ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เห็บ (ticks) เป็นปรสิตตัวเล็กๆ ที่ไม่เพียงก่อความรำคาญแต่ยังแพร่เชื้อให้แมวเจ็บป่วยได้ด้วย ถึงขั้นรุนแรงก็มี ถ้าคุณรู้ว่าแมวมีเห็บเมื่อไหร่ก็ต้องรู้ด้วยว่าต้องกำจัดเห็บยังไงให้ปลอดภัย ถ้าคุณทำถูกวิธีจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคกันทั้งแมวและคน การกำจัดเห็บจะว่าง่ายก็ง่าย แต่จะว่ายากก็ยาก โดยเฉพาะถ้าแมวคุณเป็นพวกอยู่ไม่สุข เป็นอะไรที่ต้องศึกษาและพยายามทำให้ถูกตั้งแต่ครั้งแรกที่ลอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมอุปกรณ์ให้เหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะเป็นแหนบปากแหลมหรืออุปกรณ์คีบเห็บโดยเฉพาะก็ได้ ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าต้องใช้อุปกรณ์ชนิดไหน ให้ปรึกษาคุณหมอหรือร้านขายของสัตว์เลี้ยงก็ได้ เพราะทั้ง 2 ที่มีอุปกรณ์กำจัดเห็บขายแน่นอน
  2. เพราะถ้าแตะต้องเห็บด้วยมือเปล่าอาจทำให้คุณติดโรคได้ เพราะงั้นต้องปกป้องโดยสวมถุงมือไว้ก่อนแล้วค่อยเด็ดเห็บ [1] แต่ถ้าคุณแพ้ลาเท็กซ์ในถุงมือยาง ก็ให้เปลี่ยนไปใช้ถุงมือไนไตร (nitrile) แทน
    • ถุงมือยางหรือถุงมือไนไตรมีขายตามร้านขายยาทั่วไปหรือในซูเปอร์ก็มี
  3. เทแอลกอฮอล์ล้างแผลลงในขวดโหลหรือถุงซิปล็อค. พอเด็ดเห็บจากตัวแมวแล้วให้คุณเอาใส่ขวดโหลหรืออะไรที่เทแอลกอฮอล์ใส่เอาไว้ จะได้ตายแบบไม่มีฟื้น [2] นอกจากนี้แอลกอฮอล์ล้างแผลยังใช้ทำความสะอาดผิวหนังของแมวตรงที่คุณเพิ่งเด็ดเห็บออกมาได้ด้วย [3]
    • ถ้าใช้สำลีก้อนชุบแอลกอฮอล์ไปทาแผลหลังเด็ดเห็บจะสะดวกที่สุด
  4. ต้องใช้ขี้ผึ้งทาแผล triple antibiotic ointment กับ hydrocortisone ointment สำหรับแมวโดยเฉพาะด้วย. ผิวตรงที่เด็ดเห็บออกไปอาจระคายเคืองนานหลายอาทิตย์ ขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ ส่วนขี้ผึ้งยาไฮโดรคอร์ติโซนจะช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง [4]
    • ขี้ผึ้งยาปฏิชีวนะกับไฮโดรคอร์ติโซนของคนอาจแรงไปถ้าใช้กับแมว ให้ปรึกษาคุณหมอเรื่องตัวยาที่ใช้กับแมวได้จะดีที่สุด
    • ซื้อคอตตอนบัดด้วยถ้าคุณไม่ได้มีติดบ้านไว้ จะได้ใช้ป้ายยาที่แผลแมวแทนนิ้ว
    • พอเตรียมทุกอุปกรณ์ที่จำเป็นเรียบร้อยแล้ว ก็หาที่สว่างๆ สำหรับปฏิบัติการเด็ดเห็บ แล้ววางอุปกรณ์ไว้ใกล้ๆ มือ พอคุณเตรียมทุกอย่างไว้ครบมือ ขั้นตอนการกำจัดเห็บของคุณก็จะเป็นไปอย่างลื่นไหลรวดเร็ว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

กำจัดเห็บอย่างปลอดภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตว่าแมวคุณแสดงอาการเป็นพิษจากเห็บหรือเปล่า. ถ้าแมวมีเห็บมานานก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ โดยอาการจะหนักขึ้นตามระยะเวลาที่เห็บเกาะ ถ้าแมวของคุณแสดงอาการเป็นพิษจากเห็บ ให้รีบพาไปตรวจรักษากับคุณหมอทันที [5]
    • Haemobartonellosis นั้นเป็นโรคจากเห็บที่มักพบบ่อยในแมว โดยแมวจะมีอาการเซื่องซึม ไม่อยากอาหาร และหายใจผิดปกติ เป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นถ้าแมวมีอาการแบบที่ว่าเมื่อไหร่ให้รีบพาไปหาคุณหมอทันที [6]
    • โรคอื่นที่เกิดจากเห็บ อย่าง Tularemia หรือ Cytauxzoonosis นั้นพบได้น้อยกว่า แต่ก็อันตรายไม่แพ้กัน [7]
  2. ห้ามแตะต้องสัมผัสเห็บด้วยมือเปล่าเด็ดขาด ถุงมือนี่แหละที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณติดโรคต่างๆ มาจากเห็บ แถมมือยังสะอาดระหว่างขั้นตอนกำจัดเห็บอีกด้วย [8]
  3. ต้องทำขั้นตอนนี้ในที่ที่สว่างพอ เพราะเห็บที่ซ่อนอยู่ในขนแมวนี่หายากอยู่เหมือนกัน [9] เอามือแหวกขนแมวให้มองเห็นผิวหนังชัดเจนที่สุด [10] จำไว้ให้แม่นว่าเห็บชอบซ่อนอยู่ตามมุมอับของผิวหนัง เพราะงั้นต้องดูให้ดีเป็นพิเศษตามง่ามนิ้ว หู รักแร้ แล้วก็ขาหนีบ [11]
    • คุณจะมองเห็นเห็บเป็นสีดำๆ เกาะอยู่ที่ผิวหนังแมว พอเห็บเกาะแล้วจะไม่ค่อยขยับไปไหน ไม่ต้องกลัวว่าเห็บจะวิ่งหนีเวลาเอามือเข้าไปใกล้ แถมยิ่งเกาะนานก็ยิ่งตัวเป่ง รับรองว่าเห็นง่ายแน่นอน [12] [13]
    • หมั่นสำรวจแมวหาเห็บบ่อยๆ โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อน และกรณีที่เลี้ยงผสมทั้งแบบปิดแบบเปิด [14] ยิ่งถ้าแถวบ้านคุณเห็บเยอะหรือระบาดยิ่งต้องหมั่นตรวจร่างกายแมวมากเป็น 2 เท่า [15]
  4. แหวกขนให้เห็นส่วนที่เห็บเกาะชัดๆ แล้วใช้อุปกรณ์คีบเห็บให้มั่น แต่ระวังว่าต้องคีบให้ถูกที่ คือตรงจุดที่หัวกับคอต่อกัน และคีบใกล้ผิวหนังมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ [16]
    • จะง่ายกว่าถ้ามีคนคอยช่วยจับแมวไว้ตอนคุณเด็ดเห็บ [17] ถ้าไม่มีคนคอยช่วย จะสะดวกกว่าให้คุณหมอช่วยกำจัดเห็บให้แทน
    • เรารู้ว่ามันยั่วใจ แต่ห้ามบีบเห็บให้แตกโพล๊ะเด็ดขาด ถ้าเวลาคีบคุณบีบแรงไปละก็ เห็บอาจจะปล่อยสารพิษหรือโรคออกมาใส่ตัวแมวได้ [18]
  5. คีบให้มั่นแล้วดึงขึ้นมาจากตัวแมวช้าๆ ตรงๆ ห้ามบิดแหนบเด็ดขาด เพราะตัวเห็บจะขาดแต่หัวติดแน่นอยู่กับผิวหนังแมว ทีนี้ล่ะเป็นเรื่อง [19] [20]
    • ถ้าคุณเผลอบิดแหนบจนเห็บตัวขาดหัวติดอยู่กับผิวหนังแมวแล้วเอาออกไม่ได้ ให้พาแมวไปหาหมอดีกว่า ห้ามปล่อยทิ้งไว้แบบนั้นเด็ดขาด [21]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

กำจัดเห็บแล้วทำอะไรต่อไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทิ้งเห็บลงไปในขวดโหลหรือถุงซิปล็อคที่เทแอลกอฮอล์ใส่ไว้. รับรองว่าตายสนิทแหงแก๋ ห้ามเอาเห็บไปทิ้งแล้วกดชักโครกเด็ดขาด เพราะแบบนี้เห็บจะรอดกลับมาได้ [22]
  2. ค่อยๆ ทาแอลกอฮอล์ตรงผิวที่เพิ่งเด็ดเห็บ แล้วตามด้วยทาขี้ผึ้งยา triple antibiotic ointment สำหรับแมว จะได้ป้องกันแผลเห็บกัดไม่ให้ติดเชื้อ [23] [24] แอลกอฮอล์มักทำให้ผิวหนังแมวระคายเคือง เพราะฉะนั้นให้เอาสำลีก้อนไปชุบแล้วมาแตะๆ เบาๆ ที่แผลก็พอ
    • ห้ามใช้นิ้วของคุณทาขี้ผึ้งยาให้แมว ถึงจะใส่ถุงมืออยู่ก็ไม่ได้ ให้ใช้คอตตอนบัดแทน แต้มยานิดเดียวแล้วมาทาเบาๆ ตรงที่เห็บกัด
  3. พอถอดถุงมือออกมาข้างหนึ่งแล้ว เวลาจะถอดอีกข้างให้จับตรงข้อมือ จะได้ไม่โดนส่วนที่แตะต้องผิวหนังแมวแล้ว ถึงมือจะไม่ได้สัมผัสเห็บโดยตรงก็ต้องล้างมือให้สะอาดอยู่ดี [25]
  4. ถึงผิวตรงที่เห็บกัดแมวจะไม่ติดเชื้อขึ้นมาก็เถอะ แต่ก็คงจะระคายเคืองนานเป็นหลายอาทิตย์หลังกำจัดเห็บ [26] ถ้าผิวหนังดูแสบแดง ให้ใช้คอตตอนบัดทาขี้ผึ้งยา hydrocortisone ointment สำหรับแมวตรงบริเวณที่เป็นแค่นิดเดียวก็พอ [27]
    • ถ้าผิวหนังตรงนั้นแดงจัดและระคายเคืองนานต่อไปอีกหลายวัน ให้พาแมวไปหาหมอจะดีกว่า เพราะอาจเป็นสัญญาณว่ามีการติดเชื้อรุนแรงได้
    • ถึงจะเด็ดเห็บออกไปแล้ว แต่ถ้าแมวยังแสดงอาการผิดปกติก็ต้องรีบพาไปหาหมอทันทีเหมือนกัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้ากลัวหรือกังวล ไม่กล้าเด็ดเห็บออกด้วยตัวเอง ก็พาไปให้คุณหมอกำจัดให้จะดีที่สุด
  • ห้าม ใช้วิธีกำจัดเห็บแบบ "เขาว่ากันว่า" เช่น การใช้ปิโตรเลียมเจลลี่ การแช่แข็งเห็บ เผาเห็บด้วยไม้ขีด หรือการใช้ยาทาเล็บทา เพราะวิธีพวกนี้ไม่ได้ผล ไม่ว่ากรณีไหนก็ห้ามใช้ [28]
  • ป้องกันด้วยยากันเห็บทุกเดือนถึงแมวจะไม่ค่อยได้ออกไปนอกบ้านก็เถอะ [29] สัตวแพทย์สามารถแนะนำได้ว่าการป้องกันแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับแมวของคุณ
  • ถ้าแมวออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านประจำ ก็กันไว้อย่าให้ไปแถวป่าหรือที่รกชัฏเพราะเห็บมันชุม แต่ก็นะ ใครจะห้ามเจ้าตัวแสบได้
  • โรคไลม์ (Lyme disease) เป็นโรคจากเห็บที่พบบ่อยที่สุด แต่ตลกดีว่าไม่ค่อยเกิดกับแมว เอาจริงๆ ถ้าแมวเกิดเป็นโรคไลม์ขึ้นมา บางทีก็ไม่ได้แสดงอาการเลยด้วยซ้ำ แต่ถ้าแมวคุณเกิดแสดงอาการของโรคไลม์ขึ้นมาละก็ (ขาง่อยเปลี้ยสลับข้างไปมา ต่อมน้ำเหลืองบวมแถวๆ ที่เห็บกัด หรือหายใจติดขัด) ก็ต้องพาไปหาหมอลูกเดียว [30]
โฆษณา
  1. http://www.petmd.com/cat/slideshows/parasites/does-my-cat-have-ticks-removing-ticks-on-cats
  2. http://www.petmd.com/cat/slideshows/parasites/does-my-cat-have-ticks-removing-ticks-on-cats
  3. http://www.petmd.com/cat/slideshows/parasites/does-my-cat-have-ticks-removing-ticks-on-cats
  4. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/ticks
  5. http://www.vet.cornell.edu/fhc/health_information/Ticks.cfm
  6. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/ticks
  7. http://www.vetstreet.com/our-pet-experts/how-to-properly-remove-ticks-common-myths-and-foolproof-methods
  8. http://www.catster.com/lifestyle/how-to-remove-a-tick-from-your-cat
  9. http://www.cat-world.com.au/paralysis-ticks-in-cats
  10. http://www.vetstreet.com/our-pet-experts/how-to-properly-remove-ticks-common-myths-and-foolproof-methods
  11. http://www.petmd.com/cat/slideshows/parasites/does-my-cat-have-ticks-removing-ticks-on-cats
  12. http://www.vetstreet.com/our-pet-experts/how-to-properly-remove-ticks-common-myths-and-foolproof-methods
  13. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/ticks
  14. http://www.catster.com/lifestyle/how-to-remove-a-tick-from-your-cat
  15. http://www.petmd.com/cat/slideshows/parasites/does-my-cat-have-ticks-removing-ticks-on-cats
  16. http://www.vet.cornell.edu/fhc/health_information/Ticks.cfm
  17. http://www.cat-world.com.au/paralysis-ticks-in-cats
  18. http://www.catster.com/lifestyle/how-to-remove-a-tick-from-your-cat
  19. http://www.vetstreet.com/our-pet-experts/how-to-properly-remove-ticks-common-myths-and-foolproof-methods
  20. http://www.vet.cornell.edu/fhc/health_information/Ticks.cfm
  21. http://www.petmd.com/cat/conditions/infectious-parasitic/c_ct_lyme_disease#

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 23,542 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา