ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ตาปลาเป็นตุ่มนูนซึ่งเกิดจากผิวหนังที่ตายแล้วซ้อนทับกันจนหนาขึ้นมาโดยมีตุ่มแข็งอยู่ตรงกลาง มักเกิดขึ้นบนนิ้วเท้าหรือง่ามนิ้วเท้าของคุณ ตาปลาเป็นการตอบสนองของร่างกายเพื่อปกป้องบริเวณที่เกิดการกดทับหรือเสียดสีบ่อยๆ โดยทั่วไปมักเกิดจากนิ้วเท้าสองนิ้วถูกันหรือนิ้วเท้าเสียดสีกับรองเท้า ตาปลาด้านบนนิ้วเท้าหรือด้านข้างด้านนอกของนิ้วหัวแม่โป้งเท้าหรือนิ้วก้อยเท้าจะมีลักษณะหยาบ แข็ง ตาปลาที่เกิดบริเวณง่ามนิ้วเท้าจะถูกรักษาให้ชุ่มชื้นและนิ่มจากบริเวณง่ามนิ้วที่มันโตขึ้นมา ตาปลาชนิดหลังเรารู้จักกันในชื่อตาปลาชนิดอ่อน

  1. จริงอยู่ที่ยาและอุปกรณ์รักษาตาปลาหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปและมีประโยชน์ไม่น้อย แต่อะไรจะดีไปกว่าการไปพบแพทย์ที่มีใบรับรองและมีคลังยาและอุปกรณ์การรักษาทรงประสิทธิภาพให้เลือกใช้ครบครัน
    • ตาปลาเป็นอาการที่เกิดมาจากสาเหตุบางประการ ไม่ใช่ตัวต้นตอโดยตรง แพทย์รักษาโรคเท้าสามารถช่วยคุณวิเคราะห์สาเหตุของตาปลาเพื่อที่คุณจะได้จัดการปัญหาตรงจุด ตาปลาส่วนใหญ่มักเกิดจากรองเท้าถุงเท้าที่ไม่พอดี การใส่ส้นสูงมากเกินไป นิ้วเท้าที่ผิดรูป หรือปัญหาเรื่องท่ายืนหรือท่าเดินซึ่งทำให้บริเวณใดบริเวณหนึ่งของเท้าถูกกดทับ
    • โดยส่วนใหญ่แพทย์มักตัดสินใจกำจัดตาปลาออกให้คุณ แต่ก็จะแนะนำคุณว่าตาปลาจะกลับมาอีก หากคุณไม่กำจัดต้นเหตุที่ทำให้เกิดตาปลา
    • ทำตามคำแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาตาปลา คำแนะนำเหล่านี้อาจประกอบไปด้วย การเปลี่ยนรองเท้าถุงเท้า ใช้แผ่นติดป้องกันบริเวณที่เกิดการเสียดสีหรือกดทับ การใช้แผ่นรองเท้าเพื่อปรับแก้การกระจายแรงกดบริเวณฝ่าเท้า หรือการผ่าตัดศัลยกรรมเพื่อแก้ปัญหาของเท้าหรือนิ้วเท้า
  2. การกำจัดตาปลาด้วยตัวเองที่บ้าน วิธีที่ดีที่สุดในการเริ่มกำจัดตาปลา ให้คุณ
    • แช่เท้าในน้ำร้อนอุณหภูมิพอเหมาะประมาณ 5 ถึง 10 นาทีเพื่อทำให้ตาปลานิ่มขึ้น
    • ขัดตาปลาเบาๆ ด้วยหินขัดเท้าหรืออุปกรณ์ขัดผิวอย่างอื่นเช่น ตะไบขัดเท้า
    • คุณอาจต้องทำแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งก่อนที่ตาปลาจะโบกมือลาไปจากเท้าของคุณหมด
  3. หาซื้อซิลิโคนป้องกันตาปลาสำหรับตาปลาบนนิ้วเท้ามาใช้. แผ่นโฟมซิลิโคนที่ถูกผลิตมาเป็นพิเศษจะช่วยลดแรงกดและการเสียดสีระหว่างนิ้วเท้า [1]
  4. ใช้ยาและแผ่นแปะจากร้านขายยาเพื่อกำจัดตาปลา. ทำตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด ผลิตภัณฑ์กำจัดตาปลาส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยกรดซาลิซิลิกซึ่งอาจระคายเคืองหรือกัดเท้าของคุณได้
    • แผ่นแปะตามร้านขายยาประกอบไปด้วยกรดซาลิซิลิกถึงร้อยละ 40 ทำให้มันเป็นผลิตภัณฑ์ยาที่แรงอย่างหนึ่ง [2] ถึงอย่างนั้นแพทย์ของคุณก็อาจแนะนำให้คุณตะไบผิวหนังตายชั้นนอกบางส่วนบนตาปลาออกเสียก่อน ก่อนที่จะใช้แผ่นแปะ
  5. พูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะควบคู่กับวิธีการอื่นๆ. ครีมทาแผลป้องกันการติดเชื้อเป็นวิธีทั่วไปในการป้องกันการติดเชื้อซึ่งเสี่ยงจะเกิดขึ้นได้ระหว่างที่คุณจัดการกับตาปลาด้วยตัวเอง [2]
  6. การใส่ใจป้องกันเพียงเล็กน้อยช่วยกันคุณไม่ให้ต้องเสียเงิน เสียเวลากับขั้นตอนการรักษามากมายที่ตามมาทีหลังได้
    • สวมใส่รองเท้าที่พอดี มีแผ่นรองเท้าบุรอง มีช่วงนิ้วเท้ากว้าง
    • นำรองเท้าของคุณไปให้ช่างทำรองเท้าขยายบริเวณที่คุณมีตาปลาให้กว้างขึ้น
    • ใส่ถุงเท้าหนาเพื่อลดแรงกดของเท้า ดูให้ถุงเท้าพอดีไม่คับเกินไป และไม่ทำให้รองเท้าของคุณแน่นเกินไป ดูให้แน่ใจว่าถุงเท้าของคุณไม่มีตะเข็บที่จะไปขูดกับตาปลาหรือบริเวณที่อาจเกิดตาปลา
  7. ต้องเข้าใจว่ามีสิ่งอื่นที่คุณทำแต่แรกเพื่อป้องกันการเกิดตาปลาได้ ได้แก่.
    • ล้างเท้าของคุณทุกวันด้วยน้ำ สบู่ควบคู่กับใช้แปรงขัดเท้า เมื่อเท้าแห้งบำรุงด้วยครีมทาเท้า (ไม่ใช่แค่โลชั่นธรรมดา) เพื่อให้เท้าชุ่มชื่น
    • ไปซื้อรองเท้าตอนบ่ายหรือเย็น ธรรมดาแล้วเท้าจะบวมขึ้นระหว่างที่เราทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน นั่นหมายความว่าหากคุณไปซื้อรองเท้าตอนเช้า รองเท้าอาจไม่พอดีกับเท้าของคุณในตอนบ่ายของวัน
    • เปลี่ยนถุงเท้าทุกวันและใช้หินขัดเท้าเป็นประจำ ระวังอย่าใช้หินขัดเท้าขัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วแรงเกินไป
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ใช้แผ่นแปะรูปร่างคล้ายโดนัทเพื่อลดแรงกดบริเวณตาปลาจนกว่าตาปลาจะหาย ผลิตภัณฑ์จำพวกนี้ผลิตขึ้นมาเพื่อการกำจัดตาปลาโดยเฉพาะ หาซื้อได้ตามร้านขายยา
  • แผ่นสำลี ขนตัวตุ่นหรือขนแกะช่วยลดปัญหาตาปลาชนิดอ่อนตรงง่ามนิ้วเท้าของคุณได้
  • อย่าพยายามเฉือนผิวออก การเฉือนผิวออกไม่เพียงทำให้ตาปลาแย่ลง ทั้งยังทำให้เจ็บมากด้วย
โฆษณา

ข้อควรระวัง

  • แม้แต่รอยแผลเล็กๆ บนเท้าก็ติดเชื้อจนก่อปัญหาร้ายแรงจนอาจถึงขั้นต้องตัดเท้าได้ ใช้ความใส่ใจอย่างมากเมื่อกำจัดตาปลาด้วยตัวเองที่บ้าน อย่าพยายามตัดตาปลาออกด้วยมีดโกน กรรไกรหรือของมีคมอื่นๆ
  • เนื่องจากเงื่อนไขบางอย่างสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือผู้ที่มีปัญหาด้านระบบการไหลเวียนเลือดควรไปพบแพทย์รักษาโรคเท้าเพื่อรักษาโรคเท้าทุกครั้ง บุคคลเหล่านี้ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะลองกำจัดตาปลาด้วยตัวเอง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรใช้ยาหยอดที่มีกรดซาลิซิลิกรักษาตาปลาโดยเด็ดขาด บาดแผลเป็นหนองบริเวณผิวหนังอาจนำไปสู่ปัญหาใหญ่ได้

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 52,803 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา