PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

“แนะนำตัวเองหน่อยครับ/ค่ะ” หากคุณต้องสัมภาษณ์งาน เชื่อได้เลยว่าโอกาสที่คุณจะได้ยินคำขอนี้จากว่าที่นายจ้างของคุณนั้นมีความเป็นไปได้สูงมาก และถึงแม้ว่าในส่วนของการสัมภาษณ์ส่วนนี้อาจจะดูเหมือนง่าย แต่ก็มีผู้สมัครหลายคนที่มักจะพลาดท่าในส่วนนี้อยู่บ่อยๆ เพราะว่าไม่ได้เตรียมตัวเอาไว้ก่อน ซึ่งเวลาที่นายจ้างขอให้คุณแนะนำตัวเองนั้น จำไว้ว่า พวกเขากำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณที่มีความกระชับและมีรายละเอียดพอที่จะช่วยใช้พวกเขารู้จักตัวคุณได้ดีขึ้น ทั้งในด้านตัวตนและในแง่ของการทำงาน ฉะนั้น ให้คุณอ่านวิธีการด้านล่างนี้ คุณจะได้รู้ว่าตัวเองต้องเตรียมตัว ฝึกซ้อม และนำเสนอตัวเองในการสัมภาษณ์งานอย่างไรจึงจะได้ผล

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การเตรียมบทแนะนำตัว

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้คุณอ่านจดหมายนำ (Cover Letter) และประวัติย่อ (resume) ของตัวเองซ้ำอีกรอบ เพื่อเตือนความจำว่าตัวเองได้ใส่ข้อมูลอะไรลงไปในกระดาษบ้าง โดยให้คุณเน้นตรงส่วนที่คุณต้องการพูดถึงโดยเฉพาะ หรือไม่ก็อาจจะสรุปเอาไว้ในบทแนะนำตัวก็ได้ [1]
  2. ให้คุณดูว่าอะไรคือทักษะที่สำคัญที่สุดที่ผู้ว่าจ้างกำลังมองหาอยู่แล้วจดบันทึกเอาไว้ เพื่อที่คุณจะได้สามารถนำสิ่งนี้ไปใส่ไว้ในบทแนะนำตัวของตัวเองได้ นอกจากนี้ การที่คุณพูดถึงสิ่งเหล่านี้ยังเป็นการช่วยเตือนผู้ว่าจ้างอีกครั้งด้วยว่าทำไมพวกเขาถึงได้เลือกใบสมัครของคุณ แถมยังเป็นสิ่งที่ช่วยเน้นย้ำความรู้สึกของพวกเขาอีกด้วยว่า คุณนั้นเหมาะสมกับตำแหน่งนี้เป็นอย่างดีแล้ว [2]
  3. ลองนึกถึงสิ่งที่พวกเขาน่าจะอยากได้ยินเกี่ยวกับตัวคุณ. คุณต้องซื่อสัตย์และเป็นตัวของตัวเอง แต่จำไว้ด้วยว่าการที่คุณจะเน้นย้ำตรงแง่มุมต่างๆ ของประสบการณ์การทำงานของตัวเองที่คุณคิดว่านายจ้างในอนาคตของคุณน่าจะให้ความสนใจมากที่สุดนั้นก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเหมือนกัน นอกจากนี้ การคำนึงถึงสิ่งที่นายจ้างในอนาคตของคุณต้องการได้ยินนั้นยังช่วยทำให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าควรจะตัดเรื่องอะไรออกไปหรือลดประเด็นใดในบทแนะนำตัวเองบ้าง [3]
  4. การที่คุณจะสามารถปรับปรุงแก้ไขบทแนะนำตัว และรู้ได้ว่าควรจะใส่ประเด็นอะไรลงไปบ้างนั้น คุณก็ควรจะต้องถามตัวเองด้วยคำถามบางคำถามก่อน เช่น เราเป็นใคร? ทำไมเราถึงได้อยากทำงานให้กับบริษัทนี้? ทักษะและประสบการณ์การทำงานแบบไหนในตัวเราที่จะทำให้เราได้ทำงานที่นี่? อะไรที่เกี่ยวกับงานที่เราคาดหวังว่าจะทำให้สำเร็จได้? ให้คุณตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้และเขียนใส่กระดาษเอาไว้ แล้วใช้คำตอบเหล่านี้มาช่วยในการร่างบทแนะนำตัวของตัวเอง [4]
    • คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยประโยคอย่างเช่น “ดิฉัน/ผมเพิ่งจบการศึกษาจาก____ในระดับปริญญา____” และถ้าหากคุณมีเกียรตินิยม ให้คุณเสริมเอาไว้ในประโยคเปิดด้วย หรือถ้าเกิดว่าคุณเป็นคนที่ทำงานมานานจนช่ำชองแล้ว คุณอาจจะลองใช้ประโยคอย่างเช่น “ดิฉัน/ผมทำงานในตำแหน่ง____มา____ปีแล้ว” นอกจากนี้คุณอาจจะใส่ข้อมูลส่วนตัวเล็กๆ น้อยๆ ลงไปในบทแนะนำตัวด้วยก็ได้ เช่น “ผม/ดิฉันชอบเล่นดนตรีแนว____ มากๆ และก็ชอบฟังเพลงเป็นชีวิตจิตใจเลยล่ะครับ/ค่ะ” [5]
    • หลังจากที่พูดเปิดไปแล้ว ต่อไปให้คุณพูดถึงทักษะต่างๆ ที่ตัวเองมี เช่น “ผม/ดิฉันสันทัดในเรื่อง____และ____” จากนั้นให้ยกตัวอย่างผลงานของตัวเองที่แสดงให้เห็นถึงทักษะต่างๆ ของตัวคุณที่เกี่ยวข้องกับงานสายนี้ [6]
    • สุดท้าย ให้คุณพูดถึงเป้าหมายในอาชีพของคุณ และก็พูดต่อไปถึงเรื่องที่ว่า คุณจะเดินหน้าทำเป้าหมายเหล่านั้นให้สำเร็จได้อย่างไรเมื่อคุณอยู่กับบริษัทนี้ โดยคุณอาจพูดว่า “เป้าหมายของผม/ดิฉันคือ การได้ทำ____และผม/ดิฉันก็รู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้พูดคุยหารือเกี่ยวกับโอกาสต่างๆ ที่บริษัทของคุณอาจจะเสนอให้ผม/ดิฉันได้ทำ____” [7]
  5. ตัดสินใจดูว่าจะใช้วิธีดึงดูดความสนใจแบบไหนในช่วงที่เริ่มต้นการแนะนำตัว. ให้คุณลองคิดอะไรแบบสร้างสรรค์ และลองคิดดูว่าวิธีการเริ่มต้นการแนะนำตัวแบบไหนที่น่าจะช่วยทำให้ผู้สัมภาษณ์จดจำคุณได้ คุณอาจจะเลือกทำบางสิ่งบางอย่างที่เข้ากับตัวตนของคุณ อย่างเช่น ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการพูดว่า คุณคิดว่าตัวเองเหมือนกับตัวละครดังในวรรณกรรมตัวหนึ่ง และจากนั้นก็ให้อธิบายว่าทำไมคุณถึงคิดแบบนั้น ด้วยการลิสต์ทักษะต่างๆ ของตัวเองออกมา หรือหากคุณเป็นคนที่เก่งเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่มากๆ และต้องการจะเน้นให้เห็นว่าคุณมีทักษะด้านนั้น คุณอาจจะเริ่มด้วยการเอ่ยถึงข้อมูลต่างๆ ที่จะขึ้นมาอยู่บนหน้าเว็บ Google เวลาที่คุณเสิร์ชชื่อตัวเองลงไป และใช้สิ่งนั้นเป็นตัวให้รายละเอียดเพิ่มเติมต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณและทักษะความชำนาญที่คุณมี [8]
  6. เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าตัวเองสามารถจำประเด็นหลักๆ ได้หมดทุกประเด็น ให้คุณเขียนบทแนะนำตัวเป็นย่อหน้า (3-5 ประโยค) และเขียนบทแนะนำตัวให้เหมือนกับที่คุณวางแผนเอาไว้ว่าจะพูดอะไรบ้าง โดยให้เริ่มต้นจากการเขียนรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณเอง (คุณเป็นใคร?) ถัดจากนั้นให้เขียนรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับทักษะและประสบการณ์ในการทำงานของตัวเอง และสุดท้ายให้จบด้วยการสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับเป้าหมายหลักในการทำงานของคุณ ซึ่งในส่วนสุดท้ายนั้นจะมีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะว่ามันคือส่วนที่เปิดโอกาสให้คุณได้บอกกับผู้สัมภาษณ์ว่าทำไมคุณถึงน่าจะเหมาะสมกับงานนี้ โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องพูดออกไปแบบโจ่งแจ้งเลยสักนิดเดียว [9]
  7. ตรวจดูว่ามีส่วนไหนในบทบ้างที่คุณน่าจะแก้ให้เข้าใจง่ายขึ้นและ/หรือทำให้กระจ่างมากขึ้นได้. ให้คุณตรวจแก้ไขบทแนะนำตัวของตัวเอง เพื่อที่จะได้รู้ว่ามีจุดไหนบ้างที่ควรจะต้องปรับให้เข้าใจง่ายและกระจ่างมากขึ้น โดยบทแนะนำตัวของคุณควรจะมีความกระชับ แต่ว่าต้องละเอียดไปในตัวด้วย จำไว้เสมอว่า ผู้ว่าจ้างไม่ได้ต้องการจะเห็นการพรีเซนต์ประวัติของตัวคุณยาวนานเป็น 10 นาทีหรอก แต่เขาต้องการแค่ภาพรวมทั่วไปเกี่ยวกับตัวคุณเท่านั้น [10]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การฝึกซ้อมการแนะนำตัว

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การอ่านบทแนะนำตัวออกมาดังๆ จะช่วยทำให้คุณสามารถเตรียมพร้อมสำหรับการแนะนำตัวได้ แถมยังช่วยเช็คจุดเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่สอดคล้องกันในบท หรือสิ่งต่างๆ ที่คุณอาจจะลืมพูดถึงอีกด้วย [11]
  2. ถึงแม้ว่าจะไม่จำเป็นต้องจำสิ่งที่ตัวเองเขียนลงไปให้ได้แบบคำต่อคำ แต่อย่างน้อยคุณก็ควรจะจำประเด็นหลักๆ เอาไว้ รวมถึงจำลำดับประเด็นที่ตัวเองจะพูดกับผู้สัมภาษณ์ให้ได้ด้วย [12]
  3. ซ้อมบทแนะนำตัวจนกว่าจะฟังดูเป็นธรรมชาติและเหมือนเป็นการสนทนาทั่วไป. การฝึกซ้อมทำให้เกิดความชำนาญ! ฉะนั้น ให้คุณซ้อมพูดแนะนำตัวเองให้เยอะๆ จนกว่าจะฟังดูไม่เหมือนกับการซ้อมอีกต่อไป ซึ่งคุณอาจจะต้องขอให้เพื่อนสักคนช่วยฟังเวลาคุณซ้อมพูด และให้เพื่อนคนนั้นออกความเห็นดูว่าการพูดแนะนำตัวของคุณนั้นฟังดูเป็นอย่างไรบ้าง [13]
  4. ถึงแม้ว่าคุณอาจจะรู้สึกแปลกๆ อยู่สักหน่อยที่ต้องดูตัวเองพูดในวิดีโอ แต่คุณจะได้ประโยชน์มากๆ จากการทำสิ่งนี้ เพราะคุณจะได้ฟังว่าเสียงตัวเองเป็นอย่างไร และยังได้เห็นอีกว่าลักษณะท่าทางเวลาที่ตัวเองกำลังพูดแนะนำตัวนั้นเป็นแบบไหน [14]
  5. ให้คุณเขียนเรื่องหลักๆ ที่ตัวเองจะพูดลงบนกระดาษการ์ดใบเล็กๆ แล้วเก็บเอาไว้กับตัว เพื่อที่คุณจะได้สามารถดึงความจำกลับมาใหม่ได้ง่ายๆ ก่อนที่คุณจะเข้าไปสัมภาษณ์ นอกจากนี้ การเก็บการ์ดนี้เอาไว้กับตัวยังจะช่วยทำให้คุณรู้สึกกังวลน้อยลงด้วย เพราะคุณสามารถชำเลืองมองการ์ดนั้นได้ตลอดเวลา หากคุณรู้สึกตื่นเต้น [15]
  6. หายใจเข้าลึกๆ และเดินเข้าไปในห้องสัมภาษณ์ เมื่อถึงจุดนี้ก็แสดงว่าคุณได้เตรียมตัวสำหรับการแนะนำตัวเองในการสัมภาษณ์งานมาเป็นอย่างดีแล้ว ดังนั้น ไม่ต้องกังวลเลยว่ามันจะดูเหมือนว่าคุณนั้นตระเตรียมมาเพื่อสร้างความประทับใจครั้งแรกโดยเฉพาะ และจำไว้เสมอว่า ถึงแม้ว่าคุณจะมีความประหม่าอยู่บ้าง มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะนั่นจะเป็นสิ่งที่ทำให้นายจ้างในอนาคตของคุณเห็นว่าคุณต้องการงานนี้จริงๆ [16] [17]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การแนะนำตัวเอง

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าลังเลหรือยืนนิ่งเวลาผู้สัมภาษณ์เชิญคุณเข้าไป แค่เดินเข้าไปในห้องอย่างมั่นใจและนั่งลงตรงที่นั่งที่อยู่ตรงกันข้ามกับผู้สัมภาษณ์ก็พอ ยกเว้นว่าผู้สัมภาษณ์จะบอกให้คุณทำอีกอย่างหนึ่ง และในขณะที่คุณนั่งอยู่นั้น ห้ามคุณขยับมือไปมาหรือนั่งเขย่าขาเด็ดขาด เพราะการที่คุณหยุกหยิกไปมาจะเป็นสิ่งที่แสดงให้ว่าที่นายจ้างของคุณเห็นอย่างชัดเจนว่าคุณนั้นกระวนกระวายใจอยู่ [18]
  2. ดูให้แน่ใจด้วยว่าการจับมือทักทายของคุณนั้นมีความหนักแน่นพอ (แต่ต้องไม่บีบแรงจนเกินไป) และไม่ต้องจับมือนานมาก สัก 2-3 วินาทีก็น่าจะเพียงพอแล้ว นอกจากนี้ ให้พยายามทำมือให้อุ่นและแห้งก่อนที่จะเข้าไปสัมภาษณ์ด้วย ผู้สัมภาษณ์จะได้ไม่ต้องตกใจเพราะมือที่เย็นจัดหรือมือที่ชุ่มเหงื่อของคุณ [19]
  3. ยิ้มและทำตัวเป็นมิตรเข้าไว้เมื่อพบกับผู้สัมภาษณ์ในครั้งแรก. บางครั้งผู้สัมภาษณ์อาจจะต้องการพูดคุยอะไรเล็กๆ น้อยๆ ก่อนที่จะเริ่มการสัมภาษณ์ ดังนั้น ให้คุณยิ้มและเป็นตัวของตัวเองเข้าไว้ และอย่าไปกังวลเรื่องการพูดคุยเกี่ยวกับทักษะต่างๆ ของตัวเองมากนัก จนกว่าการสัมภาษณ์จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการจริงๆ [20]
  4. ถึงแม้ว่าคุณจะรู้สึกประหม่า แต่จำไว้ว่าการสบตากับผู้สัมภาษณ์เวลาพูดคุยนั้นจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คุณดูเป็นคนที่มีความมั่นใจมากขึ้นได้ แต่ก็ระวังอย่าให้กลายเป็นการจ้องตา และให้มองตาผู้สัมภาษณ์เฉยๆ เวลาที่เขากำลังพูดกับคุณ [21] นอกจากนี้ให้จำไว้ด้วยว่า การมองไปรอบๆ ห้องหรือมองลงพื้นนั้นคือสัญญาณที่บ่งบอกชัดเจนว่าคุณรู้สึกประหม่าอยู่ [22]
  5. เมื่อผู้สัมภาษณ์ขอให้คุณแนะนำตัว คุณต้องไม่ลังเล และจำไว้ว่า ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่คุณจะต้องใช้เวลาหยุดคิดเวลาที่ผู้สัมภาษณ์ถามคำถามอื่นๆ ที่ยากกว่า หรือต้องใช้เวลาเรียบเรียงความคิดของตัวเองเพื่อตอบออกไป แต่การหยุดคิดในช่วง “แนะนำตัวเองหน่อยครับ/ค่ะ” นั้นคงไม่ใช่ความคิดที่ดีเท่าไร [23] เพราะการหยุดชะงักในขั้นตอนแรกของการสัมภาษณ์แบบนี้ อาจจะทำให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกว่าคุณไม่ได้เตรียมตัวมาให้พร้อม หรืออาจจะคิดไปว่าคุณนั้นเป็นคนที่ไม่รู้ในจุดแข็งของตัวเองสักเท่าไร
  6. อย่าพูดเรื่อยเปื่อย หรือเพิ่มอะไรเข้าไปในการแนะนำตัวจนทำให้ดูเหมือนกับว่าคุณเตรียมการก่อนการสัมภาษณ์มาเยอะจนเกินไป เพราะถ้าหากคุณพูดนานจนเกินไป นั่นอาจจะทำให้คุณจบลงที่การเป็นคนพูดจาวกวนไปมาหรือดูประหม่าได้ ฉะนั้น พูดแค่ในสิ่งที่เตรียมและฝึกซ้อมเอาไว้ก็พอ และเมื่อคุณพูดครบทุกอย่างตามที่ได้เตรียมไว้แล้วก็ให้คุณหยุดพูด เพราะผู้สัมภาษณ์จะถามคุณเอง หากเขาอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการให้คุณขยายความบางสิ่งบางอย่างให้กระจ่างขึ้น [24]
  7. แม้ว่าคุณจะรู้สึกว่าการแนะนำตัวของตัวเองนั้นฟังดูไม่ค่อยดีเท่าตอนที่คุณซ้อมอยู่กับบ้าน แต่ให้คุณจำไว้เสมอว่า คุณได้รับเลือกให้เข้ามาสัมภาษณ์ก็เพราะว่าคุณมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับงานนี้ ฉะนั้น อย่าโทษตัวเองเพราะสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ตัวเองทำหรือพูดไป และให้โฟกัสกับสิ่งที่ตัวเองทำได้ดีแทนจะดีกว่า [25]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าเคี้ยวหมากฝรั่งในช่วงที่กำลังสัมภาษณ์งานเด็ดขาด หากคุณต้องการทำให้ลมหายใจสดชื่นก่อนเข้าไปสัมภาษณ์ คุณจะอมยาอมรสมิ้นต์แทนก็ได้ ขอแค่ให้คุณอมยาอมให้หมดก่อนที่คุณจะต้องเริ่มพูดก็พอแล้ว
  • ทำสำเนาประวัติย่อของคุณเผื่อไว้แจกให้กับผู้สัมภาษณ์ด้วย เพราะการเตรียมพร้อมของคุณจะแสดงให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าคุณเป็นคนน่าเชื่อถือ
  • ให้มาก่อนเวลาสัมภาษณ์สักประมาณ 10-15 นาที เพราะช่วงเวลาพิเศษก่อนการสัมภาษณ์นี้จะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นคนตรงต่อเวลา และยังเปิดโอกาสให้คุณได้อ่านทบทวนเอกสารสรุปประเด็นหลักๆ ที่จะพูด ก่อนที่การสัมภาษณ์จะเริ่มขึ้น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 174,455 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา