ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าจะกำจัดเชื้อรา (ทั้งราดำเป็นปื้นและราขาวเป็นด่างดวง) บนเฟอร์นิเจอร์ รถ รองเท้า หรือเสื้อหนัง ก็ต้องรีบลงมือให้เร็วที่สุด ตอนทำความสะอาดต้องทดสอบน้ำยา (ทั้งน้ำยาสำเร็จรูปและของใช้ที่มีในบ้าน) ก่อนใช้จริง และทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ที่เป็นหนังนั้นอย่างเบามือ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ทำความสะอาดหนังกลับและหนังนูบัค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองทดสอบใช้ปิโตรเลียมเจลลี่แค่จุดเล็กๆ ในที่ลับตาก่อน แล้วค่อยทาปิโตรเลียมเจลลี่เคลือบเป็นชั้นบางๆ บริเวณที่ขึ้นรา หรือใช้น้ำยาทำความสะอาดหนังกลับ (suede) โดยเฉพาะ แต่ต้องอ่านคำแนะนำการใช้งานและข้อควรระวังให้ดี ว่าใช้กำจัดเชื้อราได้จริง
    • หนังนูบัค (nubuck) จะเปลี่ยนสีง่ายหรือสีด่างง่าย เพราะงั้นต้องทดสอบใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดก่อนใช้จริง [1]
  2. ถ้าราเยอะ ชัด ให้ผสมแอลกอฮอล์กับน้ำในสัดส่วนที่เท่ากัน ถ้ารายังอยู่หลังใช้ปิโตรเลียมเจลลี่หรือน้ำยาทำความสะอาดหนังกลับแล้ว ให้ลองใช้แอลกอฮอล์ผสมน้ำทำความสะอาดที่ผ้าดู [2]
    • ทดสอบแอลกอฮอล์ผสมน้ำแค่จุดเล็กๆ บริเวณที่ขึ้นราก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าสีไม่ตกไม่ด่าง
  3. เอาฟองน้ำหรือผ้าขี้ริ้วชุบน้ำให้เปียกหมาด จากนั้นป้ายปิโตรเลียมเจลลี่หรือน้ำยาทำความสะอาดหนังกลับ แล้วใช้ผ้าหรือฟองน้ำเช็ดถูบริเวณที่ขึ้นราเบาๆ ถ้าราขึ้นหนักมากก็ให้ทำแบบเดียวกัน แต่เปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์ผสมน้ำแทน
    • ทำซ้ำเท่าที่จำเป็น แต่อย่าฝืนหรือถูแรงขึ้นถ้าราไม่ออกจริงๆ เพราะอาจทำวัสดุที่เป็นหนังนั้นเสียหายได้ [3]
  4. รอจนหนังกลับหรือหนังนูบัคที่ทำความสะอาดไปแห้งสนิท แล้วคืนผิวสัมผัสให้กลับเป็นเหมือนเดิมโดยใช้แปรงสำหรับหนังกลับโดยเฉพาะ แปรงนี้หาซื้อได้ทั้งในเน็ตและร้านขายรองเท้าทั่วไป [4]
    • ถ้าทำตามขั้นตอนแล้วรายังไม่หาย ก็ต้องปรึกษาร้านหรือบริษัทรับกำจัดราบนหนังกลับโดยเฉพาะ [5]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

กำจัดเชื้อราด้วยสบู่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้แปรงขนนุ่มแปรงเอาเชื้อราที่ลอยเกาะอยู่ตามผิวนอกของวัตถุนั้นออก แต่ต้องทำขั้นตอนนี้นอกบ้าน เพราะสปอร์ของเชื้อราจะฟุ้งกระจายทั่วบ้านได้ ถ้าแปรงเก่าหน่อยต้องล้างทำความสะอาดก่อน [6]
  2. ถ้าหนังมีแผ่นหรือรอยยับที่ราเข้าไปซุกได้ ก็ต้องเอาหัวเครื่องดูดฝุ่นมาจ่อแล้วดูดกำจัดออกไป ดูดฝุ่นเสร็จให้รีบเททิ้งจากกระบอกหรือถุงเก็บฝุ่น เพราะเดี๋ยวสปอร์เชื้อราจะกระจายได้ สรุปแล้วคือดูดฝุ่นเสร็จแล้วต้องรีบเอาเชื้อราไปทิ้งนอกบ้านให้เร็วที่สุด [7]
  3. วิธีนี้ต้องเช็คก่อนว่าเป็นหนังที่เคลือบป้องกันแล้ว ไม่งั้นห้ามทำให้เปียกเด็ดขาด finished leather ก็คือหนังที่เคลือบสีด้านบน ขั้นตอนคือให้ใช้ฟองน้ำชุบสบู่มาฟอกหนังให้เป็นฟองเยอะๆ แล้วใช้ผ้าเปียกหมาดเช็ดออก [8]
    • ห้ามทำให้หนังเปียกชุ่ม เพราะจะเสียหายได้
    • ทดสอบก่อนว่าหนังจะด่างไหม โดยหยดน้ำใส่แค่นิดเดียวก่อน ถ้าน้ำทำหนังสีเข้มขึ้นหรือเป็นรอย ก็แสดงว่าฟอกด้วยน้ำกับสบู่ไม่ได้ ถ้าราขึ้นแถวซิป เป็นไปได้ว่าราหรือแบคทีเรียเข้าไปถึงหมอน/ฟองน้ำหรือผ้าข้างในแล้ว แบบนี้ต้องกำจัดราข้างในด้วย หรือเปลี่ยนไส้ใหม่ไปเลย
  4. เอาผ้าชุบแอลกอฮอล์แปลงสภาพ (Denatured alcohol) เช่น เอทานอล หรือเอทิลแอลกอฮอล์ หรือแอลกอฮอล์ล้างแผล (isopropyl alcohol) 1 ถ้วยตวง ที่ผสมน้ำ 4 ถ้วยตวงแล้ว จากนั้นเช็ดที่หนังเบาๆ จนไม่เหลือรา ห้ามเทราดจนหนังเปียกโชก หลังจากนั้นให้ผึ่งไว้จนหนังแห้งสนิท [9]
    • ย้ำว่าให้เจือจางแอลกอฮอล์ก่อน ถ้าเป็นหนังเคลือบเงา/สี และทดสอบแอลกอฮอล์ที่ผสมแล้วที่หนังแค่เล็กน้อยก่อนใช้จริง ถึงจะเป็นหนังเคลือบ แต่บางทีก็โดนแอลกอฮอล์แล้วด่างหรือเสียหายได้ [10]
  5. เอาโครงเฟอร์นิเจอร์ไปตากลมให้ระบายอากาศถึงด้านใน ถ้าสงสัยว่าราจะขึ้นลึกลงไปถึงใต้หนังหรือผ้าหุ้ม ต้องพลิกด้านใต้ของผ้าคลุมขึ้นมาดู และปล่อยเป็นหน้าที่ของบริษัทรับกำจัดเชื้อรา ให้เขาฆ่าเชื้อและรมควันต่อไป ถ้าเชื้อราขึ้นหนักๆ [11]
    • สอบถามบริษัทรับกำจัดเชื้อราว่ามี “ห้องโอโซน” ไหม ถ้ามีก็ต้องใช้บริการ เอาเฟอร์นิเจอร์ไปไว้ในนั้นอย่างต่ำ 48 ชั่วโมง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

กำจัดเชื้อราด้วยน้ำส้มสายชู

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้แปรงไนลอนขนแข็งแปรงกำจัดเชื้อราที่หนังแบบแห้งๆ เอาออกให้มากที่สุด ย้ำว่าสปอร์ของเชื้อราฟุ้งกระจายได้ง่ายมาก เพราะงั้นต้องเอาไปทำนอกบ้าน ไม่งั้นคลุ้งอยู่ในบ้านแน่นอน [12]
  2. ผสมน้ำส้มสายชูกับน้ำในสัดส่วนที่เท่ากัน จากนั้นทดสอบแค่จุดเล็กๆ ของหนัง ถ้าไม่ด่าง สีไม่เปลี่ยน แสดงว่าใช้กำจัดเชื้อราต่อได้เลย แค่อย่าใช้เยอะจนชุ่มหนังก็พอ [13]
  3. เอาผ้านุ่มๆ ชุบน้ำส้มสายชูผสมน้ำ แล้วเอาไปเช็ดทำความสะอาดหนังเบาๆ ห้ามขัดถูแรงๆ เพราะอาจเสียหายได้ เสร็จแล้วก็ผึ่งลมไว้จนแห้งสนิท
    • ปกติวิธีนี้จะใช้กับรองเท้าหนังได้ผลดี แต่ก็ใช้กำจัดราตามสิ่งของอย่างอื่นที่ทำจากหนังได้เช่นกัน ขอแค่ทดสอบน้ำส้มสายชูที่ผสมแล้วนี้ก่อนใช้งานจริง จะได้แน่ใจว่าหนังไม่ด่างไม่ลอก
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ทำความสะอาดหนังที่ไม่ได้เคลือบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณหาซื้อ saddle soap ได้จากในเน็ต ไม่ก็ร้านขายเครื่องหนังหรืออุปกรณ์ดูแลเครื่องหนัง เวลาใช้ให้ป้ายลงบนฟองน้ำหรือผ้าขี้ริ้วชื้นๆ แค่ประมาณเหรียญสลึง จากนั้นเอาไปฟอกตามรอยแตกของหนัง ให้เป็นฟองเล็กน้อย [14]
    • ต้องทดสอบก่อนว่าเป็นหนังแบบไม่ได้เคลือบหรือเปล่า โดยหยดน้ำลงไปเล็กน้อย ตรงจุดเล็กๆ ที่ไม่เป็นที่สนใจ ถ้าหนังจุดนั้นสีเข้มขึ้นหรือด่าง แสดงว่าเป็นหนังแบบไม่ได้เคลือบ
    • อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดให้ละเอียด และทดสอบใช้แค่จุดเล็กๆ บริเวณที่ไม่เป็นจุดสนใจก่อน ถ้าเป็นหนังแบบไม่ได้เคลือบจะด่าง เสียหายง่าย เพราะมีรูพรุนเยอะ ยิ่งถ้าใช้น้ำยาผิดชนิดยิ่งทะลุทะลวงลงไปข้างใต้ ดีไม่ดีจะเสียไปเลย [15]
    • ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่อไปนี้กับหนังแบบไม่ได้เคลือบ
      • น้ำยาซักผ้า
      • สบู่ทั้งหลายที่ใช้ทำความสะอาดในครัวเรือน ทั้งสบู่ล้างมือ โฟมล้างหน้า และน้ำยาล้างจาน
      • ครีมหรือโลชั่นทามือ
      • ทิชชู่เปียกหรือแผ่นเช็ดอเนกประสงค์
      • ครีมรกแกะ (Lanolin cream)
      • แอลกอฮอล์ล้างแผล
  2. ใช้ผ้าเปียกหมาดเช็ดสบู่ออกจากหนังให้สะอาด อย่าให้เหลือเศษหรือคราบตกค้าง และห้ามขัดถูแรงไปเพราะอาจทำหนังเสียหายได้ [16]
  3. ทิ้ง saddle soap ไว้ข้ามคืนจนแห้งสนิท แต่อย่าให้โดนแดด เพราะหนังจะสีซีดได้ รวมถึงห้ามเอาไดร์หรืออะไรร้อนๆ มาเป่าหนังให้แห้ง ต้องผึ่งลมไว้จนแห้งสนิทไปเองเท่านั้น [17]
  4. ลงน้ำยาถนอมหนังหลังจากที่หนังแห้งสนิทแล้ว ย้ำว่าต้องทดสอบน้ำยาเล็กน้อยตรงจุดที่ไม่เป็นที่สนใจ และต้องอ่านฉลากดีๆ ว่าน้ำยานั้นใช้กับหนังชนิดนั้นได้ ถ้าเป็น Mink oil จะเหมาะกับหนังที่ไม่ได้เคลือบ คุณหาซื้อ conditioner หรือน้ำยาถนอมหนังได้ตามร้านเครื่องหนังหรือร้านรองเท้า [18]
    • การลงน้ำยาดูแลหนังจะช่วยป้องกันไม่ให้หนังเสียหายหรือเป็นรอย จะเงาสวยอยู่เสมอ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ใช้เครื่องดูดความชื้น (dehumidifier) เพื่อป้องกันไม่ให้ห้องชื้นเกินไป อันเป็นสภาพแวดล้อมที่รา (ทั้งราขาวและราดำ) ชอบนัก เครื่องดูดความชื้นหาซื้อได้หลายขนาดและหลายราคา [19]
  • เจอเชื้อราเมื่อไหร่ต้องรีบกำจัด เพราะจะฝังลึกลงไปในหมอนหรือวัสดุต่างๆ ได้ ถ้าเป็นเยอะๆ บางทีก็แก้ไขอะไรไม่ได้ [20]
  • ติดต่อผู้ผลิตวัตถุหรือสิ่งของนั้นที่ทำจากหนัง เพื่อสอบถามรายชื่อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่แนะนำ สินค้าบางยี่ห้อก็มีผลิตภัณฑ์หรือบริการทำความสะอาดโดยเฉพาะ [21]
โฆษณา

คำเตือน

  • เชื้อราที่ขึ้นเฟอร์นิเจอร์บางทีก็ทำความสะอาดได้ยากมาก ถ้าสถานการณ์เข้าขั้นเลวร้าย แนะนำให้ซื้อหมอนหรือเฟอร์นิเจอร์นั้นใหม่เลยดีกว่า
  • ถ้าเป็นเชื้อราแบบ mildew (เป็นด่างดวง) เอาไปตากแดดก็กำจัดได้ตามธรรมชาติ แต่ระวังสีหนังซีดลงหรือด่าง ถ้าทำผิดวิธี [22]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 35,383 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา