ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ตาปลาหรือ helomas คือการหนาตัวของผิวที่มักจะเกิดขึ้นบนเท้า การหนาตัวนั้นเป็นกลไกธรรมชาติของผิวในการปกป้องตัวเอง โดยมักจะมีลักษณะเป็นตุ่มสากรูปกรวยที่นูนขึ้นมาจากส่วนของเท้าที่มีการเสียดสีมากเกินไป ความผิดปกติของเท้า กระดูกโหนก รองเท้าที่ไม่ได้ขนาด และการเดินผิดปกติสามารถนำไปสู่การเกิดตาปลาที่เจ็บปวดได้ [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง อย่างไรก็ตาม ข่าวดีคือการใช้พลาสเตอร์รักษาตาปลาอย่างถูกต้องนั้นจะสามารถกำจัดตาปลาได้อย่างง่ายดาย ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอน
-
ทำความสะอาดและเช็ดตาปลาให้แห้งเพื่อให้สามารถติดพลาสเตอร์ได้อย่างสนิท. การติดไม่สนิทอาจส่งผลให้พลาสเตอร์ตาปลาหลุดออกจากที่และสูญเสียประสิทธิภาพ หรือทำให้สัมผัสกับผิวหนังที่ปกติดี
-
ถอดพลาสเตอร์ตาปลาจากแผ่นรอง. เช่นเดียวกับพลาสเตอร์ปิดแผล ส่วนที่เป็นกาวจะยึดติดไว้กับแผ่นรองพื้นยางเพื่อไม่ให้มีอะไรเกาะติดก่อนการใช้ ทิ้งแผ่นรองหลังจากที่ได้ถอดพลาสเตอร์ตาปลาแล้ว [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
วางส่วนวงกลมไว้บนตาปลาแล้วกดให้แน่นโดยให้ฝั่งที่เป็นกาวติดกับผิวหนัง. [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ส่วนของพลาสเตอร์ที่เป็นวงกลมนั้นจะมียาที่มักผสมกรดซาลิไซลิกที่จะลอกผิวหนังของตาปลา [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง เจลของพลาสเตอร์ตาปลานั้นต้องสัมผัสกับตาปลาโดยตรงและขอบของตาปลาถ้าเป็นไปได้ เพราะอาจมีส่วนของตาปลาที่งอกเป็นวงกว้าง
-
สามารถติดพลาสเตอร์รักษาตาปลาแผ่นใหม่ตามที่ต้องการ. โดยส่วนมาก ควรติดพลาสเตอร์รักษาตาปลาแผ่นใหม่ทุกสองวัน [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง อย่างไรก็ตาม สามารถติดพลาสเตอร์รักษาตาปลาแผ่นใหม่ได้ทุกวันจนกว่าตาปลาจะหลุดหรือเป็นเวลาสูงสุดสองสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับว่ากรณีใดจะเกิดขึ้นก่อนกัน [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ติดพลาสเตอร์รักษาตาปลาตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด การใช้งานที่ผิดพลาดหรือบ่อยเกินอาจก่อให้เกิดการซึมซับยาเข้าผิวหนังมากเกินควร [9] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ DermNet NZ ไปที่แหล่งข้อมูล
-
คอยเฝ้าระวังอาการแพ้. ซึ่งอาจได้แก่สีผิวแดง อาการคัน ผื่น หรืออาการอื่นๆ อาการปวดหรือความรู้สึกไม่สบายนั้นย่อมเกิดขึ้นได้เป็นปกติ [10] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง การระคายเคืองที่เรื้อรังหรือร้ายแรงอาจเกิดจากกรดซาลิไซลิกเป็นพิษ [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- การใช้กรดซาลิไซลิกนั้นอาจก่อให้เกิดแอแนฟิแล็กซิส (ปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรง) แต่ก็มีความเสี่ยงที่ต่ำ [12] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ DermNet NZ ไปที่แหล่งข้อมูล
-
ปรึกษาแพทย์หากพลาสเตอร์รักษาตาปลาไม่มีประสิทธิภาพ. ควรพบกับแพทย์อายุรกรรมทั่วไป แพทย์โรคเท้า หรือแพทย์ผิวหนังหากตาปลาของคุณมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และไม่ตอบสนองต่อพลาสเตอร์รักษาตาปลา โดยแพทย์อาจให้เอกซ์เรย์เท้าเพื่อหาความผิดปกติของกระดูกหรือส่งต่อให้กับศัลยแพทย์กระดูกหากจำเป็น [13] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
-
เก็บให้พ้นมือเด็ก. [14] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ผลิตภัณฑ์นี้ไม่มีอันตรายหากใช้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามกรดซาลิไซลิกอาจเป็นอันตรายเมื่ออยู่ในมือของเด็ก การนำไปใช้กับผิวหน้าอาจทำให้เกิดการไหม้ทางเคมีและการกลืนกินอาจก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และปัญหาเกี่ยวกับหู [15] X แหล่งข้อมูลที่เชื่อใจได้ Centers for Disease Control and Prevention ไปที่แหล่งข้อมูล
-
หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์หลังวันหมดอายุ. การเสื่อมจากอายุนั้นจะก่อให้เกิดการเสื่อมประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการเสื่อมจากความร้อน นอกจากการเสื่อมประสิทธิภาพของแผ่นกาวแล้ว วงกลมโฟมอาจสูญเสียลักษณะความนุ่มที่ช่วยป้องกันการเสียดสีและลดความเจ็บปวดจากตาปลา [18] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง [19] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
คำเตือน
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนควรปรึกษาแพทย์
- ใช้ภายนอกเท่านั้น
- หลีกเลี่ยงการใช้กับผิวหนังแตก
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควรใช้พลาสเตอร์รักษาตาปลา
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.medicinenet.com/corns/page3.htm
- ↑ http://www.drugs.com/uk/carnation-corn-caps-leaflet.html
- ↑ https://www.youtube.com/watch?v=w_r5TiOJ0YY
- ↑ http://www.rapidhomeremedies.com/how-to-get-rid-of-corns-on-toes.html
- ↑ http://www.drugs.com/uk/carnation-corn-caps-leaflet.html
- ↑ http://www.rapidhomeremedies.com/how-to-get-rid-of-corns-on-toes.html
- ↑ http://www.drugs.com/uk/carnation-corn-caps-leaflet.html
- ↑ https://www.youtube.com/watch?v=w_r5TiOJ0YY
- ↑ http://www.dermnetnz.org/treatments/salicylic-acid.html
- ↑ http://www.drugs.com/uk/carnation-corn-caps-leaflet.html
- ↑ http://emedicine.medscape.com/article/1009987-overview
- ↑ http://www.dermnetnz.org/treatments/salicylic-acid.html
- ↑ http://www.dermatocare.com/blog/Foot-corns--how-to-get-rid-of-corn-know-from-a-dermatologist
- ↑ http://www.drugs.com/uk/carnation-corn-caps-leaflet.html
- ↑ http://www.cdc.gov/niosh/ipcsneng/neng0563.html
- ↑ https://www.youtube.com/watch?v=w_r5TiOJ0YY
- ↑ http://www.drugs.com/uk/carnation-corn-caps-leaflet.html
- ↑ https://www.youtube.com/watch?v=w_r5TiOJ0YY
- ↑ http://www.drugs.com/uk/carnation-corn-caps-leaflet.html
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,148 ครั้ง
โฆษณา