PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ความประหม่าเวลาเข้าสังคมมาจากความรู้สึกว่าตัวเองดูไม่ "เหมือนคนอื่น" หรือดูไม่มี "ความรู้ในการเข้าสังคม" สักเท่าไหร่ในสายตาคนอื่น ความประหม่าเป็นสิ่งที่เกิดจากความกลัว ความกังวลว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับเรา และความคาดหวังของสังคมที่ทำให้เราไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้เต็มที่เนื่องจากกลัวว่าจะถูกหัวเราะเยาะหรือแม้กระทั่งถูกคนรอบข้างแบน เมื่อคุณรู้ว่าทุกคนต่างก็กลัวว่าตัวเองจะประหม่าเวลาเข้าสังคม และรู้ว่ามีวิธีที่คุณสามารถก้าวข้ามสถานการณ์ที่กระอักกระอ่วนได้อย่างสง่างามและมั่นใจ คุณก็จะมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้แทนที่จะกลัวมัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปรับทัศนคติ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะคิดว่าทุกคนที่อยู่ในวงโคจรของคุณนั้นสามารถเข้าสังคมได้อย่างไม่มีปัญหา แต่จริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่กังวลว่าตัวเองจะแสดงความประหม่าเวลาเข้าสังคมในที่สาธารณะ พวกเขากังวลว่าคนอื่นจะชอบเขาไหม พวกเขาทำให้คนอื่นประทับใจหรือเปล่า หรือคนจะเบื่อพวกเขาไหม
    • คุณอาจจะคิดว่าคนที่อยู่รอบตัวคุณบางคนเขาสามารถดึงความมั่นใจออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติและไม่เคยกังวลว่าตัวเองจะดูเป็นอย่างไร แต่ทุกคนล้วนรู้สึกไม่มั่นคงในการมีปฏิสัมพันธ์ไม่มุมใดก็มุมหนึ่ง เราทุกคนต่างอยากให้คนชื่นชอบและอยากมีเพื่อนด้วยกันทั้งนั้น
  2. สำหรับใครหลายคนที่รู้สึกประหม่าเวลาเข้าสังคมนั้น ความรู้สึกประหม่ามีที่มาจากความกังวล ความกลัว ความรู้สึกไม่มั่นคง หรือความมั่นใจตัวเองต่ำ คุณสามารถแก้ไขสาเหตุของความประหม่าแต่ละจุดได้ถ้าคุณเต็มใจที่จะค่อยๆ ขยายกรอบที่ตัวเองสร้างขึ้นสักเล็กน้อย และหาวิธีที่จะสร้างความมั่นใจให้ตัวเอง ในแต่ละกรณี พยายามระบุสาเหตุที่เป็นรากฐานของสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกประหม่าเพื่อที่คุณจะได้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ยิ่งคุณรู้สาเหตุที่แท้จริงมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งแก้ไขปัญหาได้เร็วเท่านั้น
    • ความประหม่ายังมีที่มาจากสาเหตุอื่นๆ มากมาย เช่น การมีประสบการณ์ในอดีตที่ไม่ดี ความรู้สึกว่าไม่มีใครเข้าใจคุณ ความรู้สึกกดดันเวลามีปฏิสัมพันธ์ในสถานการณ์ต่างๆ (เช่น ที่ทำงาน กับคนรอบข้าง หรือความกดดันจากพ่อแม่ เป็นต้น) หรือความรู้สึกสับสนในแรงจูงใจและการกระทำของคนรอบข้าง
  3. การเป็นคนขี้อายยับยั้งไม่ให้คุณมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้จริงๆ ความขี้อายอาจจะมาจากความรู้สึกเขินอายที่มีต่อคนรอบข้างทุกคนหรือแค่คนบางกลุ่ม คุณอาจจะลังเลที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นเพราะกลัวว่าจะทำอะไรขายหน้า [1] คุณสามารถสร้างความผ่อนคลายระหว่างมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและออกมาจากหลังกำแพงที่คุณแอบอยู่ได้มากขึ้นเล็กน้อย
    • ถ้าคุณขี้อาย คุณอาจจะอยากเข้าร่วมงานสังคม แต่ก็กลัวว่าจะทำอะไรขายหน้าหรือถูกทิ้งไว้คนเดียว
    • อ่านบทความ วิธีการเลิกเป็นคนขี้อาย เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและรู้ว่า ความขี้อายเป็นสิ่งที่เราแก้ไขได้
  4. แม้ว่าจะพูดง่ายกว่าทำ แต่วิธีสำคัญที่ช่วยไม่ให้คุณประหม่าเวลาเข้าสังคมก็คือ เลิกคิดว่าคนอื่นจะมองคุณอย่างไร คนส่วนใหญ่ต่างก็กังวลว่าคนอื่นจะคิดกับตัวเองอย่างไรมากกว่าจะมาใส่ใจคนอื่น จำคำนี้ไว้เตือนตัวเองเวลาที่คุณเริ่มกังวลว่าคนอื่นคิดอย่างไรกับคุณ [2] ถ้าคุณมัวแต่ง่วนกับการกังวลว่าคนที่คุณคุยด้วยเขาคิดอย่างไรกับคุณจริงๆ คุณก็จะไม่สามารถผ่อนคลายตัวเองหรือสนุกไปกับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้เลย เมื่อคุณปล่อยความกังวลนี้ไปได้ คุณก็จะเป็นตัวของตัวเองได้ง่ายขึ้น สามารถพูดจาได้อย่างได้อย่างสุขุมและเป็นธรรมชาติมากขึ้น
    • เตือนตัวเองว่าความคิดเห็นอันไหนที่สำคัญ อาจจะมีคนๆ นึงไม่ชอบคุณ แต่แล้วคุณจะเจอคนๆ นี้อีกไหมล่ะ แล้วถ้านั่นเป็นเพื่อนของคุณ เพื่อนแท้ย่อมอยู่เคียงข้างคุณเสมอแม้ว่าคุณจะทำอะไรหลายอย่างไม่ได้เรื่องก็ตาม
  5. โรคกลัวการเข้าสังคมเป็นความผิดปกติที่ทำให้คนๆ หนึ่งไม่สามารถมีชีวิตประจำวันปกติที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือในงานสังคมได้ คนที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมมีแนวโน้มที่จะอยู่ไม่ห่างจากครอบครัวและเพื่อนที่เขาไว้ใจ และเลี่ยงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในที่สาธารณะทุกรูปแบบ โรคกลัวการเข้าสังคมมีสาเหตุมาจากความกลัวอย่างต่อเนื่องว่า คนอื่นกำลังจ้องจับผิดเขาอยู่เพื่อที่จะทำให้เขาอับอายหรือขายหน้า [3]
  6. มีสติรู้ตัวเวลาที่คุณรู้สึกประหม่า ยิ่งคุณรับรู้สัญญาณจากร่างกายเวลาที่คุณกำลังรู้สึกประหม่าและวิตกกังวลได้มากเท่าไหร่ คุณก็จะนึกขึ้นได้ว่าตอนนี้ร่างกายกำลังหลั่งสารอะดรีนาลีนที่ทำให้คุณอยากวิ่งหนีหรือหลบซ่อน
    • ถ้าคุณรู้สึกร้อน เหงื่อท่วมตัว อกสั่นขวัญแขวน อึดอัด หรือรู้สึกสั่นเทิ้มไปทั้งร่างกายจนผิดปกติ สังเกตความคิดและดูว่าความคิดนั้นวิพากษ์วิจารณ์ความสามารถในการเข้าสังคมของคุณมากเกินไปหรือเปล่า นอกจากนี้ ให้สังเกตอารมณ์ของตัวเองด้วยว่า คุณรู้สึกหมดหนทางหรือไร้ความสามารถหรือไม่ เชื่อมโยงตัวเองเข้ากับความรู้สึกเหล่านี้เพื่อที่คุณจะได้เรียนรู้ที่จะระบุอารมณ์ของตัวเองได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้เทคนิคผ่อนคลาย

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การคุยกับตัวเองจะช่วยคุณเบี่ยงเบนความสนใจจากความกังวลว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร มาอยู่กับการตั้งสติเพื่อให้คุณสามารถแสดงออกได้ว่า คุณสบายใจที่ได้เป็นตัวเอง [4] คำพูดที่ช่วยคุณได้ในระหว่างที่คุณกำลังเอาชนะความวิตกกังวลในการเข้าสังคมก็เช่น:
    • "ฉันไม่ได้เป็นอะไรหรอก ความรู้สึกของฉันก็ใช่ว่าจะมีเหตุผลทุกครั้ง เพราะฉะนั้นผ่อนคลายและทำใจให้สงบได้เลย"
    • "ฉันสนใจความรู้สึกแย่ๆ ที่อยู่ในตัวฉันมากเกินไป"
    • "คนอื่นๆ เขาก็ดีนะ และฉันก็สนุกเวลาที่ได้อยู่กับพวกเขาด้วย"
    • "ฉันมาที่นี่เพื่อสนุกนะ"
  2. การเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายควรเริ่มจากที่บ้านซึ่งเป็นที่ๆ คุณรู้สึกสบายใจมากที่สุด การผ่อนคลายก่อนเข้างานสังคมช่วยให้คุณเปิดใจ ซื่อสัตย์กับผู้คน และลดกำแพงของตัวเองลงขณะที่อยู่ในงานสังคมได้มากขึ้น ถ้าคุณไม่รู้สึกเกร็ง คุณก็จะน้อมรับสถานการณ์ทางสังคมมากกว่าที่จะกลัวมัน นอกจากนี้การผ่อนคลายยังช่วยคลายความวิตกกังวลที่คุณกำลังมีอยู่ด้วย [5]
  3. สิ่งที่ไม่น่าพอใจที่เกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัวและสิ่งที่ทำให้คุณขายหน้าสุดๆ นั้นเกิดขึ้นได้ ร่าเริงเข้าไว้และหามุมมองตลกๆ ในช่วงเวลาสุดกระอักกระอ่วน วิธีนี้นอกจากจะช่วยให้คุณมองเหตุการณ์นี้ด้วยมุมมองที่ดีกว่าเดิมแล้ว ความขบขันยังทำลายความตึงเครียดด้วย ทำให้คนหัวเราะ ไปกับ คุณ ไม่ใช่หัวเราะ มาที่คุณ วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณกำจัดความประหม่าเวลาเข้าสังคมได้ก็คือ เลิกจริงจังกับตัวเองมากเกินไป วิธีนี้จะช่วยกำจัดความกดดันและช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย
    • เรามักจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ที่น่ากระอักกระอ่วนได้มากนัก เช่น ช่องว่างระหว่างการสนทนาที่เงียบงันเป็นเวลานาน ลมพัดหวือเสียงอื้ออึงตอนที่เราต้องการมันน้อยที่สุด และการสะดุดขอบพรมขณะที่เรากำลังเดินขึ้นไปรับรางวัล เลือกที่จะหัวเราะให้กับสิ่งเหล่านี้
  4. ขณะที่ช่วงเวลาการเข้าสังคมที่แสนกระอักกระอ่วนมักจะทำให้เราสนใจทุกข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในตอนนั้น การตั้งใจนึกถึงแต่ด้านดีๆ สามารถช่วยคุณได้ รอบตัวคุณตอนนี้มีอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้าง การมองหาด้านดีๆ ช่วยให้คุณกลับมามองเห็นอีกครั้งว่า เหตุการณ์ชวนกระอักกระอ่วนที่เกิดขึ้นนั้นมันเล็กน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับภาพใหญ่ทั้งภาพ [6]
    • ระวังอย่าให้ความสำคัญกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ร้ายๆ และเหมาไปว่าเป็นภาพแทนของการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมโดยทั่วไป พยายามเบี่ยงเบนความสนใจไปที่ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่คุณสนุกไปกับมันและผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
  5. ถึงแม้ว่าคุณจะไม่รู้สึกมั่นใจเอาเสียเลย คุณก็สามารถที่จะแกล้งทำเป็นมั่นใจจนกระทั่งคุณมั่นใจจริงๆ หรืออาจจะเตือนตัวเองให้ทำตัวเป็นมิตรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การหาความมั่นใจในสถานการณ์ที่ทำให้เรากลัว วิตกกังวล กระวนกระวาย และอยากจะซ่อนตัวหรือวิ่งหนีไปนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากๆ [7]
    • ถามตัวเองว่า "อะไรคือสิ่งที่แย่ที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้" และการพยายามทำอะไรสักอย่างเพื่อเข้าหาคนรอบข้างก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี สิ่งที่เลวร้ายที่สุดอาจจะไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้!
    • อ่าน วิธีการสร้างความมั่นใจในตนเอง เพื่อหาคำแนะนำที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจในตัวเองให้กับคุณ
  6. การเป็นคนประหม่าเวลาเข้าสังคมนั้นไม่ใช่สภาวะที่แสดงถึงตัวตน แต่เป็นช่วงเวลาที่เกิดขึ้นชั่วคราว คุณ จะ ข้ามผ่านเหตุการณ์บางอย่างไปได้ และคุณก็จะได้รับประสบการณ์ดีๆ มากขึ้นกลับมา ทุกคนต่างทำผิดพลาด และทุกคนก็มีประสบการณ์น่าอับอายอย่างน้อยที่สุด 1 เหตุการณ์ให้นึกถึง การที่คุณสามารถมองย้อนกลับไปที่เหตุการณ์นั้น ที่คุณสามารถมองย้อนกลับไปที่เหตุการณ์นั้น ยิ้มให้กับมันและรู้ว่ามันไม่ได้ทำให้คุณแตกสลาย แต่กลายเป็นเรื่องขำขันบนโต๊ะอาหารแทนนั้นถือเป็นสัญลักษณ์ของการมีเมตตาต่อตนเอง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เพิ่มพูนทักษะการเข้าสังคม

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรียนรู้ที่จะเป็น ผู้ฟังที่ดี . ถ้าคุณยังไม่พร้อมที่จะเข้าร่วมวงสนทนาพร้อมกับเรื่องตลกสุดฮา อีกวิธีที่จะช่วยให้คุณพูดคุยกับคนอื่นได้ก็คือ การตั้งใจฟัง วิธีนี้ช่วยลดความกดดันในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เพราะคุณไม่ต้องกังวลว่าจะต้องพูดแล้วดูเป็นคนฉลาดหรือน่าสนใจ คุณแค่ต้องตั้งใจฟังและถามคำถาม จำไว้ว่า คนเราชอบพูดเรื่องตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอีกฝ่ายดูสนใจสิ่งที่เขาพูดมากจริงๆ [8]
    • ขณะที่ตั้งใจฟัง แสดงให้อีกฝ่ายรู้ว่าคุณกำลังฟังอยู่ด้วยการกล่าวข้อความของพวกเขาด้วยประโยคที่ต่างออกไป คุณอาจจะพูดว่า "คือคุณกำลังบอกว่า..."
    • ถามคำถามกลับ คุณต้องไม่ถามคำถามที่ไม่เหมาะสมหรือส่วนตัวเกินไป แต่ให้ถามคำถามหรือความคิดเห็นของพวกเขาต่อ [9]
    • แสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณกำลังฟังด้วยการพยักหน้า สบตาดีๆ และทำเสียงหรือพูดคำที่แสดงว่าคุณกำลังฟังอยู่ (เช่น "อืม" หรือ "ถูกต้อง")
  2. อย่าทำเหมือนว่าคุณกำลังปิดกั้นตัวเอง แต่ให้เชิญชวนคนรอบข้างเข้ามาด้วยการแสดงให้เห็นว่า คุณเปิดรับและยินดีที่จะได้พูดคุยกับพวกเขา ร่างกายแสดงความคิดนี้ออกมาได้อย่างง่ายดาย การกอดอกหรือนั่งไขว่ห้างจะทำให้คุณดูเหมือนไม่สนใจที่จะมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ถ้าคุณไม่สบตา ก็จะดูเหมือนว่าคุณไม่สนใจเช่นเดียวกัน ระวังอย่าแสดงท่าทางที่สื่อถึงการปิดกั้น งอตัว หรือก้มหน้าก้มตา แต่ให้สบตาและแสดงภาษากายที่แสดงถึงการเปิดกว้างเข้าไว้ [10]
  3. การคุยเล่นเป็นสิ่งที่ช่วยคุณเริ่มบทสนทนากับคนอื่น และเป็นการพูดคุยสั้นๆ กับคนที่คุณเพิ่งพบปะด้วย [11]
    • ถามคนอื่นว่าสบายดีไหม หรือเป็นอย่างไรบ้าง
    • หาสิ่งสนใจร่วมกัน หาวิธีสบายๆ ที่จะทำให้คุณรู้ว่าคุณกับคนๆ นี้เชียร์กีฬาทีมเดียวกัน ดูรายการเดียวกัน หรือเลี้ยงสัตว์ชนิดเดียวกันหรือเปล่า
    • ให้สภาพแวดล้อมช่วยคุณ ถ้าคุณบังเอิญไปเจอใครในร้านกาแฟ ถามว่าเธอลองชิมขนมอบร้อนๆ แสนอร่อยหรือยัง ถ้าคุณอยู่ข้างนอกและอากาศดีมาก ถามเขาว่าอากาศดีแบบนี้เขามีแผนจะทำกิจกรรมกลางแจ้งสนุกๆ หรือเปล่า
  4. มีอัธยาศัยไมตรี . สมมุติว่าการที่มีใครสักคนอยากเข้าหาคุณจะทำให้คุณเปิดใจและอัธยาศัยดีกับคนอื่นๆ มากขึ้น จริงอยู่ที่ไม่ว่าคุณจะอัธยาศัยดีแค่ไหน คนบางคนก็จะตอบโต้กลับมาราวกับว่าจิตใจของเขามืดดำและปากพล่อยมาตั้งแต่เกิด นี่ไม่ใช่เหตุผลที่คุณจะต้องเลิกมีอัธยาศัยไมตรีหรือโทษตัวเอง สุดท้ายแล้วคุณไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบการกระทำของคนอื่น เขาอาจจะมีภูมิหลังที่ยากลำบากหรือเขาอาจจะเพิ่งผ่านวันแย่ๆ มา อย่างไรก็แล้วแต่ นั่นไม่ใช่ภาพสะท้อนถึงตัวตนของคุณ การเป็นคนมีอัธยาศัยไมตรีจะช่วยให้คนอื่นๆ สบายใจ เป็นวิธีละลายพฤติกรรม และให้คนอื่นมีอิสรภาพที่จะเปิดใจและเปราะบางต่อหน้าคุณได้
  5. การเล่นมุกไม่ถูกเวลาอาจทำให้ "ภาพลักษณ์ทางสังคม" ของคุณพังทลายและทำให้คุณรู้สึกกระอักกระอ่วน แต่การเล่นมุกถูกเวลาด้วยน้ำเสียงที่ใช่ก็ทำให้คนขำได้แม้ในช่วงเวลาที่ตึงเครียดที่สุด
    • สังเกตอารมณ์ของสถานการณ์ ถ้าเรื่องมันตึงเครียดเล็กน้อย มุกตลกที่ดีสามารถช่วยให้อารมณ์ความตึงเครียดเบาบางลงได้ แต่ถ้าคนอื่นกำลังพูดคุยเรื่องที่จริงจัง จริงๆ เช่น พูดคุยเรื่องการตายของปู่ย่าตายาย คุณก็ควรเก็บอารมณ์ขันของคุณไว้ก่อนจนกว่าอารมณ์ของบทสนทนาจะเปลี่ยนไปเล็กน้อย
  6. เมื่อเป็นเรื่องของการกล่าวคำชม สิ่งสำคัญที่สุดก็คือคุณต้องชมอย่างจริงใจและกล่าวชมในเวลาที่เหมาะสม ถ้าคุณไม่ได้หมายความตามที่พูด อย่าชม ถ้าคุณเป็นมือใหม่หัดชม สังเกตว่าคนอื่นมีจังหวะในการกล่าวคำชมอย่างไรแล้วทำตามนั้น คุณอาจจะชมเครื่องประดับ เสื้อไหมพรม หรือผมทรงใหม่ แล้วค่อยกล่าวชมสิ่งที่ลึกซึ้งมากขึ้นไปอีกเมื่อคุณรู้จักคนๆ นี้มากขึ้นแล้ว
    • การกล่าวชมใครในเรื่องของบุคลิก เช่น บอกเพื่อนว่าเขามีอารมณ์ขันที่ยอดเยี่ยมหรือว่าคุยกับคนที่เพิ่งรู้จักกันเก่ง จะทำให้คนๆ นั้นรู้สึกพิเศษกว่าการชมเกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอก
    • ถ้าคุณกล่าวชมเกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอก คุณต้องระวังไม่ให้เกิดการเข้าใจผิด ถ้าคุณชมลักษณะภายนอกของผู้หญิง ให้ชมแค่ใบหน้าหรือผมและอย่าชมรูปร่าง ไม่เช่นนั้นคำวิจารณ์ของคุณจะฟังดูเกินเลยกว่าที่คุณตั้งใจไว้
  7. แม้ว่าสถานการณ์การเข้าสังคมจะแตกต่างกันไป แต่ก็มีเรื่องหลักๆ บางอย่างที่คุณอาจจะต้องเลี่ยงเพื่อให้คุณดูเป็นคนฉลาดในการเข้าสังคม มีคำวิจารณ์หรือการกระทำบางอย่างที่มักจะทำให้เกิดความกระอักกระอ่วนทางสังคม และสมควรหลีกเลี่ยงถ้าคุณอยากอยู่รอบข้างคนอื่นๆ อย่างสบายใจ สิ่งที่คุณควรระมัดระวังได้แก่:
    • อย่าพูดว่าคุณประหม่า คุณเดาได้เลยว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร
    • อย่าถามคำถามส่วนตัวมากเกินไปถ้าคุณไม่สนิทกับพวกเขา เช่น ทำไมถึงไม่มีแฟนหรือถามว่าน้ำหนักขึ้นหรือเปล่า
    • แม้ว่าคุณจะไม่ต้องยืนห่างจากคนที่คุยด้วยเป็นกิโลเมตร คุณก็ควรเว้นระยะห่างไว้บ้าง
  8. ถ้าคุณไม่รู้ธรรมเนียมทางสังคมของกลุ่มคนที่คุณจะเข้าสังคมด้วย พยายามเรียนรู้เรื่องของพวกเขา การไม่รู้ธรรมเนียมทางสังคมอาจทำให้คุณรู้สึกประหม่าที่จะเข้าสังคมกับพวกเขาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่คุณไปภาคอื่นๆ ของประเทศหรือไปต่างประเทศ มีมารยาทที่ดีและอย่าลืมพูด “ค่ะ/ครับ” และ “ขอบคุณ” เสมอ [12]
  9. การอยู่แต่กับบ้าน หลังจอคอมพิวเตอร์ หลบหลังคอกกั้นที่ทำงาน หรือเลี่ยงการไปเดตมื้อกลางวันไม่ได้ช่วยให้คุณหายประหม่าเวลาเข้าสังคม ถ้าคุณใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บ้านหรือหน้าจอคอมพิวเตอร์เนื่องจากกลัวว่าจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น คุณก็จะไม่มีวันได้ฝึกฝนทักษะการเข้าสังคมเลย
    • รู้ว่าบางคนก็อาจจะมีท่าทีปั้นปึ่งหรือมึนตึง พวกเขาไม่ใช่คนส่วนใหญ่และก็ไม่ได้เป็นเหตุผลที่ทำให้คุณต้องหลบซ่อน สำหรับคนประเภทนี้ ให้ฝึกเอาตัวออกห่างอย่างสง่างาม เช่น พยักหน้าเร็วๆ และพูดว่า "ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ" ก่อนจะหันหลังให้เขาอย่างรวดเร็ว
    • เรียนรู้ที่จะยุติและเริ่มบทสนทนา สำหรับหลายคนการยุติบทสนทนาที่ไม่ไปไหนหรือน่าเบื่อสุดๆ ต่างหากที่ทำให้เกิดความกระอักกระอ่วน เพราะกลัวว่าจะดูหยาบคายหรือดูเหมือนไม่ใส่ใจอีกฝ่าย
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • หลายคนก้าวข้ามความประหม่าเวลาเข้าสังคมได้ในที่สุด ความประหม่าเป็นลักษณะที่พบได้ทั่วไปในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เมื่อโตขึ้นพวกเขาก็มักจะหาวิธีเอาชนะความรู้สึกเหล่านี้ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตของพวกเขาได้
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่ากังกล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่าวิเคราะห์อะไรมากเกินไป ยิ่งคุณทำให้จุดประสงค์ของการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมันเรียบง่ายมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการคุยโม้โอ้อวดเพื่อเข้าหาหรือทำให้คนอื่นประทับใจ ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองเอาแต่พล่ามเรื่องความสำเร็จหรือข้าวของที่คุณครอบครอง ให้หยุดตัวเองและขอโทษ หรือไม่ก็แค่เปลี่ยนไปถามถึงคนอื่น


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,625 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา