PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

คุณรู้สึกเป็นกังวลบ้างหรือไม่หลังจากที่คุณป้อนอาหารลูกของคุณแล้วพวกเขาก็สะอึกกันไม่หยุด การที่ลูกสาวและลูกชายของคุณนั้นสะอึกถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา และคุณสามารถแก้อาการเหล่านี้ได้เองง่ายๆ ตามเคล็ดลับต่างๆ ด้านล่างนี้ได้เลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เปลี่ยนวิธีป้อนอาหาร

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการสะอึกสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อกระบังลมนั้นระคายเคือง [1] คุณสามารถป้อนนมทีละน้อยๆ และช้าๆ เพื่อให้กระบังลมของเด็กได้พักและไม่ทำงานเร็วจนเกินไป วิธีนี้จะทำให้อาการสะอึกนั้นหายเป็นปกติ
  2. ถ้าลูกของคุณสะอึกไม่หยุด แนะนำให้หาอาหารให้ลูกทาน. เนื่องจากการกลืนอาหารสามารถช่วยควบคุมการทำงานผิดปกติของกระบังลมได้ โดยคุณสามารถลองหาอาหารเหล่านี้มาให้ลูกทานดู:
    • ซอสแอปเปิ้ล
    • ข้าวธัญพืช
    • กล้วยบด
  3. ถ้าลูกของคุณโตระดับหนึ่งแล้ว ให้หาเครื่องดื่มให้เขาดื่ม. คนส่วนมากมักให้เด็กดื่มเครื่องดื่มแบบผิดวิธี เช่น ดื่มกลับหัวหรือดื่มแนวนอน ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ทำให้เด็กๆ นั้นดื่มเครื่องดื่มได้ยากมากขึ้น วิธีที่ดีที่สุดคุณควรให้เด็กดื่มจากขวดนม (เช่น แบบที่มีจุกนมอยู่) หรือแก้วหัดดื่มในกรณีที่ลูกของคุณคุณโตพอ
  4. เวลาที่เด็กเล็กดื่มนมมากเกินไปหรือเร็วเกินไปอาจจะทำให้สะอึกได้ ให้ลองเปลี่ยนโดยลดปริมาณลงครึ่งหนึ่งแต่ป้อนสองครั้งแทนที่จะป้อนครั้งเดียวเยอะๆ [2] วิธีนี้จะทำให้เด็กค่อยๆ ดื่มนมและอาจจะช่วยให้ไม่สะอึกได้
  5. อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ไม่เกิดอาการสะอึกก็คือ ค่อยๆ ป้อนนมทีละครึ่งโดยให้ลูกได้พักบ้าง ก่อนที่จะเปลี่ยนข้างนมของคุณแม่ คุณควรทำให้ลูกเรอออกมาก่อน ในกรณีที่ใช้ขวดนมให้คุณป้อนนมทีละครึ่งขวดเช่นกันและทำให้เด็กเรอก่อนจะป้อนอีกครึ่งที่เหลือ วิธีนี้จะทำให้ลูกของคุณย่อยง่ายขึ้นและจะลดโอกาสที่เด็กจะมีอาการสะอึกได้ [3]
  6. การที่เด็กๆ กลืนลมเข้าท้องมากเกินไปอาจจะทำให้กระเพาะอาหารของเด็กพองขึ้นได้ และเพื่อช่วยป้องกันอาการเหล่านี้คุณก็ต้องให้พวกเขานั่งตัวตรงๆ หรือลองเปลี่ยนท่าพวกเขาดู โดยจับพวกเขาให้นั่งตัวตรง (ประมาณ 30 – 45 องศา) เวลาที่กำลังป้อนอาหารพวกเขาเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปอยู่ในกระเพาะมากเกินไปและอาจจะทำให้กระบังลมหดตัวได้
  7. ดูให้ดีว่าลูกของคุณดูดนมจากเต้าอย่างถูกวิธีหรือไม่. ถ้าปากของพวกเขาอยู่ในระดับที่ไม่ถูกต้องแล้วล่ะก็พวกเขาอาจจะดูดอากาศเข้าไปแทนนมได้ และถ้าหากคุณได้ยินเสียงแปลกๆ ในท้องของเด็กในขณะที่ดูดนม คุณอาจจะต้องหาวิธีหรือเทคนิคต่างๆ มาช่วยให้ลูกของคุณดูดนมได้อย่างถูกต้องและไม่ปล่อยให้เกิดช่องว่างให้ลมเข้าไปสู่ท้องของเด็ก
  8. การถือขวดนมเอียง 45 องศาจะทำให้อากาศไปรวมกันอยู่ที่ก้นขวดและจะช่วยลดโอกาสที่เด็กจะสูดลมเข้ากระเพาะได้ หรือไม่คุณก็ลองหาซื้อขวดนมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยลดปริมาณอากาศในขวดโดยเฉพาะมาใช้ได้เช่นกัน [4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้วิธีดั้งเดิมในการรักษา

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. วิธีนี้อาจจะดูโบราณไปสักนิดแต่พวกแพทย์ก็ยังมีการนำไปใช้กันอยู่ [5] [6] โดยให้ทาน้ำตาลลงบนจุกนมหรือบนนิ้วของคุณโดยการเลียให้จุกนมหรือนิ้วเปียกเสียก่อน จากนั้นจุ่มลงไปที่น้ำตาลที่เทไว้ในภาชนะ จากนั้นนำไปให้ลูกดูด วิธีนี้จะช่วยให้อาการสะอึกค่อยๆ หายไปเอง [7] เชื่อกันว่า (ถึงแม้ว่าในทางวิทยาศาสตร์จะยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้) การดูดน้ำตาลก้อนเข้าไปจะทำให้กระบังลมทำงานเป็นปกติและจะช่วยบรรเทาอาการสะอึกได้
    • ระวังอย่าให้มีน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปและพยายามให้ลูกของคุณทานเข้าไปก่อนที่มันจะละลาย
    • อีกวิธีหนึ่งคือให้นำจุกนมไปจิ้มน้ำตาลและนำมาใส่ในปากให้เด็กดูด
  2. การนวดเบาๆ ที่หลังจะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวและจะส่งผลให้กระบังลมของเด็กนั้นผ่อนคลายได้อีกด้วยเวลานวดให้นวดย้อนขึ้นจากหลังจนถึงไหล่ของเด็กโดยให้เด็กนั่งตรงๆ ซึ่งวิธีนี้อาจจะต้องใช้เวลาสักสองสามนาทีถึงจะเห็นผล
  3. วิธีนี้จะช่วยไล่ลมในกระเพาะอาหารของเด็กออกมาได้ และก่อนที่เด็กจะหายสะอึกพวกเขาจะสะอึกออกมาครั้งสุดท้ายอย่างแรงก่อนหนึ่งครั้ง [8]
  4. ถึงแม้ว่าทางการแพทย์จะไม่ได้บอกว่ายาแก้ท้องอืดสามารถช่วยให้เด็กหายสะอึกได้ แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะใช้ยาแก้ท้องอืดนี้ในการช่วยรักษาและบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับลำไส้ของเด็กๆ
    • ผสมยาแก้ท้องอืดลงในน้ำและนำไปใส่ในหลอดยาในปริมาณเพียงเล็กน้อย ดูให้ดีด้วยว่าลูกของคุณแพ้ส่วนผสมในยาแก้ท้องอืดนั้นบ้างหรือไม่ เช่น แอลกอฮอล์ ขิง ผักชีลาว และยี่หร่า เป็นต้น [9]
  5. พยายามจับลูกให้ยืนหรือนั่งตรงๆ หรือจับมือลูกทั้งสองข้างขึ้นเวลาพยายามจะให้เขายืน ลูกของคุณอาจจะมีอาการเจ็บจากการที่กรดไหลย้อนหลังจากทานอาหารได้ เพราะฉะนั้นแพทย์ถึงแนะนำให้คุณจับลูกยืนหรือนั่งตรงๆ สักประมาณ 30 นาทีหลังจากที่ทานอาหารเสร็จ
  6. พยายามเบี่ยงเบนความสนใจของพวกเขาโดยให้ของเล่นที่ทำให้เขามีความสุขและจะช่วยให้พวกเขาเล่นจนลืมการสะอึกของตัวเอง และอาการนี้จะหายไปเองโดยปริยาย
    • เล่นจ๊ะเอ๋กับเด็ก
    • ให้ของเล่นที่มีเสียงกุ๊งกิ๊งกับเด็ก
    • ให้ของเล่นที่เคี้ยวได้
  7. วิธีด้านล่างอาจจะเป็นวิธีที่โบราณเชื่อว่าได้ผล แต่ว่ามันอาจจะส่งผลเสียให้กับลูกของคุณแทนก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นทางที่ดีคุณควรเลี่ยงวิธีเหล่านี้เสีย [10]
    • ทำให้เด็กสะดุ้ง (อะไรที่ใช้ไม่ได้ผลกับผู้ใหญ่มักจะใช้ได้ผลกับเด็กๆ แทน)
    • กดลงบนกระหม่อมของเด็ก
    • กดลงที่ลูกตาของเด็ก
    • ดึงลิ้นของพวกเขา
    • ตบที่หลังของเด็ก
  8. ถ้าไม่มีวิธีไหนได้ผล คุณก็ต้องรอให้อาการนี้หายไปเอง. ถึงแม้ว่าการสะอึกจะดูน่ารำคาญแต่บางครั้งมันก็ไม่ได้หมายความว่าการสะอึกจะเป็นสัญญาณของสิ่งผิดปกติเสมอไป แต่ถ้าลูกของคุณสะอึกนานเป็นชั่วโมงๆ หรือมากกว่าหนึ่งวัน แนะนำให้ไปพบกุมารแพทย์เพื่อหาทางรักษา และสำหรับพ่อแม่บางคนที่มีความอดทนสูงๆ อาจจะเลือกที่จะรอให้มันหายไปเองตามที่คุณหมอแนะนำก็ได้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

สังเกตให้ดีๆ ว่าลูกของคุณมีอาการกรดไหลย้อนหรือไม่

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตให้ดีว่ามีอาการอื่นนอกจากสะอึกอีกหรือไม่. การสะอึกอาจจะมีสาเหตุมาจากกรดไหลย้อนก็ได้ โดยมีสาเหตุจากการที่อาหารในหลอดอาหารไหลย้อนขึ้นมาจึงทำให้เด็กรู้สึกแสบและสะอึกได้ ถ้าลูกของคุณสะอึกตลอดเวลาแบบไม่หยุดอาจจะหมายความว่าอาการกรดไหลย้อนเป็นต้นเหตุของการสะอึก โดยคุณสามารถสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้
    • มีอาการปวดบิดๆ
    • เจ็บกระเพาะ
    • ถ่มน้ำลายบ่อยๆ
  2. ถ้าคุณมีความกังวลว่าลูกของคุณมีอาการกรดไหลย้อนหรือไม่ แนะนำให้พบกุมารแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาอาการดังกล่าว ในบางกรณีแพทย์อาจจะแนะนำให้คุณปล่อยให้อาการกรดไหลย้อนหายไปเองเพราะมันอาจจะเป็นแค่ชั่วคราวเท่านั้น [11]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เด็กที่เพิ่งคลอดอาจจะรู้สึกไม่ชินและไม่สบายเนื้อสบายตัวเวลาพวกเขาสะอึก เพราะฉะนั้นให้คุณลองพยายามป้อนอาหารหรือเล่นกับพวกเขาจนพวกเขารู้สึกผ่อนคลาย และจะทำให้กล้ามเนื้อของเขาผ่อนคลายไปด้วย
  • รอสักพักเดี๋ยวอาการสะอึกของลูกคุณก็หายไปเอง
  • ชวนลูกของคุณคุยเพราะมันจะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจจากการสะอึกได้ และจะทำให้พวกเขาลืมว่าตัวเองกำลังสะอึกและหายสะอึกในที่สุด
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามทำให้ลูกของคุณร้องไห้หรือตกใจ ถึงแม้ว่ามันจะช่วยให้อาการสะอึกหายไปได้แต่มันจะเป็นผลเสียต่อเด็กในระยะยาว
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,727 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา