ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเห็บ (ticks) หรือหมัด (fleas) บุกบ้าน ก็ต้องรำคาญปนหวั่นใจเป็นธรรมดา และถ้าไม่กำจัดให้ถูกวิธี ก็จะย้อนกลับมาเรื่อยๆ วิธีกำจัดเห็บหมัดแบบถูกวิธี คือกำจัดที่ตัวสัตว์เลี้ยง ซักล้างทำความสะอาดทุกอย่าง และกำจัดเห็บหมัดทั้งในบ้านนอกบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เห็บหมัดกลับมาบุกบ้านอีก ปกติเห็บจะไม่มาเพ่นพ่านในบ้านบ่อยเท่าหมัด แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเลย เพราะงั้นต้องรีบลงมืออย่างถูกวิธีโดยเร็ว เพราะเห็บเป็นพาหะของโรคต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่สาเหตุของเห็บหมัดบุกบ้าน คือสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์อื่นๆ ที่เป็นพาหะเข้ามาในบ้าน เพราะงั้นวิธีป้องกันได้ดีที่สุด ก็คือป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงติดเห็บหมัดแต่แรก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

กำจัดเห็บหมัดในบ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเจอเห็บหมัดมาเดินเพ่นพ่านในบ้าน เป็นไปได้มากว่าเห็บหมัดซ่อนอยู่ตามตัวหมา แมว หรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ให้อาบน้ำสัตว์เลี้ยงด้วยแชมพูกำจัดเห็บหมัดโดยเฉพาะ
    • ราดน้ำล้างตัวสัตว์เลี้ยงในอ่างอาบน้ำ กะละมัง หรือนอกบ้าน
    • บีบแชมพูใส่แล้วฟอกให้ทั่วตัวทั่วขน
    • ทิ้งแชมพูไว้ให้ออกฤทธิ์สักพัก (เช็คที่ขวดว่าต้องทิ้งไว้นานแค่ไหน)
    • ล้างน้ำให้สะอาด ไม่เหลือแชมพูตกค้างตามตัว
  2. ถ้าเห็บถึงขั้นฝังตัวในผิวหนังของสัตว์เลี้ยงแล้ว ก็ยิ่งต้องรีบกำจัดทันที ถ้ากลัวหรือทำไม่เป็น ก็พาไปให้สัตวแพทย์ช่วยแทน วิธีดึงเห็บออกจากตัวสัตว์เลี้ยงคือ [1]
    • เตรียมแหนบและถุงมือ ต้องใส่ถุงมือก่อนเริ่มขั้นตอน
    • สำรวจตามตัวสัตว์เลี้ยงหาเห็บ เจอแล้วให้ใช้แหนบหนีบให้มั่น ย้ำว่าต้องคีบใกล้ๆ หัวเห็บ ชิดติดกับผิวหนังของสัตว์เลี้ยงให้มากที่สุด ห้ามหนีบตรงท้องเห็บเด็ดขาด
    • ใช้แหนบคีบเห็บให้มั่น แล้วดึงขึ้นมาตรงๆ
  3. ให้ซักเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน เครื่องนอน ผ้าเช็ดตัว กระทั่งของเล่นของลูก โดยตั้งค่าเครื่องซักผ้าให้น้ำร้อนสุด และใช้ high-soil settings คือสกปรกเป็นพิเศษ เวลาอบในเครื่องก็ต้องตั้งค่าสูงสุดเช่นกัน เพื่อให้แน่ใจว่าซักและอบแล้วเห็บหมัดและตัวอ่อนที่แอบซุกอยู่จะตายแน่นอน [2]
    • อย่าลืมล้างชามน้ำ ชามอาหารของสัตว์เลี้ยง และอื่นๆ ในอ่างล้างจาน เพราะอาจมีเห็บหมัดตัวเต็มวัยและตัวอ่อนซุกซ่อนอยู่ได้
  4. พอเก็บกวาดทุกอย่างไปซักเครื่องแล้ว ให้ดูดฝุ่นทุกซอกทุกมุม อย่าให้พลาดหรือชะล่าใจ ดูดฝุ่นเสร็จก็ต้องรีบกำจัดถุงเก็บฝุ่นทันที เพราะเป็นแหล่งกบดานของตัวอ่อนหมัดได้
  5. ใช้ยาฆ่าแมลงแบบผงหรือสเปรย์ละอองลอยสำหรับกำจัดเห็บหมัดโดยเฉพาะ เช่น Ultracide, Onslaught, Permethrin หรือ Bifen ไม่ก็ใช้ยาฆ่าแมลงอื่นๆ ที่มี pyrethrin [3] แต่ต้องแน่ใจก่อนว่ามี insect growth regulator หรือสารยับยั้งการเจริญเติบโต เพื่อป้องกันการขยายพันธุ์ของเห็บหมัด [4] พาสมาชิกในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงออกจากบ้านก่อน จากนั้นสวมเครื่องป้องกัน เช่น ถุงมือ และหน้ากาก
    • เริ่มจากหน้าบ้าน แล้วไล่ไปทางประตู เน้นหนักบริเวณที่สัตว์เลี้ยงชอบไปขลุกอยู่
    • โรยผงหรือฉีดสเปรย์แค่บางๆ ที่พื้น พื้นพรม ข้างบนและข้างใต้พรม หมอน ข้างบนและข้างใต้เฟอร์นิเจอร์ กรอบหน้าต่าง ม่าน ที่นอนสัตว์เลี้ยงที่ซักไม่ได้ บัวเชิงผนัง และซอกมุมต่างๆ ที่เห็บหมัดอาจไปซุกซ่อนอยู่ได้ [5]
    • อย่าเพิ่งกลับเข้าบ้านจนกว่าสเปรย์จะแห้ง และผงโรยได้ออกฤทธิ์สักพัก
  6. พอสเปรย์แห้งแล้ว ให้ใช้ desiccant หรือสารดูดความชื้น เพื่อให้เห็บหมัดและแมลงทั้งหลาย (รวมถึงไข่) แห้งจนตาย ให้เน้นหนักบริเวณที่สัตว์เลี้ยงชอบไปขลุกอยู่ ข้างหลังและข้างใต้บัวเชิงผนัง พรมและพื้นพรม หลังประตูและกรอบ ไปจนถึงซอกมุมต่างๆ [6] สารดูดความชื้นดีๆ ที่เหมาะกับงานนี้คือ
    • Pyrethrum Concentrate ของ Evergreen
    • ผง Drione Dust
    • กรดบอริก (Boric acid) เหมาะใช้กำจัดไข่และตัวอ่อน [7]
  7. ถ้าเห็บหมัดกระจายอยู่รอบบ้านด้านนอกด้วย ก็ต้องจัดการให้สิ้นซากเช่นกัน ไม่งั้นเห็บหมัดจะกลับมาเรื่อยๆ ปกติเห็บจะอยู่ตามที่รกๆ เป็นป่าๆ หรือหญ้าสูงๆ แต่หมัดจะชอบที่ร่ม มืดๆ ชื้นๆ เช่น ใต้ต้นไม้และพุ่มไม้ ต้องพยายามฉีดพ่นยาตามสนาม พุ่มไม้ ต้นไม้ทั้งเตี้ยและสูง รั้ว เพิง ไปจนถึงลานที่เด็กวิ่งเล่น [8]
    • ให้ใช้ผลิตภัณฑ์เดียวกับที่ใช้กำจัดเห็บหมัดในบ้าน เพื่อทำลายแหล่งกบดานของเห็บหมัดนอกบ้านด้วย [9]
    • อาจจะต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงนอกบ้านซ้ำเรื่อยๆ ถ้าแถวบ้านเห็บหมัดชุมหรือกำลังระบาด แนะนำให้ฉีดพ่นทุก 3 เดือนกำลังปลอดภัยดี
  8. ภายใน 48 - 72 ชั่วโมงหลังกำจัดเห็บหมัดในบ้าน ต้องทำความสะอาดซ้ำอีกรอบเพื่อกำจัดซากเห็บหมัดและไข่ที่ตายแล้ว [10]
  9. ปกติแค่ครั้งเดียวก็น่าจะเอาอยู่แล้ว แต่บางทีก็ต้องทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าแมลงซ้ำหลายรอบ กว่าจะกำจัดเห็บหมัดที่บุกบ้านจนไม่เหลือซากได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ป้องกันเห็บหมัด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ใช้ปลอกคอกันเห็บหมัด สเปรย์ ยาหยดหลังคอ หรือน้ำยาราดกำจัดเห็บหมัด [11] เพื่อป้องกันโรคและไม่ให้ติดเห็บหมัดซ้ำ เท่านี้บ้านก็ปลอดเห็บหมัด ยังไงลองปรึกษาคุณหมอดูว่าผลิตภัณฑ์ไหนตรงจุดและปลอดภัยที่สุด
  2. สัตว์เลี้ยงนี่แหละเป็นพาหะนำเห็บหมัดเข้าบ้าน เพราะงั้นต้องคอยจับตาดูให้ดีเวลาออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านแล้วกลับเข้ามา พยายามอาบน้ำแปรงขนให้ละเอียดหลังไปข้างนอกมา รวมถึงอย่าให้ขึ้นไปนั่งบนโซฟาและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ (เห็บหมัดจะไปซ่อนตามผ้าและฟองน้ำบุ)
  3. เวลาต้องออกไปเดินนอกบ้านที่รกๆ หรือเห็บหมัดชุม ให้ใส่กางเกงขายาวและเสื้อแขนยาว โดยสวมถุงเท้าทับขากางเกงอีกที และยัดชายเสื้อในกางเกง พ่นยาไล่แมลงที่ผสม DEET ตามตัว และพ่นยาไล่แมลงที่มี permethrin ตามเสื้อผ้า
  4. ถ้าทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ ก็จะป้องกันเห็บหมัดและสัตว์รำคาญ (pests) อื่นๆ ไม่ให้มาซ่องซุมกันได้
  5. อย่างที่บอกว่าเห็บหมัดชอบหญ้าสูงๆ พุ่มไม้รกๆ เพราะงั้นต้องพยายามถอนวัชพืช ตัดหญ้าให้ยาวไม่เกิน 3 นิ้ว (8 ซม.) และคอยตัดแต่งพุ่มไม้และไม้ต้นเตี้ยที่อยู่ชิดติดบ้านให้เป็นระเบียบอยู่เสมอ
  6. ในบ้านและนอกบ้านต้องไม่มีอะไรที่ดึงดูดเห็บหมัดและสัตว์ที่เป็นพาหะของเห็บหมัด เช่น หนูและนก ส่วนอะไรที่ล่อเห็บหมัดมาก็เช่น ต้นไม้ พุ่มไม้ ซากใบไม้ ไม้เลื้อย กองไม้ ที่ให้อาหารนก และอ่างน้ำนก [12]
  7. ห้ามตากเสื้อผ้าเรี่ยพื้น และต้องห่างจากบริเวณที่เป็นไม้. ข้อดีของการตากผ้านอกบ้านคือวันไหนแดดดีผ้าจะแห้งเร็วมาก แต่ถ้าผ้าเรี่ยพื้น หรืออยู่ใกล้ต้นไม้ใบหญ้า ก็ต้องระวังเห็บจะไต่หรือหมัดจะกระโดดเข้าไปซุก
    • ตากผ้าให้แห้งในที่เปิดโล่ง ห่างจากต้นไม้ พุ่มไม้รกๆ
  8. อยู่ให้ห่างแหล่งที่เห็บหมัดชุกชุม ก็ช่วยป้องกันไม่ให้ติดเห็บหมัดและโรคต่างๆ ได้ เช่น บริเวณที่หญ้าขึ้นสูง รกๆ เป็นป่าๆ หรือมีพุ่มไม้เยอะ
    • สวนต้องอยู่ในที่เปิดโล่ง รวมถึงลานเด็กเล่น สนามเด็กเล่น สวน/สนามหลังบ้าน โต๊ะและเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง ศาลา ไปจนถึงบริเวณอื่นสำหรับพักผ่อนหย่อนใจสังสรรค์กัน [13]
  9. ซีลปิดจุดที่เห็บหมัดหรือสัตว์ที่เป็นพาหะสามารถเข้าบ้านได้ เช่น ช่องลม ช่องว่างใต้พื้นระเบียง ใต้เพดาน และอื่นๆ [14]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เวลาใช้ผงหรือสเปรย์ฆ่าแมลง ต้องเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท รวมถึงเก็บอาหารไปไว้ที่อื่นให้มิดชิดก่อนเริ่มขั้นตอน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,786 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา