PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เชื้อรานี่แหละตัวทำให้พรมเสีย เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ แถมอันตรายต่อคนเป็นหอบหืดด้วย ต้องหมั่นสำรวจใต้เฟอร์นิเจอร์เป็นประจำถึงจะจับได้ไล่ทัน ถ้าราขึ้นใต้พรมนี่สิยุ่ง แต่ก็พอมีหลายวิธีให้ลองกำจัดกัน ใครมีงบหน่อยก็ใช้บริการบริษัทรับทำความสะอาดพรมได้ ดีซะอีกเพราะมีวิธีและเครื่องมือที่โปรกว่าเห็นๆ ไม่งั้นก็คงต้องเช่าหรือหยิบยืมเครื่องซักพรมของใครมาแทน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

กำจัดราที่พรมด้วยของใช้ในบ้าน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าราขึ้นที่ใต้พรมแทน จะกำจัดยากและใช้เวลานานกว่า ทางที่ดีควรใช้บริการรับทำความสะอาดพรม แต่ถ้าราขึ้นที่ใต้พรมเยอะจนเกินเยียวยา คงถึงเวลาเปลี่ยนใหม่ทั้งห้อง
  2. เจอราที่พรมของห้องไหน ให้เปิดหน้าต่างและประตูให้หมด ถ้าอากาศถ่ายเทดี จะช่วยลดความชื้นอันเป็นสาเหตุของรา และช่วยระบายกลิ่นอับชื้นด้วย ถ้าจะใช้น้ำยาทำความสะอาดแบบผสมสารเคมี การเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอาการระคายเคืองที่ดวงตาและปอดด้วย
    • แต่ถ้าห้องนั้นไม่มีหน้าต่าง ให้เปิดพัดลมจ่อไปทางประตูแทน
  3. ถ้าถอดพรมได้ ให้เอาไปตากแดดนอกบ้าน โดยใช้เชือกหรือราวที่แข็งแรงหน่อย ถ้าพรมโดนแดดเต็มๆ สัก 24 - 48 ชั่วโมง ก็จะช่วยกำจัดสปอร์ของราและความชื้นที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของราไปพร้อมๆ กัน
    • ถ้าพรมแฉะไปถึงข้างใต้ ไม่ใช่แค่เส้นใยด้านบน ก็ต้องตากนานกว่านั้น ให้ตากทิ้งไว้หลายๆ วัน บริเวณที่โดนแดดตรงๆ และอากาศถ่ายเทดี
  4. ขั้นตอนนี้ทั้งช่วยดูดซับความชื้นและดับกลิ่น แต่ใช้ได้กับราบางๆ เท่านั้น ถ้าเป็นราเยอะต้องใช้วิธีอื่นร่วมด้วย ให้โรยเบคกิ้งโซดาบริเวณที่ขึ้นราเยอะๆ เลย จากนั้นทิ้งไว้ข้ามคืน แล้วค่อยดูดฝุ่น
    • หรือใช้แป้งเด็กแบบไร้สารทัลคัม (Talc) แทน ที่ต้องเลือกเพราะทัลคัมถ้าสูดดมเข้าไปอาจเป็นอันตรายร้ายแรง [1]
    • หรือใช้ทรายแมวแทนก็ได้
  5. ถึงน้ำส้มสายชูจะฆ่าราไม่ได้ทุกสายพันธุ์ แต่ข้อดีคือราคาถูกและเห็นผลชัดเจน ถ้าจะใช้น้ำส้มสายชูขจัดคราบ ก็ให้ใช้ขวดสเปรย์ฉีดบางๆ แล้วขัดด้วยแปรงแข็งๆ จากนั้นเป่าจนพรมแห้ง หรือเปิดประตูหน้าต่างผึ่งลมไว้ ไม่ให้เหลือความชื้นส่วนเกินจนขึ้นราหนักกว่าเดิม
    • บางคนก็ว่าผสมน้ำส้มสายชูกับเมทิลแอลกอฮอล์ (methylated spirits) ในสัดส่วนที่เท่ากันแล้วใช้ได้ผล
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

กำจัดราที่พรมโดยใช้น้ำยาหรือบริการทำความสะอาด

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. สเปรย์ขจัดเชื้อราหาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปและในเน็ต ให้อ่านฉลากดีๆ ว่าใช้ฉีดพรมได้ เพราะถ้าเป็นน้ำยาสำหรับใช้กับครัวหรือห้องน้ำ อาจไปกัดสีหรือทำผสมเสียได้
    • ถ้าที่ฉลากเขียนว่าเป็นน้ำยาแบบ "encapsulate" หรือ "mold barrier" แสดงว่าจะทิ้งชั้นเคลือบใสๆ ไว้บนเส้นใยของพรม ป้องกันไม่ให้กลับมาขึ้นราอีก เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับพรมที่ต้องเจอกับความชื้นประจำ
    • จะใช้น้ำผสมน้ำยาฟอกขาวแทนน้ำยาที่ขายกันก็ได้ โดยผสมน้ำยาฟอกขาว 1 ถ้วยตวงกับน้ำ 1 แกลลอน (4 ลิตร) [2] ให้ใช้น้ำยาฟอกขาวแบบ color-safe คือไม่ทำให้ผ้าสีจาง แล้วลองใช้ดูแค่มุมเล็กๆ ของพรมก่อน จะได้แน่ใจว่าไม่ทำให้พรมด่าง
  2. น้ำยาทำความสะอาดพรมที่ผสม deodorizer หรือสารดับกลิ่น จะช่วยขจัดกลิ่นอับชื้นพร้อมกำจัดเชื้อราไปในตัว ให้ทำตามคำแนะนำการใช้งานอย่างเคร่งครัด โดยจะแตกต่างกันไปตามผลิตภัณฑ์
    • บางคนก็ว่าใช้น้ำยาทำความสะอาดพรมยี่ห้อ Vanish แล้วได้ผล
  3. น้ำยากำจัดเชื้อราบางตัวจะมี chlorine dioxide ซึ่งบอกเลยว่าอาจกัดสีพรมด่างได้ ให้ทดสอบแค่มุมเล็กๆ ของพรมที่ปกติซ่อนอยู่ใต้เฟอร์นิเจอร์ก่อน และใช้ตามคำแนะนำที่ฉลากอย่างเคร่งครัด บางผลิตภัณฑ์ก็อาจจะต้องใช้เครื่องซักพรมร่วมด้วย เพื่อกำจัดน้ำยาหลังใช้
  4. ลองศึกษาในเน็ตเพิ่มเติมเรื่องเครื่องซักพรม (steam cleaner) เพราะใช้ขจัดเชื้อราติดทนได้แบบเห็นผล แต่หลังจากซักพรมแล้วสำคัญว่าต้องรีบทำให้พรมแห้งทันที ไม่งั้นน้ำตอนซักพรมจะขังจนรากลับมาอีก อาจจะเอาไดร์เป่าหรือ ตากพรมให้โดนแดดเต็มๆ หรือใช้พัดลมจ่อก็ได้
    • อย่าซักพรมเองโดยไม่มีเครื่องซักพรมโดยเฉพาะ เพราะถ้าใช้ไอน้ำหรือน้ำร้อนราดพรมผิดวิธี พรมอาจจะหดหรือเสียหายได้
  5. บริษัทที่ให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะจะมีประสบการณ์มากกว่า ทั้งการสำรวจพรมหารา ทั้งการใช้สารเคมี แถมมีเครื่องพร้อม ถ้าเคยซักพรมเองแล้ว อาจจะใช้บริการทำความสะอาดพรมด้วยน้ำแข็งแห้งหรืออื่นๆ แทน
  6. ถ้าเชื้อรากำลังก่อตั้งอาณาจักรย่อมๆ ที่ใต้พรมของคุณ อาจถึงเวลาเปลี่ยนพรมหรือตัดส่วนนั้นของพรมออก จะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายกว่า ถ้าจะตัดส่วนที่ขึ้นราออก ให้ตัดห่างออกไป 12 นิ้ว (30 ซม.) ทั้ง 4 ด้านด้วย จะได้แน่ใจว่ากำจัดเชื้อราหมดจดจริงๆ
    • ถ้าจะใช้วิธีนี้ อาจพบราบนพื้นห้องใต้พรมด้วย ก็ต้องทำความสะอาดพื้นซะก่อนปูพรมผืนใหม่
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ป้องกันไม่ให้ราขึ้นพรม

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในห้องเก็บของหรือใต้ยกพื้นที่อับชื้น ต้องใช้แผ่น polyethylene กันความชื้น หรือใช้น้ำยาเฉพาะ เชื้อราจะได้ไม่กลับมาอีก ต้องสำรวจหาราตามช่องระบายอากาศ ตู้เสื้อผ้า และใต้เบาะใต้ผ้าคลุมเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ แล้วรีบกำจัด ถ้าเป็นไปได้ก็สำรวจใต้พรมด้วย
    • ปกติถ้าเบาะหรือผ้าหุ้มเฟอร์นิเจอร์ขึ้นรา จะกำจัดด้วยวิธีเดียวกับที่ใช้กับพรมได้ แต่ควรทดสอบแค่มุมเล็กๆ ก่อน จะได้แน่ใจว่าสีไม่ด่าง
  2. อากาศถ่ายเทแล้วความชื้นจะระเหยไปเร็ว ทำให้บริเวณนั้นแห้งสนิท ราไม่ขึ้น พยายามเปิดหน้าต่างหรือเปิดพัดลมไว้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อวัน
    • ควรเปิดหน้าต่างแต่เช้าตรู่ จะได้กำจัดความชื้นที่สะสมตอนกลางคืน
  3. ถ้าบ้านใครชื้นหนักเป็นพิเศษ หรือห้องระบายอากาศได้ยาก ให้หาซื้อเครื่องดูดความชื้นมาใช้แล้วเปิดทิ้งไว้ตอนกลางคืน เพื่อดูดความชื้นหรือน้ำในอากาศก่อนจะทันตกถึงพรม
  4. กวาดบ้านก็ดี แต่พรมอาจจะกักฝุ่นและสปอร์ของราลึกลงไปใต้เส้นใย ถ้าดูดฝุ่นจะสะอาดล้ำลึกกว่า เครื่องดูดฝุ่นของยี่ห้อ Shark เขาว่าดีที่สุด แต่จริงๆ แล้วยี่ห้อไหนที่ราคาสูงหน่อยก็ใช้ได้ทั้งนั้น
  5. เชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีเป็นพิเศษในที่มืด เพราะงั้นถ้าเปิดไฟทิ้งไว้ ก็จะช่วยชะลอการแพร่กระจายของเชื้อราได้ อาจจะหาหลอดประหยัดไฟหรือไฟกลางคืนมาใช้แทน [4]
    • หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ทั่วไปนี่แหละช่วยป้องกันการแพร่ของเชื้อราได้ โดยเฉพาะแสง UV C ที่ทั้งดักจับและฆ่าสปอร์ของเชื้อรา [5]
  6. หลังกำจัดแหล่งเพาะเชื้อราแล้ว ให้ใช้เครื่องดูดฝุ่น HEPA ที่มีแผ่นกรองอากาศที่ช่วยดักจับอนุภาคละเอียด. พอยับยั้งการแพร่เชื้อราได้แล้ว ให้ใช้เครื่องดูดฝุ่นหรือแผ่นกรอง HEPA กำจัดสปอร์ของเชื้อราที่อาจหลงเหลืออยู่ในบริเวณนั้น โดยปิดหน้าต่างและช่องแอร์ช่องระบายอากาศก่อน จะได้ลดจำนวนสปอร์ที่อาจเล็ดลอดออกไปที่ห้องอื่นของบ้าน
    • HEPA ย่อมาจาก High Efficiency Particulate Air หมายถึงอากาศที่ผ่านการกรองอนุภาคละเอียด เป็นคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ใช่ชื่อยี่ห้อ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าอยากใช้บริการซักหรือทำความสะอาดพรม ควรเลือกที่รับรองโดยหน่วยงานของรัฐหรืออะไรที่ไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,906 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา