ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความคิดแย่ๆ ตามหลอกหลอนคุณได้หลายวัน หลายสัปดาห์ หรือแม้กระทั่งหลายเดือนหากคุณไม่จัดการกับมัน และมันมักจะมาแบบไม่ทันตั้งตัวตอนที่คุณกำลังวิเคราะห์สถานการณ์แบบละเอียดยิบ หรือตอนที่คุณเชื่อว่าอีกฝ่ายกำลังดูถูกคุณอย่างแนบเนียน แม้ว่าความคิดแย่ๆ จะทำให้คุณเจ็บปวด แต่มันก็เป็นเรื่องธรรมชาติและสมองของคุณก็มีวิธีจัดการกับมันด้วย และแม้ว่าการขอความช่วยเหลือจะเป็นสิ่งที่ควรทำเมื่อคุณมีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรงหรือมีความคิดแย่ๆ ผุดขึ้นไม่หยุด แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคุณเองก็สามารถรับมือกับมันได้เช่นกัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

หยุดความคิดแย่ๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จำไว้ว่าความคิดแย่ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวนั้นเป็นเรื่องปกติ. ขั้นตอนนี้อาจเป็นวิธีเริ่มขบคิดถึงปัญหาที่ง่ายที่สุดแล้ว บ่อยครั้งที่คุณคิดว่าคุณเป็นคนเดียวที่มีปัญหา หรือไม่ก็ไม่มีใครเข้าใจสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่ แต่ความคิดแย่ๆ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และที่สำคัญที่สุดก็คือเดี๋ยวมันก็หายไป อย่าก่นด่าตัวเองที่เอาแต่คิดเรื่องแย่ๆ เพราะว่ามันไม่ใช่ความผิดของคุณเลย [1]
    • อย่าพูดกับตัวเองว่า “เป็นความผิดของฉันเอง” “ฉันไม่ควรคิดเรื่องนี้เลย” หรือ “ฉันเกลียดความคิดนี้จัง”
    • คุณเคยคิดเรื่องแย่ๆ มาก่อน และจากนี้ไปคุณก็จะยังคิดถึงมันอีก แต่คุณก็ยังอยู่ตรงนี้ มีชีวิตอยู่ และแข็งแรงดี ความคิดแย่ๆ ไม่ทำให้คุณตายตราบใดที่คุณไม่ทำให้มันกลายเป็นสัตว์ประหลาด
  2. ทำไมคุณถึงรู้สึกแย่กับความคิดนี้ อะไรที่ทำให้คุณสลัดมันออกจากหัวไม่ได้ บ่อยครั้งที่ความคิดแย่ๆ ยังอยู่ในหัวของเราก็เพราะว่าเรารู้สึกผิด โกรธ หรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับอนาคต เพราะฉะนั้นการทบทวนว่าทำไมคุณถึงคิดเรื่องเดิมซ้ำไปซ้ำมาจึงสามารถช่วยให้ความคิดนั้นเป็นรูปเป็นร่างและทำให้คุณหาวิธีที่จะจัดการกับมันได้ เหตุผลทั่วไปที่ทำให้ความคิดนั้นยังติดอยู่ในหัวได้แก่ :
    • ความรู้สึกผิด
    • ความรู้สึกเจ็บปวด
    • ความวิตกกังวล
    • ความอิจฉา
    • แรงยั่วยุ
    • ความบอบช้ำทางจิตใจ
    • ความล้มเหลวหรือความกลัวการล้มเหลว
  3. เป็นเรื่องปกติที่คุณจะวิตกกังวลหรือกระวนกระวายเวลาที่จู่ๆ ความคิดแย่ๆ ก็โผล่เข้ามาในสมอง แต่ให้ยับยั้งความรู้สึกที่อยากจะไม่พอใจหรือเอาแต่หมกมุ่นอยู่กับความคิดนั้น หยุดทำสิ่งต่างๆ สัก 30 วินาทีและหายใจเข้าออกลึกๆ ยาวๆ 5 ครั้ง ให้เวลาตัวเองได้รู้สึกถึงความคิดแทนที่จะรีบด่วนสรุปแบบไม่มีเหตุผลหรือเกินจริง
    • ลองนับ 1 ถึง 15 ถ้าคุณยังรู้สึกกระวนกระวายอยู่
    • นอกจากนี้คุณก็อาจจะระบายสี ฟังเพลงผ่อนคลาย หรืออ่านหนังสือสักครู่ก็ได้
    • หรือไม่ก็ออกไปข้างนอก ดึงตัวเองออกจากห้อง หรือไม่ก็ออกไปเดินเล่นสักพักเพื่อให้หัวโล่ง [2]
  4. ถามตัวเองว่าทำไมคุณถึงคิดเรื่องที่เป็นลบหรือเรื่องแย่ๆ. เมื่อคุณได้ชะลอความคิดและคิดถึงเหตุผลว่าทำไมคุณถึงไม่พอใจแล้ว ก็ได้เวลามาตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมความคิดมันถึงได้ลบขนาดนั้น คำถามที่เหมาะจะถามตัวเองได้แก่ :
    • ฉันมีหลักฐานหนักแน่นอะไรที่มายืนยันความกังวลหรือความกลัวของฉัน
    • อะไรคือแง่มุมดีๆ ของสถานการณ์ที่ฉันหลงลืมไป
    • มีวิธีอื่นที่จะมองสถานการณ์นี้หรือไม่ คนอื่นจะมองฉันอย่างไร
    • เรื่องนี้จะยังสำคัญอยู่ไหมในอีก 5 ปีข้างหน้า [3]
  5. แม้ว่าสถานการณ์จะไม่เป็นดั่งใจหรือยากลำบาก แต่คุณก็ยังรู้สึกดีกับมันได้ คุณไม่จำเป็นต้องปล่อยให้ความคิดแย่ๆ ถาโถมใส่คุณ คุณไม่สามารถควบคุมอนาคตและคุณก็ไม่สามารถควบคุมอดีตได้ด้วยเช่นกัน สิ่งที่คุณสามารถทำได้ก็คือการรับมือกับปัจจุบัน ความคิดแย่ๆ มากมายเกิดจากการที่คุณลืมข้อเท็จจริงนี้ไปและคาดการณ์หรือเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้น [4]
    • เช่น คุณอาจจะบอกตัวเองว่าข้อสอบพรุ่งนี้จะต้องยากมากแน่ๆ และคุณก็จะต้องสอบตกแน่ๆ แต่ความคิดแย่ๆ ของคุณไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริงเลย เมื่อข้อสอบมาอยู่บนโต๊ะ คุณก็บอกตัวเองไปแล้วว่ามันจะต้องแย่มากแน่ๆ แทนที่คุณจะหาทางทำให้มันง่ายขึ้นตั้งแต่เมื่อคืน อย่าปล่อยให้การคาดเดาเกี่ยวกับอนาคตมาทำลายปัจจุบัน
  6. ปฏิกิริยาแรกที่มีต่อความคิดแย่ๆ จะเป็นอะไรที่เกินจริงไปมาก “ผมหลงใหลผู้หญิงอีกคน แปลว่าผมต้องไม่ได้รักภรรยาแน่ๆ” “เจ้านายไม่ชอบพรีเซนต์ของฉัน ฉันต้องโดนไล่ออกแน่ๆ” “คนอื่นเขามีรถสวยๆ ขับกันหมด ฉันต้องเป็นคนที่ล้มเหลวแน่ๆ” ความคิดเหล่านี้นอกจากจะตื้นเขินแล้วยังผิดถนัดเลยด้วย จำไว้ว่าคุณไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล และปัญหาในชีวิตส่วนใหญ่สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้กระทบต่อความสุขของคุณมากนัก
    • นึกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อน เช่น ถูกกักบริเวณหรือโดนทิ้ง แม้ว่าในตอนนั้นคุณจะรู้สึกแย่สุดๆ แต่เป็นไปได้ว่าคุณก็สบายดีเพราะคุณผ่านมันมาได้โดยที่ไม่ได้มีอะไรร้ายแรงเกิดขึ้นกับคุณจริงๆ [5]
  7. เบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองด้วยสิ่งที่คุณรู้ว่ามันจะทำให้คุณสบายใจ. กลับไปหาสิ่งที่คุณรู้จักและรักเพื่อช่วยให้ใจของคุณเลิกจมจ่อมอยู่กับปัญหาหรือทำให้คุณได้เห็นสิ่งต่างๆ อย่างเป็นเหตุและผล การได้ทำสิ่งที่เชื่อมโยงกับความทรงจำดีๆ สามารถช่วยให้คุณตระหนักถึงความคิดแย่ๆ ได้ตามความเป็นจริงว่า สิ่งต่างๆ มันไม่ได้แย่เสมอไป และในอนาคตมันก็จะไม่ได้แย่เสมอไปเช่นกัน [6]
    • อ่านหนังสือเล่มโปรดอีกครั้ง
    • อบคุกกี้ช็อกโกแลตสูตรของแม่
    • ไปดูการแข่งขันในบ้านครั้งถัดไปของทีมที่คุณติดตาม
    • เปิดอัลบั้มที่คุณชอบฟังตั้งแต่สมัยวัยรุ่น
    • ดูภาพงานกิจกรรมสนุกๆ หรือการไปเที่ยวพักผ่อน
  8. อย่าพยายามวิ่งหนีความคิดหรือ “ผลัก” มันออกไป. การบอกตัวเองว่าอย่าไปคิดมีแต่จะทำให้คุณคิดถึงมันอยู่เรื่อยๆ คุณเอาแต่บอกตัวเองว่า “เลิกคิดเรื่องที่เราเลิกกับแฟนได้แล้ว” และคุณก็ไม่รู้ตัวว่าตัวเองยังพูดเรื่องที่คุณเลิกกับแฟนอยู่เลย! คุณต้องปรับความคิดไปในอีกทิศทางหนึ่ง หรือไม่ก็พยายามจัดการกับความคิดแย่ๆ แบบตรงไปตรงมา แต่การพยายามตั้งใจที่จะผลักความคิดแย่ๆ ออกไปก็มีแต่จะทำให้ปัญหายืดเยื้อเช่นกัน
    • ในบางสถานการณ์การเผชิญหน้ากับปัญหาตรงๆ ก็เป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ในบางสถานการณ์การวางปัญหาไว้สักพักก็อาจจะเป็นวิธีการที่ดีกว่า
  9. แทนที่จะต่อสู้กับความคิดแย่ๆ ให้หายใจลึกๆ รับรู้ถึงความคิดเหล่านั้น และก้าวเดินต่อไป ซึ่งเป็นทักษะที่ฝึกฝนได้ยาก แต่การฝึกทักษะนี้จนเชี่ยวชาญจะทำให้คุณสามารถต่อสู้กับความคิดลบได้ดีที่สุดไปตลอดชีวิต [7] เช่น คุณอาจจะกังวลว่าตัวเองจะถูกไล่ออกเพราะคุณทำงานพลาด แต่แทนที่จะคิดถึงสิ่งที่คุณทำพลาดวนไปวนมา ให้เรียนรู้จากความผิดพลาดและหาวิธีที่จะไม่ทำพลาดซ้ำอีกในอนาคต ตั้งใจพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นแทนที่จะไปกังวลถึงสิ่งที่เลวร้ายที่สุด
    • ลองคิดว่า “ฉันไม่สามารถควบคุมทุกอย่างบนโลกใบนี้ได้” “ฉันเปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้” และ “ถึงเวลาต้องเดินหน้าต่อไปแล้ว”
  10. ขั้นตอนนี้อาจจะฟังดูแปลกๆ แต่งานวิจัยของรัฐโอไฮโอพบว่า คนที่เขียนความคิดแย่ๆ ลงในกระดาษแล้วโยนทิ้งไปมีความคิดเห็นต่อตนเองดีกว่าคนที่เก็บกระดาษเอาไว้ การเขียนเป็นการระบายปัญหาออกมา และการโยนมันทิ้งไปจริงๆ ก็เป็นการบอกร่างกายตัวเองว่าได้เวลาเดินหน้าต่อไปแล้ว [8]
    • งานวิจัยเดียวกันยังพบว่า การลากไฟล์เข้าไปที่ถังขยะของคอมพิวเตอร์ก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีเช่นเดียวกัน
  11. การเอาความคิดแย่ๆ ออกจากอกและเผยมันออกมาเป็นวิธีที่ดีในการทำความเข้าใจและยอมรับว่าอะไรที่ทำให้ความคิดนั้นมันแย่มากๆ นอกจากนี้บ่อยครั้งมันยังช่วยให้คุณตระหนักว่าอันที่จริงความคิดมันก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น เมื่อคุณสามารถถ่ายทอดความวิตกกังวลออกมาเป็นคำพูดได้ คุณก็จะได้คำแนะนำและมุมมองที่มีคุณค่าจากคนที่อาจจะเคยมีความวิตกกังวลแบบเดียวกัน จิตแพทย์หลายคนพบว่า แค่เล่าความคิดในบรรยากาศที่สบายๆ ก็สามารถช่วยให้คุณกำจัดความคิดแย่ๆ ออกไปได้แล้ว
    • ความคิดแย่ๆ โดยพื้นฐานแล้วมันก็คือการพูดคุยกับตัวเอง และทุกสิ่งที่คุณพูดมันก็ฟังดูเหมือนเป็นความจริง แต่การได้ฟังอีกมุมมองหนึ่งจะช่วยให้คุณเห็นข้อบกพร่องในตรรกะของคุณและสามารถหยุดความคิดนั้นได้ [9]
    • คุณสามารถพูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวที่คุณไว้ใจ หรือจะเป็นนักบำบัดกับจิตแพทย์ก็ได้เช่นกัน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

หยุดวงจรการคิดลบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฝึกการพูดยืนยันตัวเองเชิงบวกเพื่อต่อสู้กับความคิดเลวร้ายที่สลัดจากหัวไม่หลุด. การพูดยืนยันตัวเองเชิงบวกก็คือการใช้เวลาตระหนักว่า คุณมีความสุข สุขภาพแข็งแรง และรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง ความคิดเชิงลบ (การลดทอนคุณค่าของตัวเอง ความไร้ค่า และอื่นๆ) สามารถลดทอนลงได้ด้วยคำพูดยืนยันตัวเองเชิงบวก ฝึกพูดว่า “ฉันเป็น...” และต่อด้วยสิ่งที่คุณรักเกี่ยวกับตัวเอง เช่น “ฉันเป็นคนฉลาด” “ฉันเป็นคนทำงานเก่ง” หรือ “ฉันเป็นส่วนหนึ่งของความรักในครอบครัว” [10]
    • เขียนรายการคุณสมบัติที่ดีของตัวเองแล้วแปะไว้ในที่ที่คุณมองเห็นทุกวัน เช่น บนโต๊ะหรือที่กระจกห้องน้ำ
    • ต่อสู้กับความคิดแย่ๆ อย่างตรงไปตรงมา ถ้าคุณเอาแต่พูดว่า “ฉันนี่มันโง่จัง” ให้นึกถึงสิ่งต่างๆ ที่คุณรู้ด้วยคำพูดยืนยันตัวเอง เช่น “ฉันซ่อมรถเป็น” “ฉันทำกับข้าวได้” หรือ “ฉันเป็นคนฉลาด”
  2. ความคิดแย่ๆ ส่วนใหญ่จะผุดขึ้นมาในเวลาว่างซึ่งเป็นช่วงที่สมองของคุณได้รับอนุญาตให้คิดไปเรื่อยเปื่อยโดยไม่มีอะไรมาเบี่ยงเบนความสนใจ หรือไม่ก็ตอนที่คุณเหนื่อย การหาอะไรทำจะช่วยให้คุณไม่ต้องอยู่คนเดียวมากเกินไป เช่น เริ่มกิจวัตรการออกกำลังกาย เริ่มโปรเจกต์งานเขียนหรืองานศิลปะ หรืองานบริการชุมชน
    • การอยู่คนเดียวไม่ใช่เรื่องไม่ดี แต่การอยู่คนเดียวโดยไม่รู้ว่าจะทำอะไรอาจทำให้เกิดความวิตกกังวลและความหวาดหวั่นได้
  3. ความสัมพันธ์เป็นหนึ่งในขอบเขตที่เต็มไปด้วยปัญหาที่ทำให้เราเหนื่อยใจไปกับการจับทิศทางมากที่สุด คุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองพยายามอย่างเปล่าประโยชน์ในการค้นหาว่าคนอื่นคิดอย่างไร เพื่อนตั้งใจดูถูกคุณหรือเปล่า หรือมีใครนินทาคุณลับหลังไหม แต่ถ้าคุณมีเพื่อนหรือคนรักที่กระตุ้นความคิดแย่ๆ เป็นประจำ นั่นไม่ใช่ความผิดของคุณ และความสัมพันธ์นี้ก็อาจจะไม่ดีต่อตัวคุณนักไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม [11]
    • รักษาระยะห่างกับคนที่เป็นลบ ความคิดแย่ๆ หายไปหลังจากที่คุณไม่ได้เจอเขามาสักพักหรือเปล่า
    • หลบหน้าเพื่อนที่เอาแต่ดูถูกหรือล้อเลียนคุณ เทนัดคุณ หรือไม่เคารพเวลาหรืองานอดิเรกของคุณ
  4. เขียนรายการทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อจัดการความคิดแย่ๆ เช่น ถ้าคุณเอาแต่กังวลเรื่องความสัมพันธ์ตลอดเวลา ให้ถามตัวเองว่าคุณสามารถทำอะไรเพื่อให้สิ่งต่างๆ มันดีขึ้นได้บ้าง วางแผนการเดต ซื้อดอกไม้ให้คนรัก พูดคุยกับคนรัก และออกไปเที่ยวกับเพื่อนบ้างเพื่อให้คุณได้มีเวลาสนุกของตัวเอง
    • คุณอาจจะไม่สามารถทำทุกอย่างที่อยู่ในรายการได้ แต่การมีรายการสิ่งที่คุณทำได้เอาไว้จะช่วยให้คุณสามารถกลับมาควบคุมความคิดของตัวเองได้อีกครั้ง
  5. การเขียนสิ่งต่างๆ ลงไป ปลดปล่อยตัวเองผ่านเครื่องดนตรี หรือระบายความรู้สึกออกมาเป็นภาพวาดล้วนเป็นวิธีที่มีคุณค่าต่อการสำรวจความคิดเชิงลบและเริ่มจัดการกับมัน จำไว้ว่าอย่าตัดสินผลงานของตัวเอง เพราะจุดประสงค์ของศิลปะก็เพื่อถ่ายทอดความคิด ไม่ใช่การวิจารณ์ แม้ว่าคุณจะไม่เคยเอาโปรเจกต์ของตัวเองไปอวดใคร แต่การสร้างสรรค์มันขึ้นมาก็เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณได้พัดพาความคิดแย่ๆ ออกไปผ่านเส้นทางการระบายอีกเส้นทางหนึ่งแล้ว [12]
  6. การยิ้มได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถหลั่งสารเคมีในร่างกายที่ทำให้คุณมีความสุขขึ้นได้ เพราะฉะนั้นอวดฟันขาวให้โลกรู้ว่าคุณมีความสุข แล้วคุณจะประหลาดใจที่ได้เห็นว่ามีคนยิ้มกลับมาด้วย ด้วยแรงเสริมทั้งจากสังคมและสารเคมี ขั้นตอนนี้จะช่วยสร้างความแตกต่างระหว่างการมีทัศนคติที่ร่าเริงและมีความสุขกับการจมอยู่กับความคิดแย่ๆ [13]
    • ในทางตรงกันข้ามการทำหน้านิ่วคิ้วขมวดหรือทำหน้าเศร้าก็นำไปสู่ความคิดเชิงลบได้เช่นกัน
    • ถ้าคุณกำลังเผชิญกับความยากลำบาก หาเวลาดูรายการตลกที่คุณชอบเพื่อให้อารมณ์ดีขึ้น
  7. พบผู้เชี่ยวชาญหากคุณไม่สามารถสลัดความคิดออกไปได้. ถ้าคุณมีอาการซึมเศร้า มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย หรือรู้สึกเจ็บปวดไม่หาย คุณควรโทรหาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตทันที พวกเขาได้รับการฝึกฝนให้ช่วยเหลือคุณในเส้นทางของการฟื้นฟูความคิดเชิงบวก และจะอยู่ตรงนั้นเพื่อสนับสนุนให้คุณได้เรียนรู้
    • ถ้าคุณคิดว่าชีวิตไม่มีค่าพอที่จะอยู่ต่อ ให้โทรไปที่บริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ทันที
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ป้องกันความคิดแย่ๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สุขภาพจิตและสุขภาพกายมีความสัมพันธ์กันโดยตรง และถ้าคุณละเลยอย่างใดอย่างหนึ่ง อีกด้านหนึ่งก็จะพลอยเจ็บป่วยไปด้วย คุณต้องให้ความสำคัญกับร่างกายเพื่อให้สมองของคุณได้ติดอาวุธเพื่อรับมือกับความเครียดและความคิดที่ทำให้เกิดความทุกข์หรือความคิดแย่ๆ [14]
    • ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที
    • รับประทานอาหารที่สมดุลและหลีกเลี่ยงอาหารขยะ
    • ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วเต็มเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
    • นอนหลับพักผ่อนคืนละ 6-8 ชั่วโมง
  2. การฝึกสมาธิเป็นกระบวนการทำจิตใจให้โล่งและอยู่กับความคิดของตัวเองได้อย่างสงบ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่าช่วยส่งเสริมการคิดเชิงบวกและสุขภาพจิตได้ หาเวลาวันละ 10-15 นาทีนั่งลงสำรวจความคิดเงียบๆ กำหนดจิตไปที่ลมหายใจและปล่อยให้ความคิดล่องลอยอย่างเป็นอิสระ เมื่อคุณเริ่มทำได้ดีขึ้นคุณก็จะฝึกสมาธิได้นานขึ้น และความคิดแย่ๆ ก็จะค่อยๆ จางหายเข้าสู่พื้นหลัง [15]
  3. คนส่วนใหญ่รู้สึกถึงความคิดแย่ๆ ที่คืบคลานเข้ามาเวลาที่เขาจินตนาการถึงอนาคต ซึ่งทำให้เกิดความเครียดและความรู้สึกไม่มั่นคง เขียนเป้าหมายของตัวเองออกมา จากนั้นก็แบ่งเป็นงานเล็กๆ ที่คุณสามารถจัดการได้อย่างง่ายดาย ฉลองเมื่อคุณไปถึงหลักชัย และมองภาพตัวเองอยู่ที่เส้นชัยเสมอเมื่อเผชิญความยากลำบาก
    • เช่น คุณอาจจะกังวลเกี่ยวกับความคิดที่ว่า คุณคงจะไม่มีวันเขียนนิยายที่คุณอยากเขียนมาตลอดให้จบลงได้ แทนที่จะมัวกังวล ให้แบ่งเวลาเขียนวันละ 30 นาที เมื่อคุณเริ่มเคยชินแล้ว ก็ขยับเป็น 1 ชั่วโมง จากนั้นก็ 2 ชั่วโมงจนกว่าคุณจะมีนิยาย 2-3 บทให้ตัวเองได้เริ่มแก้
    • ถ้าคุณไม่สามารถทำตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้ อย่าตำหนิตัวเอง แค่ปรับตารางเวลาให้เข้ากับคุณเท่านั้นพอ
  4. การหัวเราะให้กับอุบัติเหตุและความโชคร้ายเป็นหนึ่งในวิธีที่ทำให้คุณยังคงเฉียบแหลมและมีสติได้ดีที่สุด อารมณ์ขันจะ “ปรับการตั้งค่า” เหตุการณ์เชิงลบด้วยท่าทีเชิงบวก ซึ่งจะไปสะกัดกั้นความเครียดและความกังวล เสียงหัวเราะทำให้คุณได้มุมมองที่จำเป็นต่อความคิด และทำให้คุณยับยั้งความคิดแย่ๆ ได้ง่ายขึ้น [16]
    • หัวเราะเยาะตัวเองด้วย คุณไม่ควรจริงจังกับชีวิตจนลืมที่จะสนุกกับมัน
    • เสียงหัวเราะเป็นสิ่งที่ส่งต่อกันได้ เพราะฉะนั้นให้อยู่กับคนที่หัวเราะหรือเล่นมุกบ่อยๆ ถ้าคุณเข้าหาคนที่หัวเราะง่าย คุณเองก็จะหัวเราะบ่อยขึ้นเช่นกัน
  5. หาเพื่อนหรือคนในครอบครัวที่คุณสามารถตรงไปตรงมากับเขาได้. แค่ได้รู้ว่ามีใครสักคนที่คุณสามารถพูดคุยอย่างเปิดใจและตรงไปตรงมากับเขาได้ก็ทำให้ความคิดแย่ๆ ดูน่ากลัวน้อยลงมาก การสร้างความไว้วางใจกับใครสักคนต้องใช้เวลา และคุณก็จำเป็นที่จะต้องเผยความเปราะบางออกมาเล็กน้อยเวลาที่เล่าความกังวลของคุณให้อีกฝ่ายฟัง แต่สุดท้ายแล้วความผูกพันในลักษณะนี้จะช่วยให้คุณตระหนักได้ว่า คุณไม่ได้ตัวคนเดียว คุณสามารถรับมือกับความคิดแย่ๆ เวลาที่มันโผล่ขึ้นมาได้ และก็จะมีคนคอยช่วยเหลือคุณเสมอ
    • ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณไม่สามารถเล่าความคิดออกมาให้คนอื่นฟังได้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ให้ลองนัดพบนักจิตบำบัดที่เชี่ยวชาญ พวกเขาได้รับการฝึกอบรมให้เต็มใจที่จะรับฟังและช่วยให้คุณเข้าใจและยอมรับปัญหาของตัวเองได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การพูดสิ่งดีๆ จะทำให้เกิดความคิดดีๆ เพราะฉะนั้นมองโลกในแง่ดีและมีความสุขเวลาพูดคุยกับคนอื่น
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าความคิดเดิมๆ กวนใจคุณมาเป็นระยะเวลานานมากแล้ว คุณก็อาจจะต้องไปพบนักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,470 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา