ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการที่แสดงว่าเล็บของเราติดเชื้อราอาจเริ่มจากการมีจุดสีขาวหรือสีเหลืองใต้ปลายเล็บมือหรือเล็บเท้า ไม่ว่าส่วนใดของเล็บก็อาจติดเชื้อราได้ [1] หากเชื้อราแพร่กระจายลึกลงไปในเล็บ ก็อาจทำให้เล็บของเราเปลี่ยนสี หนาขึ้น และเริ่มเปื่อยยุ่ย เล็บจึงดูไม่น่ามองและเราอาจเกิดอาการเจ็บเล็บได้ การปล่อยให้เล็บอยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งอบอุ่นและชื้นเป็นประจำอย่างเช่น ใส่รองเท้าที่ชุ่มเหงื่อ หรือเดินเท้าเปล่าในห้องน้ำจะทำให้เล็บติดเชื้อราได้ ถึงแม้โดยพันธุกรรมแล้วบางคนอาจติดเชื้อราได้ง่ายกว่าผู้อื่น แต่คนที่มีพฤติกรรมอย่างเช่น ชอบว่ายน้ำและเหงื่อออกบ่อยๆ ก็มีโอกาสติดเชื้อราที่เล็บได้ง่ายเช่นกัน ในกรณีที่ร้ายแรงเชื้อราที่เล็บจะทำให้เรามีอาการเจ็บเล็บมากและมีผลต่อความสามารถในการใช้มือหรือเท้า

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

กำจัดเชื้อราโดยไม่ต้องใช้ยา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีการใช้ทีทรีออยล์เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและยาฆ่าเชื้อรามาหลายศตวรรษ จะหยดทีทรีออยล์ลงบนเล็บโดยตรงก็ได้หรือนำสำลีก้อนมาจุ่มทีทรีออยล์แล้วเช็ดเล็บที่ติดเชื้อราก็ได้
    • ใช้แปรงสีฟันขัดเล็บเบาๆ หลังจากใช้แปรงสีฟันนี้ขัดเล็บเสร็จแล้ว อย่าลืมนำไปทิ้งด้วย
    • นำทีทรีออยล์มาผสมกับน้ำมันมะกอก จากนั้นนำสำลีมาชุบส่วนผสมที่ได้นี้แล้วเช็ดเล็บ เราจะใช้ส่วนผสมที่ได้จากการนำทีทรีออยล์มาผสมกับน้ำมันมะกอกหรือจะใช้ทีทรีออยล์บริสุทธิ์ก็ได้ โดยนำสำลีมาชุบแล้วเช็ดเล็บบ่อยๆ เท่าที่ต้องการ แต่การใช้แค่วันละสองครั้งก็เพียงพอที่จะกำจัดเชื้อราที่เล็บในกรณีที่ไม่รุนแรงแล้ว
    • ทีทรีออยล์สามารถกำจัดเชื้อราได้ดีมาก อีกทั้งไม่มีผลข้างเคียงด้วย [2]
  2. นำเบคกิ้งโซดา ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ น้ำส้มสายชูกลั่น และดีเกลือฝรั่งมาผสมกัน. นำน้ำร้อน 4 ถ้วย (950 มิลลิลิตร) ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 1/4 ถ้วย (59 มิลลิลิตร) และดีเกลือฝรั่ง 1/2 ถ้วย (120 กรัม) มาผสมกัน จากนั้นใส่น้ำส้มสายชูกลั่นลงไป 1/4 ถ้วย (59 มิลลิลิตร) ส่วนประกอบเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าต่างๆ แช่เล็บลงไปในส่วนผสมนี้เลย หรือนำสำลีก้อนจุ่มลงไปในส่วนผสมนี้แล้วกดสำลีก้อนนั้นไว้ที่เล็บประมาณ 10 นาที ทำแบบนี้วันละสองครั้ง
  3. [3] น้ำมันส้มใช้เป็นยาฆ่าเชื้อราและสามารถช่วยกำจัดเชื้อราที่เล็บได้เหมือนทีทรีออยล์ เราต้องหยดน้ำมันส้มลงบนเล็บและต้องให้น้ำมันส้มซึมเข้าไปใต้เล็บด้วย อย่าลืมทดสอบน้ำมันส้มกับผิวก่อนใช้จริงเพื่อจะได้แน่ใจว่าตนเองไม่แพ้น้ำมันส้มนี้
  4. กระเทียมสดมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อรา เราต้องบดกระเทียมให้ละเอียด สารอัลลิซิน (allicin) ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อราจะได้หลั่งออกมาหมด แช่เท้าในน้ำส้มสายชูที่ผสมกับกระเทียมบดนี้ แช่นานเท่าที่ต้องการ การบริโภคกระเทียมสดยังช่วยป้องกันการติดเชื้อราด้วย
  5. ความเป็นกรดของน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลจะยับยั้งเชื้อราไม่ให้แพร่กระจายรวมทั้งฆ่าแบคทีเรียไปพร้อมกันด้วย นำน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลมาเจือจางในน้ำปริมาณเท่ากันและแช่เล็บในน้ำส้มสายชูเจือจางนั้นนาน 30 นาที แช่เล็บในน้ำส้มสายชูเจือจางทุกวันและเช็ดเล็บให้แห้งสนิทหลังจากนั้น
  6. แอลกอฮอล์ในน้ำยาบ้วนปากเป็นเสมือนยาฆ่าเชื้อโรคและสารประกอบต่างๆ ที่ต่อต้านเชื้อโรคจะช่วยกำจัดเชื้อราให้เรา แช่เล็บในน้ำยาบ้วนปากเป็นเวลา 15 นาทีทุกวัน
  7. [4] ทาวิคส์วาโปรับปริมาณเล็กน้อยที่เล็บ ถ้าทาที่เล็บเท้า ให้สวมถุงเท้าก่อนเข้านอน ถ้าทาที่เล็บมือ ให้สวมถุงมือก่อนเข้านอน ก่อนทาวิคส์วาโปรับ ต้องเช็ดเล็บให้แห้งสนิท
  8. น้ำมันลาเวนเดอร์มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรคและช่วยคลายความระคายเคือง [5] อุ่นน้ำมันลาเวนเดอร์ในเตาอบไมโครเวฟให้ร้อนแบบสัมผัสผิวได้สบาย นำสำลีก้อนชุบน้ำมันลาเวนเดอร์แล้วกดสำลีก้อนนั้นไว้ที่เล็บสองสามนาที ให้ทำแบบนี้วันละหลายครั้ง
  9. น้ำมันออริกาโนสามารถกำจัดเชื้อราที่เล็บให้เราได้ หยดน้ำมันออริกาโนสองสามหยดลงบนเล็บที่ติดเชื้อราวันละสองสามครั้ง
  10. กรดซิตริกจากมะนาวจะป้องกันไม่ให้เชื้อราแพร่กระจายไปที่เล็บอื่นหรือบริเวณอื่นของร่างกาย ปล่อยทิ้งไว้สัก 15 นาทีและใช้น้ำล้างน้ำมะนาวออกให้หมด [6]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้ยาและวิธีทางการแพทย์กำจัดเชื้อรา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าพยายามกำจัดเชื้อราด้วยตนเองแล้วไม่ได้ผล พบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาและแพทย์จะได้สั่งยาต้านเชื้อราให้รับประทาน แพทย์จะเก็บตัวอย่างเล็บของเราเอาไปตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าเราต้องรับการรักษาด้วยยาจริงๆ ยาที่โดยปกติแพทย์จะสั่งให้มีสองชนิดคือเทอร์บินาฟีน (ลามาซิน) และไอทราโคนาโซล (ฮอฟนาโซล) [7] ยาทั้งสองนี้ถือว่าฆ่าเชื้อราได้ผลดีมาก สอบถามแพทย์ว่ายาชนิดใดเหมาะกับอาการที่เป็นอยู่ของเรามากที่สุด
    • แพทย์อาจสั่งยารับประทานให้เรา ถ้าเราเสี่ยงที่จะมีภาวะเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (cellulitis) หรือมีอาการเจ็บปวดอันเกิดจากการติดเชื้อราที่เล็บ
    • ยารับประทานจะทำให้เล็บที่งอกขึ้นมาใหม่ไม่มีเชื้อรา แต่กว่าเล็บจะงอกขึ้นใหม่อย่างสมบูรณ์ต้องใช้เวลานาน โดยปกติเราจะรับประทานยาต้านเชื้อรา 6-12 สัปดาห์ แต่การกำจัดเชื้อราให้หมดไปโดยสมบูรณ์อาจใช้เวลาหลายเดือน [8]
    • ยารับประทานเพื่อกำจัดเชื้อรานี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ เช่น เกิดผื่นและตับมีปัญหา
  2. ถ้าการติดเชื้อราที่เล็บไม่รุนแรงถึงขั้นต้องรับประทานยาต้านเชื้อรา แพทย์อาจสั่งแล็กเกอร์ต้านเชื้อราให้เรา แล็กเกอร์นี้จะหน้าตาคล้ายยาทาเล็บแบบใส เราต้องใช้ทาเล็บบริเวณที่ติดเชื้อราเท่านั้น โดยปกติแล็กเกอร์ต้านเชื้อราที่แพทย์สั่งให้เราคือ ไซโคลพิรอกซ์ (โลพรอกซ์) [9]
    • ทาแล็กเกอร์ต้านเชื้อราที่เล็บซึ่งติดเชื้อราวันละครั้ง โดยทาเป็นเวลา 48 สัปดาห์ ทำความสะอาดเล็บที่ติดเชื้อราด้วยรับบิ้งแอลกอฮอล์ก่อนเริ่มทาแล็กเกอร์ต้านเชื้อราที่เล็บใหม่อีกครั้ง
    • ข้อเสียของการใช้แล็กเกอร์ต้านเชื้อราคือเป็นวิธีที่ใช้เวลานานมากในการกำจัดเชื้อรา อาจต้องใช้เวลานานถึงหนึ่งปีกว่าจะกำจัดเชื้อราออกไปได้จนหมด
  3. [10] อีกทางเลือกหนึ่งคือแพทย์อาจสั่งครีมหรือเจลที่มีสรรพคุณต้านเชื้อราหรือมียูเรียเป็นส่วนประกอบเพื่อช่วยดูดซับความชื้นส่วนเกิน ยาบางตัวแพทย์ต้องเป็นผู้สั่งให้ ขณะที่ยาบางตัวหาซื้อได้ตามร้านขายยา
  4. ถ้าเล็บติดเชื้อรารุนแรงมาก เราอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อเอาเล็บส่วนที่ติดเชื้อราออกหรือถอดเล็บออกทั้งเล็บ ไม่ต้องวิตกกังวล เพราะเล็บจะงอกขึ้นมาใหม่เหมือนเดิม แค่ต้องใช้เวลาและอาจเจ็บสักหน่อยระหว่างนั้น [11]
  5. ปัจจุบันแพทย์สามารถกำจัดเชื้อราที่เล็บด้วยการใช้เลเซอร์หรือวิธีโฟโต้ไดนามิก (photodynamic therapy) วิธีกำจัดเชื้อราด้วยเลเซอร์นี้เพิ่งนำมาใช้แค่สองสามปีและบางพื้นที่อาจไม่มีการกำจัดเชื้อราด้วยวิธีนี้ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการกำจัดเชื้อราด้วยวิธีนี้ก็ค่อนข้างสูงด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ป้องกันไม่ให้เล็บกลับมาติดเชื้อราอีก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [12] เล็บจะได้สัมผัสอากาศไปด้วย หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้า ถุงเท้า และถุงน่องที่แน่นคับ เพราะจะทำให้เหงื่อออกและเล็บอับชื้น เลือกใส่รองเท้าที่เปิดหน้าเท้าเพื่อให้เล็บได้สัมผัสอากาศ
  2. หมั่นตัดเล็บให้สั้นและรักษาความสะอาดของเล็บ. ใช้อุปกรณ์ดูแลเล็บมือและเล็บเท้าทำความสะอาดเล็บบ่อยๆ พยายามตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ใต้เล็บเป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรีย
  3. อย่าสวมถุงเท้าผ้าฝ้ายและถุงเท้าผ้าวูล หากเราคิดว่าต้องเหงื่อออกแน่ขณะที่สวมถุงเท้าทั้งสองแบบนี้ สวมถุงเท้าใยสังเคราะห์ดีกว่าเพราะจะไม่ทำให้เกิดความชื้นสะสมและไม่ทำให้ความชื้นเก็บกักอยู่ในถุงเท้า
  4. การสวมถุงมือยางไม่เพียงช่วยป้องกันการสัมผัสกับแบคทีเรียขณะทำงานบ้านเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันไม่ให้มือของเราเปียกด้วย แบคทีเรียชอบอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและชื้น ฉะนั้นเราจึงต้องป้องกันไม่ให้บริเวณรอบๆ เล็บชื้นจากการทำงานเหล่านี้
  5. โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราต้องอาบน้ำในห้องอาบน้ำรวม เราต้องใส่รองเท้าขณะอาบน้ำด้วย ถ้าหากเห็นว่าต้องใช้ห้องอาบน้ำร่วมกับผู้อื่น อย่าลืมใส่รองเท้าขณะอาบน้ำด้วย เพราะห้องอาบน้ำแบบนี้มักจะเปียกและชื้นตลอดเวลา เต็มไปด้วยเหงื่อไคลของผู้คน จึงเป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรีย
  6. เข้ารับบริการทำเล็บกับร้านที่ใส่ใจเรื่องความสะอาด. ร้านทำเล็บที่เราเข้าใช้บริการต้องมีการฆ่าเชื้อเครื่องมือและอ่างหลังให้บริการลูกค้าแต่ละคนแล้ว
    • ถ้าหากไม่กล้าถามเจ้าของร้านตรงๆ หรือไม่มั่นใจในความสะอาดของอุปกรณ์ทำเล็บที่ทางร้านจัดเตรียมให้เรา ให้นำอุปกรณ์ทำเล็บของตนมาเองและขอให้ทางร้านใช้อุปกรณ์และเครื่องมือของเราแต่งและทำความสะอาดเล็บให้เรา
    • เราอาจเลิกทาสีเล็บหรือใส่เล็บปลอม ยาทาเล็บจะทำให้ความชื้นเก็บกักอยู่ในเล็บและทำให้เล็บมีสภาพที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย [13]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,635 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา