ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ตายจริงหมามีเห็บ แล้วจะทำยังไงดี? เห็บน่ะตัวพาหะนำโรคสารพัด ทั้งโรคไลม์ (Lyme disease) แบคทีเรีย ehrlichia แล้วก็ anaplasmosis จริงๆ แค่ถูกเห็บกัดอย่างเดียวก็ทำให้ผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้แล้ว เพราะฉะนั้นไม่ว่าเห็บหมัดหรืออะไรก็ต้องกำจัดซะให้หมด คุณเองก็ทำได้! แค่มีอุปกรณ์คู่ใจอย่างแหนบ น้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วก็ความกล้าอีกนิด รับรองว่าเห็บจะหมดไปในไม่นาน ถูกใจน้องหมาเขาน่าดู

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

หาเห็บให้เจอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เห็บชอบอยู่ทั้งในพุ่มไม้เตี้ยและพงหญ้าสูง บางตัวเล็กมาก เกือบเท่าหมัด แต่หลายตัวก็ใหญ่กว่านั้น ปกติเห็บจะสีดำหรือน้ำตาล รูปร่างออกรีๆ อยู่ในตระกูลสัตว์ขาปล้อง (arthropods) หรือที่เรียกว่า arachnids เหมือนแมงมุมกับแมงป่อง ก็เลยมี 8 ขาไงล่ะ
  2. ต้องมีแหนบปากแหลม แล้วก็ขวดโหลที่เทแอลกอฮอล์ใส่ไว้ อย่าลืมน้ำยาฆ่าเชื้อด้วย อย่างสารละลาย chlorhexidine (Nolvasan) หรือสารละลาย povidine iodine (Betadine) เอาไว้ใช้ล้างทำความสะอาดแผลหลังเด็ดเห็บออกจากตัวน้องหมาแล้ว
    • ถ้าแถวบ้านคุณเห็บชุม ก็ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการกำจัดเห็บ โดยจะเป็นอุปกรณ์เจ๋งๆ หน้าตาเหมือนช้อนที่มีรอยบากข้างๆ ใช้เด็ดเห็บจากทั้งหมาและคนได้ดีทีเดียวล่ะ
    • เป็นความเชื่อผิดๆ ที่คิดว่าแค่จับเห็บกดลงชักโครกไปก็เรียบร้อยแล้ว บอกเลยว่าวิธีเดียวที่คุณจะฆ่าเห็บได้ก็คือเอาไปใส่ในแอลกอฮอล์ซะ หรือฉีดสเปรย์กำจัดเห็บหมัดใส่ [1]
  3. นอกจากเห็บแล้ว ก็มีการกำจัดเห็บนี่แหละที่หมาไม่ชอบ หาของเล่นโปรดมาเบี่ยงเบนความสนใจของน้องหมาหน่อย หรือจะให้เคี้ยวขนมแทนก็ได้ (คุณเองก็ต้องใจเย็นเอ็นดูเข้าไว้) จากนั้นก็เริ่มกันเลย
  4. ถ้าหมาไปที่ใหม่ๆ หรือที่ไหนที่น่าจะมีเห็บ (เวลาเดินป่า หรือในสนามที่หญ้ายาว และอื่นๆ) กลับมาแล้วรีบเช็คเห็บบนตัวน้องหมาด่วน เอามือคลำให้เจอก้อนนูนๆ เล็กๆ และมองหาก้อนกลมๆ ดำๆ เข้าไว้ เริ่มจากควานหาตามหลังก่อน แล้วขยับขยายลงไปที่สีข้างทั้งสอง หน้าอก แล้วก็ท้อง จุดอื่นๆ ที่ห้ามพลาดก็คือ [2]
    • ขา
    • ซอกนิ้วกับอุ้งเท้า
    • ใต้ขา (รักแร้) ท้อง หน้าอก แล้วก็หาง
    • บนหู ในหู แล้วก็ใต้หู
    • บนหน้าแล้วก็กลางหัว
    • คาง
    • หน้าคอ
  5. ถ้าขนน้องหมาหนามากหรือหยิกเป็นลอน ให้ใช้หวีสาง. ถ้าขนหมาหนาจนหาเห็บยากเหลือเกิน คุณคงต้องหาหวีซี่ถี่หรือหวีเสนียดที่ใช้กับคนเป็นเหามาสางช่วยอีกแรง แต่ถ้าใช้หวีแล้วก็ยังยาก ให้ปรับไดร์เป่าผมไปที่ลมเย็นสุด แล้วเอามาเป่าให้ขนแสกออกจากกัน แต่หมาบางตัวก็กลัวไดร์เป่าผมน่าดูนี่สิ
    • ถึงจะใช้อุปกรณ์ แต่ก็ยังต้องใช้มือ เพราะหาเห็บง่ายกว่าเยอะเวลาเอามือลูบแล้วเจอตุ่มนูนๆ บนตัวน้องหมา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

กำจัดเห็บ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาบน้ำหรือเอาตัวน้องหมาจุ่มในแชมพูหรือน้ำผสมน้ำยาฆ่าเห็บหมัด. อาจจะอันตรายไปหน่อยสำหรับลูกหมา ต้องอ่านวิธีใช้ให้ละเอียดแล้วปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยสารเคมีในตัวน้ำยาจะช่วยกำจัดเห็บ ทำให้หยิบหรือล้างออกง่าย ถ้าน้องหมายังเด็ก ไม่ปลอดภัยถ้าจะใช้แชมพูหรือน้ำยา ก็ข้ามวิธีนี้ไปก่อน เอามือกับอุปกรณ์เด็ดเห็บเหมือนเดิมจะดีกว่า
    • ห้ามใช้น้ำยาประเภทนี้กับแมวเด็ดขาด เว้นแต่มีเขียนกำกับไว้ชัดเจนว่าใช้กับแมวได้ไม่อันตราย
  2. แสกขนไว้ เห็บจะได้ไม่มีที่ซ่อน แต่ถ้าหลงหรืองงว่าตรงไหนหาเห็บไปแล้ว ก็กลับมาเช็คใหม่ได้ ไม่เป็นไร เพราะเห็บไม่หนีไปไหนหรอกตอนกำลังดูดเลือดน่ะ มันจะฝังตัวเกาะติดผิวน้องหมาคุณไว้ซะแน่นเชียวล่ะ
  3. ต้องอ่านและทำตามคำแนะนำการใช้งานข้างขวดดีๆ แล้วรอให้สารเคมีออกฤทธิ์กำจัดเห็บ อย่าพ่นเยอะเกินไป เดี๋ยวจะกลายเป็นวางยาน้องหมาแทน สารเคมีจะทำให้เห็บเลิกดูดเลือด หลุดออกมาจากตัวหมาในที่สุด หรืออย่างน้อยก็ทำให้คุณเด็ดมันออกมาง่ายขึ้น
    • ยาพ่นแบบนี้ก็เหมือนแชมพู ออกจะแรงเกินไปสำหรับลูกหมา ยังไงก็อ่านคำแนะนำและรายละเอียดการใช้งานให้ดีล่ะ
  4. คีบเห็บให้มั่นแถวๆ หัวหรือปาก ซึ่งก็คือส่วนที่มันใช้กัดยึดเกาะตัวน้องหมาไว้นั่นแหละ สำคัญมากว่าต้องคีบเห็บแถวหัวไม่ใช่ที่ตัว เพราะถ้าคีบตรงตัว เดี๋ยวตัวจะขาด ทีนี้ล่ะหัวก็เกาะติดแน่นอยู่กับผิวน้องหมาเหมือนเดิม จะทำให้น้องหมาระคายเคืองและติดเชื้อได้ [3]
    • ห้ามใช้นิ้วของคุณเด็ดเห็บ ถ้าใช้มือเปล่า นิ้วคุณจะไปบีบตัวเห็บจนแพร่เชื้อออกมาใส่น้องหมาได้ พยายามใช้อุปกรณ์อื่นๆ หรือแหนบมาคีบเห็บดีกว่า
    • ถ้าสุดท้ายคุณทำเห็บตัวขาดจริงๆ ก็ต้องให้คุณหมอช่วยตรวจหาส่วนของเห็บที่ยังเกาะติดตามตัวของน้องหมาอยู่ คุณหมอจะบอกคุณเองว่ายังเหลือไหม ต้องกำจัดเพิ่มหรือเปล่า
  5. ถ้าคุณกลัวเห็บตัวขาดจนไม่กล้าใช้แหนบหรืออุปกรณ์อื่นๆ คีบเห็บ ก็ลองเอาปิโตรเลียมเจลลี่อย่าง Vaseline มาทาทับที่เห็บให้หนาๆ โดยเฉพาะตรงหัว แค่นี้เห็บก็จะหายใจไม่ออก จนต้องยอมเลิกกัด โงหัวขึ้นจากผิวน้องหมา ทีนี้คุณก็เอาแหนบมาเด็ดเห็บได้ตามสบาย ไม่ต้องกลัวว่าจะทำเห็บตัวขาดซะก่อน
    • แต่วิธีนี้ก็ใช่ว่าจะได้ผลเสมอไป และถึงได้ผล ก็อาจต้องรอนานหลายนาทีกว่าเห็บที่คุณทาปิโตรเลียมเจลลี่ไปจะยอมเลิกกัดน้องหมา
  6. ต้องให้แอลกอฮอล์ท่วมเห็บจนไต่หนีขึ้นมาไม่ได้ รอหลายชั่วโมงหน่อยจนกว่าเห็บจะตาย
  7. อันนี้ก็แล้วแต่ว่าน้องหมาไปวิ่งเล่นที่ไหนมา เห็บอาจจะติดมาเยอะก็ได้ ต้องใจเย็น ค่อยๆ หาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีเห็บเหลือรอดไปได้
  8. เพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อ ให้คุณเอา triple antibiotic ointment หรือขี้ผึ้งสมานแผลสดมาทาถูผิวหนังน้องหมาตรงที่คุณเด็ดเห็บออกไป [4] บางทีคุณหมอก็แนะนำให้ใช้สารละลาย chlorhexidine หรือ povidine iodine เจือจางกับน้ำแทน [5] [6] ยังไงก็อ่านวิธีการใช้งานที่ฉลากให้ดี ว่าต้องใช้ในสัดส่วนเท่าไหร่
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันเห็บ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พอเด็ดเห็บออกจากตัวน้องหมาเรียบร้อยแล้ว ต้องทิ้งไปในขวดแอลกอฮอล์ที่ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ประมาณ 1 วันขึ้นไป พอแน่ใจว่าเห็บซี้แหงแก๋แล้ว ก็เอาไปทิ้งที่ถังขยะนอกบ้านได้เลย [7]
  2. บอกเลยว่าเห็บเป็นพาหะสารพัดโรค โดยเฉพาะโรค Lyme Disease เพราะฉะนั้นพอกำจัดเห็บแล้ว คุณก็ยังต้องพาน้องหมาไปตรวจกับสัตวแพทย์ ว่าไม่ได้ติดโรคอะไรมาด้วย [8]
    • จะสะดวกมากสำหรับคุณหมอ ถ้าคุณเก็บตัวอย่างเห็บที่ตายแล้วไว้ด้วยสักตัวสองตัว เอาใส่ถุงพลาสติกไว้ แล้วเอาไปให้คุณหมอดูด้วยวันที่พาหมาไปตรวจ คุณหมอจะได้รู้ประเภทของเห็บ ทำให้ประหยัดเวลาตรวจวินิจฉัยหาเชื้อที่เกี่ยวข้องไปได้เยอะเลย
  3. ทุกครั้งที่กลับจากการพาหมาไปเดินป่าหรือปล่อยมันวิ่งเล่นในที่ที่หญ้าสูงๆ และเห็บชุม ให้รีบเอามาหาเห็บทันที
    • อันนี้ก็แล้วแต่สถานที่ แต่บางทีเห็บบางชนิดก็ชุมเป็นฤดกาล ต้องลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากกรมควบคุมโรค จากสัตวแพทย์ หรือในเน็ตก็ได้
  4. ป้องกันไว้ก่อนนี่แหละวิธีแก้เห็บที่ดีที่สุด ลองใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันเห็บหมัดที่ปลอดภัยสำหรับน้องหมาของคุณ มีให้เลือกทั้งแบบหยดหลัง ยากิน แล้วก็ปลอกคอป้องกันเห็บ ก่อนจะใช้อะไรโดยเฉพาะยา ก็ลองปรึกษาคุณหมอก่อนจะดีกว่า ส่วนวิธีอื่นๆ ที่จะทำให้น้องหมาและบ้านของคุณปราศจากเห็บก็เช่น
    • หมั่นกำจัดวัชพืชและตัดหญ้าให้เรียบเสมอข้อเท้าหรือต่ำกว่าเสมอ
    • ปิดฝาถังขยะให้แน่นหนา ในสนามอย่าให้หญ้ารกหรือก้อนหินสุมกันเป็นกอง วิธีนี้ทำเพื่อป้องกันหนู อันเป็นพาหะของเห็บอีกที
    • เวลาไปเดินป่ากับน้องหมา พยายามอยู่ในเส้นทาง และดูแลกันให้ดี อย่าไปบุกป่าฝ่าพงหรือลุยหญ้าสูงๆ เพราะที่แบบนั้นน่ะเห็บเยอะ ถ้าน้องหมาออกนอกเส้นทาง (แหงล่ะ) กลับบ้านมาก็รีบหาเห็บตามตัวเลย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หมาหายไปนอกบ้านนานๆ กลับมาต้องคอยสำรวจเห็บเสมอ ถึงจะไปกับคุณก็เถอะ ไม่ว่าจะออกค่าย เดินป่า หรือแค่ไปเดินเล่นในสวนสาธารณะแถวบ้านก็ตาม
  • ฆ่าเห็บทันทีที่เด็ดออกมาจากตัวหมา ถ้าปล่อยไว้เฉยๆ เดี๋ยวก็ไปเกาะติดอีก ไม่ปลอดภัยต่อทั้งหมา ตัวคุณ แล้วก็ครอบครัว
  • ใช้ยากำจัดเห็บหมัดเป็นประจำทุกเดือน ก่อนจะใช้ผลิตภัณฑ์ไหนก็ปรึกษาคุณหมอซะก่อน จะได้ไม่มีผลข้างเคียง
  • หรือจะพาน้องหมาไปหาคุณหมอหรือร้านอาบน้ำ-ตัดขนเลยก็ได้ ให้เขาทำความสะอาดกำจัดเห็บให้ โดยเฉพาะถ้าหมาคุณเห็บเยอะเป็นพิเศษน่ะ นอกจากตรวจร่างกายหาโรคที่อาจติดมากับเห็บแล้ว คุณหมออาจแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย หมาตัวไหนที่มีเห็บเยอะๆ อาจเสี่ยงเกิดภาวะโลหิตจางได้ เพราะเห็บพากันสูบเลือดออกจากตัว
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามใช้ยากำจัดเห็บหมัดสุ่มสี่สุ่มห้าก่อนปรึกษาคุณหมอเด็ดขาด ยาพวกนี้ได้ผลชะงัดแต่ก็อาจมีผลข้างเคียง คุณหมอจะช่วยเลือกยาที่เหมาะกับสถานการณ์และน้องหมาของคุณเอง
  • เห็บอาจเป็นพาหะนำโรคต่างๆ ได้ ทีนี้ละติดกันทั้งคุณและหมา ปกติเห็บต้องเกาะติดแล้วดูดเลือดคุณหรือน้องหมาประมาณ 24 ชั่วโมงขึ้นไปถึงจะเสี่ยงติดโรค เพราะฉะนั้นถ้าเจอวี่แววของเห็บเมื่อไหร่ให้รีบพากันไปตรวจร่างกายเลยทั้งคุณและหมา
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • แชมพูหรือสเปรย์ยากำจัดเห็บหมัด
  • อุปกรณ์พิเศษสำหรับเด็ดเห็บโดยเฉพาะ
  • ถ้าไม่มีก็ใช้แหนบแทน
  • หวีซี่ถี่หรือหวีเสนียด
  • ขวดโหล
  • แอลกอฮอล์
  • น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น สารละลาย chlorhexidine หรือ povidine iodine

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 29,591 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา