PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

การกระดิกหูก็เหมือนกับการห่อลิ้น คือเป็นความสามารถเฉพาะตัวที่หายาก เพราะคนเราก็วิวัฒนาการต่างกันไป ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ เพราะงั้นถ้าอยากหัดกระดิกหู ขั้นแรกคือต้องรู้ซะก่อนว่ากลไกมันเป็นยังไง พอเห็นภาพแล้ว ก็จะฝึกง่ายขึ้น แค่ขยับหน้าวอร์มอัพ แล้วเพ่งสมาธิไปที่กล้ามเนื้อแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้อง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รู้จักกล้ามเนื้อบนใบหน้า

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. กระดิกหูไม่ได้คงไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายของใคร แต่ถ้าใช่สำหรับคุณ ก็แนะนำให้ทำใจแต่เนิ่นๆ เพราะบางทีฝึกไปก็อาจกระดิกหูไม่ได้อยู่ดี ของแบบนี้อยู่ที่สรีระของแต่ละคน เพราะงั้นถ้าสุดท้ายแล้วไร้ผล ก็อย่าร้องไห้หนักมาก ถือว่าเกิดผิดตระกูลแล้วกัน! [1]
    • กระดิกหูได้ถือว่าเป็น “vestigial” trait หรือสกิลดั้งเดิมแต่โบราณที่หลงเหลือมา เพราะสมัยก่อน บรรพบุรุษของเรากระดิกหูกันได้สบายๆ แต่สกิลนี้ใช้ทำมาหากินไม่ได้นี่สิ คนเลยไม่ค่อยใส่ใจ สุดท้ายลูกหลานเหลนโหลนอย่างเราเลยสูญเสียความสามารถตรงนี้ไป
    • ตอนนี้ก็ยังถกเถียงกันอยู่ ว่าสมัยนี้มีคนมากน้อยแค่ไหนที่กระดิกหูได้ บางคนก็ว่าเป็นส่วนน้อย มีแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ แต่บางคนก็เชื่อว่าของแบบนี้สามารถเรียนรู้กันได้ ถ้าฝึกฝนมากพอ
  2. ถ้าอยากเข้าใจศาสตร์การกระดิกหูอย่างลึกซึ้ง ก็ต้องรู้จักกล้ามเนื้อสำคัญ 3 แบบด้วยกัน คือ auricularis anterior, posterior และ superior อย่าเพิ่งกุมขมับว่าไม่ใช่ภาษาคน แค่รู้ไว้ว่ากล้ามเนื้อแต่ละแบบใช้ทำอะไรบ้างก็พอแล้ว [2]
    • auricularis anterior ใช้กระดิกหูทั้งขึ้นข้างบนและไปข้างหน้า
    • auricularis posterior ใช้กระดิกหูไปด้านหลัง
    • auricularis superiors ใช้ยกหูขึ้นอย่างเดียว
  3. บางคนก็ว่าถ้าคุม กล้ามเนื้อบางส่วนบนใบหน้า ได้แล้ว จะทำให้กระดิกหูง่ายขึ้นเยอะเลย เพราะงั้นถ้าคุณแสดงสีหน้าแบบอื่นได้ง่ายกว่า ให้ลองทำก่อนแล้วค่อยต่อยอด พอคุมกล้ามเนื้อกลุ่มเล็กๆ ได้แล้ว ก็ค่อยขยับไปกระดิกหู สีหน้าต่างๆ ก็เช่น [3]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

วอร์มหน้า

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. กล้ามเนื้อแต่ละส่วนในหน้าจะส่งผลถึงกันทุกครั้งที่หดหรือคลาย ลองขยับดูจะได้รู้สึกว่าหูกระดิกไปทางไหนบ้างเวลาทำสีหน้าต่างๆ แล้วพยายามแยกกล้ามเนื้อแถวหูให้ได้
    • ถ้าจะให้เห็นภาพ ก็ลองยกมือขึ้นแล้วกำหมัดแน่น จะรู้สึกเลยว่ากล้ามเนื้อท่อนแขนตึงเกร็งทั้งๆ ที่ไม่ได้ไปยุ่งอะไร
  2. เพราะส่งผลต่อกล้ามเนื้อหูโดยตรงมากที่สุด ไม่เชื่อลองเหลือบตาซ้าย-ขวาแบบไม่หันหน้าหรือคอตามสิ ระหว่างนั้นจับความรู้สึกที่หูไว้ จะรู้สึกเลยว่าหูข้างหนึ่งหรือสองข้างตึงไปด้านหลัง [4]
    • หน้าตาอาจจะดูประหลาดชอบกล แต่อย่าได้แคร์ ลองกลอกตาไปมาอย่างบ้าคลั่งดู เหลือบมันไปทุกทิศทาง บน ล่าง ซ้าย ขวา จะขยับยังไงก็ได้เท่าที่นึกออก จะรู้สึกว่าหูกระดิกไปข้างหน้า บางทีก็ข้างหลัง
  3. ถ้ายักคิ้วข้างเดียวเป็นก็เอาเลย แต่ถ้าไม่ได้ก็ยักมันทั้งสองข้าง จากนั้นหน้านิ่วคิ้วขมวดเหมือนไปโกรธใครมา สลับไปมาช้า-เร็วหลายๆ ระดับ จับความรู้สึกที่หูไว้ ว่ากล้ามเนื้อแถวนั้นตอบสนองยังไง [5]
  4. เอาให้กว้างเหมือนโจ๊กเกอร์ โชว์ฟันสวยๆ หน่อย ยกปั้นแก้มขึ้นด้วย แน่นอนว่ายังต้องจับความรู้สึกที่หูไว้ จะได้แยกกล้ามเนื้อหูออก [6]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

จดจ่อที่หู

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าเพิ่งคิดฝึกแยกทีละกล้ามเนื้อจนเชี่ยวชาญ เอาให้ขยับได้สักจุดก่อน พอวอร์มหน้าแล้ว แถมจับทางได้ว่ากล้ามเนื้อหูอยู่ประมาณไหน ให้ลองเกร็งกล้ามเนื้อหูดู ยกขึ้น ขยับไปข้างหน้า และข้างหลัง สลับกันไป [7]
  2. ถ้าควบคุม 3 กล้ามเนื้อได้ในทันทีก็สุดยอดเลย! แต่ถ้ากล้ามเนื้อเดียวยังไม่รอด ให้เน้นไปทีละจุดก่อน เกร็งแล้วคลายแต่ละจุดไป เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของทั้งกล้ามเนื้อนั้นและบริเวณใกล้เคียง
  3. พอควบคุมกล้ามเนื้อส่วนแรกได้คล่อง ก็ให้ขยับไปจุดอื่นที่จับทางได้ ตอนแรกให้ฝึกแยกก่อน แล้วค่อยสลับไปมาระหว่าง 2 กลุ่ม พอจับความรู้สึกและควบคุมได้ทั้ง 2 จุดอย่างเป็นธรรมชาติแล้ว ให้ขยับไปฝึกกล้ามเนื้อที่ 3 แล้วทำซ้ำ
  4. ถ้าไม่เห็นภาพว่ากำลังทำอะไรอยู่ แค่ความรู้สึกคงไม่พอ ให้ไปฝึกหน้ากระจก เท่านี้ก็เห็นชัดเจนทุกท่วงท่า จะใส่แว่นหรือแว่นกันแดดด้วยก็ได้ จะเห็นชัดขึ้นเวลาแว่นขยับไปพร้อมกับหู
  5. อย่างที่บอกว่าในชีวิตคนเราจะกระดิกหูกันสักกี่ครั้ง เพราะงั้นถ้าฝึกแบบเอาเป็นเอาตายก็หูล้าแน่นอน แต่ก็อย่าเลิกฝึก ถึงจะกระดิกไม่ค่อยได้หรือไม่กระดิกเลยก็เถอะ ของแบบนี้ต้องใช้เวลาสร้างเสริมความแข็งแรง อดใจรอหน่อย [8]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,746 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา