ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บางครั้งเราก็สามารถดึงเสี้ยนออกได้โดยใช้เบกกิ้งโซดาและพลาสเตอร์แปะแผล วิธีการก็คือทำความสะอาดและซับบริเวณแผลให้แห้ง จากนั้นก็ทาเบกกิ้งโซดาลงบนเสี้ยนแล้วติดพลาสเตอร์แปะแผลทิ้งไว้สักพักค่อยดึงออก เสี้ยนก็น่าจะติดออกมาด้วย อย่าลืมใช้ขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ และหากแผลติดเชื้อจากเสี้ยน คุณต้องไปพบแพทย์ นอกจากนี้การถูกเสี้ยนตำยังทำให้คุณเสี่ยงติดเชื้อบาดทะยักด้วย เพราะฉะนั้นคุณต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคอตีบ บาดทะยัก และไอกรนตามกำหนด [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ทำความสะอาดและตรวจดูบริเวณแผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาทำความสะอาดหรือตรวจดูบริเวณรอบๆ ที่ถูกเสี้ยนตำ คุณอาจจะอยากบีบผิวหนังรอบๆ เพื่อดูให้ดีว่าเสี้ยนอยู่ตรงไหน ซึ่งอาจทำให้เสี้ยนยิ่งหักเป็นชิ้นเล็กๆ หรือติดอยู่ในผิวหนังลึกกว่าเดิม เพราะฉะนั้นอย่าบีบเสี้ยนหรือผิวบริเวณรอบๆ ระหว่างที่กำลังพยายามดึงเสี้ยนออกเด็ดขาด [2]
  2. Watermark wikiHow to กำจัดเสี้ยนออกจากผิวหนังด้วยเบกกิ้งโซดา
    ถ้าจำเป็นให้ใช้แว่นขยายส่อง ดูว่าเสี้ยนใหญ่แค่ไหนและดูว่ามันตำเข้าไปในผิวหนังมุมไหน วิธีนี้จะช่วยให้คุณไม่บังเอิญกดเสี้ยนให้ยิ่งลึกลงไปในผิวหนังโดยไม่ได้ตั้งใจตอนทาเบกกิ้งโซดาและแปะพลาสเตอร์ และอย่ากดเสี้ยนในทิศทางเดียวกับมุมที่เสี้ยนเจาะเข้าไปในผิวหนัง
  3. Watermark wikiHow to กำจัดเสี้ยนออกจากผิวหนังด้วยเบกกิ้งโซดา
    เวลาที่เอาเสี้ยนออก คุณต้องระวังเรื่องการติดเชื้อ ก่อนที่จะดึงเสี้ยนออกให้ทำความสะอาดผิวหนังรอบๆ บริเวณที่ถูกเสี้ยนตำ ใช้สบู่กับน้ำล้างผิวหนังบริเวณนั้นให้สะอาด จากนั้นก็ใช้กระดาษทิชชูอเนกประสงค์ค่อยๆ ซับให้แห้ง [3]
    • อย่าลืมล้างมือให้สะอาดก่อนล้างแผลรอบๆ บริเวณที่ถูกเสี้ยนตำ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ดึงเสี้ยนออก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to กำจัดเสี้ยนออกจากผิวหนังด้วยเบกกิ้งโซดา
    เทเบกกิ้งโซดาลงในถ้วยใบเล็กหรือภาชนะอื่นเยอะๆ จากนั้นก็ค่อยๆ เติมน้ำทีละน้อยและคนส่วนผสมให้เข้ากันจนได้เป็นยาพอกเนื้อข้น สัดส่วนระหว่างเบกกิ้งโซดากับน้ำนั้นไม่มีกำหนดตายตัว แค่เติมน้ำลงไปให้มากพอจนได้เป็นยาพอกที่สามารถปาดลงบนแผลได้ [4]
  2. Watermark wikiHow to กำจัดเสี้ยนออกจากผิวหนังด้วยเบกกิ้งโซดา
    ใช้นิ้วหรือกระดาษทิชชูอเนกประสงค์ค่อยๆ แตะยาพอกลงบนเสี้ยน ทาบางๆ ลงบนเสี้ยนและผิวหนังโดยรอบ [5]
    • เวลาทายาพอกระวังอย่าเผลอกดเสี้ยนให้ยิ่งลึกลงไป จำมุมที่เสี้ยนตำลงในผิวหนัง และระวังเวลาทาเบกกิ้งโซดาตรงมุมนี้
  3. Watermark wikiHow to กำจัดเสี้ยนออกจากผิวหนังด้วยเบกกิ้งโซดา
    แปะพลาสเตอร์ลงบนยาพอกโดยให้ส่วนที่เป็นผ้าฝ้ายคลุมบริเวณที่ถูกเสี้ยนตำทั้งหมด จะเป็นพลาสเตอร์แปะแผลชนิดไหนก็ได้แค่ขอให้ปิดเสี้ยนได้ทั้งหมดก็พอ [6]
  4. Watermark wikiHow to กำจัดเสี้ยนออกจากผิวหนังด้วยเบกกิ้งโซดา
    แปะพลาสเตอร์ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงจนถึง 1 วันแล้วค่อยดึงพลาสเตอร์ออก โดยทั่วไปยิ่งเสี้ยนตำลงไปลึกเท่าไหร่ยิ่งต้องใช้เวลามากขึ้นเท่านั้น เมื่อดึงพลาสเตอร์แปะแผลออก เสี้ยนก็ควรจะหลุดออกมาด้วยอย่างง่ายดาย [7]
    • ถ้าดึงพลาสเตอร์แปะแผลแล้วเสี้ยนไม่ยอดหลุดออกมาเอง ลองใช้แหนบบีบเบาๆ (แหนบที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ก่อนใช้)
    • ถ้าดึงออกครั้งแรกเสี้ยนยังไม่หลุดออกมาหรือว่ามันยังตำลึกอยู่เหมือนเดิม ลองทำขั้นตอนเดิมซ้ำและแปะพลาสเตอร์ทิ้งไว้ในนานขึ้นไม่เกิน 24 ชั่วโมง
    • หลังจากที่เสี้ยนหลุดออกมาแล้ว ให้ใช้สบู่และน้ำทำความสะอาดแผลพร้อมกับทาขี้ผึงยาปฏิชีวนะ
    • หลังจากดึงเสี้ยนออกมาแล้ว คุณจะแปะพลาสเตอร์ลงบนแผลก็ได้เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. Watermark wikiHow to กำจัดเสี้ยนออกจากผิวหนังด้วยเบกกิ้งโซดา
    คุณควรทาขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะหลังจากเสี้ยนหลุดออกมาแล้วเพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ คุณสามารถหาซื้อขี้ผึ้งยาต้านเชื้อแบคทีเรียได้ตามร้านขายยาทั่วไป และทาขี้ผึ้งยาตามวิธีการที่ระบุไว้ [8]
    • เช่น ทาครีมทาแผลที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปอย่าง Neosporin ลงบนแผลให้ทั่ว [9]
    • ถ้าคุณกำลังใช้ยาบางชนิดอยู่ ให้สอบถามเภสัชกรก่อนเลือกขี้ผึ้งยาเพื่อให้คุณมั่นใจว่า ขี้ผึ้งยาที่คุณใช้จะไม่ไปทำปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่
  2. Watermark wikiHow to กำจัดเสี้ยนออกจากผิวหนังด้วยเบกกิ้งโซดา
    บางครั้งผิวหนังก็มีเลือดออกหลังจากที่เสี้ยนหลุดออกมาแล้ว กดลงบนผิวหนังบริเวณที่เคยถูกเสี้ยนตำแรงๆ วิธีนี้เป็นการทำให้ผิวหนังติดกันเพื่อสมานแผลและทำให้เลือดหยุดไหล และคุณก็อาจจะต้องใช้พลาสเตอร์แปะแผลด้วย [10]
  3. Watermark wikiHow to กำจัดเสี้ยนออกจากผิวหนังด้วยเบกกิ้งโซดา
    ถ้าเสี้ยนไม่หลุดและทำให้เลือดออกมาก คุณอาจจะต้องไปพบแพทย์ นอกจากนี้คุณก็อาจต้องไปพบแพทย์ด้วยเช่นกันหากเสี้ยนตำอยู่ใต้เล็บมือหรือเล็บเท้า และถ้าคุณไม่ได้ฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิบาดทะยักตามกำหนด คุณก็ควรไปพบแพทย์เวลาเสี้ยนตำเพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่ต้องฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักเพื่อป้องกันการติดเชื้อ [11]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเสี้ยนตำลงไปลึกมาก คุณอาจต้องทำวิธีนี้สองครั้ง
  • ถ้ายาพอกเบกกิ้งโซดาไหลออกมาจากใต้พลาสเตอร์แปะแผล ให้แปะเทปผ้าพันแผลลงไปเพื่อไม่ให้ยาพอกยิ่งไหลออกมา
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • เบกกิ้งโซดา
  • น้ำ
  • สบู่
  • พลาสเตอร์แปะแผล
  • ผ้าก๊อซ
  • แอลกอฮอล์หรือแผ่นแอลกอฮอล์

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 77,588 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา