกกระถางที่ใหญ่กว่าตุ้มราก (Root ball) ของต้นว่านหางจระเข้ 3 เท่า. ตุ้มรากคือส่วนของรากที่ติดกับดิน ซึ่งเป็นฐานของต้นว่านหางจระเข้ ต้นไม้ชนิดนี้ชอบที่จะกระจายหน่อออกไปแล้วเติบโตขึ้น ฉะนั้นคุณจึงต้องเลือกกระถางขนาดใหญ่พอสำหรับพื้นที่ปลูกหลายๆ ต้น ให้ใช้กระถางที่มีรูระบายน้ำ และถาดวางใต้กระถางเพื่อรองดินและน้ำเอาไว้
    • หลังจากดูแลผ่านไปหลายๆ เดือนหรือปีหนึ่ง คุณอาจเห็นได้ว่าต้นว่านหางจระเข้เริ่มโตล้นกระถางออกมาแล้ว ถ้ามันเริ่มสูงเท่ากับความสูงของกระถาง ก็แปลว่าถึงเวลาที่จะต้องย้ายไปปลูกในภาชนะที่ใหญ่กว่าแล้วล่ะ ให้ซื้อกระถางที่ใหญ่กว่าตุ้มรากในปัจจุบันอีกสามเท่า แล้วย้ายกระถางซะ
  4. เติมดินลงไปในกระถางบางส่วน จากนั้นให้ใส่ตุ้มรากของว่านหางจระเข้ลงไปตรงกลาง จากนั้นใส่ดินลงไปเพิ่มรอบๆ ตุ้มราก จนไปถึงฐานใบ ตบดินเบาๆ ด้วยมือของคุณเพื่อให้ต้นว่านหางจระเข้เข้าที่
    • จำไว้ว่าดินควรคลุมแค่ตุ้มราก โรยกรวดไว้บนหน้าดิน
  5. มันจะช่วยเก็บความชุ่มชื้นไว้และจำลองสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของต้นว่านหางจระเข้ ให้เลือกกรวด, หิน หรือเปลือกหอยเล็กๆ ที่ชอบ แล้วกดพวกมันลงไปเบาๆ ในดิน ตรงบริเวณฐานของต้นว่านหางจระเข้
  6. จะมีหน่อเล็กๆ ของว่านหางจระเข้ที่แตกออกมาจากต้นหลัก เหมื่อคุณเห็นหน่อของมันที่เป็นรูปเป็นร่างแล้ว ให้แยกมันออกจากต้นหลัก โดยอย่าไปทำลายรากมันเด็ดขาด จากนั้นวางไว้บนชั้นวางที่แห้งและสะอาดเพื่อปล่อยให้มันงอกขึ้นมาเพิ่มอีกสักสองสามวัน จากนั้นนำไปปลูกในกระถางเล็กๆ ที่ใช้ดินปลูกสำหรับพืชที่มีน้ำมากหรือสำหรับต้นกระบองเพชร
    • ถึงหน่อของว่านหางจระเข้จะไม่มีราก ก็ยังสามารถขยายพันธุ์ได้เหมือนกัน ให้เติมดินปลูกที่เหมาะสมลงไปในกระถางและปักหล่อลงไปบนดิน แทนที่จะรดน้ำ ให้ใช้สเปรย์ฉีดน้ำทุกๆ สองสามวันแทน คุณจะเริ่มเห็นรากงอกขึ้นมาจากหน่อ เมื่อเห็นแล้วก็ให้ปลูกในดินได้ตามปกติ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ต้นว่านหางจระเข้สมควรมีไว้ใกล้ตัวเพราะมันใช้ลดการเกิดผิวไหม้แดดและรอยไหม้อื่นๆ ได้ทันที ถ้าตากแดดมาทั้งวันจนผิวแดง หักใบมันมาถูส่วนเป็นเจลด้านในกับรอยไหม้ ส่วนลำต้นที่คุณหักใบออกมาจะแข็งแล้วต้นมันก็ไม่เป็นอะไร
  • คุณสามารถแช่ใบที่หักออกมาในตู้เย็นให้มันเย็นลง แล้วมาถูตรงผิวที่ไหม้แดด
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าใช้ต้นว่านหางจระเข้กับแผลเปิดหรือบาดแผลใต้ชั้นผิว ใช้เฉพาะกับรอยไหม้บนผิว ถ้าโดนไหม้อย่างรุนแรงให้ไปหาหมอแทน
  • ถ้าเลี้ยงแมวก็อย่าให้มันไปกัดต้นว่านหางจระเข้เข้าล่ะ!
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 108,850 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา